ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก ซีซั่นที่ 1
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก | |
---|---|
ซีซั่น 1 | |
พิธีกร | |
กรรมการ | |
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน | 15 |
ชนะเลิศ | ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ |
รองชนะเลิศ | พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร |
สถานที่แข่งขัน | มงคลสตูดิโอ |
ผู้ผลิต | บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด |
ประเทศ | ประเทศไทย |
จำนวนตอน | 12 |
การออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 23 มิถุนายน 2562 – 15 กันยายน 2562 |
ลำดับฤดูกาล |
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก ซีซั่นที่ 1 (อังกฤษ: The Next Iron Chef Thailand Season 1) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหารเต็มรูปแบบซึ่งต่อยอดความสำเร็จจากรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (อังกฤษ: Iron Chef Thailand) โดยเป็นการแข่งขันของเชฟมืออาชีพ เพื่อค้นหาเชฟที่ดีที่สุดที่จะได้ลงนามในสัญญาเพื่อทำหน้าที่เป็นเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย คนใหม่ พร้อมรับรางวัลเงินสดรวมจำนวนมากกว่า 1,000,000 บาท ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 18:20 - 19:50 น. ทางช่อง 7 เอชดี[1] เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ต่อจากรายการ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3[2]
กติกา[แก้]
ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]
ผู้เข้าแข่งขัน | ตำแหน่ง | ลำดับการแข่งขัน | การชนะ |
---|---|---|---|
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (อ๊อฟ) | Executive Chef | ชนะเลิศ/เชฟกระทะเหล็กคนใหม่ วันที่ 15 กันยายน |
5 |
พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร (พฤกษ์) | Cuisine Chef Instructor & Production Chef | รองชนะเลิศ/เชฟกระทะเหล็กคนใหม่ วันที่ 15 กันยายน |
8 |
สราวุธ เนียรวิฑูรย์ (แมน) | Culinary Arts & Technology Instructor | ถูกคัดออก วันที่ 8 กันยายน |
2 |
Anthony C.S. Bish (โทนี่) | Senior Instructor | ||
ธนภัทร สุยาว (เฟิร์ส) | Chef Owner | ถูกคัดออก วันที่ 1 กันยายน | |
สหรัฐ แตงไทย (เตย) | Executive Chef | ถูกคัดออก วันที่ 25 สิงหาคม |
1 |
ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช (ฟาง) | Celebrity Chef | ถูกคัดออก วันที่ 18 สิงหาคม | |
วายุภักษุ์ ม่วงจร (จอม) | Corporate Training Chef | ถูกคัดออก วันที่ 11 สิงหาคม | |
สุพัตรา สารสิทธิ์ (ตุ๊กตา) | Chef Owner | ถูกคัดออก วันที่ 4 สิงหาคม | |
นรี บุณยเกียรติ (แอ้ม) | Chef Owner | ถูกคัดออก วันที่ 21 กรกฎาคม |
0 |
บรรณ บริบูรณ์ (อิ๊ก) | Celebrity Chef | ถูกคัดออก วันที่ 14 กรกฎาคม | |
ภาวิตา แซ่เจ้า (แอน) | Corporate Chef | ถูกคัดออก วันที่ 7 กรกฎาคม | |
ธฤต ตั้งทรงศิริศักดิ์ (ยาคุป) | Executive Chef & Owner | ถูกคัดออก วันที่ 30 มิถุนายน | |
ภัทรวรินทร์ ทิมกุล (เม) | Executive Chef Owner | ถอนตัว วันที่ 30 มิถุนายน | |
ชาโนชญ์ มาตะพาบ (โอ๊ต) | Executive Chef | ถูกคัดออก วันที่ 23 มิถุนายน |
ตารางการคัดออก[แก้]
อันดับ | ผู้เข้าแข่งขัน | ตอนที่ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | ||||||||||||
1 | เชฟอ๊อฟ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | กดดัน | เสี่ยง | ชนะ | เสี่ยง | ชนะเลิศ |
2 | เชฟพฤกษ์ | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ต่ำ | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | รองชนะเลิศ |
3 | เชฟแมน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | เสี่ยง | ออก | ร่วม |
4 | เชฟโทนี่ | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ต่ำ | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ออก | ร่วม | |
5 | เชฟเฟิร์ส | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ต่ำ | เสี่ยง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | ออก | |||
