สตาร์ เทรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สตาร์เทร็ค)
สตาร์ เทรค
Star Trek
โลโก้ สตาร์ เทรค ที่ปรากฏใน ดิออริจินัลซีรีส์
สร้างโดยยีน ร็อดเดนเบอร์รี
งานต้นฉบับสตาร์ เทรค: ดิออริจินัลซีรีส์
เจ้าของพาราเมาต์โกลบอล
สื่อสิ่งพิมพ์
หนังสือ
นวนิยายรายชื่อนวนิยาย
การ์ตูนรายชื่อการ์ตูน
นิตยสาร
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ ดิออริจินัลซีรีส์

ภาพยนตร์ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน

ภาพยนตร์รีบูต (เส้นเวลา แคลวิน)

ละครโทรทัศน์ออกอากาศทางโทรทัศน์

สตรีมมิง

แอนิเมชันซีรีส์
ภาพยนตร์โทรทัศน์สั้น
เกม
ดั้งเดิมรายชื่อเกมส์
เบ็ดเตล็ด
สวนสนุก
นิทรรศการ
เว็บไซต์ทางการ
www.startrek.com

สตาร์ เทรค (อังกฤษ: Star Trek) เป็นสื่อแฟรนไชส์อเมริกันแนวนิยายวิทยาศาสตร์ สร้างโดย ยีน ร็อดเดนเบอร์รี โดยเริ่มต้นจากละครโทรทัศน์ชื่อเดียวกันที่ออกอากาศเมื่อทศวรรษ 1960 และก่อให้เกิดปรากฏการณ์วัฒนธรรมประชานิยมทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แฟรนไชส์มีการขยายไปยังสื่อต่าง ๆ ได้แก่ ภาพยนตร์หลายเรื่อง, ละครโทรทัศน์หลายชุด, วิดีโอเกม, นวนิยายและหนังสือการ์ตูน สตาร์ เทรค เป็นหนึ่งในสื่อแฟรนไชส์ที่เป็นที่รู้จักและทำรายได้สูงสุดตลอดกาล[1][2][3]

แฟรนไชส์เริ่มต้นด้วย สตาร์ เทรค: ดิออริจินัลซีรีส์ โดยออกอากาศครั้งแรกในแคนาดาเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1966 ทางช่องโทรทัศน์ ซีทีวี[4] ก่อนจะออกอากาศในสหรัฐเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1966 ทางช่องโทรทัศน์ เอ็นบีซี เป็นเวลาสามปี ละครชุดเล่าเรื่องราวการเดินทางของลูกเรือใน ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรส์ ยานพาหนะสำรวจอวกาศสร้างโดย สหพันธ์แห่งดวงดาว ในช่วงศตวรรษที่ 23 โดยมีวัตถุประสงค์คือ "สำรวจโลกใหม่ที่ไม่รู้จัก เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่ ๆ และอารยธรรมใหม่ ๆ เพื่อก้าวไปอย่างกล้าหาญ ณ ที่ซึ่งไม่เคยมีมนุษย์คนใดเคยไปมาก่อน" ในการสร้างสรรค์ สตาร์ เทรค ร็อดเดนเบอร์รี ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากนวนิยายชุด โฮเรโช ฮอร์นโบลเวอร์ ของ ซี. เอส. ฟอเรสเตอร์, นวนิยาย การเดินทางของกัลลิเวอร์ ของ โจนาธาน สวิฟท์ เมื่อ ค.ศ. 1726, ภาพยนตร์เรื่อง ฟอร์บิดเดินแพลนนิต เมื่อ ค.ศ. 1956 และละครโทรทัศน์แนวตะวันตก เช่น แวกอนเทรน

เส้นเรื่องหลักของ สตาร์ เทรค ประกอบด้วย ดิออริจินัลซีรีส์, ละครโทรทัศน์แยกอีกเก้าชุด, ภาพยนตร์ชุด และการดัดแปลงเพิ่มเติมในสื่อต่าง ๆ หลัง ดิออริจินัลซีรีส์ จบ การผจญภัยของตัวละครเดิม ดำเนินต่อไปใน สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ จำนวน 22 ตอนและภาพยนตร์อีกหกเรื่อง ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการกลับมาสร้างละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค อีกครั้ง โดยเป็นละครโทรทัศน์สามชุดที่มีเนื้อเรื่องต่อจาก ดิออริจินัลซีรีส์ และเนื้อเรื่องก่อน ดิออริจินัลซีรีส์ ได้แก่ สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เป็นการติดตามลูกเรือของยานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ลำใหม่ โดยดำเนินเรื่องหลังละครโทรทัศน์ชุด ดิออริจินัลซีรีส์ หนึ่งศตวรรษ, สตาร์ เทรค: ดีพสเปซไนน์ และ สตาร์ เทรค: วอยเอเจอร์ ดำเนินเรื่องช่วงเวลาในช่วงเดียวกับ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน และ สตาร์ เทรค: เอนเทอร์ไพรส์ ดำเนินเรื่องก่อน ดิออริจินัลซีรีส์ ในช่วงแรกของการเดินทางระหว่างดวงดาวของมนุษย์ การผจญภัยของลูกเรือ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ดำเนินต่อไปในภาพยนตร์อีกสี่เรื่อง เมื่อปี ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์ชุดได้รับการรีบูต ก่อให้เกิดเส้นเวลาใหม่ เรียกว่า เส้นเวลาแคลวิน โดยมีภาพยนตร์สามเรื่องถูกสร้างขึ้นที่ดำเนินเรื่องในเส้นเวลานี้ ละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ล่าสุดที่ได้รับการฟื้นฟูใหม่ เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2017 ได้แก่ ดิสคัฟเวอรี่, พิคาร์ด, ชอร์ตเทรคส์, โลเวอร์เดกส์, พรอดิจี และ สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ สามารถรับชมได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มดิจิทัล

สตาร์ เทรค ทำให้เกิดปรากฏการณ์ลัทธิขึ้นเป็นเวลาหลายทศวรรษ[5] แฟนของแฟรนไชส์นี้มักเรียกว่า "เทรคกี" (Trekkie) หรือ "เทรคเกอร์" (Trekkers) แฟรนไชส์ยังได้มีการขยายไปยังสื่อต่าง ๆ เช่น เกม, รูปแกะสลัก, นวนิยาย, ของเล่นและการ์ตูน สตาร์ เทรค เคยมีสวนสนุกตั้งอยู่ที่ลาสเวกัส ซึ่งเปิดเมื่อ ค.ศ. 1998 และปิดเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 มีสองพิพิธภัณฑ์นิทรรศการของสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเดินทางไปทั่วโลก ซีรีส์นั้นเต็มไปด้วยภาษาประดิษฐ์ เช่น ภาษาคลิงงอน สตาร์ เทรค ถูกนำไปล้อเลียนอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ ผู้ชมยังได้มีการผลิตผลงาน สตาร์ เทรค ด้วยตัวเอง

สตาร์ เทรค ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีอิทธิพลทางวัฒนธรรมเกินกว่าผลงานของนิยายวิทยาศาสตร์[6] และจุดยืนด้านสิทธิพลเมืองที่ก้าวหน้า[7] ดิออริจินัลซีรีส์ เป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์แรกที่มีนักแสดงหลากหลายเชื้อชาติที่ออกอากาศในสหรัฐ

แนวคิดและฉากหลัง[แก้]

สัญลักษณ์สตาร์ฟลีตที่พบเห็นได้ทั่วไปในแฟรนไชส์

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1964 ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ได้เสนอโครงเรื่องย่อสำหรับละครโทรทัศน์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็น สตาร์ เทรค ถึงแม้ว่าเขาจะโฆษณาว่าเป็น แนวตะวันตกนอกโลก—เรียกว่า "แวกอนเทรน ไปยังดวงดาว"—เขาบอกเพื่อนเป็นการส่วนตัวว่าเขาลอกเลียนแบบมาจาก การเดินทางของกัลลิเวอร์ ของ โจนาธาน สวิฟท์ ตั้งใจให้แต่ละตอนมีการแสดงอยู่สองระดับ: เป็นเรื่องราวการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นและเป็นนิทานสอนเรื่องคุณธรรม[8][9][10][11]

เรื่องราวของ สตาร์ เทรค ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึงการผจญภัยของมนุษย์และเอเลี่ยนซึ่งเข้าประจำการในสตาร์ฟลีต, กองกำลังด้านมนุษยธรรมและรักษาสันติภาพของสหพันธ์แห่งดวงดาว ตัวละครเอกมีความไม่เห็นแก่ตัวและจะต้องใช้อุดมคติเหล่านี้กับอุปสรรคที่ยากลำบาก

