ศึกกุมภกรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศึกกุมภกรรณ 2527)
ศึกกุมภกรรณ
กำกับเนรมิต
เสรี หวังในธรรม
สมโพธิ แสงเดือนฉาย
ผู้จัดจำหน่ายไชโยภาพยนตร์
วันฉายไทย 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
ประเทศ ไทย
ภาษาไทย

ศึกกุมภกรรณ (อังกฤษ: The Noble War) เป็นตอนที่ 25 ของเรื่องรามเกึยรติ์ซึ่งได้นำมาทำเป็นภาพยนตร์ที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์ใหม่จากโขน มาเป็นภาพยนตร์รามเกึยรติ์เรื่องแรกของไทยออกฉายในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2527 โดยบริษัทไชโยภาพยนตร์จำกัด โดย 3 ผู้กำกับชั้นนำของเมืองไทย เนรมิต, เสรี หวังในธรรมและสมโพธิ แสงเดือนฉาย[1]

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

กุมภกรรณ พญายักษ์ซึ่งเป็นอนุชาของทศกัณฐ์ ดำรงตำแหน่งพระอุปราช กุมภกรรณเป็นพญายักษ์ซึ่งครองธรรม รักษาไว้ซึ่งสัจจะและความสุจริตยุติธรรม หลังจากที่พญามัยราพณ์ พระนัดดาต้องสิ้นชีพลงแล้ว ทศกัณฐ์ได้รำพึงถึงการศึกที่จะทำสงครามกับฝ่ายพระราม ทศกัณฐ์นึกถึงกุมภกรรณพระอนุชาจึงเชิญขึ้นมาเฝ้าปรึกษาศึก กุมภกรรณผู้มีความสุจริตยุติธรรม ตรึกตรองถึงชนวนศึกเห็นว่าต้นเหตุมาจากทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดามเหสีของพระรามมาไว้ในอุทยานกรุงลงกา จึงทูลให้ทศกัณฐ์ส่งคืนนางไปเสีย ด้วยราคะจริตของทศกัณฐ์ที่หลงใหลในรูปโฉมนางสีดา จึงบริภาษประกาศโทษและขับไล่ กุมภกรรณเห็นว่าเมื่อทัดทานมิเป็นผลจึงจำใจรับอาสาออกทำสงคราม โดยจะนำหอกโมกขศักดิ์อันมีฤทธิ์ร้ายกาจซึ่งฝากไว้กับพระพรมาธิบดีบนสรวงสวรรค์

กุมภกรรณขึ้นไปทูลขอหอกโมกขศักดิ์ แต่ด้วยเหตุอาเพศที่ต้องเสียสัจสุจริตหอกนั้นกลับเป็นสนิมทั้งสี่คม พระพรหมตักเตือนแต่ก็บอกถึงวิธีแก้ไขให้ กุมภกรรณนำหอกโมกขศักดิ์กลับไปประกอบพิธีลับหอก ที่เขาทับทิมริมแม่น้ำใหญ่ กุมภกรรณจัดสั่งให้ตั้งโรงพิธีใหญ่พร้อมทั้งเครื่องบูชาอย่างครบถ้วนตามตำรา และได้สั่งไพร่พลกวดขันดูแลมิให้สิ่งปฏิกูลใดๆ ผ่านเข้ามาเป็นอันขาด ทางฝ่ายพระราม พิเภกกราบทูลว่า กุมภกรรณไปประกอบพิธีลับหอกถ้าสำเร็จจะมีฤทธิ์ร้ายกาจนักและทูลว่า โดยอุปนิสัยของกุมภกรรณเป็นพญายักษ์ที่รักความสะอาด สิ่งที่จะทำลายพิธีได้ คือ ให้พญาวานรหนุมานและพญาวานรองคตแปลงกายเป็นสุนัขเน่าและอีกาที่จิกกินซากลอยผ่านเข้าไปใกล้บริเวณพิธี

เมื่อกุมภกรรณได้กลิ่นก็จะประกอบพิธีต่อมิได้ พญาวานรทั้งสองรับอาสาไปทำลายพิธีตามคำแนะนำของพญาภิเภก เมื่อกุมภกรรณเสียพิธีจึงยกทัพออกรบ พระรามให้พระลักษณ์คุมกองทัพออกรบ ด้วยเหตุกุมภกรรณเป็นอุปราชมีศักดิ์เสมอพระลักษณ์ ในการรบครั้งนี้ พระลักษณ์เป็นฝ่ายเสียทีถูกหอกโมกขศักดิ์ปักพระอุระจนสลบลง กองทัพของกุมภกรรณจึงกลับเข้ากรุงลงกาอบ่างฮึกเฮิม เมื่อพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์สลบลงหนุมานจะฉุดถอนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ

