ข้ามไปเนื้อหา

สงครามแพ็กเจ–ถัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามแพ็กเจ–ถัง
วันที่ค.ศ. 660 (สงคราม)
ค.ศ. 660–663 (การต่อต้าน)
สถานที่
ผล

กองทัพพันธมิตรชิลลา/ถังชนะ

คู่สงคราม
ราชวงศ์ถัง
อาณาจักรชิลลา
อาณาจักรแพ็กเจ
ชนเผ่ายะมะโตะ
อาณาจักรโคกูรยอ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ยอนแกโซมุน
คเยแบ็ก 

สงครามแพ็กเจ–ถัง (อังกฤษ: Baekje–Tang War; จีน: 唐灭百济之战) เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรแพ็กเจกับกองทัพผสมราชวงศ์ถัง/อาณาจักรชิลลา เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 660–663

อาณาจักรชิลลาเป็นพันธมิตรทางทหารกับราชวงศ์ถังในรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง[1] เมื่ออาณาจักรแพ็กเจเข้าตีอาณาจักรชิลลา พระราชินีช็อนด็อกแห่งชิลลาจึงส่งคณะทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิถังเกาจงเพื่อขอความช่วยเหลือ[1] ในขณะเดียวกันแพ็กเจได้เป็นพันธมิตรกับชนเผ่ายะมะโตะในญี่ปุ่นและอาณาจักรโคกูรยอ[2] ความขัดแย้งระหว่างชิลลาและแพ็กเจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี ค.ศ. 658 จักรพรรดิถังเกาจงส่งกองทัพเข้าโจมตีโคกูรยอ[3] และส่งกองเรือพร้อมทหาร 130,000 นายข้ามทะเลเหลือง แม่น้ำกึม (Geum River) มาขึ้นฝั่งทางตะวันตกของอาณาจักรแพ็กเจ ก่อนเดินทัพไปที่เมืองหลวง คือเมืองซาบี[4]

ฝ่ายชิลลาได้ส่งกองทัพ 50,000 นายเข้าปะทะกับฝ่ายแพ็กเจจนได้รับชัยชนะในยุทธการฮวังซันบ็อล (Battle of Hwangsanbeol)[4] ก่อนจะเดินทัพข้ามเทือกเขาโซแบ็ก (Sobaek Mountains)[5] พรมแดนด้านตะวันออกของแพ็กเจ[1] และรบชนะฝ่ายแพ็กเจอีกครั้งในยุทธการที่ที่ราบฮวังซัน[5] ในที่สุดกองทัพพันธมิตรถัง/ชิลลาก็ยึดเมืองหลวงได้สำเร็จ อาณาจักรแพ็กเจถูกพิชิตในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 660[1] มีทหารกว่า 10,000 นายเสียชีวิตในการปะทะ[6] พระเจ้าอึยจา พระราชวงศ์และข้าราชการส่วนใหญ่ถูกจับไปเป็นตัวประกันที่จีน[1] หลังจากนั้นราชวงศ์ถังได้ผนวกแพ็กเจเข้ามาแทนที่จะให้ชิลลาปกครอง[7]

ขุนศึกควีชิล พกชิน (Gwisil Boksin) นำทหารบางส่วนที่ยังไม่ยอมจำนนโจมตีราชวงศ์ถัง เขาขอความช่วยเหลือไปที่จักรพรรดินีโคเงียวกุแห่งยะมะโตะซึ่งส่งทหาร 27,000 นายมาสนับสนุน[8] ทั้งสองฝ่ายปะทะกันในปี ค.ศ. 663 ที่ยุทธการแพ็กกัง (Battle of Baekgang)[9] ซึ่งกองทัพพันธมิตรถัง/ชิลลาเป็นฝ่ายชนะ อย่างไรก็ตาม สองอาณาจักรนี้ได้หันมาทำสงครามกันเองในสงครามชิลลา-ถัง (ค.ศ. 670–676)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Lee 1997, 17
  2. Kim 2005, 37.
  3. Ebrey, Walthall & Palais 2006, 106.
  4. 4.0 4.1 Kim 2005, 38.
  5. 5.0 5.1 Seth 2010, 44
  6. Kim 2005, 39
  7. Ebrey, Walthall & Palais 2006, 106–107.
  8. Farris 1985, 10.
  9. Ota 2012, 302.