ข้ามไปเนื้อหา

สงครามกลางเมืองเนปาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกลางเมืองเนปาล

ภาพเขียนบนผนังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเมือง กาฐมาณฑุ. อ่านว่า: "ลัทธิมาร์กซ์ เลนิน เหมา และแนวคิดประจันทาจงเจริญ"
วันที่13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(10 ปี 9 เดือน 1 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่
ผล

ความตกลงสันติภาพสมบูรณ์แบบ

คู่สงคราม

เนปาล ราชอาณาจักรเนปาล
(รัฐบาลเนปาล)

สนับสนุนโดย:
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา [1]
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร[2]
จีน จีน
อินเดีย อินเดีย
ปากีสถาน ปากีสถาน
เบลเยียม เบลเยี่ยม

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา)

สนับสนุนโดย:

พรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (ลัทธิเหมา)
พรรคคอมมิวนิสต์ซีลอน (ลัทธิเหมา)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เนปาล พระมหากษัตริย์เนปาล:
สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระแห่งเนปาล (พ.ศ. 2515 - 2544)
ชญาเนนทระแห่งเนปาล (พ.ศ. 2544 - 2551)
เนปาลนายกรัฐมนตรีเนปาล:
Sher Bahadur Deuba (1995-1997; 2001-02; 2004-05)
Lokendra Bahadur Chand (1997-1997; 2002-03)
Surya Bahadur Thapa (1997-1998; 2003-04)
Girija Prasad Koirala (1998-1999; 2000-01; 2006-08)
Krishna Prasad Bhattarai (1999-2000)
เนปาลผู้บัญชาการกองทัพเนปาล:
Dharmapaal Barsingh Thapa (1995-1999)
Prajwalla Shumsher JBR (1999-2003)
Pyar Jung Thapa (2003-2006)
Rookmangud Katawal (2006-2009)
เนปาลIGP of Nepal Police:
Moti Lal Bohora (1992-1996)
Achyut Krishna Kharel (1996–1996; 1996-1999)
Dhruba Bahadur Pradhan (1996–1996)
Pradip Shumsher J.B.R. (1999–2002)
Shyam Bhakta Thapa (2002-2006)
Om Bikram Rana (2006-2008)

ประจันทา
(ปุศปา กามาล ทาหัล)
Baburam Bhattarai Laldhwaj
Mohan Baidya (Kiran)


Nanda Kishor Pun
(Pasang)
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 4,500 คน[3] เสียชีวิต 8,200 คน(ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน)[3]
เสียชีวิตทั้งหมด 17,800[4]
สูญหาย 1,300 คน[5]

สงครามกลางเมืองเนปาล (Nepalese Civil War) หรือเป็นที่รู้จักในนามความขัดแย้งลัทธิเหมา (Maoist Conflict (เนปาล: माओवादी जनयुद्ध; ไอเอเอสที:māovādī janayuddha) การก่อการร้ายลัทธิเหมา (Maoist Insurgency) หรือ การปฏิวัติลัทธิเหมา (Maoist Revolution) เป็นความขัดแย้งทางทหารที่กินเวลานาน 10 ปี ระหว่าง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) (CPN-M) และรัฐบาลเนปาล ต่อสู้ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 - 2549 การต่อสู้นี้มักเรียกว่าเมาวาที ทวันทกาล (Maovadi Dwandakaal; เนปาล: द्वन्दकाल) ในเนปาล การกบฏโดยพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลเริ่มขึ้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อล้มล้าง รัฐบาลของราชอาณาจักรเนปาล และจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชน เหตุการณ์นี้สิ้นสุดลงโดย ความตกลงสันติภาพสมบูรณ์แบบ ลงนามเมื่อ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ความขัดแย้งนี้ประกอบไปด้วยการใช้ การลงประชาทัณฑ์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม การจับกุมและปกครองตนเอง การสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งต่อผู้ปกครองและ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การปฏิวัติทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 17,000 คน รวมทั้งพลเรือน กลุ่มก่อการร้าย เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ และมีชาวเนปาลพลัดถิ่นร่วมแสนคน ส่วนใหญ่ในเขตชนบท ตามรายงานของ INSEC เหยื่อของความตายในสงครามกลางเมืองเป็นผู้หญิง 1,665 ราย กองกำลังรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าผู้หญิงร้อยละ 85 [6] การปฏิวัตินี้ประสบความสำเร็จในการล้มล้างราชวงศ์ศาห์ ซึ่งเป็นราชวงศ์ฮินดูของราชอาณาจักรกูรข่าที่ปกครองเนปาลมานาน 240 ปี และสถาปนาระบอบสาธารณรัฐที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในประชาชนเนปาลซึ่งเรียกว่ากรัมภังกา (Krambhanga) หรือการทำลายความต่อเนื่อง (Breach of Continuity).

