สงครามสามนคร
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ | |||||
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ. | |||||
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ. | |||||
ยุคอาณาจักร | |||||
สุวรรณภูมิ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3- พุทธศตวรรษที่ 5 | |||||
สุวรรณโคมคำ พุทธศตวรรษที่ 4-5 | |||||
ทวารวดี-นครชัยศรี-ศรีจนาศะ ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15 | |||||
ฟูนัน พุทธศตวรรษที่ 6-11 | |||||
โยนกนาคพันธุ์ พ.ศ. 638-1088 | |||||
โจฬะ พุทธศตวรรษที่ 8-17 | |||||
คันธุลี พ.ศ. 994-1202 |
เวียงปรึกษา 1090-1181 | ||||
ศรีวิชัย พ.ศ. 1202-1758 |
ละโว้ 1191 -1470 |
หิรัญเงินยางฯ 1181 - 1805 | |||
หริภุญชัย 1206-1835 |
|||||
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470 | |||||
สุพรรณภูมิ ละโว้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ |
|||||
พริบพรี นครศรีธรรมราช |
สุโขทัย 1792-1981 |
พะเยา 1190-2011 |
เชียงราย 1805-1835 | ||
ล้านนา 1835-2101 | |||||
อยุธยา (1) | |||||
พ.ศ. 1893-2112 | |||||
สค.ตะเบ็งชเวตี้ | |||||
สค.ช้างเผือก เสียกรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 |
พิษณุโลก 2106-2112 |
ล้านนาของพม่า 2101-2317 แคว้นล้านนา แคว้นเชียงใหม่ | |||
กรุงศรีอยุธยา (2) พ.ศ. 2112-2310 | |||||
เสียกรุงครั้งที่ 2 | |||||
สภาพจลาจล | |||||
กรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 |
ล้านนาของสยาม 2317-2442 นครเชียงใหม่ | ||||
กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน สงครามเก้าทัพ อานามสยามยุทธ การเสียดินแดน มณฑลเทศาภิบาล สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2 | |||||
ยุครัฐประชาชาติ | |||||
ประเทศไทย ปฏิวัติ พ.ศ. 2475 เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ พ.ศ. 2475–2516 พ.ศ. 2516–ปัจจุบัน |
สหรัฐไทยเดิม พ.ศ. 2485-2489 | ||||
สงครามระหว่าง 3 อาณาจักร ที่มียุทธภูมิอยู่ที่เมืองละโว้ ประกอบด้วย 3 อาณาจักรนี้คือ
- 1 หริภุญชัย (ลำพูน)
- 2 ลวปุระ (ละโว้)
- 3 ตามพรลิงก์ (นครศรีธรรมราช)
เมื่อ พ.ศ. 1446 พระเจ้าวัตราสัตตราช หรือ พระเจ้าตราพกราช กษัตริย์ผู้ครองกรุงหริภุญชัย (ลำพูน) อ้างว่าพระองค์ทรงมีสิทธิอันชอบธรรมในราชบัลลังก์แห่งกรุงละโว้ จึงทรงยกทัพมาเพื่อรวบพระราชอำนาจในการปกครองกรุงละโว้ กษัตริย์แห่งกรุงละโว้จึงทรงยกทัพออกต่อสู้เพื่อป้องกันราชบัลลังก์ ในขณะที่ทัพทั้งสองกำลังรบติดพันกันอยู่นอกกำแพงเมือง
กษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าชีวกราชา หรือ พระเจ้าสุชิตราช ครองราชย์อยู่ที่ กรุงตามพรลิงก์ (นครศรีธรรมราช) ทรงยกกองทัพมาทั้งทางบกและทางเรือ จู่โจมเข้ายึดครองกรุงละโว้ รอเวลาให้ทั้งสองทัพซึ่งกำลังรบกันอ่อนกำลังลง พระเจ้าชีวกราชา จึงทรงยกกองทัพเข้าสู่ยุทธภูมิ โจมตีกองทัพทั้งสองแตกพ่ายไป
เมื่อชนะสงคราม พระเจ้าชีวกราชา จึงทรงประกาศชัยชนะ ทำพิธีบวงสรวงเทวรูปประจำพระนคร และกระทำการสักการบูชารูป พระราชมารดา (เจ้าหญิงแห่งกษัตริย์ละโว้) พระเจ้าชีวกราชา ทรงประกอบพิธีราชาภิเษก เจ้าชายบุรพโกศลกัมโพชราช หรือเจ้าชายกัมโพช พระราชโอรสเชื้อสายกษัตริย์แห่งกรุงตามพรลิงก์ (นครศรีธรรมราช) เป็นกษัตริย์ครองกรุงละโว้ต่อมา ส่วนพระเจ้าชีวกราชา เสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์แห่งกรุงตามพรลิงก์ก่อนสิ้นรัชกาล
หลักฐานจากสงครามสามนคร หรือ สงครามสามแคว้น ถือเป็นการแผ่ขยายอาณาเขตของแคว้นตามพรลิงก์ หรือ อาณาจักรศรีวิชัย ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในขณะนั้น ซึ่งได้ผนวกแคว้นละโว้ไว้ในพระราชอำนาจของกษัตริย์แห่งกรุงตามพรลิงก์ ซึ่งตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำต่างๆ ในภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน