สกุลมันแกว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลมันแกว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Phaseoleae
เผ่าย่อย: Glycininae
สกุล: Pachyrhizus
Rich. ex DC.
ชนิด[1]
ชื่อพ้อง
  • Cacara Thouars

สกุลมันแกว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyrhizus) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน สกุลมันแกวมีประมาณอย่างน้อย 4-5 ชนิด ทุกชนิดเป็นเถาเลื้อย มีหัวเดี่ยวอวบใหญ่ขยายจากรากแก้ว ส่วนมากกินได้ ใบประกอบด้วย 3 ใบย่อยซึ่งมีรูปทรงและแบบขอบใบต่าง ๆ ดอกมีสีขาว ชมพู ฟ้า ม่วง เป็นช่อ เมล็ดออกทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสค่อนข้างแบน เรียงในฝัก

ชนิด[แก้]

สกุลมันแกวเป็นสกุลพืชที่มีจำนวนชนิดไม่มาก มีประมาณอย่างน้อย 4-5 ชนิด ได้แก่

ชื่อสามัญ ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อภาษาอังกฤษ ลักษณะ การใช้ประโยชน์ ถิ่นกำเนิด พื้นที่การกระจายพันธุ์และนำเข้า
มันแกว หรือ มันแกวเม็กซิโก
Pachyrhizus erosus jícama
  • เถาเลื้อย สูงได้ถึง 4-5 เมตร และอาจยาวได้ 20 ม.
  • หัวเดี่ยวขนาดใหญ่ขยายจากรากแก้ว (taproot) ทรงกลมแป้น อาจมีพูนูนรอบ ๆ [2][3] กินได้
  • รากมีความยาวได้ถึง 2 ม.
  • เปลือกหัวบาง ผิวเรียบ เนื้อสีขาว
  • ใบประกอบด้วย 3 ใบย่อย เรียงสลับ ขอบใบจักใหญ่
  • ดอกช่อกระจะ ออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน สีขาว หรือชมพู รูปทรงดอกถั่วทั่วไป ยาว 1.5-2 ซม. มีพิษ[4]
  • ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน มีขนเล็กน้อย ฝักอ่อนจะมีสีเขียว และสีเขียวแก่ สีน้ำตาล จนถึงสีดำเมื่อแก่ ยาวประมาณ 7-13 ซม. กว้าง 1.2-1.5 ซม.[5] สั้นกว่าชนิดอื่น มีพิษ[6] ฝักมี 4-9 เมล็ด
  • เมล็ดมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยม กว้าง-ยาวประมาณ 6-9 มม. สีเหลืองหรือออกแดง เป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมล็ดแก่มีพิษ[7][8][9]
  • หัวเท่านั้นที่กินได้
  • เมล็ดใช้ในการกำจัดแมลง
อเมริกากลาง เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย อินเดีย หมู่เกาะเวสต์อินดีส และแอฟริกา[10]
มันแกวแอนดีส
เมล็ด Pachyrhizus ahipa
Pachyrhizus ahipa ahipa หรือ ajipa
  • มีความหลากหลายของสายพันธุ์ถึง 11 ชนิดย่อย แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ Jíquima (เอกวาดอร์ชายฝั่งทะเล), Ashipa (กระจายทั่วไปในที่ลุ่มน้ำแอมะซอนตะวันตก), Chuin (ตลอดเส้นทางแม่น้ำเปรู), Yushpe (ปลูกเฉพาะในท้องถิ่นของเปรู)[11]
  • เป็นพันธุ์ที่คล้ายกับมันแกว (Pachyrhizus erosus) มากที่สุด
  • เติบโตได้ดีในที่ราบจนถึงที่ระดับน้ำทะเล 2,000 ม. ไม่เป็นที่รู้จักจากพื้นที่ภายนอกเขตเทือกเขาแอนดีสของโบลิเวีย
  • ยืนต้น ไม่เป็นเถาเลื้อย
  • หัวเดี่ยวมีขนาดเล็กและยาวกว่า มีหลายสี
  • ใบประกอบด้วย 3 ใบย่อย เรียงสลับ ขอบใบจัก
  • ดอกสีม่วง-ขาว
  • เมล็ดค่อนข้างกลม หลากหลายสี ทั้งแดง ดำ เหลือง หรือสีผสม
ภูมิภาคที่ราบสูงโบลิเวียทางตะวันตกของอเมริกาใต้ ในเขตเทือกเขาแอนดีสของโบลิเวีย, เปรู เอกวาดอร์ และทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา หมู่เกาะเวสต์อินดีส[12]

