ข้ามไปเนื้อหา

สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย
ส่วนหนึ่งของ สงครามคอเคซัส
วันที่28 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 17 กรกฎาคม] 1763[6] – 2 มิถุนายน [ตามปฎิทินเก่า: 21 พฤษภาคม] 1864 (การต่อต้านอย่างไม่เป็นระบบของชาวเซอร์แคสเซียยังคงดำเนินต่อไปในพื้นที่ภูเขาจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1880 แต่สงครามสิ้นสุดลงแล้วเมื่อถึง ค.ศ. 1864)
สถานที่
ผล

ชัยชนะของรัสเซีย

คู่สงคราม

จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย

คาบาร์เดีย (เซอร์แคสเซียตะวันออก) (จนถึง ค.ศ. 1822)
ผู้ให้ความช่วยเหลือ:
จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1787–1792; ค.ศ. 1806–1812; ค.ศ. 1828–1829)[4]
ราชรัฐอับคาเซีย (ค.ศ. 1808–1810)
นักผจญภัยชาวยุโรป (ค.ศ. 1818–1856)[5]
รัฐอิหม่ามคอเคซัส (ค.ศ. 1848–1859)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 2 (ค.ศ. 1763–1796)
จักรวรรดิรัสเซีย จักรพรรดิปาเวลที่ 1 (ค.ศ. 1796–1801)
จักรวรรดิรัสเซีย จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 (ค.ศ. 1801–1825)
จักรวรรดิรัสเซีย จักรพรรดินีโคไลที่ 1 (ค.ศ. 1825–1855)
จักรวรรดิรัสเซีย จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855–1864)
จักรวรรดิรัสเซีย ปาเวล ซิตเซียนอฟ (ค.ศ. 1787–1806)
จักรวรรดิรัสเซีย ฟิโอดอร์ บูรซัค (ค.ศ. 1799–1827) (เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ)
จักรวรรดิรัสเซีย เกออร์กี เอมมานูเอล (ค.ศ. 1815–1831)
จักรวรรดิรัสเซีย อะเลคเซีย์ เยียร์โมลอฟ (ค.ศ. 1817–1827)
จักรวรรดิรัสเซีย มักซิม กรีโกเรียวิช วลาซอฟ (ค.ศ. 1819–1843)
จักรวรรดิรัสเซีย นีไคไล เยฟโดคีมอฟ (ค.ศ. 1820–1864)
จักรวรรดิรัสเซีย Aytech Qanoqo (ค.ศ. 1828–1844) (แปรพักตร์) โทษประหารชีวิต
จักรวรรดิรัสเซีย กรีโกรี ซัสส์ (ค.ศ. 1830–1848) (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
จักรวรรดิรัสเซีย ปาเวล กรับเบ (ค.ศ. 1831–1842)
จักรวรรดิรัสเซีย ดาวิด ดาดีอานี (ค.ศ. 1841–1845)
จักรวรรดิรัสเซีย อะเลคซันดร์ บาเรียตินสกี (ค.ศ. 1856–1862)
จักรวรรดิรัสเซีย ดมีตรี มีลูย์ติน (ค.ศ. 1861–1864)
จักรวรรดิรัสเซีย มีฮาอิล นีโคลาเอวิช (ค.ศ. 1862–1864)
และคนอื่น ๆ
Qasey Atajuq (ค.ศ. 1763–1773)
Misost Bematiqwa (ค.ศ. 1763–1788)
Shuwpagwe Qalawebateqo (ค.ศ. 1807–1827)
Ismail Berzeg (ค.ศ. 1823–1846)
Hawduqo Mansur (ค.ศ. 1839–1846)
Muhammad-Amin Asiyalav (ค.ศ. 1848–1859) Surrendered
Seferbiy Zanuqo (ค.ศ. 1807–1860) (เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ)
Gerandiqo Berzeg (ค.ศ. 1820–1864) (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
Mansur Ushurma (ค.ศ. 1791) (เชลย) (เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ)
Psheqo Akhedjaqo (ค.ศ. 1797–1838)
Kizbech Tughuzhuqo (ค.ศ. 1810–1840) 
Jembulat Boletoqo (ค.ศ. 1814–1836) 
Qerzech Shirikhuqo (ค.ศ. 1816–1864)
Aytech Qanoqo (ค.ศ. 1828–1844) (แปรพักตร์) Surrendered โทษประหารชีวิต
Ale Khirtsizhiqo (คริสต์ทศวรรษ 1830) 
Aslan-Bey Chachba (ค.ศ. 1808–1810)
โปแลนด์ แตออฟิล วาปิญสกี (ค.ศ. 1857–1859)
สหราชอาณาจักร เจมส์ เบลล์ (ค.ศ. 1836–1839)
และคนอื่น ๆ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