ความขัดแย้งและมิติทางการเมืองมากมายใน สตาร์ เทรค เป็นตัวแทนอุปมานิทัศน์ของความเป็นจริงในวัฒนธรรมร่วมสมัย ดิออริจินัลซีรีส์ ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 เช่นเดียวกับละครโทรทัศน์ชุดหลังที่สะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทศวรรษนั้น ๆ ที่ออกอากาศ[12] ปัญหาที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ ประกอบด้วย สงครามและสันติภาพ, ค่าของความจงรักภักดีส่วนบุคคล, ลัทธิอำนาจนิยม, จักรวรรดินิยม, การต่อสู้ระหว่างชนชั้น, เศรษฐศาสตร์, คตินิยมเชื้อชาติ, ศาสนา, สิทธิมนุษยชน, ลัทธิกีดกันทางเพศ, คตินิยมสิทธิสตรีและบทบาทของเทคโนโลยี[13]: 57  ร็อดเดนเบอร์รี กล่าวว่า: "[ในการสร้าง] โลกใหม่ที่มีกฎระเบียบใหม่, ผมสามารถออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศ, ศาสนา, เวียดนาม, การเมืองและขีปนาวุธข้ามทวีป อันที่จริงเราใส่สิ่งเหล่านั้นลงไปใน สตาร์ เทรค เรากำลังส่งสารออกไปและโชคดีที่พวกเขาทุกคนได้รับมันจากเครือข่ายโทรทัศน์"[13]: 79  "ถ้าคุณพูดถึงคนสีม่วงบนดาวเคราะห์ที่ห่างไกล, พวกเขา (เครือข่ายโทรทัศน์) ไม่เคยเข้าใจเลย พวกเขากังวลเรื่องร่องอกของผู้หญิงมากกว่า พวกเขาจะส่งคนเซ็นเซอร์ลงไปที่ฉากกองถ่ายเพื่อวัดร่องอกของผู้หญิงจริง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าหน้าอกของเธอไม่แสดงมากเกินไป"[14]

ร็อดเดนเบอร์รีตั้งใจให้รายการมีวาระทางการเมืองที่ก้าวหน้าเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการต่อต้านวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของขบวนการคนหนุ่มสาว แม้ว่าเขาจะไม่เต็มใจให้ข้อมูลแก่เครือข่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาต้องการให้ สตาร์ เทรค แสดงสิ่งที่มนุษยชาติอาจพัฒนาไปสู่ ถ้าเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการยุติความรุนแรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือมนุษย์ต่างดาวจากดาววัลแคน ที่ในอดีตใช้แต่ความรุนแรง แต่พวกเขาเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ร็อดเดนเบอร์รียังให้ สตาร์ เทรค ส่งสารต่อต้านสงครามและให้สหพันธ์แห่งดวงดาวเป็นเหมือนองค์การสหประชาชาติในอุดมคติที่มองโลกในแง่ดี[15] ความพยายามของเขาถูกต่อต้านโดยเครือข่ายเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพด้านการตลาด เช่น พวกเขาคัดค้านการยืนกรานของร็อดเดนเบอร์รีว่า เอนเทอร์ไพรส์ ต้องมีลูกเรือหลากหลายเชื้อชาติ[16]

ประวัติศาสตร์และการสร้าง[แก้]

เส้นเวลา[แก้]

Star Trek: DiscoveryStar Trek: PicardStar Trek: ProdigyStar Trek: Lower DecksStar Trek: VoyagerStar Trek: Deep Space NineStar Trek NemesisStar Trek: InsurrectionStar Trek: First ContactStar Trek GenerationsStar Trek: The Next GenerationStar Trek BeyondStar Trek Into DarknessStar Trek (film)Star Trek GenerationsStar Trek VI: The Undiscovered CountryStar Trek V: The Final FrontierStar Trek IV: The Voyage HomeStar Trek III: The Search for SpockStar Trek II: The Wrath of KhanStar Trek: The Motion PictureStar Trek: The Animated SeriesStar Trek: The Original SeriesThe Cage (Star Trek: The Original Series)Star Trek: Strange New WorldsStar Trek: DiscoveryStar Trek: Enterprise


ยุค ดิออริจินัลซีรีส์ (1965–1969)[แก้]

ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ผู้สร้าง, อำนวยการสร้างและเขียนบท สตาร์ เทรค
นาวาโทสป็อคและกัปตันเจมส์ ที. เคิร์ก แสดงโดย เลนเนิร์ด นีมอยและวิลเลียม แชตเนอร์ ใน ดิออริจินัลซีรีส์

เมื่อต้นปี ค.ศ. 1964 ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ได้เสนอโครงเรื่องย่อสำหรับละครโทรทัศน์ให้กับ เดซิลูโปรดักชันส์ เรียกว่าเป็น "แวกอนเทรน ไปยังดวงดาว"[17] ลูซิลล์ บอล หัวหน้าสตูดิโอของเดซิลูมีส่วนสำคัญในการอนุมัติการสร้างละครชุดนี้[18] เดซิลูทำงานร่วมกับร็อดเดนเบอร์รีในการพัฒนาโครงเรื่องจนกลายเป็นบทละครโทรทัศน์ ซึ่งต่อมาได้ไปเสนอต่อเอ็นบีซี[19]

เอ็นบีซี ออกทุนสร้างทำตอนนำร่อง มีชื่อตอนว่า "กรง (The Cage)" นำแสดงโดย เจฟฟรีย์ ฮันเตอร์ เป็น กัปตัน คริสโตเฟอร์ ไพค์ ของยานเอนเทอร์ไพรส์ เอ็นบีซีปฏิเสธตอนนำร่องนี้ แต่ว่าผู้บริหารยังคงประทับใจในแนวคิดนี้ และทำการตัดสินใจที่แปลกโดยการสั่งให้สร้างตอนนำร่องตอนที่สอง มีชื่อตอนว่า "ที่ที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยไปเยือนมาก่อน (Where No Man Has Gone Before)"[19]

ขณะที่เรตติงรายการในช่วงแรกนั้นสูง เรตติงเฉลี่ยหลังจบปีที่หนึ่งนั้นร่วงลงไปที่ 52 จาก 94 รายการ เอ็นบีซีขู่ว่าจะยกเลิกรายการระหว่างการออกอากาศปีที่สองเพราะไม่พอใจที่เรตติงรายการต่ำ[20] ฐานแฟนคลับของรายการ นำโดย โย ทริมเบิล ทำการรณรงค์การเขียนจดหมายร้องเรียนเป็นประวัติการณ์ให้เครือข่ายนั้นรักษารายการไว้[20][21] เอ็นบีซีต่ออายุรายการแต่ว่าย้ายเวลาออกอากาศจากช่วงไพร์มไทม์ไป "ช่วงมรณะในคืนวันศุกร์" (20:00 น. ถึง 23:00 น.) เพื่อเป็นการลดต้นทุนของรายการ[22] ร็อดเดนเบอร์รี ประท้วงด้วยการลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการสร้างและลดการมีส่วนร่วมโดยตรงของเขาใน สตาร์ เทรค ทำให้ เฟรด ไฟร์เบอร์เกอร์ ทำหน้าที่แทนในปีที่สามซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรายการ[b] แม้จะมีการรณรงค์เขียนจดหมายมาอีก เอ็นบีซีก็ยกเลิกรายการหลังออกอากาศได้สามปี จำนวนตอนทั้งหมด 79 ตอน[19]

การเกิดใหม่หลัง ดิออริจินัลซีรีส์ (1969–1991)[แก้]

หลังดิออริจินัลซีรีส์ถูกยกเลิก เดซิลูซึ่งตอนนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อพาราเมาต์เทเลวิชันแล้ว ได้รับใบอนุญาตในการออกอากาศหลายช่อง เพื่อช่วยชดเชยค่าถ่ายทำที่เสียไป การออกอากาศซ้ำเริ่มช่วงปลายปี ค.ศ. 1969 และในช่วงปลายทศวรรษ 1970 รายการได้ออกอากาศในประเทศมากกว่า 150 ช่องและในตลาดต่างประเทศอีก 60 ช่อง ช่วยทำให้ สตาร์ เทรค เกิดการสร้างลักธิตามมามากกว่าความนิยมในช่วงออกอากาศครั้งแรก[23]

สัญญาณหนึ่งของความนิยมที่เพิ่มขึ้นของรายการนั้นคือ งานประชุม สตาร์ เทรค ครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21–23 มกราคม ค.ศ. 1972 ที่เมืองนิวยอร์ก แม้ว่าในตอนแรกนั้นคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น สุดท้ายมีแฟนหลายพันคนมาเข้าร่วมงานด้วย แฟน สตาร์ เทรค ยังคงเข้าร่วมงานลักษณะนี้ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง[24]

การประสบความสำเร็จใหม่อีกครั้งของรายการนำไปสู่แนวคิดในการฟื้นฟูแฟรนไชส์[25] ฟิลเมชันร่วมกับพาราเมาต์เทเลวิชัน สร้าง สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ รายการแรกหลังดิออริจินัลซีรีส์ โดยออกอากาศทางเอ็นบีซีช่วงเช้าวันเสาร์ จำนวน 22 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมงมากกว่าสองปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง 1974[26]: 208  แม้ว่าจะมีอายุสั้น เพราะเป็นเรื่องปกติของการสร้างแอนิเมชันในช่วงเวลานั้น รายการได้รับรางวัลเอมมีหนึ่งรางวัลคือ "รายการยอดเยี่ยม" พาราเมาต์พิกเจอส์และร็อดเดนเบอร์รี เริ่มต้นพัฒนาละครโทรทัศน์ใหม่ มีชื่อว่า สตาร์ เทรค: เฟส 2 เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1975 เพื่อตอบสนองต่อความนิยมใหม่ของแฟรนไชส์ การทำงานกับละครโทรทัศน์ต้องสิ้นสุดลงเมื่อช่อง พาราเมาต์เทเลวิชันเซอร์วิส ถูกยกเลิกไปก่อน

หลังความสำเร็จของภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ สตาร์ วอร์ส และ มนุษย์ต่างโลก, พาราเมาต์ได้ปรับตอนนำร่องที่เคยวางแผนไว้ใน เฟส 2 นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง ภาพยนตร์ฉายที่อเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 โดยมีความคิดเห็นที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ ภาพยนตร์ทำเงิน 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าที่คาดหวังไว้แต่ก็เพียงพอที่พาราเมาต์จะสร้างภาคต่อ สตูดิโอบังคับให้ร็อดเดนเบอร์รีสละการควบคุมทางความคิดสร้างสรรค์ของภาคต่อในอนาคต

ความสำเร็จของภาพยนตร์ภาคต่อ สตาร์ เทรค 2 ศึกสลัดอวกาศ ทำให้แฟรนไชส์กลับมาทำเงินอีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะทำเงินได้น้อยกว่าภาพยนตร์เรื่องแรก แต่ก็ได้กำไรเนื่องจากทุนสร้างที่ต่ำกว่า พาราเมาต์สร้างภาพยนตร์ สตาร์ เทรค หกเรื่องระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึง 1991 โดยนักแสดงจาก ดิออริจินัลซีรีส์ กลับมารับบทเดิมของตัวเองในทุกเรื่อง[27]

ด้วยความนิยมของภาพยนตร์ สตาร์ เทรค ทำให้แฟรนไชส์ได้กลับมาออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้ง โดยมี สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ออกอากาศในปี ค.ศ. 1987 พาราเมาต์เลือกที่จะออกอากาศหลายช่องแทนที่จะออกอากาศเพียงช่องเดียว[10] ละครชุดนี้ดำเนินเรื่องหลัง ดิออริจินัลซีรีส์ หนึ่งศตวรรษ โดยติดตามการผจญภัยของยานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ลำใหม่และลูกเรือใหม่[28]

ยุคละครโทรทัศน์หลังร็อดเดนเบอร์รี (1991–2005)[แก้]

เหล่านักแสดงที่แสดงเป็นกัปตันในละครชุดห้าเรื่องแรกของ สตาร์ เทรค ที่งาน เดสติเนชันสตาร์ เทรค ในลอนดอน

หลัง สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง, บทบาทของร็อดเดนเบอร์รีก็เปลี่ยนจากผู้อำนวยการสร้างเป็นที่ปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์โดยมีส่วนร่วมน้อยที่สุดต่อภาพยนตร์ ในขณะที่มีส่วนร่วมอย่างมากกับการสร้าง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ร็อดเดนเบอร์รีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1991 ทำให้ผู้อำนวยการสร้าง ริก เบอร์แมน เข้ามาควบคุมแฟรนไชส์[13]: 268 [10]: 591–593  สตาร์ เทรค ได้กลายเป็นที่รู้จักกันภายในพาราเมาต์ว่าเป็น "เดอะแฟรนไชส์", เพราะความสำเร็จที่ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้เป็นเสาเต็นท์[c]ของสตูดิโออยู่บ่อยครั้งเมื่อโครงการอื่นล้มเหลว[29] เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เป็นละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ที่มีเรตติงสูงที่สุดและกลายเป็นรายการที่มีการออกอากาศมากที่สุดในช่วงปีสุดท้ายของการออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี[30] ความสำเร็จของ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ทำให้พาราเมาต์ปล่อยละครโทรทัศน์แยกออกมา ชื่อว่า ดีพสเปซไนน์ ในปี ค.ศ. 1993 ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน แต่ก็มีเรตติงเพียงพอสำหรับการออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี

เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 ไม่กี่เดือนหลัง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน จบลง พาราเมาต์ได้ปล่อยละครโทรทัศน์ลำดับที่สี่ ชื่อว่า วอยเอเจอร์ ความนิยมของ สตาร์ เทรค ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ด้วย ดีพสเปซไนน์ และ วอยเอเจอร์ ออกอากาศควบคู่กันไปและการฉายภาพยนตร์สามจากสี่เรื่องที่มีนักแสดงจาก เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ในปี ค.ศ. 1994, 1996 และ 1998 โดยในปี ค.ศ. 1998 สตาร์ เทรค เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของพาราเมาต์ กำไรที่มหาศาลจาก "เดอะแฟรนไชส์" ทำให้มีเงินมากพอที่จะสนับสนุนการทำงานของสตูดิโอทั้งหมด[31] วอยเอเจอร์ กลายเป็นรายการเรือธงใหม่ของช่อง ยูไนเต็ดพาราเมาต์เน็ตเวิร์ก (UPN) และทำให้เป็นเครือข่ายหลักแรกของละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ตั้งแต่ฉบับดั้งเดิม[32]

หลัง วอยเอเจอร์ จบลง ยูพีเอ็นได้ผลิต เอนเทอร์ไพรส์ ละครโทรทัศน์ที่ดำเนินเรื่องก่อน สตาร์ เทรค ฉบับดั้งเดิม เอนเทอร์ไพรส์ ไม่ได้มีเรตติงสูงเท่ากับละครโทรทัศน์ก่อนหน้านี้และยูพีเอ็นขู่ว่าจะยกเลิกรายการหลังจบปีที่สาม เหล่าแฟน ๆ ทำแคมเปญช่วยรักษารายการไว้เหมือนกับตอนที่เคยช่วยปีที่สามของ ดิออริจินัลซีรีส์ พาราเมาต์ต่ออายุ เอนเทอร์ไพรส์ สำหรับปีที่สี่ แต่ย้ายไปช่วงมรณะในคืนวันศุกร์[33] เหมือนกับ ดิออริจินัลซีรีส์ เรตติงของ เอนเทอร์ไพรส์ ร่วงในช่วงเวลานั้นและยูพีเอ็นยกเลิกรายการหลังออกอากาศจบในปีที่สี่ เอนเทอร์ไพรส์ ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005[34] กลุ่มแฟนคลับชื่อ "Save Enterprise" พยายามที่จะรักษารายการไว้โดยพยายามระดุมทุนจำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อออกทุนส่วนตัวให้กับปีที่ห้าของ เอนเทอร์ไพรส์[35] แม้ว่าจะรวบรวมเงินได้มากพอ แต่พยายามก็ล้มเหลว เนื่องจากพาราเมาต์ไม่รับเงินดังกล่าว[36] การยกเลิกของ เอนเทอร์ไพรส์ ทำให้การออกอากาศบนโทรทัศน์ต่อเนื่องยาวนานสิบแปดปีของ สตาร์ เทรค สิ้นสุดลง เนเมซิส ทำเงินได้ไม่ดีในปี ค.ศ. 2002 ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่ออนาคตของแฟรนไชส์ พาราเมาต์ได้ปลดเบอร์แมน ผู้อำนวยการสร้างของแฟรนไชส์ ออกจากการควบคุม สตาร์ เทรค

ภาพยนตร์รีบูต (เส้นเวลา แคลวิน) (2005–2016)[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 2005 ไวอาคอม บริษัทแม่ของพาราเมาต์ ได้แบ่งออกเป็นสองบริษัท ได้แก่ ซีบีเอสคอร์เพอเรชัน เจ้าของซีบีเอสเทเลวิชันสตูดิโอ และ ไวอาคอม เจ้าของพาราเมาต์พิกเจอส์ ซีบีเอสเป็นเจ้าของแบรนด์ภาพยนตร์ในขณะที่พาราเมาต์เป็นเจ้าของคลังภาพยนตร์และจะดำเนินการสร้างภาพยนตร์ต่อแฟรนไชส์ พาราเมาต์เป็นบริษัทแรกที่พยายามที่จะฟื้นฟูแฟรนไชส์ โดยจ้างทีมงานสร้างสรรค์ใหม่เพื่อเสริมความมั่นคงของแฟรนไชส์เมื่อปี ค.ศ. 2007 นักเขียน โรเบอร์โต โอจี และ อเล็กซ์ เคิร์ตแมน และ ผู้อำนวยการสร้าง เจ.เจ. แอบรัมส์ มีอิสระที่จะสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ ต่อแฟรนไชส์

ทีมงานได้สร้างภาพยนตร์ลำดับที่สิบเอ็ดของแฟรนไชส์ สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล ฉายเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์มีการนำเสนอนักแสดงใหม่ที่แสดงเป็นลูกเรือของละครโทรทัศน์เดิม สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล เป็นภาพยนตร์ที่ดำเนินเรื่องก่อนหน้าละครโทรทัศน์เดิมในเส้นเวลาที่แตกต่าง ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าเส้นเวลา แคลวิน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้และภาคต่อเป็นอิสระจากความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับเส้นเวลาเดิมของแฟรนไชส์ ภาพยนตร์ สตาร์ เทรค ลำดับที่สิบเอ็ดนั้นมีแคมเปญการตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่แฟน แม้จะระบุในโฆษณาของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "นี่ไม่ใช่ สตาร์ เทรค ของพ่อคุณ"[37] นอกจากนี้ภาพยนตร์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแฟรนไชส์ของซีบีเอส

ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และทางการเงิน โดยทำเงินมากกว่าภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใด ๆ ก่อนหน้านี้ (คิดเป็นดอลลาร์ที่ปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว)[38] ส่งผลให้ภาพยนตร์ได้รับ รางวัลออสการ์ เป็นครั้งแรกของแฟรนไชส์ (ในสาขาแต่งหน้ายอดเยี่ยม) นักแสดงหลักของภาพยนตร์ได้เซ็นสัญญาแสดงภาพยนตร์อีกสองภาค[39] ภาพยนตร์ภาคต่อ สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2013 และฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[40] แม้ว่าภาพยนตร์ภาคต่อจะไม่ได้ทำเงินในอเมริกาเหนือมากเท่ากับภาคก่อนหน้านี้ แต่สามารถทำเงินในตลาดต่างประเทศได้อย่างมาก ทำให้ ทะยานสู่ห้วงมืด เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแฟรนไชส์[41] ภาพยนตร์ลำดับที่สิบสาม สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล ฉายเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016[42] ภาพยนตร์ประสบปัญหาหลายอย่างก่อนเริ่มถ่ายทำและบทภาพยนตร์ผ่านการเขียนใหม่อยู่หลายครั้ง ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะได้รับคำวิจารณ์ที่ดี แต่กลับทำเงินได้อย่างน่าผิดหวัง[43]

