สงครามเกาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามเกาหลี
สถานที่
{{{place}}}
สถานะ

ไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง

คู่สงคราม
การสนับสนุนด้านการแพทย์
การสนับสนุนอื่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

* นามที่มี สหประชาชาติ ข้างหน้า หมายถึง ผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการสหประชาชาติ
กำลัง
อื่น ๆ
ยอด: 972,214

ยอด: 1,642,600

หมายเหตุ: แต่ละแหล่งข้อมูลระบุตัวเลขไว้ไม่ตรงกัน ยอดกำลังพลแปรผันระหว่างสงคราม
ความสูญเสีย

รวม: เสียชีวิต 178,236 นาย สูญหาย 32,844 นาย บาดเจ็บ 566,314 นาย

รายละเอียด
  • เกาหลีใต้:[10]
    เสียชีวิต 137,899 นาย
    บาดเจ็บ 450,742 นาย
    สูญหาย 24,495 นาย
    ถูกจับเป็นเชลย 8,343 นาย
  • สหรัฐ:
    เสียชีวิต 36,574 นาย[14]
    บาดเจ็บ 103,284 นาย[14]
    สูญหาย 7,926 นาย[15]
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 4,714 นาย[16]
  • สหราชอาณาจักร:
    เสียชีวิต 1,109 นาย[17]
    บาดเจ็บ 2,674 นาย[17]
    สูญหาย 179 นาย[10]
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 977 นาย[10]
  • ตุรกี:[10]
    เสียชีวิต 741 นาย
    บาดเจ็บ 2,068 นาย
    สูญหาย 163 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 244 นาย
  • ออสเตรเลีย:[18]
    เสียชีวิต 339 นาย
    บาดเจ็บ 1,216 นาย
    สูญหาย 43 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 26 นาย
  • แคนาดา:[10]
    เสียชีวิต 312 นาย
    บาดเจ็บ 1,212 นาย
    สูญหาย 1 MIA
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 32 นาย
  •  ฝรั่งเศส:[10]
    เสียชีวิต 262 นาย
    บาดเจ็บ 1,008 นาย
    สูญหาย 7 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 12 นาย
  • ราชอาณาจักรกรีซ:[10]
    เสียชีวิต 192 นาย
    บาดเจ็บ 543 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 3 นาย
  • โคลอมเบีย:[10]
    เสียชีวิต 163 นาย
    บาดเจ็บ 448 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 28 นาย
  • ไทย:[10]
    เสียชีวิต 129 นาย
    บาดเจ็บ 1,139 นาย
    สูญหาย 5 นาย
  • จักรวรรดิเอธิโอเปีย[10]
    เสียชีวิต 121 นาย
    บาดเจ็บ 536 นาย
  • เนเธอร์แลนด์:[10]
    เสียชีวิต 120 นาย
    บาดเจ็บ 645 นาย
    สูญหาย 3 นาย
  • ฟิลิปปินส์:[10]
    เสียชีวิต 112 นาย
    บาดเจ็บ 229 นาย
    สูญหาย 16 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 41 นาย
  • เบลเยียม:[10]
    เสียชีวิต 101 นาย
    บาดเจ็บ 478 นาย
    สูญหาย 5 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 1 นาย
  • สหภาพแอฟริกาใต้:[10]
    เสียชีวิต 34 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 9 นาย
  • นิวซีแลนด์:[10]
    เสียชีวิต 23 นาย
    บาดเจ็บ 79 นาย
    สูญหาย 1 นาย
  • นอร์เวย์:[10]
    เสียชีวิต 3 นาย
  • ลักเซมเบิร์ก:[10]
    เสียชีวิต 2 นาย
    บาดเจ็บ 13 นาย