(ไม่พบในประเทศไทย)

มันแกวแอมะซอน Pachyrhizus tuberosus jiquima, jacatupe, goiteño, หรือ nupe
  • พืชล้มลุกปีเดียว เถาเลื้อย
  • หัวเดี่ยวขนาดใหญ่ ทรงไม่แน่นอน เนื้อขาวออกเหลือง ขนาด 15―25 ซม.
  • ใบประกอบ 3 ใบย่อย ใบกว้างปลายแหลม ขอบใบเรียบ (โปรตีนร้อยละ 20―24) กินได้
  • ดอกช่อกระจะ กลีบดอกสีขาวและสีม่วง รูปทรงดอกถั่วทั่วไป
  • ฝักยาว 10―20 ซม. กินได้
  • เมล็ด (ถั่ว) ที่มีโปรตีนสูง (ร้อยละ 32) กินได้
  • กินได้ทุกส่วน
เขตร้อนในเขตที่ราบลุ่มต้นน้ำแอมะซอนในโคลอมเบีย และเอกวาดอร์[13] อินเดียและบราซิล[13]

(ไม่พบในประเทศไทย)

Pachyrhizus ferrugineus (Piper) Sørensen
  • เป็นพืชป่า[11]
  • ใบประกอบ 3―7 ใบย่อย รูปทรงไม่แน่นอนตั้งแต่กว้างถึงแคบยาว
อเมริกากลาง และโคลอมเบีย[14] (ไม่พบในประเทศไทย)
Pachyrhizus panamensis Clausen (Sørensen 1988)
  • เป็นพืชป่า[11]
  • ใบประกอบ 3 ใบย่อย ขอบหยักลึกมาก (แบบใบมะละกอ)
  • ฝักสั้นมี 4―6 เมล็ด
ปานามา โคลอมเบียและเอกวาดอร์[15] (ไม่พบในประเทศไทย)

อ้างอิง[แก้]

  1. ILDIS Version 6.05
  2. JOM (2016-12-19). "มันแกว". Thai Food.
  3. puechkaset (2014-12-20). "มันแกว และการปลูกมันแกว | พืชเกษตร.คอม".
  4. Elaine M. D'Sa (September 2004). "Using and Preserving Jicama". National Center for Home Food Preservation.
  5. puechkaset (2014-12-20). "มันแกว และการปลูกมันแกว | พืชเกษตร.คอม".
  6. Elaine M. D'Sa (September 2004). "Using and Preserving Jicama". National Center for Home Food Preservation.
  7. มันแกวกุดรัง ปลูกง่าย กำไรงาม ลงทุนหลักพัน โกยกำไรทะลุหมื่น. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 12 เมษายน 2563.
  8. puechkaset (2014-12-20). "มันแกว และการปลูกมันแกว | พืชเกษตร.คอม".
  9. Elaine M. D'Sa (September 2004). "Using and Preserving Jicama". National Center for Home Food Preservation.
  10. "Pachyrhizus Rich. ex DC. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  11. 11.0 11.1 11.2 "Plant Genetic Resources Newsletter - Review of the Pachyrhizus tuberosus (Lam.) Spreng. cultivar groups in Peru". www.bioversityinternational.org.
  12. "Jicama nutrition facts". สืบค้นเมื่อ June 9, 2013.
  13. 13.0 13.1 "Pachyrhizus tuberosus (Lam.) Spreng. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Pachyrhizus ferrugineus (Piper) M.Sørensen | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  15. "Pachyrhizus panamensis R.T.Clausen | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).