การขยายของจักรวาลสตาร์ เทรค (2017–ปัจจุบัน)[แก้]

ซีบีเอส ปฏิเสธข้อเสนอต่าง ๆ ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ในการเริ่มต้นแฟรนไชส์ใหม่ โดยมีข้อเสนอจากบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์ ไบรอัน ซิงเกอร์, เจ. ไมเคิล สเตรซินสกี ผู้สร้าง บาบีลอน 5 และ โจนาทาน เฟรกส์และวิลเลียม แชตเนอร์ นักแสดงจาก สตาร์ เทรค [44][45][46] บริษัทยังปฏิเสธที่จะสร้างแอนิเมชันในรูปแบบเว็บซีรีส์ด้วย[47] แม้ว่าการขาดหายไปของการออกอากาศบนโทรทัศน์ของแฟรนไชส์ แต่คลังภาพยนตร์ สตาร์ เทรค กลับสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ชมทั่วไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบริการสตรีมมิ่ง เช่น เน็ตฟลิกซ์และแอมาซอนไพร์มวิดีโอ เพื่อใช้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้, ซีบีเอสดึงแฟรนไชส์กลับมาบนจอเล็กอีกครั้งด้วยซีรีส์ สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี เพื่อช่วยในการเปิดตัวและดึงดูดคนให้มาเป็นสมาชิกบริการสตรีมมิ่งของตัวเองในชื่อ ซีบีเอสออลแอคเซส[48] ปีแรกของ ดิสคัฟเวอรี นั้นเปิดให้ชมเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2017 ปีที่สองเปิดให้ชมในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[49] ปีที่สามประกาศเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019[50] ในขณะที่ ดิสคัฟเวอรี เปิดให้ชมในสหรัฐเฉพาะบนซีบีเอสออลแอคเซส เน็ตฟลิกซ์เป็นเจ้าของสิทธ์ในการเผยแพร่ทั่วโลก เพราะเป็นบริษัทที่ให้เงินทุนในการสร้างรายการทั้งหมด[51]

ซีรีส์ออลแอคเซสลำดับที่สอง สตาร์ เทรค: พิคาร์ด มีแพทริก สจวตกลับมารับบทเดิมเป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด เปิดให้ชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2020 ผ่านแอมาซอนไพร์มวิดีโอ ซึ่งเปิดให้ชมทั่วโลก ไม่เหมือนกับ ดิสคัฟเวอรี[52] ซีบีเอสยังได้ปล่อย สตาร์ เทรค: ชอร์ตเทรคส์ ซึ่งเป็นซีรีส์รวมตอนสั้นซึ่งปล่อยระหว่าง ดิสคัฟเวอรี และ พิคาร์ด

สตาร์ เทรค ได้กลับมาอยู่ในรูปแบบแอนิเมชันอีกครั้งใน โลเวอร์เดกส์ แอนิเมชันแนวตลกผู้ใหญ่ สร้างโดยผู้เขียน ริค แอนด์ มอร์ตี้ ไมก์ แมกมาฮาน ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2020 บนซีบีเอสออลแอคเซส ซีรีส์แอนิเมชันอีกเรื่องหนึ่ง พรอดิจี กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา สำหรับช่องนิคคาโลเดียน กำหนดออกอากาศในปี ค.ศ. 2021

นอกจากนี้ยังมี สตาร์ เทรค: สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ ซีรีส์สตรีมมิงที่ติดตามเรื่องราวของลูกเรือยานเอนเทอร์ไพรส์ โดยมีกัปตันไพค์จาก ดิสคัฟเวอรี ปีสอง เป็นกัปตัน ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 202[53][54] และซีรีส์เกี่ยวกับ ฟิลิปปา จอร์โจว์ ตัวละครจาก ดิสคัฟเวอรี กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา เป้าหมายของซีบีเอสคือมีเนื้อหา สตาร์ เทรค ตลอดทั้งปีบนออลแอคเซส[55][56][57]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ประกอบด้วย ละครชุดคนแสดงแปดเรื่อง, แอนิเมชันชุดสามเรื่องและละครโทรทัศน์สั้นหนึ่งเรื่อง ได้แก่ ดิออริจินัลซีรีส์, ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์, เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน, ดีพสเปซไนน์, วอยเอเจอร์, เอนเทอร์ไพรส์, ดิสคัฟเวอรี, ชอร์ตเทรคส์, พิคาร์ด, โลเวอร์เดกส์, พรอดิจี และ สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ รวมทั้งหมด 900 ตอน ตลอด 46 ปีของละครโทรทัศน์[d]

ชื่อจำนวนปีจำนวนตอนวันที่เผยแพร่เครือข่าย
ดิออริจินัลซีรีส์3798 กันยายน ค.ศ. 1966 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1969 (1966-09-08 – 1969-06-03)เอ็นบีซี
ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์2228 กันยายน ค.ศ. 1973 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1974 (1973-09-08 – 1974-10-12)
เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน717828 กันยายน ค.ศ. 1987 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (1987-09-28 – 1994-05-23)ซินดิเคชัน
ดีพสเปซไนน์71764 มกราคม ค.ศ. 1993 – 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 (1993-01-04 – 1999-05-31)
วอยเอเจอร์717216 มกราคม ค.ศ. 1995 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 (1995-01-16 – 2001-05-23)ยูพีเอ็น
เอนเทอร์ไพรส์49826 กันยายน ค.ศ. 2001 – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 (2001-09-26 – 2005-05-13)
ดิสคัฟเวอรี45524 กันยายน ค.ศ. 2017 (2017-09-24Tpresent) – ปัจจุบันซีบีเอสออลแอกเซส
พาราเมาต์+
ชอร์ตเทรคส์2104 ตุลาคม ค.ศ. 2018 – 9 มกราคม ค.ศ. 2020 (2018-10-04 – 2020-01-09)
พิคาร์ด33023 มกราคม ค.ศ. 2020 – 20 เมษายน ค.ศ. 2023 (2020-01-23 – 2023-04-20)
โลเวอร์เดกส์4406 สิงหาคม ค.ศ. 2020 (2020-08-06) – ปัจจุบัน
พรอดิจี12028 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (2021-10-28) – ปัจจุบันพาราเมาต์+ / เน็ตฟลิกซ์[58]
สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์2205 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 (2022-05-05) – ปัจจุบันพาราเมาต์+

ดิออริจินัลซีรีส์ (1966–1969)[แก้]

โลโก้ ดิออริจินัลซีรีส์

สตาร์ เทรค: ดิออริจินัลซีรีส์, หรือมักจะย่อว่า TOS,[e] ได้ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง เอ็นบีซี เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1966[59] โดยรายการเล่าถึงลูกเรือของยานอวกาศ ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรส์ กับภารกิจห้าปี "เพื่อก้าวไปอย่างกล้าหาญ ณ ที่ซึ่งไม่เคยมีมนุษย์คนใดเคยไปมาก่อน!" ระหว่างที่ออกอากาศครั้งแรกนั้น รายการได้เข้าชิงรางวัลอูโกสำหรับการนำเสนอละครยอดเยี่ยมอยู่หลายครั้งและชนะ 2 ครั้ง[26]

หลังจากออกอากาศได้ 3 ปี ช่องเอ็นบีซีก็ได้ยกเลิกรายการ โดยตอนสุดท้ายออกอากาศเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1969[60] มีการเขียนคำร้องช่วงใกล้จะสิ้นสุดปีที่สองเพื่อที่จะรักษารายการไว้ มีนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียลงนามเป็นจำนวนมากและการที่ได้เข้าชิงรางวัลอูโกหลายครั้งอาจจะช่วยได้ อย่างไรก็ตาม รายการเป็นที่นิยมอย่างมากกับแฟน ๆ นิยายวิทยาศาสตร์และนักศึกษาวิศวกรรม แม้เนลสันเรตติงจะระบุไว้ว่ามีเรตติงต่ำ[61] ต่อมารายการมีความนิยมเพิ่มขึ้นจากการออกอากาศซ้ำและเกิดการก่อตั้งลักธิตามมา[59]

ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ (1973–1974)[แก้]

โลโก้ "ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์"

สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ (Star Trek: The Animated Series) หรือในชื่อย่อ "TAS" ผลิตโดย ฟิลเมชัน ออกอากาศ 2 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง ค.ศ. 1974 โดยนักแสดงหลักจาก ดิออริจินัลซีรีส์ ยังคงมาให้เสียงตัวละครเดิม และยังมีนักเขียนบทจาก ดิออริจินัลซีรีส์ มาเขียนบทให้ ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ ด้วย เนื่องจากเป็นรูปแบบแอนิเมชัน ทำให้สามารถสร้างพื้นที่ต่างดาวและสิ่งมีชีวิต ได้แปลกใหม่มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากใช้ฉากเก่ามากเกินไปและยังมีข้อผิดพลาดในการเคลื่อนไหวของแอนิเมชันและคิวดนตรี ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของซีรีส์มัวหมอง[62] ยีน ร็อดเดนเบอร์รี มักพูดอยู่เสมอว่าแอนิเมชันนี้ไม่จัดเป็นเส้นเรื่องหลัก[63]: 232 

ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ เป็นซีรีส์ สตาร์ เทรค แรกที่ชนะรางวัล เอมมี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975[64] ซีรีส์ได้นำกลับมาออกอากาศใหม่เป็นเวลาสั้น ๆ ทางช่อง นิคคาโลเดียน ช่วงกลางทศวรรษ 1980 และ ช่องไซ-ไฟ ช่วงกลางทศวรรษ 1990 มีการวางจำหน่ายซีรีส์นี้ในรูปแบบ เลเซอร์ดิส เมื่อช่วงกลางทศวรรษ 1980[65] รูปแบบวิดีโอเทป 11 ชุด เมื่อปี ค.ศ. 1989, รูปแบบดีวีดี เมื่อปี ค.ศ. 2006 และรูปแบบบลู-เรย์ เมื่อปี ค.ศ. 2016

เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน (1987–1994)[แก้]

โลโก้ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน

สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน (Star Trek: The Next Generation), หรือมักใช้อักษรย่อว่า TNG, ดำเนินเรื่องหลัง ดิออริจินัลซีรีส์ ประมาณหนึ่งศตวรรษ (2364–2370) โดยมียานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ลำใหม่ (NCC-1701-D) และลูกเรือใหม่

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1987 และออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี เป็นละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ที่มีเรตติงสูงที่สุดและกลายเป็นรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศหลายช่องแล้วมีเรตติงสูงที่สุดในช่วงปีท้าย ๆ ของการออกอากาศ เป็นตัวผลักดันให้กับละครโทรทัศน์อื่น มีความสัมพันธ์และเชื้อชาติใหม่ ๆ เกิดขึ้นใน เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน กลายเป็นพื้นฐานให้กับตอนใน ดีพสเปซไนน์ และ วอยเอเจอร์[30] เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เข้าชิงและได้รับรางวัลเอมีหลายครั้ง—เช่น ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยมในปีสุดท้าย—รางวัลอูโกสองรางวัล, และรางวัลพีบอดีสำหรับรายการโทรทัศน์ยอดเยี่ยมหนึ่งตอน[66]

ดีพสเปซไนน์ (1993–1999)[แก้]

โลโก้ ดีพสเปซไนน์

สตาร์ เทรค: ดีพสเปซไนน์ (Star Trek: Deep Space Nine), หรือมักใช้อักษรย่อว่า DS9, ดำเนินเรื่องช่วงปีสุดท้ายและทันทีหลัง เน็กซ์เจเนอเรชัน (2369–2375) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1993 และออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี สิ่งที่แตกต่างจากละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค อื่นคือ ดีพสเปซไนน์ ดำเนินเรื่องในสถานีอวกาศในชื่อเดียวกันมากกว่าบนยานอวกาศ

รายการเริ่มต้นหลังชาวคาร์แดสเซียยึดดาวเบจอร์ กลุ่มปลดปล่อยชาวเบจอร์ขอร้องให้สหพันธ์แห่งดวงดาวช่วยมาบริหารสถานีอวกาศใกล้กับเบจอร์หลังสหพันธ์ควบคุมสถานีได้แล้ว กลุ่มตัวละครเอกนั้นค้นพบรูหนอนที่เสถียรภาพสามารถเข้าไปแล้วไปโผล่ที่แกรมมาควอแดรนต์ได้ ทำให้เบจอร์และสถานีเป็นสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์[67] รายการบันทึกเหตุการณ์ของลูกเรือของสถานี, นำโดย ผู้บัญชาการ เบนจามิน ซิสโก (เอฟเวอรี บรูคส์), และ ผู้พัน คีรา นีรีส (นะนา วิซิเทอร์)

ดีพสเปซไนน์ แตกต่างจาก เทรค ก่อนหน้านี้คือ การเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องและยาวนาน, ความขัดแย้งของตัวละคร, และ ประเด็นทางศาสนา—ทุกองค์ประกอบนั้น นักวิจารณ์และผู้ชมต่างชื่นชมอย่างมาก แต่เป็นสิ่งที่ถูกห้ามโดยร็อดเดนเบอร์รี เมื่อเขาเป็นผู้อำนวยการสร้าง ดิออริจินัลซีรีส์ และ เน็กซ์เจเนอเรชัน[68]

วอยเอเจอร์ (1995–2001)[แก้]

โลโก้ วอยเอเจอร์

สตาร์ เทรค: วอยเอเจอร์ (Star Trek: Voyager) ออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1995 จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 เป็นเวลาทั้งหมดเจ็ดปี มี เคต มัลกรูว แสดงเป็น กัปตัน แคทรีน เจนเวย์ โดยเป็นครั้งแรกของ สตาร์ เทรค ที่มีตัวละครนำเป็นผู้บังคับบัญชาหญิง[69]

วอยเอเจอร์ ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันกับ ดีพสเปซไนน์ และอีกสามปีหลังรายการจบ (2371–2378) ในตอนปฐมทัศน์นั้น ยูเอสเอส วอยเอเจอร์ และลูกเรือของยาน มาคีส์ (กลุ่มกบฏสหพันธ์) กำลังถูกไล่ล่า โดยยานทั้งสองลำถูกลำแสงพาไปยัง เดลตาควอแดนต์ ซึ่งห่างจากโลกประมาณ 70,000 ปีแสง[70] ต้องเผชิญกับการเดินทางกลับสู่โลกเป็นเวลา 75 ปี ลูกเรือต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะความท้าทายในการเดินทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยอันตราย และหาวิธีที่จะทำให้การเดินทางสั้นลง

เช่นเดียวกัน ดีพสเปซไนน์ ในช่วงปีแรกของ วอยเอเจอร์ แสดงความขัดแย้งระหว่างลูกเรือทั้งสองมากกว่าในช่วงตอนหลัง เช่นความขัดแย้งมักจะเกิดจากลูกเรือของสตาร์ฟีตที่ต้องทำ "ตามหลักการ" กับลูกเรือของมาคีส์ที่เป็นผู้ลี้ภัยหัวกบฏ ถูกบังคับโดยสถานการณ์ให้มาทำงานร่วมกัน ยานอวกาศ วอยเอเจอร์ ต้องเผชิญกับวัฒนธรรมและประเด็นขัดแย้งใหม่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในละครโทรทัศน์ที่อยู่ในอัลฟาควอแดนต์ ในปีต่อ ๆ มามีตัวละครและวัฒนธรรมจากรายการก่อนหน้านี้ เช่น บอร์ก, คิว, ฟาเรนกี, โรมูลัน, คลิงงอน, คาร์แดสเซีย และนักแสดงจาก เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน

เอนเทอร์ไพรส์ (2001–2005)[แก้]

โลโก้ เอนเทอร์ไพรส์

สตาร์ เทรค: เอนเทอร์ไพรส์ (Star Trek: Enterprise) หรือชื่อเดิม เอนเทอร์ไพรส์ (Enterprise) เป็นละครโทรทัศน์ที่ดำเนินเรื่องก่อน สตาร์ เทรค ฉบับดั้งเดิม ออกอากาศระหว่างวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2001 ถึง 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทางช่องยูพีเอ็น[71] เอนเทอร์ไพรส์ ดำเนินเรื่องอยู่ในช่วงทศวรรษ 2150, 90 ปีหลัง ซีฟราม คอเครน เดินทางด้วยความเร็วระดับวาร์ปครั้งแรกและประมาณ 10 ปีก่อนก่อตั้งสหพันธรัฐแห่งดวงดาว โดยละครโทรทัศน์แสดงการเดินทางของลูกเรือยานอวกาศวาร์ป 5 ลำแรกของโลกชื่อ เอนเทอร์ไพรส์ (เอ็นเอ็กซ์-01) (Enterprise (NX-01))

เอนเทอร์ไพรส์ ในช่วงแรกนั้นเป็นละครโทรทัศน์ประเภทจบในตอนเหมือนกับใน ดิออริจินัลซีรีส์, เน็กซ์เจเนอเรชัน และ วอยเอเจอร์ ต่อมาในปีที่สาม นั้นกลายเป็นละครโทรทัศน์ที่มีเส้นเรื่องเดียวตลอดทั้งปี ปีที่สี่ซึ่งเป็นปีสุดท้ายนั้นประกอบด้วยสามและสี่ตอนที่มีเนื้อเรื่องต่อเนื่องกัน ซึ่งสำรวจต้นกำเนิดขององค์ประกอบบางอย่างที่อยู่ในละครโทรทัศน์ก่อนหน้านี้ และแก้ไขข้อผิดพลาดของความต่อเนื่องบางอย่างใน ดิออริจินัลซีรีส์

เอนเทอร์ไพรส์ นั้นเริ่มต้นด้วยเรตติงที่ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป เรตติงกลับตกลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักวิจารณ์จะชมปีที่สี่ว่าดี ทั้งแฟนและนักแสดงต่างไม่พอใจ ตอนสุดท้ายของละครโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งเพราะว่าในตอนนั้นมุ่งเน้นไปที่นักแสดงรับเชิญจาก เน็กซ์เจเนอเรชัน มากเกินไป[72][73][74] การยกเลิก เอนเทอร์ไพรส์ เป็นการสิ้นสุดการออกอากาศของละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ใหม่ ที่ออกอากาศมายาวนาน 18 ปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ เน็กซ์เจเนอเรชัน เมื่อปี ค.ศ. 1987

ดิสคัฟเวอรี (2017–ปัจจุบัน)[แก้]

โลโก้ ดิสคัฟเวอรี

สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี (Star Trek: Discovery) คือซีรีส์ที่ดำเนินเรื่องก่อน ดิออริจินัลซีรีส์ ประมาณ 10 ปี[75] ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2017 ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาทางช่องซีบีเอส[49] ผู้ชมที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาสามารถรับชมผ่านบริการสตรีมมิงซีบีเอสออลแอคเซสส์เท่านั้น ส่วนผู้ชมทั่วโลกยกเว้นแคนาดาสามารถรับชมได้บนเน็ตฟลิกซ์[76]