ภาพรวม

[แก้]

ประชาชนมากกว่า 17,000 คน (ทั้งทหารและพลเรือน) เสียชีวิตระหว่างความขัดแย้งนี้ รวมทั้งชาวเนปาลมากกว่า 4,000 คนที่ถูกฆ่าโดยกลุ่มกบฏลัทธิเหมาระหว่าง พ.ศ. 2539 – 2548 และชาวเนปาลมากกว่า 8,200 คนถูกฆ่าโดยกองกำลังของรัฐบาลระหว่าง พ.ศ. 2539 – 2548 [3] นอกจากนั้น มีชาวเนปาล 100,000 - 150,000 คนเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้ง และยังเป็นการขัดขวางการพัฒนาชนบท

ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2533 ได้ก่อตั้ง แนวร่วมฝ่ายซ้าย (เนปาล 2533)ขึ้น [7]: 331  และมี พรรคคองเกรสเนปาล เป็นแกนของการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไรก็ตาม กลุ่มคอมมิวนิสต์ไม่สบายใจในการเป็นพันธมิตรกับสหแนวร่วมฝ่ายซ้ายและพรรคคองเกรสเนปาล และได้จัดตั้งแนวร่วมคู่ขนานคือขบวนการประชาชนสหชาติ (UNPM) ขบวนการนี้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสภาตามรัฐธรรมนูญ และปฏิเสธกระบวนการของสหแนวร่วมฝ่ายซ้ายและพรรคคองเกรสเนปาลที่เป็นฝ่ายนิยมกษัตริย์ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ได้จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพกลาง) หรือ CPN(UC) ซึ่งมีสมาชิกที่สำคัญของขบวนการประชาชนสหชาติด้วย ต่อมา เมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2534 พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพกลาง) จัดตั้ง แนวร่วมสหประชาชนแห่งเนปาล โดยมี พาพูรัม ภัตตาไร เป็นหัวหน้า และจัดตั้งองค์กรแนวร่วมเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้ง [8]: 332  พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพกลาง) จัดการประชุมครั้งแรกเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 [8]: 332  จัดตั้งแนวทางของ "การต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่อการปฏิวัติประชาธิปไตยใหม่",[9] และตัดสินใจที่จะเป็นพรรคการเมืองใต้ดินต่อไป ใน การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเนปาล พ.ศ. 2534 แนวร่วมสหประชาชนแห่งเนปาลกลายเป็นพรรคใหญ่อันดับสามในรัฐสภาเนปาล อย่างไรก็ตาม ปัญหาภายในแนวร่วมสหประชาชนแห่งเนปาลเกิดขึ้นเกี่ยวกับกลยุทธของพรรค กลุ่มหนึ่ง นำโดย ปุศปา กามาล ทาหัล ต้องการให้มีการปฏิวัติโดยทันทีด้วยอาวุธ อีกกลุ่มหนึ่งนำโดยนีร์มัล ลามา เห็นว่าสถานการณ์ในเนปาลยังไม่สุกงอมสำหรับการต่อสู้ด้วยอาวุธ [8]: 332 