เสียชีวิตรวม 367,283-750,282 นาย
บาดเจ็บรวม 686,500-789,000 นาย

รายละเอียด
  • เกาหลีเหนือ
    เสียชีวิต 215,000-350,000 นาย[19]
    บาดเจ็บ 303,000 นาย
    สูญหายหรือถูกจับเป็นเขลยศึก 120,000 นาย[20]
  • จีน
    (แหล่งข้อมูลจีน):[21]
    เสียชีวิต 152,000 นาย
    บาดเจ็บ 383,500 นาย
    ถูกนำส่งโรงพยาบาล 450,000 นาย
    สูญหาย 4,000 นาย
    ถูกจับเป็นเชลย 7,110 นาย
    แปรพักตร์ 14,190 นาย
    (การประเมินของสหรัฐ)
    :[20]
    เสียชีวิต 400,000+ นาย
    บาดเจ็บ 486,000 นาย
    ถูกจับเป็นเชลยศึก 21,000 นาย
  • สหภาพโซเวียต
    เสียชีวิต 282 นาย[22]
  • พลเรือนเสียชีวิต/บาดเจ็บทั้งหมด: 2.5 ล้านคน (ประมาณ)[10]
  • เกาหลีใต้: 990,968 คน
    เสียชีวิต 373,599 คน[10]
    บาดเจ็บ 229,625 คน[10]
    ถูกลักพาตัว/สูญหาย 387,744 คน[10]
  • เกาหลีเหนือ: 1,550,000 คน (ประมาณ)[10]

สงครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ[23]

ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950[24] ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี

สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ[24] การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี

จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951

เบื้องหลัง

การปกครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น (1910–45)

หลังราชวงศ์ชิงพ่ายในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (1894–96) จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองจักรวรรดิเกาหลี อันเป็นคาบสมุทรซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อเขตอิทธิพล อีกทศวรรษให้หลัง หลังจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถพิชิตจักรวรรดิรัสเซียได้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (1904–05) ญี่ปุ่นทำให้เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาโดยสนธิสัญญาอึลซาในปี 1905 แล้วจึงผนวกด้วยสนธิสัญญาการผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลีในปี 1910

นักชาตินิยมและกลุ่มปัญญาชนเกาหลีหลบหนีออกนอกประเทศ และมีบางส่วนก่อตั้งรัฐบาลเกาหลีเฉพาะกาลขึ้นในปี 1919 นำโดย อี ซึงมัน ในเซี่ยงไฮ้ รัฐบาลพลัดถิ่นนี้ได้รับการรับรองจากไม่กี่ประเทศ จากปี 1919 ถึง 1925 และหลังจากนั้น นักคอมมิวนิสต์เกาหลีนำและเป็นตัวการหลักของการสงครามต่อญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ

เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเป็นอาณานิคมที่ถูกปรับให้เป็นอุตสาหกรรม ร่วมกับไต้หวัน และทั้งคู่เป็นส่วนหนึ่งของวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ในปี 1937 ข้าหลวงใหญ่อาณานิคม พลเอก จิโร มินามิ ซึ่งบังคับบัญชาการพยายามผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมประชากร 23.5 ล้านคนของเกาหลี โดยห้ามการใช้และศึกษาภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรมเกาหลี และบังคับให้ใช้และศึกษาภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแทน มีการออกนโยบายโซชิ-ไกเม เริ่มตั้งแต่ปี 1939 กำหนดให้ประชาชนใช้ชื่อภาษาญี่ปุ่น ในปี 1938 รัฐบาลอาณานิคมเริ่มการเกณฑ์แรงงาน

ในประเทศจีน กองทัพปฏิวัติแห่งชาติที่เป็นชาตินิยมและกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่เป็นคอมมิวนิสต์ช่วยจัดระเบียบผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้รักชาติและนักต่อสู้เพื่อเอกราชชาวเกาหลีต่อทหารญี่ปุ่น ซึ่งยังยึดครองบางส่วนของจีนด้วย ชาวเกาหลีที่นักชาตินิยมหนุนหลัง นำโดย อี พมซก สู้รบในการทัพพม่า (ธันวาคม 1941 – สิงหาคม 1945) ส่วนนักคอมมิวนิสต์ชาวเกาหลี นำโดย คิม อิลซอง ฯลฯ ต่อสู้ทหารญี่ปุ่นในเกาหลีและแมนจูเรีย

