สงกรานต์ เตชะณรงค์
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล (กันยายน 2020) |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
สงกรานต์ เตชะณรงค์ | |
---|---|
โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 เมษายน พ.ศ. 2526 (37 ปี) |
คู่สมรส | ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ (2555–2561) (หย่า) |
พันตำรวจตรี สงกรานต์ เตชะณรงค์ สารวัตร สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อดีตโฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] และเป็นที่รู้จักในวงการการแสดงของไทย เคยมีผลงานถ่ายแบบแฟชั่น โดยการชักชวนของพชร์ อานนท์
ประวัติ[แก้]
พันตำรวจตรี สงกรานต์ เตชะณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2526 เป็นบุตรของนายไพวงษ์ กับนางภัสรา เตชะณรงค์ จบเกรด 10 จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[2] มีพี่น้อง 4 คน
- ร้อยตำรวจเอก สงกรานต์ เตชะณรงค์ (กรานต์)
- น.ส.ไพพรรณี เตชะณรงค์ (เมย์)
- น.ส.พัทธมน เตชะณรงค์ (แจน)
- นายภูผา เตชะณรงค์ (ผา)
การทำงาน[แก้]
พันตำรวจตรี สงกรานต์ เตชะณรงค์ เคยรับราชการทหาร ต่อมาได้โอนมารับราชการเป็นตำรวจและได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจโท ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 จากนั้นจึงได้เข้ามารับตำแหน่งโฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปัจจุบันรับราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผลงาน[แก้]
ภาพยนตร์[แก้]
สงกรานต์ เตชะณรงค์ เริ่มเข้าวงการในฐานะนายแบบ จากการชักชวนของพจน์ อานนท์ โดยถ่ายแบบให้กับนิตยสารและสินค้าชื่อดังมากมาย และได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ มายเบสท์บอดี้การ์ด เมื่อปี พ.ศ. 2553
มิวสิกวีดีโอ[แก้]
- เพลงอย่าโกรธได้ไหม ของ กรรณิการ์ ซาย
- เพลงทำไม่ไหว (Can You Do That) ของ P.O.P. คู่กับ สุรัตนาวี สุวิพร
- เพลงเผ่าไหนหรอ ของ เอิร์น จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)