ตัวละครหลักของซีรีส์คือ นาวาตรี ไมเคิล เบอร์นัม แสดงโดย สนีควา มาร์ติน-กรีน เป็นการสร้างความแตกต่างจาก สตาร์ เทรค เดิมที่ตัวละครนำไม่ใช่ "กัปตันของยาน" ซีรีส์เริ่มต้นด้วย ความขัดแย้งระหว่าง คลิงงอน ทคุฟม่า, ที่ต้องการจะรวมบ้านต่าง ๆ ของคลิงงอนจำนวนยี่สิบสี่ตระกูล—เรียกว่าเดอะเกรสต์เฮาส์ กับ สหพันธ์แห่งดวงดาว[77][78]

ชอร์ตเทรคส์ (2018–2020)[แก้]

สตาร์ เทรค: ชอร์ตเทรคส์ (Star Trek: Short Treks) เป็นซีรีส์รวมภาพยนตร์สั้น โดยมีเนื้อเรื่องเป็นการสำรวจฉากและตัวละครจาก ดิสคัฟเวอรี และลูกเรือยานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ของกัปตัน คริสโตเฟอร์ ไพค์[79] ตอนสุดท้ายของปีสองนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวเพื่อนำไปสู่ สตาร์ เทรค: พิคาร์ด[80]

พิคาร์ด (2020–2023)[แก้]

โลโก้ พิคาร์ด

สตาร์ เทรค: พิคาร์ด เป็นละครชุดต่อเนื่องเหมือนกับ ดิสคัฟเวอรี่ ออกอากาศทางช่องซีบีเอสออลเอกเซส เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2020 ดำเนินเรื่อง 30 ปีหลัง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน แสดงนำโดย แพทริก สจวร์ต กลับมารับบทเดิมเป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด[81] เนื่อเรื่องในปีแรก เล่าเรื่องราวของพิคาร์ดในวัยเกษียณของเขา แสวงหาการไถ่โทษจากสิ่งที่เขามองว่าเป็นความล้มเหลวในอดีต ในขณะที่เขาออกผจญภัยเพื่อช่วยลูกสาวของ เดตา เพื่อนร่วมทีมผู้ล่วงลับ

โลเวอร์ เดคส์ (2020–ปัจจุบัน)[แก้]

โลโก้ โลเวอร์ เดคส์

สตาร์ เทรค: โลเวอร์ เดคส์ เป็นซีรีส์แอนิเมชันแนวตลกผู้ใหญ่สร้างโดย ไมค์ แม็คมาฮาน ผู้เขียนบท ริค แอนด์ มอร์ตี้ โดยเป็นเรื่องราวของลูกเรือสนับสนุนใน "ยานลำหนึ่งของสตาร์ฟลีตที่ไม่สำคัญมากนัก"[82] ซีรีส์เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2020 บนซีบีเอสออลแอกเซส[83]

กำลังพัฒนา[แก้]

ซีบีเอสออลแอกเซสประกาศว่าซีรีส์คนแสดงและแอนิเมชันหลายเรื่อง กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา[84]

นิคคาโลเดียนร่วมทุนกับซีบีเอสกำลังสร้างซีรีส์แอนิเมชันสำหรับเด็ก,[85] มีชื่อว่า โพรดิจี กำหนดเปิดตัวในปี 2021[86] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 มีการประกาศซีรีส์ใหม่ชื่อว่า สตาร์ เทรค: สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ โดยมีนักแสดงนำ ได้แก่ อีธาน เพค, แอนสัน เมาต์ และ รีเบกกา โรเมน โดยจะกลับมารับบทเดิมจากใน สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี ปี 2 เป็น สป็อค, คริสโตเฟอร์ ไพค์ และ นัมเบอร์ วัน ตามลำดับ[87][54] มิเชล โหย่ว จะกลับมารับบทเดิมเป็น ฟิลิปปา จอร์โจว์ ที่มาจากจักรวาลกระจกใน ดิสคัฟเวอรี ซึ่งสังกัด แซคชัน 31 ในซีรีส์ชุดแยก[88][89]

ซีรีส์อื่น ๆ ของแฟรนไชส์ที่กำลังอยู่ขั้นตอนวางแผนเพื่อพัฒนา ได้แก่ ซีรีส์ที่ดำเนินเรื่องในสถาบันสตาร์ฟลีต พัฒนาโดย สเตฟานี ซาเวจ และ จอช ชวาร์ตซ์,[90] เซติ อัลฟา ไฟว์ ซีรีส์ที่เกี่ยวกับตัวละคร ข่าน นูเนียน ซิงห์ และ เนื้อเรื่อง ศึกสลัดอวกาศ ของเขา เขียนโดย นิโคลัส เมเยอร์[90][91]

ภาพยนตร์[แก้]

โลโก้ปัจจุบัน

พาราเมาต์พิกเจอส์สร้างภาพยนตร์ชุด "สตาร์ เทรค" ออกมาแล้วสิบสามภาค โดยภาคล่าสุดฉายเมื่อกรกฎาคม 2016[92] ในภาพยนตร์หกเรื่องแรกนั้นเป็นการผจญภัยของนักแสดงจาก "ดิออริจินัลซีรีส์" ภาพยนตร์เรื่องที่เจ็ด สตาร์ เทรค ผ่ามิติจักรวาลทลายโลก เป็นภาพยนตร์ส่งต่อจากนักแสดงดั้งเดิมไปยังนักแสดงจาก "เน็กซ์เจเนอเรชัน" แล้วสามเรื่องต่อมาก็เน้นเฉพาะนักแสดงจาก "เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน" อย่างเดียว

ในภาพยนตร์เรื่องที่สิบเอ็ดและภาคต่อมาเป็นเส้นเวลาต่างกันจากเส้นเวลาดั้งเดิม โดยใช้นักแสดงใหม่แสดงเป็นตัวละครจาก "ดิออริจินัลซีรีส์" เลอนาร์ด นีมอย แสดงเป็นสป็อควัยแก่ในภาพยนตร์ ให้เชื่อมโยงการเล่าเรื่องกับเส้นเวลาเก่า ซึ่งต่อมากเรียกว่าเส้นเวลาไพร์ม ส่วนเส้นเวลาที่แตกต่างมีชื่อว่า "เส้นเวลาแคลวิน" คิดค้นโดย ไมเคิลและเดนิส โอคูดะ เพื่อให้เกียรติแก่ยานอวกาศ ยูเอสเอส แคลวิน ซึ่งปรากฏครั้งแรกในภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 2009[93]

ภาพยนตร์ วันฉายในสหรัฐ ผู้กำกับ ผู้เขียนบท เนื้อเรื่องโดย ผู้อำนวยการสร้าง
ดิออริจินัลซีรีส์
สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 (1979-12-07) รอเบิร์ต ไวส์ แฮโรลด์ ลิฟวิงสตัน อลัน ดีน ฟอสเตอร์ ยีน ร็อดเดนเบอร์รี
สตาร์ เทรค 2 ศึกสลัดอวกาศ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1982 (1982-06-04) นิโคลัส เมเยอร์ แจ็ค บี. โซวอร์ดส์ ฮาร์ฟ เบนเนตต์และแจ็ค บี. โซวอร์ดส์ รอเบิร์ต ซัลลิน
สตาร์ เทรค 3 ค้นหาสป็อคมนุษย์มหัศจรรย์ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (1984-06-01) เลอนาร์ด นีมอย ฮาร์ฟ เบนเนตต์
สตาร์ เทรค 4 ข้ามเวลามาช่วยโลก 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 (1986-11-26) สตีฟ เมียร์สัน, ปีเตอร์ ไครคส์, นิโคลัส เมเยอร์และฮาร์ฟ เบนเนตต์ ฮาร์ฟ เบนเนตต์และเลอนาร์ด นีมอย ฮาร์ฟ เบนเนตต์
สตาร์ เทรค 5 สงครามสุดจักรวาล 9 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (1989-06-09) วิลเลียม แชตเนอร์ เดวิด ลาเวอรี วิลเลียม แชตเนอร์, ฮาร์ฟ เบนเนตต์และเดวิด ลาเวอรี
สตาร์ เทรค 6 ศึกรบสยบอวกาศ อวสานสตาร์เทร็ค 6 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (1991-12-06) นิโคลัส เมเยอร์ นิโคลัส เมเยอร์และแดนนี มาร์ติน ฟลินน์ เลอนาร์ด นีมอย, ลอว์เรนซ์ คอนเนอร์และมาร์ก โรเซนตอล ราล์ฟ วินเทอร์และสตีเวน-ชาร์ลส์ แจฟฟี
เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน
สตาร์ เทรค ผ่ามิติจักรวาลทลายโลก 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (1994-11-18) เดวิด คาร์สัน โรนัลด์ ดี. มัวร์และแบรนนอน บรากา ริก เบอร์แมน, แบรนนอน บรากาและโรนัลด์ ดี. มัวร์ ริก เบอร์แมน
สตาร์ เทรค: ฝ่าสงครามยึดโลก 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 (1996-11-22) โจนาทาน เฟรกส์ แบรนนอน บรากาและโรนัลด์ ดี. มัวร์ ริก เบอร์แมน, มาร์ตี ฮอร์นสไตน์และปีเตอร์ ลอริตสัน
สตาร์ เทรค: ผ่าพันธุ์อมตะยึดจักรวาล 11 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (1998-12-11) ไมเคิล พิลเลอร์ ริก เบอร์แมนและไมเคิล พิลเลอร์ ริก เบอร์แมน
สตาร์ เทรค: เนเมซิส 13 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (2002-12-13) สจวร์ต แบร์ด จอห์น โลแกน จอห์น โลแกน, ริก เบอร์แมนและเบรนต์ สไปเนอร์
เส้นเวลาแคลวิน[94]
สตาร์ เทรค สงครามพิฆาตจักรวาล 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 (2009-05-08) เจ.เจ. แอบรัมส์ โรเบอร์โต โอจีและอเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมน เจ.เจ. แอบรัมส์และเดมอน ลินเดลอฟ
สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 (2013-05-16) โรเบอร์โต โอจี, อเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมนและเดมอน ลินเดลอฟ เจ.เจ. แอบรัมส์, ไบรอัน เบิร์ก, เดมอน ลินเดลอฟ, อเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมนและโรเบอร์โต โอจี
สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 (2016-07-22) จัสติน ลิน ไซมอน เพกก์และดัก ยัง เจ.เจ. แอบรัมส์, โรเบอร์โต โอจี, ลินด์ซีย์ แวเบอร์และจัสติน ลิน
สตาร์ เทรค 4 รอประกาศ รอประกาศ จอช ฟรีดแมนกับแคเมรอน สไควส์
และลินด์ซีย์ แวเบอร์กับเจนีวา รอเบิร์ตสัน-ดวอเรต์
เจ.เจ. แอบรัมส์และลินด์ซีย์ แวเบอร์