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นใช้อาหาร ปศุสัตว์ และโลหะของเกาหลีเพื่อความพยายามของสงครามของตน กองกำลังญี่ปุ่นในเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 46,000 นาย ในปี 1941 เป็น 300,000 นาย ในปี 1945 เกาหลีของญี่ปุ่นเกณฑ์แรงงานบังคับ 2.6 ล้านคน ซึ่งควบคุมโดยกองกำลังตำรวจชาวเกาหลีที่ให้ความร่วมมือ ประชาชนราว 723,000 นายถูกส่งไปทำงานในจักรวรรดิโพ้นทะเลและในมหานครญี่ปุ่น จนถึงปี 1942 ชายชาวเกาหลีถูกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น จนถึงเดือนมกราคม 1945 ชาวเกาหลีคิดเป็น 32% ของกำลังแรงงานญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม 1945 เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ราว 25% ของผู้เสียชีวิตเป็นชาวเกาหลี เมื่อสงครามยุติ ประเทศอื่นในโลกไม่รับรองการปกครองของญี่ปุ่นในเกาหลีและไต้หวัน

ขณะเดียวกัน ที่การประชุมไคโร (พฤศจิกายน 1943) สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาตัดสินใจว่า "เมื่อถึงกำหนด เกาหลีจักเป็นอิสระและมีเอกราช" ภายหลัง การประชุมยัลตา (กุมภาพันธ์ 1945) ให้ "เขตกันชน" ในทวีปยุโรปแก่สหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นรัฐบริวารที่รัฐบาลโซเวียตต้องรับผิดชอบ ตลอดจนการขึ้นเป็นใหญ่ที่คาดหวังไว้ของโซเวียตในจีนและแมนจูเรีย ตอบแทนที่สหภาพโซเวียตเข้าร่วมความพยายามของสงครามต่อญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก

การรุกรานแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต (1945)

สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ตามที่ตกลงในการประชุมเตหะราน (พฤศจิกายน 1943) และการประชุมยัลตา (กุมภาพันธ์ 1945) ว่า สหภาพโซเวียตต้องประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นภายในสามเดือนหลังสงครามในยุโรปสิ้นสุดลง จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม กองทัพแดงยึดครองครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลีตามที่ตกลงกัน และวันที่ 26 สิงหาคม มาหยุดที่เส้นขนานที่ 38 เป็นเวลาสามสัปดาห์เพื่อรอให้กองกำลังสหรัฐมาถึงจากทางใต้

วันที่ 10 สิงหาคม เมื่อญี่ปุ่นใกล้ยอมจำนน อเมริกาสงสัยว่าโซเวียตจะเคารพคณะกรรมาธิการร่วมส่วนของตน หรือความตกลงยึดครองเกาหลีที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุน หรือไม่ อีกหนึ่งเดือนให้หลัง พันเอก ดีน รัสก์ และพันเอก ชาลส์ เอช. โบนสตีลที่สาม แบ่งคาบสมุทรเกาหลีที่เส้นขนานที่ 38 หลังเร่งตัดสินใจว่า เขตยึดครองเกาหลีของสหรัฐจำต้องมีเมืองท่าอย่างน้อยสองแห่ง

เมื่ออธิบายเหตุที่การปักปันเขตยึดครองอยู่ที่เส้นขนานที่ 38 รัสก์ออกความเห็นว่า "แม้ในความเป็นจริง กองกำลังสหรัฐสามารถขึ้นไปเหนือกว่านั้นได้ กรณีที่โซเวียตไม่ตกลง ... เรารู้สึกว่าเป็นการสำคัญที่จะรวมเมืองหลวงของเกาหลีในพื้นที่รับผิดชอบของทหารอเมริกัน" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ "เผชิญกับควาขาดแคลนกองกำลังสหรัฐที่มีอยู่ และปัจจัยกาลเทศะ ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะขึ้นเหนือไปไกลมาก ก่อนที่ทหารโซเวียตจะเข้าสู่พื้นที่" โซเวียตตกลงการปักปันเขตยึดครองของสหรัฐเพื่อปรับปรุงฐานะการเจรจาของตนว่าด้วยเขตยึดครองในยุโรปตะวันออก และเพราะทั้งสองจะสนองการยอมจำนนของญี่ปุ่นจากที่ที่ตั้งอยู่