6 | เชฟเตย | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ออก | ร่วม | ||||
7 | เชฟฟาง | ต่ำ | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ออก | |||||||
8 | เชฟจอม | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ออก | ร่วม | |||||||
9 | เชฟตุ๊กตา | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | ออก | ||||||||||
10 | เชฟแอ้ม | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | เสี่ยง | ต่ำ | ออก | ||||||||||||
11 | เชฟอิ๊ก | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ออก | ||||||||||||||
12 | เชฟแอน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ออก | ||||||||||||||||
13 | เชฟยาคุป | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ออก | ||||||||||||||||||
14 | เชฟเม | ผ่าน | ผ่าน | ถอนตัว | |||||||||||||||||||
15 | เชฟโอ๊ต | กดดัน | ออก |
- (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขันและได้เป็นเชฟกระทะเหล็กคนใหม่
- (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขันและได้เป็นเชฟกระทะเหล็กคนใหม่
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปทันที
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบวัตถุดิบปริศนา
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกผู้ชนะในรอบวัตถุดิบปริศนาเลือกให้ไปแข่งขันต่อในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำอาหารออกมาได้ดีที่สุดในรอบวัตถุดิบปริศนา และต้องไปแข่งขันต่อในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุดในรอบวัตถุดิบปริศนา
- (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงต่อการถูกคัดออก
- (ถอนตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
- (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
- (ร่วม) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว แต่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน
ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]
ตอนที่ 1 : รอบแรก (First Round)[แก้]
- ออกอากาศ 23 มิถุนายน 2562
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือไก่แช่แข็ง และวัตถุดิบปริศนาคือช็อกโกแลต โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟฟางและเชฟจอม โดยเชฟฟางไม่ได้ใช้วัตถุดิบปริศนา (ช็อกโกแลต) ในการทำอาหาร ส่วนเชฟจอมทำไก่ดิบ ทำให้กรรมการไม่สามารถรับประทานได้ และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์ ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟพฤกษ์ได้เลือกเชฟอิ๊กและเชฟโอ๊ตให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟฟางและเชฟจอม
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟอิ๊กและเชฟโอ๊ต
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล โดยเชฟที่ประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้วัตถุดิบชิ้นนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้วัตถุดิบอย่างสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟโอ๊ตได้วัตถุดิบเป็นเนื้อวัวมิยาซากิ, เชฟฟางได้วัตถุดิบเป็นหอยเม่น, เชฟจอมได้วัตถุดิบเป็นหัวแกะ ส่วนเชฟอิ๊กได้วัตถุดิบเป็นแมงป่องช้าง โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟจอม และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟโอ๊ต
- ผู้ชนะ: เชฟจอม
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟโอ๊ต
ตอนที่ 2 : การใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า (Zero Waste)[แก้]
- ออกอากาศ 30 มิถุนายน 2562
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือหัวปลาทูน่าเยลโล่ฟิน จากประเทศญี่ปุ่น และเนื่องจากเชฟจอมเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงได้เลือกให้เชฟตุ๊กตา, เชฟพฤกษ์ และเชฟโทนี่ ใช้หัวปลาทูนึ่งแทนหัวปลาทูน่า โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟเมและเชฟโทนี่ แต่เชฟเมมีปัญหาด้านสุขภาพจึงขอถอนตัว ส่วนเชฟโทนี่ทำแป้งดิบและเห็ดไหม้จนขม และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์ ซึ่งครั้งนี้ ผู้ชนะสามารถเลือกเชฟให้ไปแข่งกับเชฟโทนี่ในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลาได้ถึง 3 คน โดยเชฟพฤกษ์ได้เลือกเชฟอ๊อฟ, เชฟตุ๊กตา และเชฟยาคุปให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟเมและเชฟโทนี่
