ข้ามไปเนื้อหา

สกีวโอมอร์ฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเตอร์เฟซแสดงกระดาษโน๊ตและปฏิทินแบบสกีวโอมอร์ฟ
หลอดไฟฟ้าที่เลียนแบบลักษณะของเทียน
ตัวอย่างสกีวโอมอร์ฟในการออกแบบเสมือนและในทางกายภาพ

สกีวโอมอร์ฟ (อังกฤษ: Skeuomorph; /ˈskjuːəˌmɔːrf, ˈskjuː-/)[1][2] หมายถึงวัตถุอนุพันธ์ (derivative object) ที่คงการออกแบบเพื่อตกแต่งโดยไม่มีหน้าที่อื่นนอกเหนือไปจากการบอกเป็นนัยถึงโครงสร้างที่มีอยู่เดิมในสิ่งต้นฉบับ (that retains nonfunctional ornamental design cues (attributes) from structures that were inherent to the original)[3] ตัวอย่างนี้พบใน เครื่องปั้นดินเผา ที่ประดับด้วยหมุดโลหะเลียนแบบ (imitation rivets) ที่ทำให้นึกถึงหม้อแบบเดียวกันที่ผลิตจากโลหะ[4] และซอฟต์แวร์ที่มีปฏิทินที่เลียนแบบลักษณะของปฏิทินจริงที่เห็นผ่านทรรศนะของคนทั่วไป ที่เป็นปฏิทินตั้งโต๊ะมีลักษณะเป็นกระดาษและมีรอยพับ[5]

นิยามและเป้าหมาย

[แก้]

คำว่าสกีวโอมอร์ฟ (skeuomorph) มาจากภาษากรีก skeuos (σκεῦος) แปลว่า บรรจุภัณฑ์หรือเครื่องมือ ("container or tool") และคำว่า morphḗ (μορφή) แปลว่า รูปร่าง ("shape") พบการใช้สกีวโอมอร์ฟในวัตถุต่าง ๆ ย้อนกลับไปถึงปี 1890[6] และในปัจจุบันยังคงใช้คำว่า “สกีวโอมอร์ฟ” ในการอธิบายรูปแบบและการออกแบบอินเตอร์เฟซของคอมพิวเตอร์และมือถือ[7]

สกีวโอมอร์ฟในทางกายภาพ

[แก้]

องค์ประกอบและลักษณะเด่นหลาย ๆ ประการของอาคารไม้พบนำมาสร้างใหม่ในกรีกโบราณด้วยหินแต่ยังคงออกแบบให้เลียนแบบมาจากลักษณะไม้ ในช่วงเวลาที่การก่อสร้างกำลังเปลี่ยนผ่านจากไม้ไปสู่การใช้ศิลา หินตกแต่งในเสาดอริกของสถาปัตยกรรมคลาสสิกในวิหารกรีก เช่น triglyphs, mutules, guttae และ modillions ล้วนสร้างเพื่อทึกทักเอาว่าเป็นโครงสร้างจริงที่ปรากฏในโครงสร้างไม้ในยุคก่อนหน้า[8][9][10]

ในโลกสมัยใหม่ พลาสติกซึ่งมีราคาถูกลงมักถูกใช้แทนที่ไม้และโลหะในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น บ้างจึงออกแบบตกแต่งให้พลาสติกที่มาแทนที่โครงสร้างเดิมที่เป็นไม้หรือโลหะให้มีลักษณะภาพรวมคล้ายกับโครงสร้างเดิม[11] เช่นเก้าอี้พลาสติก Adirondack chair[12] หรือเช่นคาน “แขน” ในเครื่องเล่นการพนัน "one-armed bandit" ซึ่งในปัจจุบันใช้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์แทนที่การใช้การดึงคานเพื่อเริ่มการทำงานของกลไก อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีแขนนี้ปรากฏในเครื่องเล่นการพนันแบบนี้ในปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและทำงานแทนทั้งหมดเพื่อเลียนแบบและสร้างให้นึกถึงเครื่องแบบดั้งเดิม