สงครามกลางเมืองจีน (1945–49)

หลังสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองสิ้นสุดลง สงครามกลางเมืองจีนหวนกลับมาอีกครั้งระหว่างคอมมิวนิสต์จีนกับจีนคณะชาติ ขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์แย่งชิงความเป็นใหญ่ในแมนจูเรีย ก็ได้รับการสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยและกำลังพลจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ ตามแหล่งข้อมูลของจีน เกาหลีเหนือได้บริจาคยุทธปัจจัย 2,000 ตู้รถไฟ และชาวเกาหลีหลายพันคนรับราชการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนระหว่างสงคราม เกาหลีเหนือยังให้ที่ซ่อนอันปลอดภัยแก่ผู้ที่มิใช่พลรบและการสื่อสารกับจีนส่วนที่เหลือ

การมีส่วนของเกาหลีเหนือแก่ชัยชนะของคอมมิวนิสต์จีนไม่ถูกลืมหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ตอบแทน ทหารผ่านศึกชาวเกาหลีระหว่าง 50,000 ถึง 70,000 คน ถูกส่งกลับพร้อมกับอาวุธ และภายหลัง ทหารเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการบุกครองเกาหลีใต้ขั้นต้น จีนสัญญาจะสนับสนุนเกาหลีเหนือหากเกิดสงครามกับเกาหลีใต้ การสนับสนุนของจีนสร้างการแบ่งแยกร้าวลึกระหว่างคอมมิวนิสต์เกาหลี และอำนาจของคิม อิลซองภายในพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกลุ่มแยกจีน ที่นำโดย พัก อิลยู ท้าทาย ภายหลังพักถูกคิมกวาดล้างไป

รัฐบาลจีนตั้งชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา เป็นภัยคุกคามใหญ่สุดต่อความมั่นคงของชาติ การตัดสินใจนี้อิงศตวรรษแห่งความอัปยศของจีนเริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การสนับสนุนคณะชาติของอเมริการะหว่างสงครามกลางเมืองจีน และการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างพวกปฏิวัติกับพวกปฏิกิริยา ผู้นำจีนเชื่อว่าจะจีนจะเป็นสมรภูมิสำคัญในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ของสหรัฐ เพื่อเป็นมาตรการตอบโต้และยกฐานะของจีนในบรรดาขบวนการคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ผู้นำจีนจึงนำนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ทั่วดินแดนขอบขัณฑสีมาของจีนมาใช้

การแบ่งเกาหลี (1945–1949)

บรรดาชาติสัมพันธมิตรตกลงกันในการประชุมพอตสดัม (กรกฎาคม-สิงหาคม 1945) ให้มีการแบ่งเกาหลีอออกเป็นสองส่วน โดยที่ไม่ถามความเห็นของชาวเกาหลี เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงจากการประชุมไคโร

พลโท จอห์น อาร์. ฮอดจ์ ผู้แทนฝ่ายสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึงเมืองอินช็อนในวันที่ 8 กันยายน 1945 เพื่อรับการประกาศยอมแพ้สงครามของญี่ปุ่นในอาณาบริเวณคาบสมุทรเกาหลีใต้ต่อเส้นขนานที่ 38 พลโทฮอดจ์มีอำนาจปกครองเกาหลีใต้ในฐานะผู้บัญชาการรัฐบาลทหารกองทัพสหรัฐอเมริกาในเกาหลี (USAMGIK) พลโทฮอดจ์คืนอำนาจให้แก่ผู้ปกครองอาณานิคมชาวญี่ปุ่นและกองกำลังตำรวจเกาหลีเดิมที่เคยให้การสนับสนุนญี่ปุ่น รัฐบาลทหารสหรัฐที่ปกครองเกาหลีไม่ให้การรับรองรัฐบาลพลัดถิ่นของสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีซึ่งดำรงอยู่ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากรัฐบาลทหารสหรัฐมีความสงสัยว่ารัฐบาลพลัดถิ่นของเกาหลีนั้นจะเป็นคอมมูนนิสต์ นโยบาลเหล่านี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนชาวเกาหลี นำไปสู่การลุกฮือต่อต้านและสงครามกองโจร ในวันที่ 3 กันยายน 1945 พลโทโยะชิโอะ โคซุกิ ผู้บัญชาการกองกำลังภาคที่สิบเจ็ดของญี่ปุ่น รายงานต่อพลโทฮอดจ์ว่ากองกำลังของโซเวียตได้ลงมาทางใต้ต่ำกว่าเส้นขนานที่ 38 อยู่ที่เมืองแคซอง ซึ่งพลโทฮอดจ์ก็เชื่อข่าวกรองของญี่ปุ่น