สุครีพจึงใช้ให้ให้นิลนนท์ไปทูลข่าวและอัญเชิญให้พระรามเสด็จมาสนามรบ พระรามเสียพระทัยและถามพิเภกถึงวิธีแก้ไข พิเภกทูลว่าสรรพยาที่จะแก้ฤทธิ์หอกนี้ได้ คือ ต้นสังกรณีตรีชวาและน้ำปัญจมหานที แต่ที่สำคัญที่สุดคือถ้าแสงพระอาทิตย์สาดส่องเมื่อใดจะหมดโอกาสแก้ไขได้ หนุมานรับอาสาเหาะขึ้นไปบนฟากฟ้าเข้ายุดรถพระอาทิตย์ จนตนเองต้องพินาศเพราะอำนาจของแสงอาทิตย์ พระอาทิตย์เห็นเหตุการณ์ประหลาดครั้งนี้จึงชุบหนุมานขึ้นมาแล้วถามถึงสาเหตุ ในที่สุดพระอาทิตย์ก็ช่วยเหลือโดยชักรถหลบเข้าไปในกลีบเมฆ หนุมานไปเก็บสรรพยา และน้ำปัญจมหานทีจากกรุงอโยธยามาถวายพระราม พระรามให้พิเภกบดโอสถแก้หอกโมกขศักดิ์ได้สำเร็จ พระรามพระลักษณ์พร้อมกองทัพก็กลับคืนสู่พลับพลา [1]

ตัวละคร[แก้]

พงศ์นารายณ์
พรหมพงศ์และอสุรพงศ์
วานรพงศ์
ตอนกุมภรรณออกศึก

. . พระรามจึงประทานแหวนนพรัตน์แก่หนุมาน เป็นรางวัลประทานความเก่งกล้าสามารถ ส่วนตรีทัพและเมฆนาท สองเสนามารผู้ใหญ่เมืองบาดาล เป็นพวกไมยราพ จึงมาแจ้งข่าวร้ายให้ทศกรรฐ์ทราบ ทศกรรฐ์จึงใช้กุมภกรรณ ผู้มีหอกวิเศษชื่อโมขศักดิ์ ออกรบกับพระราม ถ้าพระรามตอบได้ ตนจะยอมเลิกทัพกลับไปลงกาพระรามตอบไม่ได้ และนึกตำหนิว่า กุมภกรรณดื้อมาก และใช้องคต ออกมาทำอุบาย ถามกุมภกรรณว่า ปริศนานี้แปลว่าอะไรกุมภกรรณรู้ทันอุบายองคตที่ว่า ให้กุมภกรรณบอกมาก่อนว่าปริศนาแปลว่าอะไร จะได้รู้ว่าตรงกันกับที่พระรามแปลหรือเปล่า แต่กุมภกรรณก็บอกโดยดีว่า ช้างงารี คือ ทศกรรฐ์ทำผิด ทำชั่วพาเมียเขาหนี ชีโฉด คือ พระรามที่โง่ปล่อยเมียสาวสวยไว้ตามลำพังในป่า พอเมียหายก็เที่ยววุ่นไป หญิงโหด คือ นางสำมะนักขา ชั่วมากเกี้ยวผู้ชายไม่รู้จักอาย ทำให้เกิดเดือดร้อน ชายทรชน คือ พิเภกไปเข้าศัตรูไม่รู้คุณพี่น้อง

ตอนสุครีพหลงกลกุมภกรรณ

. . . พระรามรู้เช่นนี้ก็โกรธ จะยกทัพไปฆ่า พิเภกตรวจดูดวงชะตากุมภกรรณก็รู้ว่าถึงที่ตายแล้ว จึงเพียงทูลขอให้สุครีพยกทัพไปรบดีกว่าเพราะเกียรติเสมอกันส่วนพระรามเกียรติสูงกว่ากุมภกรรณมาก สุครีพจึงออกรบ แต่แพ้อุบายกุมภกรรณที่หลอกให้ไปถอนต้นรังใหญ่เป็นการทอนกำลัง สุครีพเองจึงรบแพ้กุมภกรรณ โดนเขาจับหนีบรักแร้เข้าเมืองลงกาไปพระรามให้หนุมานตามไปแย่งสุครีพคืนมาได้ และหนุมานเลยกัดหู กัดจมูกกุมภกรรณเลือดไหล

ตอนกุมภกรรมลับหอกโมกขศักดิ์

. . . กุมภกรรณจึงไปทำพิธีลับหอกโมขศักดิ์ ที่ริมน้ำเชิงภูเขา ถ้าลับเสร็จ 5 คมแล้ว หอกจะมีฤทธิ์ดังไฟกรด ปราบได้ถึงสวรรค์ชั้นสิบหก พิเภกทูลความนี้ให้พระรามทรงทราบ ท้าวเธอจึงให้องคต กับหนุมานไปทำลายพิธี โดยหนุมานแปลงเป็นสุนัขเน่าลอยน้ำ และองคตแปลงเป็นกาจิกเนื้อเน่าเหม็นตลบ