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟอ๊อฟ, เชฟตุ๊กตา และเชฟยาคุป
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล โดยเชฟที่ประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้วัตถุดิบชิ้นนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้วัตถุดิบอย่างสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟตุ๊กตาได้วัตถุดิบเป็นตีนวัว, เชฟอ๊อฟได้วัตถุดิบเป็นตีนจระเข้, เชฟยาคุปได้วัตถุดิบเป็นตีนห่าน ส่วนเชฟโทนี่ได้วัตถุดิบเป็นตีนหมู โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟอ๊อฟ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟยาคุป
- ผู้ชนะ: เชฟอ๊อฟ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟยาคุป
ตอนที่ 3 : การใช้วัตถุดิบอย่างจำกัด (Limited Budget)[แก้]
- ออกอากาศ 7 กรกฎาคม 2562[3]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือไข่ ซึ่งทุกคนต้องนำช้อนในลิ้นชักไปตักไข่กี่ลูกก็ได้จนเต็มช้อนเพียงครั้งเดียว และเนื่องจากเชฟอ๊อฟเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงได้เลือกให้เชฟแอนและเชฟแอ้มนำไข่ไปทำอาหารได้เพิ่มอีก 30 ฟอง โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟเฟิร์สและเชฟแมน โดยทั้งคู่ทำอาหารออกมาโดยขาดความคิดสร้างสรรค์ และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟเตย ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟเตยได้เลือกเชฟพฤกษ์และเชฟแอนให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟเตย
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟเฟิร์สและเชฟแมน
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟพฤกษ์และเชฟแอน
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลวัตถุดิบที่มีออยู่ในปริมาณที่จำกัดโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล โดยเชฟที่ประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้วัตถุดิบชิ้นนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้วัตถุดิบอย่างสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟเฟิร์สได้วัตถุดิบเป็นเบคอน 2 แผ่น, เชฟพฤกษ์ได้วัตถุดิบเป็นเห็ดทรัฟเฟิล 1 หัว, เชฟแมนได้วัตถุดิบเป็นปูขน 1 ตัว ส่วนเชฟแอนได้วัตถุดิบเป็นถั่วงอก 50 กรัม โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟแมน และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟแอน
- ผู้ชนะ: เชฟแมน
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแอน
ตอนที่ 4 : ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)[แก้]
- ออกอากาศ 14 กรกฎาคม 2562[4]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือแซนวิชหรือเบอร์เกอร์ และเชฟแมนซึ่งเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้วได้เลือกให้เชฟอ๊อฟ, เชฟพฤกษ์ และเชฟจอม ทำอาหารโดยห้ามใช้ขนมปัง โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟอิ๊กและเชฟเตย โดยเชฟอิ๊กทำหมูดิบ ทำให้กรรมการไม่สามารถรับประทานได้ และเชฟเตยทำแป้งดิบ และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟอ๊อฟ ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟอ๊อฟได้เลือกเชฟแอ้มและเชฟโทนี่ให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟอ๊อฟ
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟอิ๊กและเชฟเตย
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟแอ้มและเชฟโทนี่