คณะกรรมาธิการร่วมสหรัฐอเมริกา-สหภาพโซเวียต เข้าปกครองเกาหลีในเดือนธันวาคม 1945 ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประชุมมอสโก (1945) โดยที่ชาวเกาหลีไม่ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาตกลง คณะกรรมาธิการร่วมได้ข้อยุติว่าให้เกาหลีอยู่ในฐานะทรัสตีเป็นเวลาห้าปีแล้วจึงเป็นเอกราช ปกครองโดยรัฐบาลที่มีแนวความคิดทางการเมืองเหมือนกับประเทศแม่ที่ให้การสนับสนุน ประชาชนชาวเกาหลีจึงลุกขึ้นต่อต้านในเกาหลีใต้ บ้างประท้วงบ้างก็ทำการสู้รบ รัฐบาลทหารสหรัฐอเมริกาพยายามจะควบคุมการลุกฮือโดยการออกประกาศห้ามการชุมนุมในวันที่ 8 ธันวาคม 1945 และประกาศให้รัฐบาลปฏิวัติและคณะกรรมาธิการประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีเป็นรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1945

สภาประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democratic Council) ฝ่ายขวา นำโดย ซิงมัน รี ผู้มาพร้อมกับกองทัพสหรัฐ คัดค้านภาวะทรัสตี โดยแย้งว่าเกาหลีถูกต่างชาติดยึดครองมานานเกินไปแล้ว พลเอกฮอดจ์เริ่มแยกตัวห่างจากข้อเสนอ แม้มันเริ่มจากรัฐบาลของเขา

ในวันที่ 23 กันยายน 1946 การนัดหยุดงานของคนงานรางรถไฟ 8,000 คนเริ่มในปูซาน การก่อความไม่สงบลามไปทั่วประเทศในเหตุการณ์ที่เรียก การก่อการกำเริบฤดูใบไม้ร่วง ในวันที่ 1 ตุลาคม 1946 ตำรวจเกาหลีฆ่านักศึกษาสามคนในการก่อการกำเริบแทกู ผู้ประท้วงตีโต้ตอบ โดยฆ่าตำรวจ 38 นาย ในวันที่ 3 ตุลาคม ราว 10,000 คนโจมตีสถานีตำรวจยองช็อน ฆ่าตำรวจไป 3 นายและมีได้รับบาดเจ็บอีก 40 นาย ที่อื่น เจ้าของที่ดินและข้าราชการเกาหลีใต้ผู้นิยมญี่ปุ่นราว 20 คนถูกฆ่า USAMGIK ประกาศกฎอัยการศึก

รัฐบาลสหรัฐอ้างว่า คณะกรรมการร่วมไม่มีความสามารถดำเนินความคืบหน้า ตัดสินใจจัดการเลือกตั้งภายใต้ความคุ้มครองของสหประชาชาติ โดยมุ่งหมายสร้างประเทศเกาหลีอันมีเอกราช ทางการโซเวียตและนักคอมมิวนิสต์เกาหลีปฏิเสธให้ความร่วมมือด้วยเหตุว่าการเลือกตั้งจะไม่ยุติธรรม และนักการเมืองเกาหลีใต้จำนวนมากยังคว่ำบาตรด้วย มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในทางใต้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1948 ถูกทำลายด้วยการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 600 คน เกาหลีใต้จัดการเลือกตั้งรัฐสภาอีกสามเดือนให้หลังในวันที่ 25 สิงหาคม