ภาพยนตร์ที่กำลังพัฒนา[แก้]

มีการประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2017 ว่า เควนติน แทแรนติโน จะกำกับภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรต R ในบทสัมภาษณ์กับ คอนซีเควนซ์ออฟซาวด์ เมื่อเดือนธันวาคม 2019 แทแรนติโนระบุว่าเขาอาจไม่ได้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้[95] ต่อมาเขายืนยันว่าเขาจะไม่กำกับภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใด ๆ ในอนาคตเมื่อเดือนมกราคม 2020 ในบทสัมภาษณ์กับ เดดไลน์[96] ในเดือนพฤศจิกายน 2019 มีการประกาศว่าภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและจะกำกับโดย โนอาห์ ฮอว์ลีย์[97]

หมายเหตุ[แก้]

  1. เผยแพร่ในชื่อ สตาร์ เทรค รายเดือน ตั้งแต่ 1995 จนถึง 2003
  2. ร็อดเดนเบอร์รี ได้ร่วมเขียนบทละครโทรทัศน์สองตอนในปีที่สาม
  3. เสาเต็นท์หมายถึงรายการหรือภาพยนตร์ที่สนับสนุนประสิทธิภาพทางการเงินของสตูดิโอภาพยนตร์หรือเครือข่ายโทรทัศน์ เปรียบเหมือนกับเสาตรงกลางของเต็นท์ซึ่งเป็นเสาที่แข็งแรงทำให้โครงสร้างของเต็นท์นั้นมั่นคง
  4. นับรวมทุกตอนที่ออกอากาศแล้วและนับรวมตอนใน ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ และตอนนำร่องที่ไม่ได้ออกอากาศอย่าง "กรง (The Cage)" ด้วย ตอนที่เนื้อเรื่องต่อกันหลายตอนที่ไม่ได้ออกอากาศเป็นตอนเดียวจะถูกนับแยก ตอนที่มีความยาวเหมือนภาพยนตร์ตอนเดียว จะนับเป็นสองตอน เพราะถูกแยกเอาไว้สำหรับการออกอากาศในต่างประเทศและการออกอากาศหลายช่อง
  5. เริ่มต้นออกอากาศนั้นใช้ชื่อว่า สตาร์ เทรค (Star Trek) ต่อมาถูกขนานนามว่า ดิออริจินัลซีรีส์ (The Original Series) โดยแฟนเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างละครโทรทัศน์ชุดอื่นและภาพยนตร์ พาราเมาต์และซีบีเอสได้ใช้ชื่อ สตาร์ เทรค: ดิออริจินัลซีรีส์ ในสื่อส่งเสริมการขายนั้นแต่นั้นเป็นต้นมา

อ้างอิง[แก้]