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลอุปกรณ์ในการแล่ปลาแซลมอนโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล โดยเชฟที่ประมูลอุปกรณ์โดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้อุปกรณ์ชิ้นนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้อุปกรณ์อย่างสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟอิ๊กได้มีดยานากิบะ, เชฟโทนี่ได้มีดปังตอ, เชฟแอ้มได้คัตเตอร์ ส่วนเชฟเตยได้กรรไกร โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟโทนี่ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟอิ๊ก
- ผู้ชนะ: เชฟโทนี่
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟอิ๊ก
ตอนที่ 5 : การคิดนอกกรอบ (Think Out Of the Box)[แก้]
- ออกอากาศ 21 กรกฎาคม 2562[5]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือหอยนางรม และมีวัตถุดิบพิเศษคือซอสพริกศรีราชา โดยจะต้องทำเป็นของหวาน และเนื่องจากเชฟโทนี่เป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงไม่ต้องใช้ซอสพริกศรีราชา โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์และเชฟแอ้ม โดยอาหารของเชฟพฤกษ์ไม่เป็นของหวาน และเชฟแอ้มทำหอยนางรมคาว และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟตุ๊กตา ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟตุ๊กตาได้เลือกเชฟแมนและเชฟโทนี่ให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟตุ๊กตา
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟพฤกษ์และเชฟแอ้ม
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟแมนและเชฟโทนี่
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล โดยเชฟที่ประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้วัตถุดิบชิ้นนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้วัตถุดิบอย่างสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟพฤกษ์ได้วัตถุดิบเป็นตัวเดียวอันเดียววัว, เชฟแอ้มได้วัตถุดิบเป็นจมูกหมู, เชฟโทนี่ได้วัตถุดิบเป็นปากเป็ด ส่วนเชฟแมนได้วัตถุดิบเป็นตูดไก่ โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟแมน และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟแอ้ม
- ผู้ชนะ: เชฟแมน
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแอ้ม
ตอนที่ 6 : ความรอบรู้ (Well Rounded)[แก้]
- ออกอากาศ 4 สิงหาคม 2562[6]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือปลาไหลญี่ปุ่น ซึ่งเชฟต้องมีความรอบรู้ในเรื่องการแล่ปลาไหล และเนื่องจากเชฟแมนเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงได้สิทธิ์ในการทำอาหารโดยใช้ปลาไหลที่แล่เสร็จแล้ว 2 ตัว ซึ่งซ้อนไว้ในลิ้นชัก โดยไม่ต้องแล่ โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟโทนี่และเชฟตุ๊กตา โดยเชฟโทนี่ทำปลาไหลออกมามีกลิ่นคาว ส่วนเชฟตุ๊กตาไม่ชูวัตถุดิบหลักในอาหาร และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์ ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟพฤกษ์ได้เลือกเชฟเฟิร์สและเชฟฟางให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟโทนี่และเชฟตุ๊กตา
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟเฟิร์สและเชฟฟาง
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้มีหม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล มาเป็นผู้ให้โจทย์และเป็นคณะกรรมการพิเศษ โดยเชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลเมนูอาหารไทยฉบับของหม่อมหลวงขวัญทิพย์โดยใช้เวลาทำอาหารเป็นตัวประมูล และทำเมนูนั้นออกมาให้เหมือนกับต้นฉบับโดยไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งเชฟจะต้องสามารถเดารสชาติทั้งหมดในอาหารได้เองจากการชิม โดยเชฟที่ประมูลเมนูโดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้เมนูนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องทำเมนูสุดท้ายภายในเวลา 40 นาที โดยเชฟเฟิร์สได้เมนูเป็นแกงเสฉวน, เชฟฟางได้เมนูเป็นต้มกะทิสายบัว, เชฟโทนี่ได้เมนูเป็นแกงมัสมั่น ส่วนเชฟตุ๊กตาได้เมนูเป็นแกงหมูตะพาบน้ำ โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟเฟิร์ส และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟตุ๊กตา
- ผู้ชนะ: เชฟเฟิร์ส
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟตุ๊กตา