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 แนวร่วมสหประชาชนแห่งเนปาลแตกออกเป็น 2 องค์กร ส่วนที่เป็นองค์กรฝ่ายทหารเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) หรือ CPN(M) องค์กรนี้เรียกกองกำลังของรัฐบาล พรรคการเมืองกระแสหลักและราชวงศ์ ว่าเป็นกองกำลังระบบฟิวดัล การสู้รบด้วยอาวุธเริ่มขึ้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) เปิดการโจมตี 7 แห่งในพื้นที่ 6 ตำบล [8]: 333  ในช่วงแรก รัฐบาลเนปาลให้ ตำรวจเนปาล เข้าระงับเหตุฉุกเฉิน กองทัพเนปาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้โดยตรง เพราะความขัดแย้งนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ตำรวจสามารถระงับเหตุได้ กองทัพเนปาลจึงไม่ได้ช่วยตำรวจระหว่างการโจมตีในพื้นที่ห่างไกล ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นายกรัฐมนตรี คิริชา ประสาท กอยราละ ลาออกเพราะไม่สามารถควบคุมการก่อการร้ายของกบฏลัทธิเหมาได้ และทหารปฏิเสธเข้าร่วมในการปราบปรามความขัดแย้ง [8]: 335  เมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของ เชอร์ พาหาทูร์ เทวพา และกลุ่มก่อการร้ายลัทธิเหมาประกาศหยุดยิง และเกิดการเจรจาสันติภาพระหว่างสิงหาคม-พฤศจิกายนของปีนั้น [8]: 335  ความล้มเหลวของการเจรจาสันติภาพทำให้ความขัดแย้งทางทหารเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยกบฏลัทธิเหมาโจมตีค่ายทหารที่ตำบลทัง เทวคูรี ทางเนปาลตะวันตกเมื่อ 22 พฤศจิกายน [8]: 335  ซึ่งเกิดการสู้รบที่รุนแรงตลอดคืน สถานการณ์การก่อการร้ายค่อยๆเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ. 2545 จำนวนการโจมตีของทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น [8]: 309 

รัฐบาลตอบสนองต่อการก่อการร้ายโดยการคว่ำบาตรกลุ่มต่อต้านราชวงศ์ [10] จำคุกสื่อมวลชนและปิดหนังสือพิมพ์ที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าข้างกลุ่มก่อการร้าย มีการเจรจาและการหยุดยิงชั่วคราวหลายครั้งระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับรัฐบาล รัฐบาลปฏิเสธความต้องการของกลุ่มก่อการร้ายที่ต้องการให้เลือกตั้งสภารัฐธรรมนูญเพราะกลัวจะเป็นการล้มเลิกราชวงศ์โดยการออกเสียงของประชาชน ในเวลาเดียวกัน กลุมกบฏลัทธิเหมาปฏิเสธการจัดตั้งราชวงศ์ไว้ในรัฐธรรมนูญ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 รัฐบาลปฏิเสธข้อเรียกร้องของกบฏลัทธิเหมาที่ต้องการเจรจาโดยตรงกับกษัตริย์ชญาเนนทระ มากกว่าการเจรจากับนายกรัฐมนตรีเชอร์ พาหาทูร์ เทวพา และการเรียกร้องให้มีผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นบุคคลที่สามเช่น สหประชาชาติ

ตลอดสงคราม รัฐบาลควบคุมได้เฉพาะเมืองหลัก กลุ่มลัทธิเหมาควบคุมพื้นที่ในชนบท ซึ่งเป็นผลมาจากข้อเท็จริงที่ว่าหน่วยงานและสถาบันของรัฐบาลตั้งอยู่ที่เมืองหลวง กาฐมาณฑุ หรือบริเวณตัวเมืองของแต่ละตำบล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 กาฐมาณฑุ อยู่ภายใต้การควบคุมของกบฏ โดยกลุ่มลัทธิเหมาสามารถปิดล้อมเมืองได้เป็นสัปดาห์[11]

ภายใต้โล่ของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลกและเป้าหมายของการทำให้เป็นรัฐล้มเหลว ซึ่งทำให้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ อินเดีย ให้ความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจแก่รัฐบาลเนปาล เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เพื่อตอบต่อการที่รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ กษัตริย์ชญาเนนทระเข้าควบคุมประเทศเนปาลเพื่อยุติการก่อการร้าย [12] ผลจากการเข้าควบคุม สหราชอาณาจักรและอินเดียระงับการสนับสนุนเนปาล [8]: 337  ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เพื่อตอบโต้การยึดอำนาจของกษัตริย์ชญาเนนทระ พรรคการเมือง 7 พรรคได้จัดตั้งกลุ่ม พันธมิตร 7 พรรค (SPA) ขึ้น[8]: 338  ต่อมา 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 กลุ่มกบฏลัทธิเหมาและพันธมิตร 7 พรรคที่ได้รับการสนับสนุนจากอินเดีย ร่วมมือกันเสนอข้อเรียกร้อง 12 ข้อ ซึ่งอธิบายว่าระบอบราชาธิปไตยเป็นอุปสรรคที่สำคัญของประชาธิปไตย สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง การยกระดับของสังคม เอกราช และอธิปไตยของเนปาล [13] รวมทั้งเรียกร้องให้เลือกตั้งสภารัฐธรรมนูญและละทิ้งการใช้ความรุนแรงของกลุ่มกบฏลัทธิเหมา [8]: 339 

