ศาสนาฮินดูในประเทศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิหารซรีซุนเดอราราจาเปอรูมัล เป็นวิหารฮินดูแบบอินเดียใต้ในประเทศมาเลเซีย
Hinduism expansion in Asia, from its heartland in Indian Subcontinent, to the rest of Asia, especially Southeast Asia, started circa 1st century marked with the establishment of early Hindu settlements and polities in Southeast Asia.

ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 4 ใน ประเทศมาเลเซีย ตามสำมะโน ค.ศ. 2010 ประมาณ 1.78 ล้านคน (6.3% ของประชากรทั้งหมด) นับถือศาสนาฮินดู[1] มากกว่าใน ค.ศ. 2000 ที่มีอยู่ 1,380,400 คน (6.2% ของประชากรทั้งหมด)[2]

ชาวมาเลเซียที่นับถือศาสนาฮินดูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในฝั่งตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีอยู่ 3 รัฐที่ยอมรับวงล้อมชาวฮินดู (Hindu enclave) ซึ่งมีร้อยละของชาวฮินดูมากกว่า 10 ของประชากร ตามสัมมะโน ค.ศ. 2010 ได้แก่ รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน (13.4%) ตามมาด้วยรัฐสลังงอร์ (11.6%), รัฐเปรัก (10.9%) และดินแดนสหพันธ์กัวลาลัมเปอร์ (8.5%)[3] รัฐที่มีร้อยละของชาวฮินดูน้อยที่สุดคือรัฐซาบะฮ์ (0.1%)

ชาวอินเดียกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ชาวจีน ได้มายังประเทศมาเลเซียในสมัยโบราณถึงสมัยกลาง ใน ค.ศ. 2010 สัมมะโนมาเลเซียรายงานว่ามีพลเมือง 1.91 ล้านคนมีต้นตระกูลจากอินเดีย[4] ชาวมาเลเซียประมาณ 1.64 ล้านคน (86%) เป็นชาวฮินดู ส่วนชาวมาเลเซียที่ต้นตระกูลไม่ได้มาจากอินเดียประมาณ 0.14 ล้าน ก็ยอมรับว่าตนเป็นชาวฮินดู[5]

ประเทศมาเลเซียเป็นเอกราชจากจักรวรรดิอาณานิคมอังกฤษใน ค.ศ. 1957 จากนั้นจึงประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และร่างรัฐธรรมนูญแบบผสม ในด้านหนึ่ง มันปกป้องเสรีภาพทางศาสนา (เช่น ศาสนาฮินดู) แต่อีกด้านหนึ่ง รัฐธรรมนูญมาเลเซียก็กีดกั้นเสรีภาพทางศาสนาด้วย[6][7][8] ในทศวรรษที่ผ่านมา มีรายงานการกดขี่ชาวฮินดูพร้อมกับศาสนากลุ่มน้อยอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดหลากหลายตามรัฐบาลของรัฐในประเทศมาเลเซียและสภาชะรีอะฮ์ในแต่ละรัฐ[6][9] หลายปีที่ผ่านมา ทางข้าราชการมาเลเซียได้ดำเนินการรื้อวิหารฮินดูที่สร้างบนทรัพย์สินส่วนบุคคล และสร้างมาก่อนที่มาเลเซียได้รับเอกราช[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 2010 Population and Housing Census of Malaysia (Census 2010) เก็บถาวร 14 กันยายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Department of Statistics Malaysia, Official Portal (2012)
  2. Saw, Swee-Hock (2007). The Population of Malaysia. ISBN 9789812304438.
  3. Population Distribution and Basic Demographic Characteristics 2010 เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Department of Statistics, Government of Malaysia (2011), Page 13
  4. Population Distribution and Basic Demographic Characteristics 2010 เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Department of Statistics, Government of Malaysia (2011), Page 15
  5. Population Distribution and Basic Demographic Characteristics 2010 เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Department of Statistics, Government of Malaysia (2011), Page 82
  6. 6.0 6.1 2011 Report on International Religious Freedom - Malaysia U.S. State Department (2012)
  7. Gill & Gopal, Understanding Indian Religious Practice in Malaysia, J Soc Sci, 25(1-2-3): 135-146 (2010)
  8. Raymond Lee, Patterns of Religious Tension in Malaysia, Asian Survey, Vol. 28, No. 4 (Apr., 1988), pp. 400-418
  9. Religious Freedom Report 2013 - Malaysia U.S. State Department (2014)
  10. Religious Freedom Report 2012 - Malaysia U.S. State Department (2013)

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • "Tragic Orphans: Indians in Malaysia" by Carl Vadivella Belle, Publisher: Institute of Southeast Asian Studies, ISBN 978-981-4519-03-8

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]