สงครามกัมพูชา–ดัตช์
สงครามกัมพูชา–ดัตช์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() ยุทธการที่พนมเปญ, ค.ศ. 1644 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() |
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
สุลต่านอิบราฮิม (มีอีกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี, เดิมพระนาม เจ้าพระยาจันท์) |
![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
ไม่ทราบ | 432 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 1,000 นาย | พนักงาน 36 คนถูกสังหาร ทหาร 156 นายเสียชีวิต เรือรบหลายลำถูกกัมพูชายึด |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์กัมพูชา |
![]() |
ประวัติศาสตร์ยุคแรก |
ยุคมืด |
สมัยอาณานิคม |
เอกราชและความขัดแย้ง |
กระบวนการสันติภาพ |
กัมพูชายุคใหม่ |
ตามหัวข้อ |
สงครามกัมพูชา–ดัตช์ (ดัตช์: Cambodjaans-Nederlandse Oorlog; เขมร: សង្គ្រាមកម្ពុជា-ហូឡង់) ใน ค.ศ. 1643–1644 เป็ยความขัดแย้งที่เกิดจากการรัฐประหารที่ทำให้กษัตริย์กัมพูชาพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามด้วยความช่วยเหลือของพ่อค้าชาวมลายูที่อาศัยอยู่ในประเทศ กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเริ่มการสังหารหมู่พนักงานบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์และต่อมาทรงเอาชนะกองกำลังดัตช์ที่ส่งมาเพื่อแก้แค้นชาวกัมพูชาได้
สงคราม
[แก้]ใน ค.ศ. 1642 เจ้าชายกัมพูชานามว่า เจ้าพระยาจันท์ ขึ้นครองเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีหลังโค่นล้มและลอบปลงพระชนม์กษัตริย์องค์ก่อน พ่อค้าชาวมุสลิมมลายูในกัมพูชาช่วยพระองค์ยึดครองอำนาจ และต่อมาพระองค์เปลี่ยนศาสนาจากพุทธเป็นอิสลาม เปลี่ยนพระนามเป็นอิบราฮิม และสมรสกับสตรีมลายู จากนั้นพระองค์จึงเริ่มทำสงครามเพื่อขับไล่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ โดยเริ่มการสังหารหมู่ที่เมืองหลวงของชาวดัตช์ก่อน ยึดเรือของพวกเขาไป 2 ลำ และสังหารพนักงานชาวดัตช์ของบริษัทไป 35 คน นอกเหนือไปจาก Pieter van Regemortes เอกอัครราชทูตของบริษัท[1][2][3]
ณ แม่น้ำโขง ฝ่ายกัมพูชาเอาชนะบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ในสงครามทางน้ำส่วนใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1643–1644 โดยกองกำลังกัมพูชาเสียชีวิต 100 ราย และกองกำลังดัตช์เสียชีวิต 156 รายจากทหารทั้งหมด 432 นายและเรือรบดัตช์หลายลำตกอยู่ในมือของกัมพูชา[4][5][6][7][8] เอกอัครราชทูตบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ที่ถูกสังหารพร้อมกับพวกของเขาคือ Pierre de Rogemortes และกว่าที่อิทธิพลของยุโรปในกัมพูชาสามารถฟื้นตัวจากความพ่ายแพ้ของฝ่ายดัตช์ต้องรออีกสองศตวรรษต่อมา[9]
กษัตริย์มุสลิมชาวกัมพูชาถูกขับไล่และจับกุมโดยขุนนางเหงียนของเวียดนาม หลังพระอนุชา/เชษฐาของอิบราฮิมที่ยังคงนับถือศาสนาพุทธได้ร้องขอความช่วยเหลือจากเวียดนามเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนาให้กับกัมพูชาด้วยการปลดพระองค์ออกจากบัลลังก์[10][11] ในคริสต์ทศวรรษ 1670 ชาวดัตช์ได้ละทิ้งสถานีการค้าทั้งหมดที่พวกเขามีในกัมพูชาหลังการสังหารหมู่ใน ค.ศ. 1643[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kiernan 2008, p. 157.
- ↑ Kiernan 2002, p. 253.
- ↑ Cormack 2001, p. 447.
- ↑ Kiernan 2008, p. 157.
- ↑ Kiernan 2002, p. 253.
- ↑ Cormack 2001, p. 447.
- ↑ Reid 1999, p. 36.
- ↑ Chakrabartty 1988, p. 497.
- ↑ Fielding 2008, p. 27.
- ↑ Kiernan 2008, p. 158.
- ↑ Kiernan 2002, p. 254.
- ↑ Osborne 2008, p. 45.
ข้อมูล
[แก้]- Chakrabartty, H. R. (1988). Vietnam, Kampuchea, Laos, Bound in Comradeship: A Panoramic Study of Indochina from Ancient to Modern Times, Volume 2. Patriot Publishers. ISBN 8170500486. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Cormack, Don (2001). Killing Fields, Living Fields: An Unfinished Portrait of the Cambodian Church - The Church That Would Not Die. Contributor Peter Lewis (reprint ed.). Kregel Publications. ISBN 0825460026. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Fielding, Leslie (2008). Before the Killing Fields: Witness to Cambodia and the Vietnam War (illustrated ed.). I.B.Tauris. ISBN 978-1845114930. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Kiernan, Ben (2008). Blood and Soil: A World History of Genocide and Extermination from Sparta to Darfur. Melbourne Univ. Publishing. ISBN 978-0522854770. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Kiernan, Ben (2002). The Pol Pot Regime: Race, Power, and Genocide in Cambodia Under the Khmer Rouge, 1975-79 (illustrated ed.). Yale University Press. ISBN 0300096496. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Osborne, Milton (2008). Phnom Penh : A Cultural History: A Cultural History. Oxford University Press. ISBN 978-0199711734. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Reid, Anthony (1999). Charting the shape of early modern Southeast Asia. Silkworm Books. ISBN 9747551063. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.