ใน พ.ศ. 2549 ความขัดแย้งที่รุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเกิดกระแสประชาธิปไตยขึ้น [8]: 339  ตลอดเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วเนปาล ผู้ชุมนุมในกาฏมาณฑุราว 400 คนถูกจับกุม มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 คน ในวันที่ 21 เมษายน กษัตริย์ชญาเนนทระประกาศคืนอำนาจให้แก่นายกรัฐมนตรีที่มาจากพันธมิตร 7 พรรค แต่ทั้งกบฏลัทธิเหมาและพันธมิตร 7 พรรคปฏิเสธ [8]: 339  ในวันที่ 24 เมษายน กษัตริย์ชญาเนนทระประกาศคืนสิทธิกาสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นที่พอใจของพันธมิตร 7 พรรค ที่ได้จัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรขึ้นอีก [8]: 339  กลุ่มกบฏลัทธิเหมายังคงต่อต้าน และในวันที่ 2 มิถุนายน ในกาฏมาณฑุ กลุ่มกบฏลัทธิเหมาจัดชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย มีประชาชนเข้าร่วมมากกว่า 200,000 คน[8]: 339–340  ในวันที่ 9 สิงหาคม รัฐบาลและกลุ่มกบฏลัทธิเหมาตกลงที่จะยอมให้สหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบกระบวนการสันติภาพและปลดอาวุธทั้งสองฝ่าย [8]: 340  ในวันที่ 21 พฤศจิกายน รัฐบาลกลุ่มพันธมิตร 7 พรรค และกลุ่มกบฏลัทธิเหมาลงนามในความตกลงสันติภาพสมบูรณ์แบบ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดสงครามกลางเมือง [8]: 340 

สงครามกลางเมืองบีบให้คนหนุ่มสาวต้องไปทำงานต่างประเทศ โดยเฉพาะในอ่าวเปอร์เซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเคลื่อนย้ายแรงงานทำให้เนปาลพบกับปัญหาเศรษฐกิจที่ยุ่งยาก เศรษฐกิจของเนปาลต้องพึ่งพารายได้จากแรงงานที่ไปทำงานต่างชาติ (คล้ายกับเศรษฐกิจเลบานอนในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองเลบานอน) ผลจากสงครามกลางเมือง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเนปาลได้รับความเดือดร้อน เนปาลลดอับดับจากดินแดนที่น่าไปเที่นวอันดับ 10 เหลือเพียงอันดับที่ 27

ตามข้อมูลของ INSEC, ผู้เสียชีวิต 1,665 คนจากทั้งหมด 15,026 คนที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามกลางเมือง (ประมาณร้อยละ 11) เป็นผู้หญิง โดยกองกำลังฝ่ายรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องประมาณร้อยละ 85 ของการฆ่าผู้หญิง[14]

ทหารฝ่าย ลัทธิเหมา 3 คนรอบนยอดเขาในตำบลโรลปาระหว่างรอคำสั่งให้เคลื่อนย้าย

การควบรวมกองทัพ

[แก้]

