สงครามเก้าปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สงครามมหาสัมพันธมิตร)
สงครามเก้าปี

การล้อมนาเมอร์, มิถุนายน ค.ศ. 1692
โดย มาร์แต็ง ฌ็อง-แบ็ปติสต์ เลอ วิเยอร์
วันที่24 กันยายน ค.ศ. 168820 กันยายน ค.ศ. 1697[2]
สถานที่
ผล สนธิสัญญาริสวิค
คู่สงคราม

 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 สาธารณรัฐดัตช์
อังกฤษ
 สเปน
อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย
โปรตุเกส ราชอาณาจักรโปรตุเกส

 สวีเดน
อื่น ๆ
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส[1] ฝรั่งเศส
จาโคไบต์ไอริช
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

พระเจ้าวิลเลียมที่ 3
สาธารณรัฐดัตช์ เจ้าชายแห่งวัลเด็ค
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดยุคแห่งลอร์แรน
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าชายแห่งบาเดิน
รัฐไบเอิร์น เจ้านครรัฐแห่งบาวาเรีย

โปรตุเกส สมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2
อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย ดยุคแห่งซาวอย
สวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 11
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส มาร์ควิสแห่งโวบ็อง
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งลักเซมเบิร์ก
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งวิเยอรัว
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งดูรัส
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งลอร์ดจ์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งบูแฟล์รส์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส นิโคลัส กาตินาต
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งนออายส์
พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
กำลัง
~350,000,[3]
เรือ 189 ลำ[4]
~420,000,[5]
เรือ 119 ลำ[4]

สงครามเก้าปี (อังกฤษ: Nine Years' War) หรือ สงครามมหาพันธมิตร (อังกฤษ: War of the Grand Alliance) หรือ สงครามสันนิบาตเอาคส์บวร์ค (อังกฤษ: War of the League of Augsburg) หรือที่เคยเรียกว่า สงครามสืบบัลลังก์พาลาทิเนต (อังกฤษ: War of the Palatine Succession) หรือ สงครามสืบราชบัลลังก์อังกฤษ (อังกฤษ: War of the English Succession) หรือบางครั้งก็เรียกว่า สงครามวิลเลียมไมท์ (อังกฤษ: Williamite War) ในไอร์แลนด์ หรือ สงครามพระเจ้าวิลเลียม (อังกฤษ: King William's War) ในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1688 จนถึงปี ค.ศ. 1697 ที่การต่อสู่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ยุโรป แต่ก็มีบ้างที่เกิดขึ้นในไอร์แลนด์ และ ทวีปอเมริกาเหนือ สงครามเป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสภายใต้การนำของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และจาโคไบต์ไอริชฝ่ายหนึ่ง กับมหาพันธมิตร (Grand Alliance) อีกฝ่ายหนึ่งที่นำโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ, สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, พระเจ้าคาร์โลสที่ 2 แห่งสเปน และ พระเจ้าวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย

ในปี ค.ศ. 1678 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กลายมาเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจมากที่สุดในยุโรปตะวันตกหลังจากเสร็จสิ้นจากสงครามฝรั่งเศส-ดัตช์ แม้ว่าจะทรงขยายดินแดนเพิ่มเติมมาได้แต่พระองค์ก็ยังทรงไม่พอพระทัย พระองค์ทรงใช้ทั้งกำลังทหาร, การผนวกดินแดน และ กระบวนการทางกฎหมายในการได้มาซึ่งดินแดนต่างๆ ที่ทรงต้องการ สงครามการรวมตัว (War of the Reunions) ระหว่าง ค.ศ. 1683 ถึง ค.ศ. 1684 เพิ่มดินแดนให้พระเจ้าหลุยส์เพิ่มขึ้นอีก แต่การเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ (Edict of Nantes) ในปี ค.ศ. 1685 เป็นจุดที่เริ่มให้อำนาจทางการทหารและทางการเป็นผู้นำทางอำนาจทางการเมืองในยุโรปของฝรั่งเศสเสื่อมลง ความก้าวร้าวของพระองค์ในที่สุดก็ทำให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรปรวมตัวกันเป็นมหาพันธมิตรในการหยุดยั้งการขยายอำนาจของฝรั่งเศส

สงครามส่วนใหญ่เป็นปฏิบัติการล้อมเมือง ที่สำคัญก็ได้แก่การล้อมเมือง มองส์, นาเมอร์, ชาร์เลอรัว และ บาร์เซโลนา การต่อสู้กลางสนามรบเช่นในยุทธการเฟลรูส์ และ ยุทธการเฟลรูส์มาร์ซาเกลียไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก การต่อสู้ลักษณะนี้เป็นการต่อสู้ที่ฝ่ายฝรั่งเศสได้เปรียบแต่ในปี ค.ศ. 1696 ก็อยู่ในช่วงที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทางฝ่ายอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ต่างก็สูญเสียเงินไปกับสงครามจำนวนมาก และเมื่อซาวอยถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรในปี ค.ศ. 1696 ผู้ร่วมในสงครามทุกฝ่ายต่างก็พร้อมที่จะเจรจาสงบศึก

การลงนามในสนธิสัญญาริสวิคในเดือนกันยายน ค.ศ. 1697 เป็นการยุติสงครามที่ดำเนินมาเป็นเวลาเก้าปี แต่เมื่อพระเจ้าคาร์โลสที่ 2 แห่งสเปน เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ความขัดแย้งเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ของจักรวรรดิสเปนก็เริ่มขึ้น และในที่สุดก็นำไปสู่สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1911 Encyclopedia Britannica, 11th Edition, New York 1910, Vol.X, p. 460: "The oriflamme and the Chape de St Martin were succeeded at the end of the 16th century, when Henry III., the last of the house of Valois, came to the throne, by the white standard powdered with fleurs-de-lis. This in turn gave place to the famous tricolour." George Ripley, Charles Anderson Dana, The American Cyclopaedia, New York, 1874, p. 250, "...the standard of France was white, sprinkled with golden fleur de lis...". *[1] The original Banner of France was strewn with fleurs-de-lis. *[2]:on the reverse of this plate it says: "Le pavillon royal était véritablement le drapeau national au dix-huitième siècle...Vue du château d'arrière d'un vaisseau de guerre de haut rang portant le pavillon royal (blanc, avec les armes de France)."
  2. All dates in the article are in the Gregorian calendar (unless otherwise stated). The Julian calendar as used in England until 1752 differed by ten days. Thus, the Battle of the Boyne was fought on 11 July (Gregorian calendar) or 1 July (Julian calendar). In this article (O.S) is used to annotate Julian dates with the year adjusted to 1 January. See the article Old Style and New Style dates for a more detailed explanation of the dating issues and conventions.
  3. The Dutch army grew from a peacetime strength of 40,000 in 1686 to a peak of 102,000 in 1696. The English army expanded from 40,000 in 1688 to 101,000 in 1696. Spain maintained approximately 50,000 troops throughout the war. Brandenburg-Prussian forces numbered some 30,000 in 1688; smaller German states managed between 6,000 and 10,000 during the war. Savoy had an initial strength of some 8,000 men, rising to 26,000 in 1696. All coalition armies hired foreign soldiers to raise the numbers. These are paper figures.
  4. 4.0 4.1 Lynn p. 98. These naval figures are from 1695.
  5. This is a paper strength of officers and men in the French army – by far the largest in Europe. Its actual strength was probably nearer 340,000.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]