ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน
London Olympics Media Center
ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน (ดำเนินการในช่วงฤดูร้อนที่ลอนดอนโอลิมปิก 2012)
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทกลุ่มอาคาร
เมืองอังกฤษ กรุงลอนดอน, อังกฤษ
ประเทศสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
เริ่มสร้างพ.ศ. 2552
ผู้สร้างคณะกรรมการจัดการแข่งขันของลอนดอน
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกอัลลายส์แอนด์มอร์ริสัน (Allies and Morrison)
วิศวกรคาริลเลียน (Carillion)
เว็บไซต์
ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน (อังกฤษ: London Olympics Media Center) เป็นสิ่งก่อสร้าง (Complex) ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2012[1] อาคารหลังนี้เป็นศูนย์กลางของสื่อมวลชน ซึ่งเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง และรองรับเจ้าหน้าที่ของผู้รับสิทธิกระจายเสียงแพร่ภาพการแข่งขัน ช่างภาพและนักข่าว จำนวนมากกว่า 20,000 คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ สู่ประชาชนทั่วโลกทั้ง 4,000 ล้านคน

อาคารที่มีความยาวถึง 275 เมตรหลังนี้[2] ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยานโอลิมปิกลอนดอน ใช้ทุนสำหรับการก่อสร้าง 355 ล้านปอนด์[3] การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 โครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) โดยมีพิธีเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) นับเป็นสถานที่แรกซึ่งเปิดดำเนินงาน สำหรับกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ และให้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 52 วันระหว่างการแข่งขัน[4]

องค์ประกอบที่สำคัญ[แก้]

  • ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (International Broadcast Center; IBC) - แบ่งเป็นห้องส่งโทรทัศน์ 52,000 ตารางเมตร สำหรับผู้ได้รับสิทธิในการถ่ายทอด ร่วมกับพื้นที่สำนักงานอีก 8,000 ตารางเมตร และเพื่อรองรับการทำงานตลอดเวลาของสื่อมวลชนนานาชาติ อาคารแห่งนี้จึงมีที่พักรับรองชั่วคราว พร้อมทั้งห้องแถลงข่าวขนาด 800 ที่นั่ง
  • ศูนย์สื่อมวลชนหลัก (Main Press Center; MPC) - ประกอบด้วยพื้นที่ปฏิบัติงาน 31,000 ตารางเมตร ซึ่งมีความพร้อมรองรับผู้สื่อข่าวกับช่างภาพ 6,000 คนซึ่งผ่านการลงทะเบียน สำหรับองค์กรที่มิได้ถือสิทธิในการถ่ายทอดระหว่างการแข่งขัน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของไอโอซี และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของลอนดอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชั้น[4]
  • สะพานลอยเชื่อมต่อศูนย์ทั้งสอง - มีความยาว 200 เมตร โดยมีร้านค้าต่างๆ ตั้งอยู่ตลอดแนวเส้นทาง เช่นธนาคาร สำนักข่าว ที่ทำการไปรษณีย์ บริการซักแห้ง ร้านขายยา เป็นต้น[5] และยังมีศูนย์อาหารขนาด 4,000 ที่นั่ง และที่จอดรถจำนวนมาก ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ใต้สะพานลอย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Olympic Park runners savour their day". เฮดเวย์. 4 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ศูนย์สื่อมวลชนลอนดอน 2012 : อาคารไอบีซีและเอ็มพีซี". อี-อาร์จิเท็กต์. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. กิบสัน, โอเวน (21 มกราคม 2552). "Government forced to bail out major Olympic projects". เดอะการ์เดียน. การ์เดียนนิวส์แอนด์มีเดีย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2555. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "First London 2012 venue opens to mark one month until Olympic Games". ลอนดอน 2012. 27 มิถุนายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "One month to go until the London 2012 Olympic Games". ลอนดอน 2012. 27 มิถุนายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]