รัฐบาลเกาหลีใต้จากการเลือกตั้งประกาศใช้รัฐธรรมนูญการเมืองแห่งชาติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1948 และเลือกซิงมัน รีเป็นประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1948 ในเขตยึดครองเกาหลีของรัสเซีย สหภาพโซเวียตสถาปนารัฐบาลเกาหลีเหนือซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ นำโดย คิม อิล-ซ็อง ระบอบของประธานาธิบดีรีตัดนักคอมมิวนิสต์และฝ่ายซ้ายจากการเมืองเกาหลีใต้ เมื่อถูกริบสิทธิเลือกตั้ง พวกเขามุ่งหน้าไปภูเขา เพื่อเตรียมสงครามกองโจรต่อรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีที่สหรัฐสนับสนุน

ขณะเดียวกัน ในวันที่ 3 เมษายน 1948 การเดินขบวนเฉลิมฉลองการต่อต้านการปกครองของญี่ปุ่นของเกาหลียุติด้วยการก่อการกำเริบเชจู ซึ่งมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 14,000 ถึง 60,000 คน ทหารเกาหลีใต้ก่อกรรมป่าเถื่อนขนานใหญ่ระหว่างการปราบปรามการก่อการกำเริบนั้น ในเดือนตุลาคม 1948 ทหารเกาหลีใต้บางส่วนก่อการกำเริบต่อการจำกัดในกบฏยอซุ–ซูนช็อน

สหภาพโซเวียตถอนกำลังตามตกลงจากเกาหลีในปี 1948 และกำลังสหรัฐถอนในปี 1949 ในวันที่ 24 ธันวาคม 1949 กำลังเกาหลีใต้ฆ่าประชาชน 86 ถึง 88 คนในการสังหารหมู่มูงย็องและกล่าวโทษอาชญากรรมนั้นต่อกลุ่มโจรปล้นที่เป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อต้นปี 1950 ซิงมัน รีมีผู้ถูกกล่าวหาเป็นนักคอมมิวนิสต์ในคุก 30,000 คน และผู้ฝักใฝ่ที่ต้องสงสัยราว 300,000 คนขึ้นทะเบียนในขบวนการให้การศึกษาใหม่สันนิบาติโบโด

สงครามแรกเริ่ม (1950)

กองกำลังของเกาหลีใต้ลดกำลังกองโจรคอมมิวนิสต์ จากเดิม 5,000 นายเป็น 1,000 นายในบริเวณแถบเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม คิม อิล-ซ็อง เชื่อว่าการรบแบบกองโจรจะทำให้กองทัพเกาหลีใต้อ่อนตัวลง และการรุกรานของเกาหลีเหนือยังได้รับการต้อนรับโดยชาวเกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก คิม อิล-ซ็อง เริมนำ โจเซฟ สตาลิน เป็นฝ่ายสนับสนุนในการรุกราน ในเดือนมีนาคม 1949 เดินทางไปมอสโกเพื่อพยายามโน้มน้าวสตาลิน[25]

เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 1949 กองทัพเกาหลีเหนือจำนวน 1,000 จู่โจมกองทัพเหนือและครอบครอบเส้นขนานที่ 38 กองทหารราบที่ 2 และ 18 ของหน่วย ROKA ปะทะครั้งแรกในเมือง Kuksa-bong (เส้นขนาน ที่ 38)[26] และเมือง Ch'ungmu[27]