ตอนที่ 7 : การให้เกียรติ (Respect)[แก้]
- ออกอากาศ 11 สิงหาคม 2562[7]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือปูทาราบะ ซึ่งมี 4 ตัว จึงต้องแข่งขันเป็นคู่ เนื่องจากเชฟเฟิร์สเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงได้สิทธิ์ในการจับคู่ให้เชฟทุกคู่ โดยเชฟเฟิร์สได้จับคู่ให้เชฟพฤกษ์คู่กับเชฟฟาง, เชฟแมนคู่กับเชฟจอม, เชฟอ๊อฟคู่กับเชฟโทนี่ ส่วนเชฟเฟิร์สคู่กับเชฟเตย โดยจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือคู่ของเชฟเฟิร์สและเชฟเตย โดยอาหารของทั้งคู่ขาดความสมดุล และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์และเชฟฟาง ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟฟางได้เลือกเชฟจอมให้ไปแข่งขันต่อ ส่วนเชฟพฤกษ์ได้เลือกเชฟอ๊อฟให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์และเชฟฟาง
- ผู้ที่ตกเป็นจานที่แย่ที่สุด: เชฟเฟิร์สและเชฟเตย
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟจอมและเชฟอ๊อฟ
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอดอาหารโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล โดยเชฟที่ประมูลอุปกรณ์โดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้อุปกรณ์ชิ้นนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้อุปกรณ์อย่างสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟเฟิร์สได้อุปกรณ์เป็นกระทะเล็ก, เชฟเตยได้อุปกรณ์เป็นเครื่องทอดอเนกประสงค์, เชฟอ๊อฟได้อุปกรณ์เป็นหม้อดิน ส่วนเชฟจอมได้อุปกรณ์เป็นกระทะใบบัว โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟอ๊อฟ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟจอม
- ผู้ชนะ: เชฟอ๊อฟ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟจอม
ตอนที่ 8 : การเป็นนักสู้ (Spirit)[แก้]
- ออกอากาศ 18 สิงหาคม 2562[8]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้เป็นการแข่งขันเพื่อพิสูจน์ความเป็นนักสู้ของเชฟในกรณีที่สามารถเป็นเชฟกระทะเหล็กได้ และจากการที่เชฟอ๊อฟเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงทำให้เขาผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน และมีสิทธิ์เลือกเชฟอีก 2 คนให้ผ่านเข้ารอบไปด้วยโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน ซึ่งเชฟอ๊อฟได้เลือกเชฟเตยและเชฟโทนี่ผ่านเข้ารอบตามเขาไปด้วย ส่วนเชฟที่เหลือคือเชฟพฤกษ์, เชฟเฟิร์ส, เชฟฟาง และเชฟแมน จะต้องทำการแข่งขันกับเชฟกระทะเหล็กแบบตัวต่อตัว ถือเป็นการจำลองการแข่งขันในรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย แต่เป็นการแข่งขันที่เชฟกระทะเหล็กมาท้าชิงกับเชฟในรายการ ซึ่งทางรายการได้ให้ซองแก่เชฟ ซึ่งในซองคือชื่อของเชฟกระทะเหล็กที่ตนเองต้องแข่งขันด้วย และเมื่อเปิดซองแล้ว ผลคือ เชฟพฤกษ์แข่งขันกับเชฟบุญธรรม เชฟเฟิร์สแข่งขันกับเชฟป้อม เชฟฟางแข่งขันกับเชฟอาร์ท ส่วนเชฟแมนแข่งขันกับเชฟไก่ และการตัดสินนั้น ใช้กติกาการตัดสินในรูปแบบ Blind Testing ซึ่งคณะกรรมการพิเศษที่มาร่วมตัดสินในเทปนี้จะไม่ทราบมาก่อนว่าอาหารจานไหนเป็นของเชฟคนใด ซึ่งเป็นรูปแบบการตัดสินเดียวกับที่ใช้ในรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย อยู่ในขณะนั้น โดยมีวัตถุดิบหลักคือชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัว ได้แก่ เนื้อเสือร้องไห้, สันนอก, สันใน, สันแหลม, ซี่โครง, เนื้อน่อง, เนื้อหนอก, เนื้อพื้นท้อง, ตับ, ไส้, อัณฑะ, ลิ้น และเลือด และมีวัตถุดิบปริศนาคือผลไม้ดอง และผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งเป็นเชฟคนเดียวที่สามารถเอาชนะเชฟกระทะเหล็กได้ คือเชฟพฤกษ์ ส่วนเชฟที่เหลืออีก 3 คนไม่สามารถเอาชนะเชฟกระทะเหล็กได้ จึงตัดสินจากคะแนนรวมที่คณะกรรมการพิเศษลงคะแนนไว้ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟฟาง ตามตารางคะแนนที่ปรากฏด้านล่าง
ผู้เข้าแข่งขัน \ คะแนน | ความอร่อย | ความคิดสร้างสรรค์ | การชูวัตถุดิบหลัก | รวม |
---|---|---|---|---|
เชฟแมน | 26 | 31.5 | 26 | 83.5 |
เชฟเฟิร์ส | 27 | 27 | 25 | 79 |
เชฟฟาง | 22 | 18 | 17 | 57 |
