ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาเพิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตินปาเซ็นรับ ศาสดาของศาสนาเพิน
วัดศาสนาเพินที่มณฑลเสฉวน

ศาสนาเพิน (ทิเบต: བོན, ไวลี: bon, พินอินทิเบต: pön, อักษรสากล : [pʰø̃̀]) หรือ เปิ้นเจี้ยว (苯教) เป็นศาสนาเก่าแก่ดั้งเดิมของชนชาติทิเบตและชนชาติอื่น ๆ ในแถบที่ราบสูงทิเบต เช่นชาวซังซุง มีถิ่นกำเนิดทางแถบตะวันตกของทิเบต มีผู้นับถือมานานตั้งแต่ก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาสู่ทิเบตในช่วงที่จักรวรรดิทิเบตเริ่มเรืองอำนาจ และเริ่มถูกแทนที่ด้วยพุทธศาสนาแบบทิเบต แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีผู้นับถือลัทธินี้หลงเหลืออยู่บ้างทั้งในทิเบตและภูฏาน อย่างไรก็ตาม ศาสนาเพินมีความคล้ายคลึงและส่งอิทธิพลสู่ศาสนาพุทธแบบทิเบต[1] มีการพัฒนาระบบความเชื่อทางศาสนาเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 10-11[2] แต่ยังคงรักษาความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนายุคบรรพกาลไว้ได้[3][4] ปัจจุบันศาสนาเพินเป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยในทิเบต โดยเฉพาะทิเบตตะวันออก และบริเวณโดยรอบเทือกเขาหิมาลัย[1][4]

พระศาสดาของศาสนาเพินมีนามว่า เตินปา เชนรับ (ทิเบต: སྟོན་པ་གཤེན་རབ་, ไวลี: ston pa gshen rab, พินอินทิเบต: dön ba xen rab) ผู้ที่นับถือศาสนาบอนเรียกว่า เพินโป (ทิเบต: བོན་པོ་, ไวลี: bon po, พินอินทิเบต: pön bo)[5]

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาเพินกับศาสนาพุทธยังคงเป็นที่ถกเถียง กอฟฟรีย์ แซมูเอล (Geoffrey Samuel) นักวิชาการร่วมสมัย อธิบายว่า "ศาสนาเพินคือศาสนาพุทธแบบทิเบตรูปแบบหนึ่ง" เพราะมีความคล้ายคลึงกับนิกายญิงมาอยู่หลายประการ แต่ศาสนาเพินยังเก็บรักษาความเชื่อยุคเก่าที่มีมาก่อนการรับศาสนาพุทธ[1] เดวิด สเนลโกรฟ (David Snellgrove) ก็เห็นพ้องว่าศาสนาเพินคือศาสนาพุทธรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นแบบนอกรีต[6] ส่วนจอห์น พาเวอส์ (John Powers) อธิบายว่า "...หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าศาสนาเพินเป็นศาสนาที่พัฒนาด้วยตัวเองภายใต้อิทธิพลของศาสนาพุทธ..."[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Samuel 2012, pp. 220–221.
  2. Kværne, Per (1995). The Bon Religion of Tibet: The Iconography of a Living Tradition. Boston, Massachusetts: Shambhala. p. 13. ISBN 9781570621864. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022. According to its own historical perspective, Bon was introduced into Tibet many centuries before Buddhism and enjoyed royal patronage until it was finally supplanted by the 'false religion' (i.e. Buddhism) from India ...
  3. Samuel 2012, p. 220.
  4. 4.0 4.1 Kvaerne 1996, pp. 9–10.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-21. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  6. Powers 2007, pp. 500–501
  7. Powers (2007), p. 497.