เชิงอรรถ

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hedvicek.blog.cz
  2. "Romania's "Fraternal Support" to North Korea during the Korean War, 1950-1953". Wilson Centre. สืบค้นเมื่อ 24 January 2013.
  3. Birtle, Andrew J. (2000). The Korean War: Years of Stalemate. U.S. Army Center of Military History. p. 34. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  4. Millett, Allan Reed, บ.ก. (2001). The Korean War, Volume 3. Korea Institute of Military History. U of Nebraska Press. p. 692. ISBN 9780803277960. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013. Total Strength 602,902 troops {{cite book}}: ระบุ |pages= และ |page= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. Tim Kane (27 October 2004). "Global U.S. Troop Deployment, 1950-2003". Reports. The Heritage Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
    Ashley Rowland (22 October 2008). "U.S. to keep troop levels the same in South Korea". Stars and Stripes. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
    Colonel Tommy R. Mize, United States Army (12 March 2012). "U.S. Troops Stationed in South Korea, Anachronistic?". United States Army War College. Defense Technical Information Center. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
    Louis H. Zanardi; Barbara A. Schmitt; Peter Konjevich; M. Elizabeth Guran; Susan E. Cohen; Judith A. McCloskey (August 1991). "Miltiary Presence: U.S. Personnel in the Pacific Theater" (PDF). Reports to Congressional Requesters. United States General Accounting Office. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 "United Nations Command". United States Forces Korea. United States Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013. Republic of Korea -- 590,911
    Colombia -- 1,068
    United States -- 302,483
    Belgium -- 900
    United Kingdom -- 14,198
    South Africa -- 826
    Canada -- 6,146
    The Netherlands -- 819
    Turkey -- 5,453
    Luxembourg -- 44
    Australia -- 2,282
    Philippines -- 1,496
    New Zealand -- 1,385
    Thailand -- 1,204
    Ethiopia -- 1,271
    Greece -- 1,263
    France -- 1,119
    {{cite web}}: ข้อความ "authorUSFK Public Affairs Office" ถูกละเว้น (help)
  7. Rottman, Gordon L. (2002). Korean War Order of Battle: United States, United Nations, and Communist Ground, Naval, and Air Forces, 1950-1953. Greenwood Publishing Group. p. 126. ISBN 9780275978358. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013. A peak strength of 14,198 British troops was reached in 1952, with over 40 total serving in Korea. {{cite book}}: ระบุ |pages= และ |page= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
    "UK-Korea Relations". British Embassy Pyongyang. Foreign and Commonwealth Office. 9 February 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013. When war came to Korea in June 1950, Britain was second only to the United States in the contribution it made to the UN effort in Korea. 87,000 British troops took part in the Korean conflict, and over 1,000 British servicemen lost their lives
    Jack D. Walker. "A Brief Account of the Korean War". Information. Korean War Veterans Association. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013. Other countries to furnish combat units, with their peak strength, were: Australia (2,282), Belgium/Luxembourg (944), Canada (6,146), Colombia (1,068), Ethiopia (1,271), France (1,119), Greece (1,263), Netherlands (819), New Zealand (1,389), Philippines (1,496), Republic of South Africa (826), Thailand (1,294), Turkey (5,455), and the United Kingdom (Great Britain 14,198).
  8. "Land of the Morning Calm: Canadians in Korea 1950 - 1953". Veterans Affairs Canada. Government of Canada. 7 January 2013. สืบค้นเมื่อ 22 February 2013. Peak Canadian Army strength in Korea was 8,123 all ranks.
  9. 9.0 9.1 9.2 Edwards, Paul M. (2006). Korean War Almanac. Almanacs of American wars. Infobase Publishing. p. 517. ISBN 9780816074679. สืบค้นเมื่อ 22 February 2013. {{cite book}}: ระบุ |pages= และ |page= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 10.14 10.15 10.16 10.17 10.18 10.19 10.20 10.21 10.22 10.23 10.24 10.25 10.26 10.27 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ROK Web
  11. Zhang 1995, p. 257.
  12. Shrader, Charles R. (1995). Communist Logistics in the Korean War. Issue 160 of Contributions in Military Studies. Greenwood Publishing Group. p. 90. ISBN 9780313295096. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013. NKPA strength peaked in October 1952 at 266,600 men in eighteen divisions and six independent brigades. {{cite book}}: ระบุ |pages= และ |page= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  13. Kolb, Richard K. (1999). "In Korea we whipped the Russian Air Force". VFW Magazine. Veterans of Foreign Wars. 86 (11). สืบค้นเมื่อ 17 February 2013. Soviet involvement in the Korean War was on a large scale. During the war, 72,000 Soviet troops (among them 5,000 pilots) served along the Yalu River in Manchuria. At least 12 air divisions rotated through. A peak strength of 26,000 men was reached in 1952.
  14. 14.0 14.1 "U.S. Military Casualties - Korean War Casualty Summary". Defense Casualty Analysis System. United Staets Department of Defense. 5 February 2013. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  15. "Summary Statistics". Defense POW/Missing Personnel Office. United States Department of Defense. 24 January 2013. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  16. "Records of American Prisoners of War During the Korean War, created, 1950 - 1953, documenting the period 1950 - 1953". Access to Archival Databases. National Archives and Records Administration. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013. This series has records for 4,714 U.S. military officers and soldiers who were prisoners of war (POWs) during the Korean War and therefore considered casualties.
  17. 17.0 17.1 Office of the Defence Attaché (30 September 2010). "Korean war". British Embassy Seoul. Foreign and Commonwealth Office. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
  18. Australian War Memorial Korea MIA Retrieved 17 March 2012
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Rummel1997
  20. 20.0 20.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hickey
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Li111
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Krivosheev1997
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Boose1995
  24. 24.0 24.1 Devine, Robert A. (2007). America Past and Present 8th Ed. Volume II: Since 1865. Pearson Longman. pp. 819–821. ISBN 0-321-44661-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  25. Weathersby 2002, pp. 3–4.
  26. "Kuksa-bong". Mapcarta. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.
  27. Pike, John. "18th Infantry Regiment". www.globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.