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟฟาง
ตอนที่ 9 : การดัดแปลงหรือพลิกแพลง (Adaptability)[แก้]
- ออกอากาศ 25 สิงหาคม 2562[9]
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือวุ้นเส้น และจากการที่เชฟพฤกษ์เป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงมีสิทธิ์ในการสลับฐานครัว (Station) ให้เชฟ 2 คู่ และเชฟที่ถูกสลับฐานครัวจะต้องดัดแปลงหรือพลิกแพลงวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เชฟเจ้าของฐานครัวคนเดิมทำไว้ก่อนหน้าให้ออกมาเป็นเมนูที่ดีที่สุดภายในเวลาครึ่งชั่วโมงสุดท้าย ซึ่งเชฟพฤกษ์ได้เลือกให้เชฟเตยสลับฐานครัวกับเชฟแมน และเชฟเฟิร์สสลับฐานครัวกับเชฟโทนี่ โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์และเชฟแมน โดยทั้งคู่ทำวุ้นเส้นดิบ ทำให้กรรมการไม่สามารถรับประทานได้ และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟเฟิร์ส ซึ่งผู้ชนะสามารถเลือกเชฟ 2 คนให้ไปแข่งในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา โดยเชฟเฟิร์สได้เลือกเชฟอ๊อฟและเชฟเตยให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ชนะ: เชฟเฟิร์ส
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟพฤกษ์และเชฟแมน
- ผู้ที่ถูกเลือกให้ไปแข่งขันต่อ: เชฟอ๊อฟและเชฟเตย
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้เชฟทั้ง 4 คนจะต้องประมูลวัตถุดิบ 2 อย่างที่ไม่เข้าพวกทั้ง 4 ชุดโดยใช้เวลาเป็นตัวประมูล และต้องดัดแปลงให้เป็นเมนูที่วัตถุดิบทั้งคู่เข้ากันได้อย่างลงตัว โดดเด่น และสร้างสรรค์ที่สุดภายในเวลาที่ใช้ประมูล โดยเชฟที่ประมูลวัตถุดิบโดยใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้วัตถุดิบชุดนั้นไป ส่วนเชฟที่ไม่สามารถชนะการประมูลได้จะต้องใช้วัตถุดิบชุดสุดท้ายกับเวลา 30 นาที โดยเชฟแมนประมูลได้นมข้นหวานกับหมูสามชั้น, เชฟพฤกษ์ประมูลได้นมข้นหวานกับมะระ, เชฟอ๊อฟประมูลได้นมข้นหวานกับปลาเค็ม ส่วนเชฟเตยประมูลได้นมข้นหวานกับไข่เค็ม โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟพฤกษ์ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟเตย
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเตย
ตอนที่ 10 : การสร้างอาหารให้เกิดรูปแบบนวัตกรรมใหม่ (Innovative)[แก้]
- ออกอากาศ 1 กันยายน 2562[10]
ก่อนการแข่งขันทำอาหารเริ่มต้นขึ้น เชฟทั้ง 5 คน ได้เดินทางไปยังร้านอาหารอิษยา สยามมิส คลับ (Issaya Siamese Club) ซึ่งเป็นร้านอาหารของเชฟเอียน เชฟกระทะเหล็กอาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ เพื่อเรียนรู้วิธีการทำอาหารให้เกิดรูปแบบนวัตกรรมใหม่
- รอบวัตถุดิบปริศนา: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือกุ้งแห้ง เชฟที่สามารถทำอาหารได้ดีและมีความเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สุด 1 คนจะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศทันที โดย 2 จานที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุดเป็นของเชฟพฤกษ์และเชฟเฟิร์ส และผู้ชนะในรอบนี้คือเชฟพฤกษ์ ส่วนเชฟที่เหลืออีก 4 คนต้องไปแข่งขันต่อในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา
- ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: เชฟพฤกษ์และเชฟเฟิร์ส
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ต้องไปแข่งขันต่อ: เชฟอ๊อฟ, เชฟแมน, เชฟโทนี่ และเชฟเฟิร์ส
- รอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา: ในรอบนี้ไม่มีการประมูลสิ่งของใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะต้องต่อยอดเมนูก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟให้เกิดรูปแบบนวัตกรรมใหม่ โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟโทนี่ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟเฟิร์ส
- ผู้ชนะ: เชฟโทนี
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเฟิร์ส
ตอนที่ 11 : รอบรองชนะเลิศ (Semi-Final)[แก้]
- ออกอากาศ 8 กันยายน 2562[11]
ในเทปนี้เป็นการแข่งขันในรอบวัตถุดิบปริศนาทั้ง 2 รอบ โดยในแต่ละรอบจะคัดเชฟที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดออกจากการแข่งขันรอบละ 1 คน