กองทัพเนปาล (NA) สามารถควบคุม กองทัพปลดปล่อยประชาชนเนปาล (PLA), ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมากลาง) ได้เมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2555[15] นายกรัฐมนตรี บาบูรัม ภัตตาไร, ผู้เป็นหัวหน้าของคณะกรรมการพิเศษเพื่อการควบควมกองทัพ (AISC) ได้บอกแก่คณะกรรมการเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 ว่า กองทัพเนปาลจะเคลื่อนกำลังเข้าไปในพื้นที่ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนเนปาลเพื่อยึดครองขั้นสุดท้าย และยึดอาวุธจำนวนมากที่นั่น[15] โดยกระบวนการดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 12 เมษายน[15] อย่างไรก็ตาม มีรายงานการปะทะกันที่ฐานทัพ นายกรัฐมนตรีเข้าพบผู้บัญชาการกองทัพเนปาล ฉัตระ มัน สิงห์ ฆูรุงในตอนเย็นวันที่ 10 เมษายน และสั่งให้ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ [15] กองทัพเนปาลเข้าโจมตีฐานทัพและคลังอาวุธในวันเดียวกันนั้น [15] การสู้รบเป็นไปด้วยความรุนแรง[15] ต่อมา กระบวนการนี้ได้หยุดชะงักในวันที่ 10 เมษายนตามคำขอของกลุ่มผู้นำกลุ่มลัทธิเหมา [15] และเริ่มต้นอีกครั้งในวันที่ 13 เมษายน และเสร็จสิ้นในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 มีทหารของฝ่ายกองทัพปลดปล่อยประชาชน 3,129 คน เลือกที่จะลงทะเบียนรวมกับกองทัพเนปาล [15] ทหารทั้งหมด 6,576 คน เลือกเกษียณอายุโดยสมัครใจ โดยจะได้รับเงิน 500,000 - 800,000 รูปีเนปาลขึ้นกับชั้นยศ[15]

ในระยะแรกของการจัดกลุ่มใหม่ (18 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554) ทหารราว 9,705 คนเลือกรวมเข้ากับกองทัพเนปาล[15] คณะกรรมการได้เริ่มกระบวนการควบรวมตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ตามข้อตกลงที่ลงนามโดยพรรคการเมืองหลัก 3 พรรค– UCPN-M, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (รวมลัทธิมาร์ก-เลนิน) (CPN-UML) และ พรรคคองเกรสเนปาล (NC) – และองค์กรตัวแทนขแงกลุ่มมาเธสีหลายกลุ่ม, แนวร่วมมาเธสีประชาธิปไตย (UDMF).[15] โดยมีทางเลือก 3 ทางให้กับทหารของกองทัพประชาชน – ควบรวม เกษียณอายุโดยสมัครใจ และฟื้นฟูขึ้นใหม่ [15] ทหาร 9,705 คนเลือกควบรวม 7,286 คนเลือกเกษียณอายุ และ 6 คน ต้องการการฟื้นฟู[15] ตัวแทนสหประชาชาติในเนปาล (UNMIN) ได้รับลงทะเบียนทหาร 19,602 คนเมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[15]

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการตัดสินใจที่จะกำหนดยศของการควบรวมตามระบบของกองทัพเนปาล ไม่ใช่ระบบของกองทัพปลดปล่อยประชาชน [15] การคัดเลือกคณะกรรมการนำโดยประธานของคณะกรรมการบริการสาธารณะเนปาลในการกำหนดตำแหน่งรองรับทหารที่ควบรวมเข้ามา [15] ทหารต้องเข้ารับการฝึก 3-9 เดือน ขึ้นกับชั้นยศ [15] ในวันที่ 17 เมษายน กองทัพเนปาลกล่าวว่าไม่สามารถเริ่มกระบวนการรับสมัครสำหรับทหารของอดีตกลุ่มลัทธิเหมาได้ จนกว่าการจัดโครงสร้างระดับนายพลจะเสร็จสิ้น[15] ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 พรรคการเมืองหลักทั้งสามพรรค ตกลงที่จะรวมกันโดยสันติวิธีให้เป็นหนึ่งเดียว [15]

ช่วงเวลา

[แก้]

พ.ศ. 2539

[แก้]