อ้างอิง

  • Brune, Lester and Robin Higham, eds., The Korean War: Handbook of the Literature and Research (Greenwood Press, 1994)
  • Edwards, Paul M. Korean War Almanac (2006)
  • Foot, Rosemary, "Making Known the Unknown War: Policy Analysis of the Korean Conflict in the Last Decade," Diplomatic History 15 (Summer 1991): 411–31, in JSTOR
  • Goulden, Joseph C., Korea: The Untold Story of the War, New York: McGraw-Hill Book Company, 1982.
  • Heo, Man-ho, "North Korea's Continued Detention of South Korean POWs since the Korean and Vietnam Wars" Korea Journal of Defense Analysis (2002) Vol. XIV No. 2; pp. 141–165; http://kida.re.kr/eng/publication/pdf/08-Heo.PDF
  • Hickey, Michael, The Korean War: The West Confronts Communism, 1950–1953 (London: John Murray, 1999) ISBN 0-7195-5559-0 9780719555596
  • Ho, Kang, Pak (Pyongyang 1993). "The US Imperialists Started the Korean War". Foreign Languages Publishing House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Kaufman, Burton I. The Korean Conflict (Greenwood Press, 1999).
  • Knightley, P. The First Casualty: The War Correspondent as Hero, Propagandist and Myth-maker (Quartet, 1982)
  • Korea Institute of Military History, The Korean War (1998) (English edition 2001), 3 vol, 2600 pp; highly detailed history from South Korean perspective, U of Nebraska Press. ISBN 0-8032-7802-0
  • Leitich, Keith. Shapers of the Great Debate on the Korean War: A Biographical Dictionary (2006) covers Americans only
  • James I. Matray, ed., Historical Dictionary of the Korean War (Greenwood Press, 1991)
  • Masatake, Terauchi (1910-08-27). "Treaty of Annexation". USC-UCLA Joint East Asian Studies Center. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
  • Millett, Allan R, "A Reader's Guide To The Korean War" Journal of Military History (1997) Vol. 61 No. 3; p. 583+ full text in JSTOR; free online revised version
  • Millett, Allan R. "The Korean War: A 50 Year Critical Historiography," Journal of Strategic Studies 24 (March 2001), pp. 188–224. full text in Ingenta and Ebsco; discusses major works by British, American, Korean, Chinese, and Russian authors
  • Sandler, Stanley ed., The Korean War: An Encyclopedia (Garland, 1995)
  • Summers, Harry G. Korean War Almanac (1990)
  • Werrell, Kenneth P. (2005). Sabres over MiG alley. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 9781591149330. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

เชิงประวัติศาสตร์

สื่อ

องค์กร

อนุสรณ์สถาน