  1. Eller, Claudia (December 11, 1998). "Lower Costs Energize 'Trek' Film Profit". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2015. สืบค้นเมื่อ October 12, 2020.
  2. "Star Trek Franchise Box Office History" เก็บถาวร มิถุนายน 12, 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Numbers
  3. "44 entertainment/character properties reach $100 m in sales of licensed merchandise; 50% of sales are Disney's. - Free Online Library". www.thefreelibrary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2021. สืบค้นเมื่อ October 24, 2021.
  4. "Today's TV Previews". Montreal Gazette. September 6, 1966. p. 36. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2017. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
  5. Italie, Hillel (2007-07-02). "Like 'Star Wars' and 'Star Trek,' Potter is a modern phenomenon". The Seattle Times. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  6. Saadia, Manu (2017-01-13). "Why Peter Thiel Fears "Star Trek"". The New Yorker (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 2017-05-28.
  7. Reagin, Nancy R (2013-03-05). Star Trek and History. Wiley Pop Culture and History. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons. ISBN 9781118167632.
  8. Gibberman, Susan. "RODDENBERRY, GENE". Museum of Broadcast Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  9. Keonig, Rachel (1986-08-29). "Roddenberry, Eugene Wesley 1921– (Gene Roddenberry)". ใน Commire, Anna (บ.ก.). Something about the Author. Vol. 45. Detroit: Gale Research. pp. 168–179. ISBN 9780810322554. ISSN 0276-816X.
  10. 10.0 10.1 10.2 Alexander, David (June 1994). Star Trek Creator: The Authorized Biography of Gene Roddenberry. New York: Roc. ISBN 9780451454188.
  11. Simon, Richard Keller (1999-11-23). "Star Trek, Gulliver's Travels, and the Problem of History". Trash Culture: Popular Culture and the Great Tradition. Berkeley: University of California Press. pp. 139–154. ISBN 9780520222236.
  12. Snyder, J. William, Jr (1995). "Star Trek: A Phenomenon and Social Statement on the 1960s". www.ibiblio.org. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  13. 13.0 13.1 13.2 Johnson-Smith, Jan (2005-01-10). American Science Fiction TV: Star Trek, Stargate and Beyond. Middletown, Connecticut: Wesleyan University Press. ISBN 9780819567383.
  14. Grothe, DJ (2009-05-29). "Susan Sackett - The Secular Humanism of Star Trek". www.pointofinquiry.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
  15. Goulart, Woody. "Gene Roddenberry". woodygoulart.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  16. Whitfield, Stephen E; Roddenberry, Gene (May 1973). The Making of Star Trek. New York: Ballantine Books. ISBN 9780345234018.
  17. Roddenberry, Gene (March 11, 1964). "Star Trek is…" (PDF). ex-astris-scientia.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 24, 2006. สืบค้นเมื่อ June 26, 2009.
  18. Meryl Gottlieb (July 8, 2016). "Lucille Ball is the reason we have 'Star Trek' – here's what happened". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2017. สืบค้นเมื่อ January 4, 2017.
  19. 19.0 19.1 19.2 Davies, Máire Messenger; Pearson, Roberta (August 2007). "The Little Program That Could: The Relationship between NBC and Star Trek". ใน Hilmes, Michele (บ.ก.). NBC: America's network. Berkeley: University of California Press. pp. 209–223. ISBN 978-0-520-25079-6.
  20. 20.0 20.1 Solow, Herbert F; Justman, Robert H (June 1996). Inside Star Trek: The Real Story. New York: Pocket Books. pp. 377–394. ISBN 9780671896287.
  21. "Bjo Trimble: The Woman Who Saved Star Trek - Part 1". StarTrek.com. 2011-08-31. สืบค้นเมื่อ 2012-01-12.
  22. Shatner, William; Kreski, Chris (October 1993). Star Trek Memories. New York: HarperCollins. pp. 290–291. ISBN 9780060177348.
  23. Shult, Doug (1972-07-05). "Cult Fans, Reruns Give Star Trek an out of This World Popularity". Green Sheets. The Milwaukee Journal. Vol. 90 no. 230. Los Angeles Times New Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-10. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  24. "Celebrating 40 Years since Trek's 1st Convention". StarTrek.com. 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ 2013-08-01.
  25. Sackett, Susan (2002-05-15). Inside Trek: My Secret Life with Star Trek Creator Gene Roddenberry. Tulsa, Oklahoma: HAWK Publishing Group. ISBN 9781930709423.
  26. 26.0 26.1 Turnbull, Gerry, บ.ก. (October 1979). A Star Trek Catalog. New York: Grosset & Dunlap. ISBN 9780441784776.
  27. "Star Trek: Series and Movies". startrek.com. CBS STUDIOS INC., PARAMOUNT PICTURES CORPORATION, AND CBS INTERACTIVE INC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2023. สืบค้นเมื่อ 11 November 2023.
  28. "STAR TREK: THE NEXT GENERATION". startrek.com. CBS STUDIOS INC., PARAMOUNT PICTURES CORPORATION, AND CBS INTERACTIVE INC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2023. สืบค้นเมื่อ 11 November 2023.
  29. Teitelbaum, Sheldon (1991-05-05). "How Gene Roddenberry and his Brain Trust Have Boldly Taken 'Star Trek' Where No TV Series Has Gone Before : Trekking to the Top". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0458-3035. สืบค้นเมื่อ 2011-05-11.
  30. 30.0 30.1 "Star Trek - A Short History". www.ee.surrey.ac.uk. Transcribed press release originally distributed by Paramount Pictures. 1994-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  31. Poe, Stephen Edward (April 1998). A Vision of the Future. New York: Pocket Books. pp. 49–54. ISBN 9780671534813.
  32. Levesque, John (2001-01-06). "UPN in search of post-'Voyager' flagship". Seattle Post-Intelligencer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  33. "Fan Groups, Sites Rally on Behalf of Enterprise (UPDATE)". StarTrek.com. 2010-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  34. "Star Trek: Enterprise Cancelled!". StarTrek.com. 2005-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  35. "Uniting Star Trek Fans". www.trekunited.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
  36. "TrekUnited Ends Campaign To Save 'Enterprise'". Trektoday.com. 2005-04-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
  37. Adler, Margo (2009-05-06). "Some Older 'Star Trek' Fans May Skip This Voyage". NPR. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  38. Hinman, Michael (2009-06-23). "'Star Trek' Becomes Highest Grossing Franchise Film". Airlock Alpha. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  39. Pascale, Anthony (2008-04-06). "Paramount Already Thinking About Sequel To Abrams Star Trek". TrekMovie.com. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  40. Pascale, Anthony (2011-11-23). "Star Trek Sequel To Be Released May 17, 2013 – In 3D". TrekMovie.com. สืบค้นเมื่อ 2011-11-25.
  41. "Box Office History for Star Trek Movies". the-numbers.com. The Numbers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
  42. McNary, Dave (2014-12-13). "'Star Trek 3' Sets July 8, 2016, Release Date". Variety. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
  43. Holmes, Brad (2018-03-26). "Why Star Trek Beyond Wasn't A Box Office Hit, According To Simon Pegg". www.cinemablend.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
  44. Fitzpatrick, Kevin (2011-04-12). "Bryan Singer's TV Star Trek Details Emerge". UGO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-18.
  45. Straczynski, J. Michael; Zabel, Bryce. "Star Trek, Reboot, 2004" (PDF). bztv.typepad.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-05-06. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  46. Fitzpatrick, Kevin (2011-04-07). "Jonathan Frakes Talks Bar Karma, Star Trek, and Yes, Gargoyles". UGO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-11. สืบค้นเมื่อ 2015-08-23.
  47. Pascale, Anthony (2010-05-03). "Update on Star Trek: Final Frontier – The New Star Trek Animated Series That Never Was". TrekMovie.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  48. Goldberg, Lesley (2015-11-02). "'Star Trek' TV Series in the Works". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2015-11-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. 49.0 49.1 Andreeva, Nellie (2017-06-19). "'Star Trek: Discovery' Gets September Premiere Date On CBS". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 2017-06-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "Discovery Renewed for Season Three". startrek.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  51. Bacon, Thomas (2018-11-06). "Star Trek: Discovery's Budget Reportedly Paid For By Netflix". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ 2020-01-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  52. Littleton, Cynthia (2019-05-13). "Amazon Nabs International Rights to CBS' Jean-Luc Picard 'Star Trek' Series". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  53. Otterson, Joe (2020-05-15). "'Star Trek' Series Starring Ethan Peck as Spock, Anson Mount a Capt. Pike Set at CBS All Access". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-15.
  54. 54.0 54.1 Patten, Dominic (2020-05-15). "'Star Trek: Strange New Worlds' Series Continuing Spock's Saga At CBS All Access". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-15.
  55. Jackson, Matthew (2018-08-07). "New Star Trek Could Eventually be on All Access Year-Round, According to CBS execs". SYFY WIRE (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  56. "CBS Wants New Star Trek Shows All Year Round On All Access". TrekMovie.com. 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  57. Lovett, Jamie (2018-08-06). "CBS All Access Plans to Have Something 'Star Trek' on at All Times". ComicBook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  58. Andreeva, Nellie (October 11, 2023). "'Star Trek: Prodigy' Finds New Home At Netflix After Paramount+ Cancellation". Deadline.
  59. 59.0 59.1 Lee, Luaine (2006-08-18). "KRT Wire | 08/18/2006 | 'Star Trek' turns 40". San Jose Mercury News. McClatchy News. Tribune News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  60. Rioux, Terry Lee (2005-02-28). From Sawdust to Stardust: The Biography of Deforest Kelley, Star Trek's Dr. Mccoy. New York: Gallery Books. pp. 194–196. ISBN 9780743457620.
  61. Trimble, Bjo (October 1986). Stine, Hank (บ.ก.). On the Good Ship Enterprise: My 15 Years with Star Trek (Reprint ed.). Norfolk, Virginia: The Donning Company. p. 33. ISBN 9780898652536.
  62. Dursin, Andre (2006-11-14). "The Aisle Seat by Andy Dursin". www.andyfilm.com. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  63. Ayers, Jeff (2006-11-14). Voyages of the Imagination: The Star Trek Fiction Companion. New York: Pocket Books. ISBN 9781416503491.
  64. "Star Trek". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  65. "Star Trek Animated - The Series that ran from 1973 - 1974". www.sciencefictionbuzz.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  66. "Cult - Star Trek - Next Generation - Trivia". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  67. "Emissary, Part I". www.startrek.com. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
  68. Lense. "Review of "Inter Arma Enim Silent Leges" - Star Trek Fans". scifi.about.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-29.
  69. Sturgis, Amy H. "Star Trek Voyager : Final Episode : Review". www.revolutionsf.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-01-16. สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  70. "Star Trek: Voyager [TV Series] Synopsis - Plot Summary". Fandango. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  71. "Star Trek: Enterprise Summary". www.starpulse.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  72. Lee, Patrick (2005-05-14). "Star Trek: Enterprise Series Finale". www.scifi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.
  73. Leao, Gustavo (2005-12-17). "Anthony Montgomery Says "These Are The Voyages..." Not an Effective Finale". trekweb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  74. Slotek, Jim (2005-05-13). "Star Trek: E lamely goes away". Toronto Sun. p. E4.
  75. Ausiello, Michael; Roots, Kimberly (2016-08-10). "'Star Trek: Discovery' Spoilers: Amanda Grayson Role in CBS Reboot". TVLine. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30.
  76. Frankel, Daniel (2016-12-07). "Moonves: Netflix international sales pay for entire 'Star Trek' production cost". www.fiercevideo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2017-01-16.
  77. Hibberd, James (2017-07-17). "Star Trek: Discovery producer explains why the Klingons changed". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 2017-07-18.
  78. Anderton, Ethan (2017-07-21). "Star Trek Discovery Comic-Con Exhibit Reveals Starfleet, Klingon and Vulcan Props, Costumes & Ships". /Film. สืบค้นเมื่อ 2017-07-22.
  79. Goldberg, Lesley (2019-01-08). "'Star Trek': Second Animated Series, More 'Short Treks' Coming to CBS All Access (Exclusive)". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-13.
  80. "Short Treks – How Children of Mars Sets Up Star Trek: Picard". Den of Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-02.
  81. Spencer, Samuel (January 23, 2020). "'Star Trek: Picard' Timeline: Where Does the New Series Fit in the World of 'Star Trek'?". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  82. Andreeva, Nellie (2018-10-25). "'Star Trek: Lower Decks' Animated Series Ordered By CBS All Access". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  83. Petski, Denise (July 1, 2020). "'Star Trek: Lower Decks' Gets August Premiere Date On CBS All Access; Teaser Art Unveiled". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2020. สืบค้นเมื่อ July 2, 2020.
  84. Labonte, Rachel (January 13, 2020). "2 More Unannounced Star Trek TV Shows in the Works After Picard". Screen Rant. สืบค้นเมื่อ February 23, 2020.
  85. Otterson, Joe (2019-02-13). "'Star Trek' Animated Kids Show in the Works at Nickelodeon – Variety". Variety. สืบค้นเมื่อ 2019-02-17.
  86. "Nickelodeon and CBS Television Studios Announce Title of Original Animated Series, Star Trek: Prodigy" (Press release). Nickelodeon. July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020 – โดยทาง The Futon Critic.
  87. Otterson, Joe; Otterson, Joe (2020-05-15). "'Star Trek' Series Starring Ethan Peck as Spock, Anson Mount a Capt. Pike Set at CBS All Access". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-15.
  88. Goldberg, Lesley (2018-08-04). "Patrick Stewart to Reprise 'Star Trek' Role in New CBS All Access Series". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  89. Patten, Dominic (2019-01-14). "Michelle Yeoh 'Star Trek' Spinoff In Development At CBS All Access". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  90. 90.0 90.1 Otterson, Joe (June 19, 2018). "Alex Kurtzman Sets Five-Year CBS TV Studios Pact, Will Oversee Expanded 'Star Trek' Universe". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2018. สืบค้นเมื่อ July 21, 2018.
  91. "Nicholas Meyer Gives Update On Khan Mini-Series And Talks 'Star Trek: Discovery'". TrekMovie.com. November 21, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
  92. "Star Trek Beyond (2016) - Release Info". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  93. Agar, Chris (2016-06-28). "J.J. Abrams Star Trek Universe Is The Kelvin Timeline". ScreenRant (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  94. https://www.blu-ray.com/movies/Star-Trek-Trilogy-The-Kelvin-Timeline-Blu-ray/239524/
  95. Roffman, Michael (2019-12-16). "Filmmaker of the Year Quentin Tarantino on What's Next | Interview | Page 2". Consequence of Sound (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
  96. Fleming, Mike (2020-01-14). "Quentin Tarantino Oscar Once Upon A Time No Star Trek, Bounty Law series". Deadline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
  97. Fleming, Mike (2019-11-19). "'Star Trek' Movie: 'Fargo's Noah Hawley In Talks To Write & Direct For Paramount". Deadline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]