การออกแบบยนตกรรม (automotive design) มีประวัติยาวนานที่เต็มไปด้วยสกีวโอมอร์ฟกายภาพ เช่น องค์ประกอบพลาสติกที่ฉาบบาง ๆ ด้วยโครเมียมเพื่อเลียนแบบหนัง ทองคำ ไม้ ไข่มุก หรือแม้แต่องค์ประกอบเพชรพลอยคริสตัล ในทศวรรษ 1970s กระจกรถพวก opera windows และหลังคารถแบบ vinyl roofs ในรถซีดานหรู ๆ นั้นก็เลียนบบมาจากรถม้า รถยนต์ไฟฟ้า ข้อมูลเมื่อ 2019 ส่วนใหญ่ก็มีองค์ประกอบของตาข่ายหน้า (front grilles) ที่เด่นชัด ถึงแม้ว่าในรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ต้องมีความต้องการลมเย็นเข้าไปเพื่อทำให้เครื่องยนต์เผาผลาญแบบเดิม (ซึ่งไม่มีในรถยนต์ไฟฟ้า) เย็นลง[13]

สกีวโอมอร์ฟในทางเสมือนจริง

[แก้]
การออกแบอินเตอร์เฟซในไอโอเอสที่มีลักษณะเป็นสกีวโอมอร์ฟดังสังเกตได้จากปุ่มกดที่มีลักษณะเลียนแบบปุ่มที่มีความนูนจริง

โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากมีการออกแบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface; GUI) แบบสกีวโอมอร์ฟ เพื่อจำลอง (emulate) สุนทรียภาพของวัตถุจริง ๆ ในกายภาพ (aesthetics of physical objects) ตัวอย่างเช่นรายชื่อผู้ติดต่อดิจิตัล หรือแอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์ (digital contact list) นั้นก็เลียนแบบ Rolodex ในโลกความเป็นจริง[14] และแพคเกจ RealThings ของไอบีเอ็มเมื่อปี 1998[15] ตัวอย่างที่เด่นชัดมาก ๆ ยังคงพบในซอฟต์แวร์จำพวกที่ใช้ในการสังเคราะห์เสียงและสร้างเสียง (music synthesis and audio processing software) ที่อินเตอร์เฟซนั้นจำลองเครื่องดนตรีจริงและอุปกรณ์ด้านเสียงจริงที่มีทั้งปุ่มและตัวหมุนต่าง ๆ ที่สมจริง[16] หรือแม้แต่ในตัวอย่างเล็ก ๆ อย่างไอคอนบนหลาย ๆ อินเตอร์เฟซต่างยังคงใช้การแสดงภาพเชิงสกีวโอมอร์ฟ (skeuomorphic representations) ของวัตถุจริงที่แม้จะไม่ได้ใช้งานในหน้าที่นั้นจริง ๆ แล้วก็ตาม ตัวอย่างสำคัญคือไอคอนบันทึก (save) ซึ่งล้วนใช้ภาพวาดสัญลักษณ์แทนฟล็อปปีดิสก์

บริษัทแอปเปิลในยุคของสตีฟ จ็อบส์ นั้นเป็นที่รับรู้กันแพร่หลายว่านิยมใช้การออกแบบสกีวโอมอร์ฟอย่างทั่วไปในแอปพลิเคชันต่าง ๆ หลังการเสียชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ ตามด้วยการลาออกของ สก็อตต์ ฟอร์สตาลล์ (Scott Forstall) ผู้ซึ่งสนับสนุน “การออกแบบทัศนะที่มีสิทธิ์มีเสียงและเป็นอันดับต้น ๆ ที่สตีฟ จ็อบส์ชื่นชอบ” ("the most vocal and high-ranking proponent of the visual design style favored by Mr. Jobs") นักออกแบบ โจนาธาน ไอฟ์ (Jonathan Ive) ขึ้นมากุมบังเหียนการออกแบบทัศนะหลาย ๆ ส่วนของแอปเปิลแทนที่ฟอร์สตาลล์ และได้ “สร้างความเกลียดชังต่อการตกแต่งทัศนะในแอปพลิเคชันมือถือของแอปเปิลที่เป็นที่รับรู้กันไปทั่วทั้งบริษัท” ("made his distaste for the visual ornamentation in Apple's mobile software known within the company")[17] แอปเปิลได้ประกาศเปลี่ยนแนวทางออกแบบจากสกีวโอมอร์ฟเป็นแบบแฟลทดีไซน์ (flat design) ซึ่งเรียบง่ายและมีความเป็นจุลนิยม (Minialism) มากกว่าแทน พร้อม ๆ กับการเปิดตัวของ iOS 7 ที่ WWDC เมื่อปี 2013 ทำให้โลกการออกแบบทัศนะของแอปเปิลเข้าสู่จุดเริ่มต้นของ “การสิ้นสลายของสกีวโอมอร์ฟ” ("death of skeuomorphism")[18]

