ศาสนาในทวีปยุโรป
ศาสนาในทวีปยุโรปมีอิทธิพลอย่างมากในสังคม, ศิลปะ, วัฒนธรรม, ปรัชญา และกฎหมายปัจจุบัน ศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือศาสนาคริสต์[1] แต่การไม่มีศาสนาและโลกิยานุวัติเชิงปฏิบัติก็แข่งแกร่งเช่นกัน[2][3] มีสามประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีศาสนาที่มีผู้นับถือจำนวนน้อยอย่างศาสนาแบบอินเดีย, ศาสนายูดาห์ และกลุ่มศาสนาเอเชียตะวันออกบางส่วน
ไม่ค่อยมีใครรู้ถึงศาสนาก่อนประวัติศาสตร์ในยุโรปยุคหินใหม่ โดยยุโรปในยุคสัมฤทธิ์ถึงยุคเหล็กส่วนใหญ่นับถือศาสนาพหุเทวนิยม (ศาสนากรีกโบราณ, ศาสนาโรมันโบราณ เป็นต้น)
จักรวรรดิโรมันยอมรับศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 380 ในสมัยกลางตอนต้น ยุโรปส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สิ้นสุดลงเมื่อมีการนำศาสนาคริสต์เข้าไปยังสแกนดิเนเวียในสมัยกลางตอนกลาง (High Middle Ages) แนวคิด "ยุโรป" และ "โลกตะวันตก" มีความเกี่ยวโยงกันอย่างแนบแน่นกับแนวคิด "โลกคริสเตียน" (Christendom) และหลายคนถึงขั้นถือว่าศาสนาคริสต์เป็นความเชื่อที่รวมกันเป็นหนึ่งซึ่งสร้างเอกลักษณ์ยุโรป[4] โดยเฉพาะเมื่อศาสนาคริสต์ในตะวันออกกลางถูกกีดกั้นจากการเจริญของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำไปสู่สงครามครูเสดที่ประสบความล้มเหลวทางทหาร แต่เป็นก้าวสำคัญในการระบุเอกลักษณ์ของยุโรปโดยมีพื้นฐานบนศาสนา ถึงกระนั้น ศาสนาพื้นเมืองก็ยังคงมีอยู่ต่อไป
ศาสนเภทในคริสต์ศตวรรษที่ 11 และการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ทำให้โลกคริสเตียนในยุโรปแตกแยกเป็นฝักฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน และหลังยุคเรืองปัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้อเทวนิยมและอไญยนิยมเริ่มกระจายทั่วยุโรป บูรพคดีศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อให้เกิดกลุ่มที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ และคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้มีการผสานความเชื่อ, ยุคใหม่ และขบวนการศาสนาใหม่หลายกลุ่มในยุโรปมากขึ้น ในสมัยปัจจุบันมีความเป็นโลกิยานุวัติและพหุนิยมทางศาสนามากขึ้น[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Europe". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
Most Europeans adhere to one of three broad divisions of Christianity: Roman Catholicism in the west and southwest, Protestantism in the north, and Eastern Orthodoxy in the east and southeast
- ↑ "Special Eurobarometer, biotechnology, page 204" (PDF). Fieldwork: Jan–Feb 2010.
- ↑ "Religiously Unaffiliated". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-30. สืบค้นเมื่อ 22 February 2015.
- ↑ Dawson, Christopher; Glenn Olsen (1961). Crisis in Western Education (reprint ed.). p. 108. ISBN 9780813216836.
- ↑ Hans Knippenberg (2005). The Changing Religious Landscape of Europe. Amsterdam: Het Spinhuis. pp. 7–9. ISBN 90-5589-248-3.