จักรวรรดิรัสเซีย กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย

ก่อน ค.ศ. 1860:
กองกำลังทหารนอกแบบ
Abreks
Murtaziqs (ค.ศ. 1848–1859)
หลัง ค.ศ. 1860:
กองทัพสมาพันธ์เซอร์แคสเซีย


อาสาสมัครต่างชาติ

กำลัง
ประจำการ 150,000[11]–300,000 นาย[12] ประจำการ 20,000[13]–60,000 นาย[14]
ความสูญเสีย
รัสเซีย ความสูญเสียทางทหาร:
77,000–96,079 นายในการรบ[15][16][17]
ความสูญเสียทางพลเรือน:
1,000–5,000 คน[18] (ประมาณการ)
รัสเซีย ทั้งหมด:
78,000-101,079 คน (ประมาณการ)

ความสูญเสียทางทหาร:
80,000 นายในการรบ (ประมาณการ)[19][15]
ความสูญเสียทางพลเรือน:

ค.ศ. 1763–1818:
มากกว่า 315,000 คน[15]
หลัง ค.ศ. 1818:
มากกว่า 1,200,000 คน[15][20][21]
ทั้งหมด:
มากกว่า 1,615,000 คน (ประมาณการ)[20][21]
ระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย ชาวคอเคซัสพื้นเมืองที่สูงประมาณ 2,000,000 คน[22][23][24][25][26][27] ส่วนใหญ่ถูกเนรเทศไปยังจักรวรรดิออตโตมัน ในขณะที่ส่วนน้อยกว่ามากถูกเนรเทศไปยังเปอร์เซีย ผู้ที่ถูกเนรเทศไม่ทราบจำนวนเสียชีวิตระหว่างกระบวนการเนรเทศ[28]

สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย (อะดีเกยา: Урыс-адыгэ зауэ; รัสเซีย: Русско-черкесская война) คือการรุกรานเซอร์แคสเซียโดยจักรวรรดิรัสเซีย[29] เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1763 (ตามปฏิทินเก่า) โดยจักรวรรดิรัสเซียอ้างสิทธิ์ในการปกครองเซอร์แคสเซียในขณะที่ชาวเซอร์แคสเซียปฏิเสธและต่อต้าน[30] และสิ้นสุดในอีก 101 ปีต่อมาเมื่อกองทัพสุดท้ายของเซอร์แคสเซียพ่ายแพ้ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1864 (ตามปฏิทินเก่า) สงครามนี้จึงเป็นสงครามที่พร่ากำลังและสร้างความสูญเสียอย่างหนักแก่ทั้งสองฝ่าย ชาวเซอร์แคสเซียสู้รบกับรัสเซียนานกว่าชนชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส[31] และสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซียก็เป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดที่ทั้งรัสเซียและเซอร์แคสเซียเคยต่อสู้มา[32][33]

ระหว่างและหลังสงคราม จักรวรรดิรัสเซียใช้กลยุทธ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยการสังหารหมู่พลเรือนอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย[34][35][36][37] โดยชาวเซอร์แคสเซียมากถึง 2,000,000 คน (ร้อยละ 85–97 ของประชากรทั้งหมด) ถูกสังหารหรือถูกเนรเทศไปยังจักรวรรดิออตโตมัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวเซอร์แคสเซียพลัดถิ่น[29] สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซียเริ่มขึ้นในลักษณะของความขัดแย้งเฉพาะพื้นที่ แต่ในไม่ช้าการขยายตัวของรัสเซียไปทั่วภูมิภาคคอเคซัสก็ดึงชนชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคเข้าสู่ความขัดแย้งด้วย บ่อยครั้งจึงถือกันว่าสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซียเป็นส่วนตะวันตกของสงครามคอเคซัส

ระหว่างสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย จักรวรรดิรัสเซียไม่ยอมรับว่าเซอร์แคสเซียเป็นดินแดนอิสระ แต่ถือว่าเป็นดินแดนรัสเซียที่อยู่ภายใต้การยึดครองของกลุ่มกบฏ ถึงแม้ว่าภูมิภาคนี้จะไม่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียมาก่อนก็ตาม[38] บรรดานายพลรัสเซียไม่ได้เรียกชาวเซอร์แคสเซียตามชื่อชาติพันธุ์ แต่เรียกพวกเขาว่า "พวกคนเขา" "พวกโจรเถื่อน" และ "พวกขยะภูเขา"[38][39] ในสมัยปัจจุบัน สงครามนี้ตกเป็นเป้าของการตีความประวัติศาสตร์ใหม่และก่อให้เกิดข้อโต้แย้งเนื่องจากแหล่งข้อมูลของรัสเซียในสมัยหลังส่วนใหญ่ไม่กล่าวถึงสงครามหรือลดทอนความสำคัญของสงครามลง สื่อและเจ้าหน้าที่ของรัฐรัสเซียไปไกลถึงขั้นอ้างว่าความขัดแย้งดังกล่าว "ไม่เคยเกิดขึ้น" ทั้งยังอ้างว่าชาวเซอร์แคสเซีย "เข้าร่วมกับรัสเซียโดยสมัครใจในคริสต์ศตวรรษที่ 16"[32][40]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kafkas Rus Savaşı". Cerkesyaorg (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2021.
  2. Gvosdev 2000, pp. 111–112.
  3. (ในภาษาจอร์เจีย) "გურიის სამთავრო" (Principality of Guria). In: ქართული საბჭოთა ენციკლოპედია (Encyclopaedia Georgiana). Vol. 3: p. 314-5. Tbilisi, 1978.
  4. Berkok, Ismail Hakkı (1958). Tarihte Kafkasya. Istanbul.
  5. Richmond 2008.
  6. Василий Потто — Кавказская война. Том 1. От древнейших времен до Ермолова.
  7. Çirg, Ashad (1993). "Adıgelerin XIX. yüzyıldaki politik tarihinin incelenmesi gerekir" [Adyghe XIX. century political history needs to be studied]. Kafkasya Gerçeği dergisi (ภาษาตุรกี). 11: 61–62.
  8. Polvinkina (2007). Çerkesya Gönül Yaram [Circassia Heart Wound] (ภาษาตุรกี). Ankara. pp. 281–285.
  9. Askerov, Ali (2015). Historical Dictionary of the Chechen Conflict. Rowman & Littlefield. p. 3.
  10. Natho, Kadir (2005). "The Russo-Circassian War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-12. สืบค้นเมื่อ 2023-05-20.
  11. Mackie 1856:291
  12. J. F. B., The Russian Conquest of the Caucasus
  13. Mackie 1856:292
  14. A, M. Rus Çerkez Savaşı
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 "Victimario Histórico Militar".
  16. Веденеев Д. 77 тысяч // Родина : российский исторический иллюстрированный журнал. — М., 1994. — № 3—4. — С. 123
  17. From 1801 to 1864 24,947 killed 65,125 wounded 6007 captured
  18. Şamil, Tasoğlu. Rusya’nın Çerkes tarihi
  19. Hozhay, Dalhan (1998). Чеченцы в русско-кавказской войне [Chechens in the Russian-Caucasian war]. SEDA. ISBN 5-85973-012-8. (ในภาษารัสเซีย)
  20. 20.0 20.1 "Jembulat Bolotoko: The Prince of Princes (Part One)". Jamestown (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  21. 21.0 21.1 Richmond, Walter. The Circassian Genocide. ISBN 9780813560694.
  22. Richmond, Walter (2013). The Circassian Genocide. Rutgers University Press. back cover. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  23. Ahmed 2013, p. 161.
  24. Richmond, Walter (9 April 2013). The Circassian Genocide (ภาษาอังกฤษ). Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  25. Geçmişten günümüze Kafkasların trajedisi: uluslararası konferans, 21 Mayıs 2005 [The tragedy of the Caucasus from past to present: international conference, 21 May 2005] (ภาษาตุรกี). Kafkas Vakfı Yayınları. 2006. ISBN 978-975-00909-0-5.
  26. Berkok, Ismail. "Tarihte Kafkasya" [Caucasus in History]. NadirKitap (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  27. Jones, Adam (16 December 2016). Genocide: A Comprehensive Introduction (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. p. 109. ISBN 978-1-317-53386-3.
  28. McCarthy 1995:53, fn. 45
  29. 29.0 29.1 King, Charles (2008). The Ghost of Freedom: A History of the Caucasus. New York City, NY: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517775-6.
  30. Henze 1992
  31. Shenfield 1999, p. 150.
  32. 32.0 32.1 Bashqawi, Adel (15 September 2017). Circassia: Born to Be Free. ISBN 978-1543447644.
  33. King, Charles (2008). The Ghost of Freedom: A History of the Caucasus. New York City, NY: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517775-6.
  34. Richmond, Walter (9 April 2013). The Circassian Genocide. Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  35. King, Charles (2008). The Ghost of Freedom: A History of the Caucasus. New York City: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517775-6.
  36. L.V.Burykina. Pereselenskoye dvizhenie na severo-zapagni Kavakaz. Reference in King.
  37. Richmond 2008, p. 79.
  38. 38.0 38.1 Richmond, Walter (9 April 2013). The Circassian Genocide. Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-6069-4.
  39. Capobianco, Michael (13 October 2012). "Blood on the Shore: The Circassian Genocide". Caucasus Forum.
  40. Richmond, Walter. The Circassian Genocide. Page 63

แหล่งข้อมูล

[แก้]