สกีวโอมอร์ฟเสมือนจริงยังรวมถึงสกีวโอมอร์ฟทางเสียง (Auditory Skeuomorphs) เช่นเสียง “แชะ” ที่เพิ่มเข้ามาขณะถ่ายรูปด้วยกล้องมือถือ[19]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แม่แบบ:OxfordDictionaries.com
  2. "Skeuomorph". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  3. Basalla, George (1988). The Evolution of Technology. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 107. ISBN 0-521-29681-1.
  4. "Skeuomorph". dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 7 December 2012.
  5. Thompson, Clive (2012-01-31). "Clive Thompson on Analog Designs in the Digital Age". Wired. Wired Magazine. 20 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2012. สืบค้นเมื่อ 7 December 2012.
  6. March, H. Colley (1890). Transactions of the Lancashire and Cheshire Antiquarian Society. The Lancashire and Cheshire Antiquarian Society. p. 187. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02.
  7. Gessler, Nicholas. "Skeuomorphs and Cultural Algorithms". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2012. สืบค้นเมื่อ 7 December 2012.
  8. Vickers, Michael; Gill, David (1996). Artful Crafts: Ancient Greek Silverware and Pottery. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-198-15070-9.
  9. Manby, T.G. (1995). Unbaked Urns of Rudely Shape: essays on British and Irish pottery for Ian Longworth. Oxford: Oxbow Books and others. pp. 81–84. ISBN 0946897948.
  10. Summerson, John, The Classical Language of Architecture, pp. 128, 133, 1980 edition, Thames and Hudson World of Art series, ISBN 0500201773
  11. Bullock, Alan (1999), The Norton Dictionary of Modern Thought, W. W. Norton & Company, pp. 795–796, ISBN 978-0-393-04696-0
  12. Winchester, Simon; Lederer, Richard (2006). "Foreword". ใน McKean, Erin (บ.ก.). Totally weird and wonderful words. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0195312120. OCLC 70060979.
  13. Torchinsky, Jason. "Why Do All These Electric Cars Have Grilles?". Jalopnik. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 2019-04-05.
  14. Worstall, Tim. "The Real Problem With Apple: Skeuomorphism In iOS". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2012. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  15. Mullay (April 1998). "IBM RealThings". CHI 98 conference summary on Human factors in computing systems. ACM Press. pp. 13–14. doi:10.1145/286498.286505. ISBN 1-58113-028-7.
  16. G.F. (2012-11-08). "User interfaces: Skeu you". The Economist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  17. Wingfield, Nick; Bilton, Nick (2012-10-31). "Apple Shake-Up Could Lead to Design Shift". The New York Times. CLXII (55, 941). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-05.
  18. Evans, Claire (2013-06-11). "A Eulogy for Skeuomorphism". Motherboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-13. สืบค้นเมื่อ 2013-06-11.
  19. McNeil, Joanne. "Skeuomorphic Sounds: Digital Camera Shutter Clicks and Car Door Clunks". Rhizome. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Freeth, C. M., & Taylor, T. F. (2001). Skeuomorphism in Scythia: Deference and Emulation, Olbia ta antichnii svit. Kiev, British Academy / Ukrainian Academy of Sciences. P. 150.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]