สงครามชาวนาเยอรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามชาวนาเยอรมัน
ส่วนหนึ่งของ สงครามศาสนาในยุโรป และการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์
Karte bauernkrieg3.jpg
แผนที่แสดงพื้นที่ที่เกิดการก่อการกำเริบและยุทธการสำคัญ
วันที่ค.ศ. 1524–1525
สถานที่พื้นที่ที่ใช้ภาษาเยอรมันในยุโรปกลาง โดยเฉพาะแคว้นอาลซัส ประเทศเยอรมนี ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศออสเตรียปัจจุบัน
ผล การก่อการกำเริบถูกปราบ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถูกประหารชีวิต และส่งผลต่อขบวนการแอนาแบปติสต์
คู่สงคราม
กองทัพชาวนา สันนิบาตสเวเบีย

บางส่วน:
COA family de Landgrafen von Hessen.svg ดินแดนขุนนางเฮ็สเซิน
Coat of arms of the House of Welf-Brunswick (Braunschweig).svg อาณาเขตเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบืทเทิล
รัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โทมัส มึนต์เซอร์ โทษประหารชีวิต
ไมเคิล ไกส์แมร์
ฮันส์ มึลเลอร์ ฟอน บัลเกินบัค โทษประหารชีวิต
ยากอบ รอฮ์รบาค
เวนเดิล ฮิปเลอร์
ฟลอเรียน เกเยอร์ 
โบนาเวนทูรา เคิร์ชเนอร์
Or three leopards sable.svg เกออร์ก ตรุชเซส ฟอน วอลด์บูร์ก
COA family de Landgrafen von Hessen.svg ฟิลิปแห่งเฮ็สเซิน
Coat of arms of Saxony.svg จอร์จแห่งเว็ตติน
Coat of arms of the House of Welf-Brunswick (Braunschweig).svg เฮ็นรีแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบืทเทิล
Berlichingen-Wappen.png เกิตซ์ ฟ็อน แบร์ลิคีเงิน
กำลัง
300,000 6,000–8,500
ความสูญเสีย
>100,000 เล็กน้อย

สงครามชาวนาเยอรมัน หรือ การก่อการกำเริบชาวนาครั้งใหญ่ เป็นการลุกฮือของชาวนาในพื้นที่พูดภาษาเยอรมันในยุโรปกลาง ระหว่างค.ศ. 1524–1525 สงครามครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการลุกฮือครั้งก่อน ๆ เช่น สงครามฮุสไซต์ ขบวนการบุนด์ชูห์ และกบฏอัศวิน มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและความเชื่อทางศาสนาของชาวนา โดยได้รับการสนับสนุนจากนักบวชกลุ่มแอนาแบปติสต์อันเป็นโปรเตสแตนต์สายหนึ่ง การสู้รบถึงจุดสูงสุดช่วงกลางปี ค.ศ. 1525 ก่อนจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของทัพชาวนา อย่างไรก็ตาม สงครามชาวนาเยอรมันถือเป็นการลุกฮือครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 พื้นที่หลายส่วนในยุโรปมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงที่เกิดสงครามจักรวรรดิถูกปกครองด้วยจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีบรรดาเจ้าชายปกครองดินแดนแบบกึ่งอิสระภายใต้จักรพรรดิอีกที ต่อมาเจ้าชายผู้ปกครองดินแดนพยายามกดดันให้ชาวนาอยู่ใต้อำนาจผ่านการขึ้นภาษีและบังคับใช้กฎหมายแบบโรมัน ซึ่งจะทำให้ที่ดินของชาวนาตกเป็นของเจ้าและทำลายรูปแบบระบบศักดินาที่เจ้าและชาวนาได้ประโยชน์ร่วมกัน[1] ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเกิดการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์อย่างแพร่หลายในเยอรมนี ส่งผลให้ประชาชนใต้การปกครองมีอิสระในการคิดและตั้งคำถามกับชนชั้นปกครองมากขึ้น นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงถึงสาเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ แต่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเกิดจากความเชื่อทางศาสนา ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม[2]

การก่อการกำเริบเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1524 ที่เมือง Stühlingen ทางใต้ของเยอรมนีในปัจจุบัน[3] ก่อนจะลุกลามผ่านดินแดนรอบป่าดำ แม่น้ำไรน์ ทะเลสาบโบเดิน แม่น้ำดานูบตอนบน และรัฐไบเอิร์น[4] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1525 ชาวเมืองเม็มมิงเงินเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและอื่น ๆ ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลายมาเป็นข้อเรียกร้องสิบสองข้อที่ทัพชาวนาเสนอต่อสันนิบาตสเวเบีย และเป็นหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพลเมืองแรก ๆ ในยุโรป[5][6] ต่อมาเดือนเมษายน ทัพชาวนาปะทะกับทัพสันนิบาตสเวเบียของเกออร์ก ตรุชเซส ฟอน วอลด์บูร์กที่เมือง Leipheim และ Frankenhausen ก่อนจะพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธการที่ Böblingen[7] หลังจากนั้นมีการสูู้รบประปรายก่อนจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน หลังสงครามยุติ ผู้นำทัพชาวนาหลายคนถูกทรมานและประหารชีวิต ข้อเรียกร้องสิบสองของชาวนาไม่ได้รับการตอบสนอง และชาวนาถูกลดสิทธิเสรีภาพลงหลายอย่าง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Peasants War". Encyclopedia.com. April 13, 2020. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.
  2. "German Peasants War (1524–1525): Uprising of the Poor". ThoughtCo. February 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.
  3. Engels 1978, p. 446.
  4. Miller 2003, p. 4.
  5. Nair, P. Sukumar (2011). Human Rights In A Changing World. New Delhi, India: Gyan Publishing House. p. 22. ISBN 9788178359014.
  6. Lenzerini, Federico (2014). The Culturalization of Human Rights Law. Oxford, England, UK: Oxford University Press. p. 47. ISBN 9780191641312.
  7. Wald 2010, Böblingen.
  8. "Peasants' War - German history". Britannica. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]