- รอบวัตถุดิบปริศนารอบที่ 1: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักเป็นสุดยอดวัตถุดิบระดับโลก คือ แกะนอร์มานดี จากประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟอ๊อฟ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟโทนี่
- ผู้ชนะ: เชฟอ๊อฟ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟโทนี่
- รอบวัตถุดิบปริศนารอบที่ 2: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักเป็นสุดยอดวัตถุดิบระดับเอเชีย คือ ปลาหมึกยักษ์ จากเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น โดยผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือเชฟพฤกษ์ และผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันคือเชฟแมน
- ผู้ชนะ: เชฟพฤกษ์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแมน
ตอนที่ 12 : รอบชิงชนะเลิศ (Final)[แก้]
- ออกอากาศ 15 กันยายน 2562[12]
- รอบชิงชนะเลิศ: ในเทปนี้ เชฟพฤกษ์และเชฟอ๊อฟซึ่งเป็นเชฟ 2 คนสุดท้ายในรายการ ต้องแข่งขันทำอาหารในรอบชิงชนะเลิศ โดยทั้งคู่จะต้องแข่งทำอาหารในรูปแบบเดียวกันกับการแข่งขันในรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย อย่างเต็มรูปแบบ คือทั้งคู่ต้องทำอาหาร 5 เมนูภายในเวลา 60 นาที แต่มีกติกาเพิ่มเติมคือต้องเสิร์ฟเมนูแรกให้คณะกรรมการชิมทันทีหลังเวลาผ่านไป 20 นาที ดังนั้น ทางรายการจึงได้นำเชฟกระทะเหล็ก 8 คนที่ตกรอบจาก 10 คนสุดท้าย มาให้ทั้งคู่เลือกเป็นผู้ช่วยได้ทีมละ 2 คน ซึ่งเชฟพฤกษ์ได้เลือกผู้ช่วยเป็นเชฟแมนกับเชฟโทนี่ ส่วนเชฟอ๊อฟได้เลือกผู้ช่วยเป็นเชฟเตยกับเชฟจอม โดยวัตถุดิบหลักในรอบชิงชนะเลิศ เป็นวัตถุดิบของไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลก คือ กุ้งมังกรเจ็ดสี จากจังหวัดภูเก็ต และมีวัตถุดิบปริศนาเป็นวัตถุดิบอาหารพื้นบ้านที่ทั้งคู่ต้องใช้ทำเป็นของหวาน คือ สะตอ และผู้ชนะเลิศในรายการนี้ ได้ลงนามในสัญญาทำหน้าที่เป็นเชฟกระทะเหล็กคนใหม่ของประเทศไทย และได้รับเงินรางวัลรวมจำนวนมากกว่า 1,000,000 บาท ได้แก่ เชฟอ๊อฟ แต่เนื่องจากเชฟพฤกษ์ก็ได้แสดงฝีมือและความสามารถในการทำอาหารออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดทั้ง 12 สัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน ทางรายการจึงมอบตำแหน่งเชฟกระทะเหล็กให้เชฟพฤกษ์ไปอีกคนหนึ่งด้วย
- ผู้ชนะเลิศ: เชฟอ๊อฟ
- รองชนะเลิศ: เชฟพฤกษ์
- เชฟกระทะเหล็กคนใหม่: เชฟอ๊อฟและเชฟพฤกษ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "เปิดฉาก The Next Iron Chef ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก การประลองของเชฟมืออาชีพ". www.sanook.com/movie.
- ↑ แนวหน้า (13 มิถุนายน 2562). "'THE NEXT IRON CHEF ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็กคนใหม่' 'หนุ่ม กิติกร'การันตีอลังการลุ้นตื่นเต้นเทียบ'มาสเตอร์เชฟฯ'". www.naewna.com. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "12 เชฟเปิดฉากเชือดเฉือนคารม 4 กรรมการสุดเดือด! The Next Iron Chef". www.sanook.com/movie.
- ↑ "11 เชฟจิตตก สุดกดดันเจอ 4 กรรมการสวมวิญญาณโหด The Next Iron Chef". www.sanook.com/movie.
- ↑ "The Next Iron Chef วัตถุดิบปริศนา สร้างหายนะ 10 เชฟสุดเครียดเจอแรงกดดัน". www.sanook.com/movie.
- ↑ ""เชฟป้อม" บุก The Next Iron Chef หนาวสะท้านฝ่าด่านอรหันต์!". www.sanook.com/movie.
- ↑ "8 เชฟอึ้ง! เจอปรากฏการณ์แข่งแบบใหม่ The Next Iron Chef". www.sanook.com/movie.
- ↑ "7 เชฟดวลเดือด ตัวต่อตัวเชฟกระทะเหล็กรุ่นพี่ The Next Iron Chef". www.sanook.com/movie.
- ↑ "The Next Iron Chef "วัตถุดิบปริศนา" พ่นพิษทำ 6 เชฟถึงกับเสียหลัก". www.sanook.com/movie.
- ↑ "5 คนสุดท้าย The Next Iron Chef โจทย์ "วัตถุดิบปริศนา" บ้านๆ สู่เมนูชั้นเลิศ". www.sanook.com/movie.
- ↑ "4 เชฟ ซัดกันนัวงัดสูตรเด็ดพิชิตเส้นชัย The Next Iron Chef". www.sanook.com/movie.
- ↑ ""พฤกษ์-อ๊อฟ" ชิงบัลลังก์ เชฟกระทะเหล็กคนใหม่". www.thairath.co.th. 2019-09-13.