พ.ศ. 2544

[แก้]
  • มกราคม พ.ศ. 2544: รัฐบาลจัดตั้งสารวัตรทหารเนปาล ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2544: ประจันทา ให้สัมภาษณ์กับวารสารคอมมิวนิสต์ A World to Win[16]
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544: กษัตริย์พิเรนทรา และสมาชิกราชวงศ์ส่วนใหญ่ถูกสังหารในเหตุการณ์การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล มกุฏราชกุมารทิเพนทราเป็นผู้ถูกกล่าวหาในการสังหารหมู่ครั้งนี้โดยคณะกรรมการสอบสวนที่ประกอบไปด้วย ประธานศาลฎีกาเกชาพ ประสาท อุปัธยา และโฆษกรัฐบาล ตรนาถ รนภัต มกุฏราชกุมารไม่รู้สึกตัวจากความพยายามฆ่าตัวตายหรือถูกลอบสังหารโดยฝ่ายรักษาความปลอดภัยของพระราชวัง ได้สืบราชสมบัติตามประเพณี พระองค์สวรรคตเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 กษัตริย์ชญาเนนทระ ได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา [17]
  • 3 สิงหาคม พ.ศ. 2544: การเจรจาสันติภาพรอบแรก
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544: การเจรจาสันติภาพล่มเมื่อกลุ่มกบฏลัทธิเหมาถอนตัว และโจมตีสารวัตรทหารอย่างรุนแรงใน 42 เขต โดยมีทหารและตำรวจ 186 นาย และกลุ่มกบฏลัทธิเหมา 21 คนเสียชีวิต
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544: รัฐบาลของเชร์ พาหาดูร์ เทวพา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และรับสมัครทหารเนปาลเพื่อโจมตีกลุ่มลัทธเหมา[18]
  • สหรัฐอเมริกาประกาศให้พรรคลัทธิเหมาเป็นกลุ่มก่อการร้าย

พ.ศ. 2545

[แก้]
  • รัฐสภาสหรัฐอเมริกาให้เงินช่วยเหลือ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกทหารเนปาล และสนับสนุนปืนไรเฟิล 5,000 กระบอก[1]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2545: การเจรจาสันติภาพล่ม[18]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2545: เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างทหารและกลุ่มลัทธิเหมาที่ลิสเน เลข ตามแนวชายแดนระหว่างเขตปยูทันและรอลปา และที่หมู่บ้านฆัม เขตรอลปา
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2545: ทหารเนปาลพบภาพถ่ายในเนปาลตะวันตก เป็นภาพของผู้นำกลุ่มกบฏลัทธิเหมา พาพุรัม ภัตตาไร หิสิลา ยามี ราม พาหาทุร ทาพา (ฉายาพาทัล) และปุสปา หามัล ทาหัล (ฉายาประจันทา)[18]
  • 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545: กษัตริย์ชญาเนนทระ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เชร์ พาหาดูร์ เทวพา ยุบสภาและสั่งเลือกตั้งใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการต่อต้านการก่อการร้าย
  • 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545: มีข้อมูลรั่วออกมาว่า โรงงานอาวุธในเบลเยี่ยม FN Herstal ได้ส่งปืนอัตโนมัติ M249 5,500 กระบอก ให้กับราชวงศ์เนปาล การตัดสินใจดำเนินการโดยพรรคร่วมรัฐบาล
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545: กษัตริย์ชญาเนนทระประกาศปลดนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ยึดอำนาจการปกครองประเทศ และยกเลิกการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545: กษัตริย์ชญาเนนทระ แต่งตั้ง โลเกนทรา พาหาทุร์ จันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2546

