ศึกษาบันเทิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอ็ดดูเทนเมนท์ (อังกฤษ: Edutainment) หรือ เอ็ดดูเคชันแนล เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (อังกฤษ: educational entertainment) หรือ เอ็นเตอร์เทนเมนท์-เอ็ดดูเคชัน (อังกฤษ: entertainment-education) เป็นรูปแบบทางการบันเทิงที่ออกแบบสำหรับการอบรม ตลอดจนเป็นการทำให้เป็นที่ชอบใจสำหรับผู้เรียน

นิยาม[แก้]

ได้มีการถกเถียงกันว่าเอ็ดดูเทนเมนท์เป็นคำศัพท์ที่มีมานานนับพันปีในรูปแบบของนิยายเปรียบเทียบและนิทานที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

รูปแบบสมัยใหม่ประกอบด้วยการผลิตสื่อทางโทรทัศน์, ภาพยนตร์, งานแสดงพิพิธภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ซึ่งใช้ความบันเทิงสำหรับการดึงดูดใจ และรักษาผู้ชมเอาไว้ ในขณะที่มีเจตนารวมเนื้อหาหรือข้อความทางการศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน

ตั้งแต่ยุคปี ค.ศ. 1970 กลุ่มบุคคลต่างๆในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร กับละตินอเมริกาต่างนำเอ็ดดูเทนเมนท์ไปใช้ประกอบกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ในด้านสุขภาพและแก้ปัญหาสังคม อย่างปัญหาด้านสิ่งเสพติด, การให้ยา, การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, เอชไอวี-โรคเอดส์ และมะเร็ง โดยริเริ่มตามมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน, องค์การสาธารณประโยชน์ เช่น PCI-Media Impact และตัวแทนรัฐบาล เช่น Center for Disease Control (CDC) ซึ่งได้ผลิตเนื้อหาด้านเอ็ดดูเทนเมนท์นี้

หนึ่งในรูปแบบที่เป็นที่นิยมในละตินอเมริกาคือการศึกษาแบบเทเลโนเวลลา โดยมี มิเกล ซาบิโด ผู้ผลิตเทเลโนเวลลาหลายรายการในยุค 1970 ซึ่งได้ทำการรวมทฤษฎีการสื่อสารด้านสุขภาพและการศึกษาผ่านข้อความให้ความรู้ทั่วละตินอเมริกาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว, การเรียนรู้หนังสือ และหัวข้ออื่นๆ เขาได้พัฒนาแบบจำลองที่รวมผลงานของอัลเบิร์ต บันดูรากับทฤษฎีอื่นๆ ตลอดจนวิจัยถึงโปรแกรมตรวจสอบถึงอิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ชม

ที่มาของคำ[แก้]

คำศัพท์เอ็ดดูเทนเมนท์ได้นำมาใช้ในช่วงต้นยุค 1984 โดยเดอะวอลต์ดิสนีย์ในการพรรณาถึงซีรีส์ทรู-ไลฟ์ แอดเวนเจอร์[ต้องการอ้างอิง]

คำว่า เอ็ดดูเทนเมนท์ ในลักษณะของคำนาม เป็นการบัญญัติศัพท์ได้ใช้โดยโรเบิร์ต เฮย์แมน ในปี ค.ศ. 1973 เมื่อได้ผลิตภาพยนตร์สารคดีสำหรับสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[1] และยังได้ใช้โดย ดร.คริส แดเนียล ในปี ค.ศ. 1975 สำหรับใส่ในตัวบท มิลลีเนี่ยม โปรเจกต์ของเขา ซึ่งต่อมาโครงการดังกล่าวกลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อของเดอะ อีลีเซี่ยน เวิลด์ โปรเจ็กต์[ต้องการอ้างอิง]

เอ็ดดูเทนเมนท์สามารถใช้อธิบายถึงเกณฑ์การเรียนรู้ต่างๆได้

ทฤษฎี[แก้]

เอนเตอร์เทนเมนท์-เอ็ดดูเคชั่น สำหรับใช้ผสมผสานทฤษฎีการสื่อสารหลัก และเป็นการจัดสอนวิชาในรูปของความบันเทิงพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรม นอกจากนี้ศูนย์การป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ยังมีการแนะนำเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์สำหรับการเขียนและผลิตสื่อ[2]

ในสื่อบันเทิง[แก้]

วิดีโอเกม[แก้]

ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์[แก้]

วิทยุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Marta Rey-López et al. A Model for Personalized Learning. In: Adaptive Hypermedia and Adaptive Web-Based Systems. Springer. Berlin. 2006.
  2. Centers for Disease Control and Prevention (อังกฤษ)