ตอนพระลักษมณ์รบกุมภกรรณ

. . กุมภกรรณรักความสะอาดสะอ้านยิ่งนัก จึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเลิกพิธีกลับไป แล้วยกทัพมารบใหม่ คราวนี้พระลักษณ์ออกรบ เลยถูกหอกโมขศักดิ์สลบ ถ้าแสงอาทิตย์ฉายมาเมื่อไหร่ก็ต้องตาย พระลักษณ์ถูกหอกตอนพลบค่ำพิเภกจึงแนะวิธิให้ว่า ให้หนุมานไปเก็บยาสังกรณีตรีชวาบนยอดเขาสรรพยามาให้ทันก่อนสว่าง ยานั้นจะแก้ให้หอกหลุดฟื้นได้ และต้องมีน้ำกระสายยาจากแม่น้ำปัญจมหานทีด้วย ใช้ทาชโลมแผล . . หนุมานรีบเหาะไปห้ามรถพระอาทิตย์ ที่ยอดเขาคันยุธรไว้ก่อน พระอาทิตย์บอกว่าห้ามธรรมชาติหน้าที่ของโลกไม่ได้ แต่ท่านจะชักรถเข้าก้อนเมฆหนาทึบไม่ให้แสงสว่างมาได้แล้วลูกพระพายก็ไปเก็บยาสองอย่างมา และเหาะไปขอน้ำปัญจมหานทีที่พระพรตพระสัตรุเมืองอโยธยาเมื่อได้ครบแล้ว หนุมานก็นำมาให้พิเภกบดยาด้วยอาคม แล้วทาแผล หอกวิเศษก็หลุดและพระลักษณ์ฟื้นได้

ตอนกุมภกรรณทดน้ำ

. . กุมภกรรณจึงคิดการศึกใหม่ โดยทำพิธีทดน้ำไม่ให้ไหลผ่านกองทัพพระราม จะได้อดน้ำตายหมด พระรามได้เรียกพิเภกมาถามเรื่องน้ำไม่ไหล ก็รู้ว่า กุมภกรรณซ่อนตัว ทดน้ำไว้ แต่ไม่มีใครรู้ที่ซ่อน นอกจากนางคันธมาลี หนุมานจึงปลอมเป็นนางกำนัลรับใช้คันธมาลี แล้วหลอกถามเพื่อนนางกำนัลได้รู้ว่า กุมภกรรณหายตัวในพิธีทดน้ำ . . นางกำนัล 4 นางกับนางคันธมาลีมีหน้าที่เก็บดอกไม้หอมไปถวายทุกวัน ดังนั้น หนุมานจึงลอบออกไป และแปลงเป็นเหยี่ยวบินไปที่สวนดอกไม้ แอบจับนางกำนัลผู้หนึ่งใน 4 นางนั้นไปฆ่า แล้วตนแปลงกายเป็นนางกำนัลผู้นั้นแทน จึงได้ถือพานดอกไม้ไปในที่ทำพิธีทดน้ำด้วย แล้วแผลงฤทธิ์ทำลายพิธีทดน้ำได้ . . . รุ่งขึ้นกุมภกรรณยกทัพมารบอีกทั้ง ๆ ทีเกิดลางร้ายสารพัด จึงต้องตายด้วยศรพระนารายณ์อวตาร ก่อนตายได้ทูลขอสำนึกผิดจึงได้เกิดใหม่ในสวรรค์

ภาพวาดที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[แก้]

  • ห้องที่ ๕๗ กุมภกรรณออกรบ พิเภกอาสาห้ามทัพ และองคตลวงถามปริศนาจากกุมภกรรณ จนถึงสุครีพถอนต้นรังหลักทวีปอุดรมารบกับกุมภกรรณ
  • ห้องที่ ๕๘ เมื่อกุมภกรรณอุบายให้สุครีพถอนต้นรังจนหมดแรงแล้ว ก็เข้าจับสุครีพไป หนุมานตามมาแก้สุครีพไปได้
  • ห้องที่ ๕๙ กุมภกรรณตั้งพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ หนุมานกับองคตแปลงเป็นสุนัขเน่าและอีกาไปทำลายพิธี
  • ห้องที่ ๖๐ กุมภกรรณออกรบกับพระลักษณ์ พระลักษณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ
  • ห้องที่ ๖๑ หนุมานเก็บสรรพยาแก้ฤทธิ์หอกโมกขศักดิ์
  • ห้องที่ ๖๒ กุมภกรรณอาสาทำพิธีทดน้ำ
  • ห้องที่ ๖๓ หนุมานล้างพิธีทดน้ำของกุมภกรรณ
  • ห้องที่ ๖๔ กุมภกรรณออกรบกับพระราม ถูกพระรามฆ่าตาย

การตอบรับ[แก้]

ศึกกุมภกรรณ เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 25 เรื่อง ที่กระทรวงวัฒนธรรม เลือกให้เป็นมรดกของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประจำปี 2555

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]