[แก้]
  • มกราคม พ.ศ. 2546: สหรัฐอเมริกาซ้อมรบกับทหารเนปาล[1] กลุ่มก่อการร้ายลัทธิเหมาฆ่าผู้ตรวจการสารวัตรทหาร กฤษณะ โมฮัน เศรษฐา พร้อมกับภรรยาและบอดีการ์ดขณะออกเดินตอนเช้าที่เคยทำเป็นปกติทุกเช้าวันอาทิตย์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความปลอดภัยของพลเมือง ผู้ตรวจการสารวัตรทหารและภรรยาซึ่งเป็นครูในโรงเรียนนานาชาติในเมืองหลวงต่างไม่มีอาวุธ ด้วยกระสุนปืนไรเฟิลที่กลุ่มกบฏลัทธิเหมาชอบใช้
  • 29 มกราคม พ.ศ. 2546: มีการหยุดยิงครั้งที่ 2 และเริ่มเจรจาสันติภาพ[18]
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546: มีการประกาศร่วมกันระหว่างรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ยอมรับให้มีการหยุดยิง[19]
  • 17 สิงหาคม พ.ศ. 2546: ทหารและตำรวจเนปาลฆ่ากลุ่มกบฏลัทธิเหมา 39 คน ในเขตราเมชับ ในเนปาลตอนกลาง ระหว่างการสนธิกำลังกันของทหารและตำรวจเนปาลเพื่อยึดพื้นที่ ทหารเนปาลเสียชีวิต 7 คน สารวัตรทหารเสียชีวิต 5 คน[18]
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมายื่นคำขาด จะยุติการหยุดยิงภายใน 48 ชั่วโมง หากรัฐบาลไม่รวมข้อเสนอของกลุ่มลัทธิเหมาในสภาร่างรัฐธรรมนูญ [18]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2546: คำขาดของกลุ่มลัทธิเหมาหมดเวลา[18]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546:
    • นัดหยุดงาน: กลุ่มลัทธิเหมาเรียกร้องให้มีการนัดหยุดงาน 3 วัน [18]
    • กลุ่มลัทธิเหมายื่นคำขาดถอนการหยุดยิงเมื่อ 29 มกราคม ประจันทาประกาศว่ากลุ่มกบฏต้องการให้สิ้นสุดการปกครองด้วยราชวงศ์ เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย [18]
  • 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมาลอบสังหารนายพลของกองทัพเนปาล 2 คนในบ้านพักที่กาฏมาณฑุ เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คน[20]
  • 29 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมาพยายามลอบสังหารรัฐมนตรี ทเวนทรา ราช กันเทล แต่ไม่สำเร็จ[21]
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมาซุ่มโจมตีตำรวจในรูปันเดฮี เสียชีวิต 4 คน[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Miglani, Sanjeev (18 August 2003). "Nepal's Maoist cauldron draws foreign powers closer". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2018.
  2. [1]
  3. 3.0 3.1 3.2 Ed Douglas. "Inside Nepal's Revolution". National Geographic Magazine, p. 54, November 2005.
  4. 17,800 people died during conflict period, says Ministry of Peace
  5. https://web.archive.org/web/20190418215802/https://www.icmp.int/the-missing/where-are-the-missing/nepal/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-18. สืบค้นเมื่อ 2019-05-28. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  6. "Conflict Victim's Profile". INSEC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017.
  7. Mahendra Lawoti and Anup K. Pahadi, editors (2010). The Maoist Insurgency in Nepal: Revolution in the twenty-first century. Routledge. ISBN 978-0-415-77717-9. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 Mahendra Lawoti and Anup K. Pahari, editors (2010). The Maoist Insurgency in Nepal: Revolution in the twenty-first century. Routledge. ISBN 978-0-415-77717-9. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  9. Manesh Sreshtha and Bishnu Adhikari (2005). Internal Displacement in South Asia: The Relevance of the UN's Guiding Principles. Sage. ISBN 0-7619-3313-1.
  10. "Anti-king remarks intolerable: Lohani". NepalNews: The Kathmandu Post. 20 December 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2004. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  11. "Maoist rebels call off Kathmandu blockade". The Guardian. 24 August 2004. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
  12. "Royal Proclamation of February 1, 2005". Nepal Monarchy. 4 พฤษภาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2018.
  13. "12-point Maoist MoU". Nepali Times. 25 November 2005. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
  14. "Conflict Victim's Profile". INSEC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017.
  15. 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 15.11 15.12 15.13 15.14 15.15 15.16 15.17 15.18 "Nepal: Consolidating The Peace – Analysis". Eurasia Review. สืบค้นเมื่อ 24 April 2012.
  16. "However tortuous the road may be, the victory of the world proletarian revolution is certain". Human Rights Server. 28 พฤษภาคม 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2016.
  17. Greenwald, Jeff (13 June 2001). "Murder and intrigue in Katmandu". World Tibet Network News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2006. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 18.7 18.8 Pokharel, Tilak P (27 August 2003). "Nepali Rebels Walk Away from Peace Talks". World Press. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  19. Adhikari, Bipin (19 มีนาคม 2003). "Code of conduct as a point of departure". The Kathmandu Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2013.
  20. NEPAL: MAOIST HIT TEAMS SHOOT TWO ARMY COLONELS IN KATHMANDU https://wikileaks.org/plusd/cables/03KATHMANDU1648_a.html
  21. 21.0 21.1 UPDATE ON NEPAL'S MAOIST INSURGENCY, AUGUST 30- SEPTEMBER 5 https://wikileaks.org/plusd/cables/03KATHMANDU1721_a.html

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]