ศาสนาอิสลามในประเทศอียิปต์

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักในประเทศอียิปต์ที่มีชาวอียิปต์ประมาณร้อยละ 90 ที่ระบุตนเองเป็นมุสลิม[1] มุสลิมชาวอียิปต์ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี[2] ส่วนน้อยนับถือนิกายชีอะฮ์[3] ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1980[4] เนื่องจากไม่มีการสำรวจสำมะโนประชากรทางศาสนา โดยจากสำมะโนประชากรของอียิปต์พบว่ามีประชากรกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่มุสลิม ทำให้ไม่สามารถทราบจำนวนร้อยละที่แท้จริงของชาวมุสลิมได้ จำนวนร้อยละของมุสลิมที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ ส่วนจำนวนร้อยละของชาวอียิปต์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ประมาณการไว้ที่ระหว่างร้อยละ 5 ถึง 10 ของประชากรทั้งหมด[note 1]
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคนต์อ้างแบบสำรวจโดยอาหรับบาโรมิเตอร์ใน ค.ศ. 2018 ระบุว่า ชาวอียิปต์ประมาณร้อยละ 11 ระบุตนเองว่าไม่เคร่งศาสนา ส่วนแบบสำรวจใน 2018 Wave ระบุว่าชาวอียิปต์ร้อยละ 47.2 เคร่งศาสนา ร้อยละ 39.8 ค่อนข้างเคร่งศาสนา และร้อยละ 10.4 ไม่เคร่งศาสนา[5][6] ในแบบสำรวจอาหรับบาโรมิเตอร์เดียวกันของ 2018 Wave V รายงานว่า ร้อยละ 90.4 ระบุว่าเป็นมุสลิม ร้อยละ 9.6 ระบุว่าเป็นคริสต์ และร้อยละ 0.1 ระบุว่าไม่มีศาสนา[7]
ก่อนหน้าการทัพของฝรั่งเศสในอียิปต์และซีเรียภายใต้นโปเลียน โบนาปาร์ต ปัญหาทางการศึกษา กฎหมาย สาธารณสุข และสวัสดิการสังคมของอียิปต์เกือบทั้งหมดอยู่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ศาสนา จากนั้นในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน บทบาทสาธารณะและทางการเมืองของอุละมาอ์ (นักวิชาการด้านศาสนาอิสลาม) ได้รับการเสริมมากขึ้น ซึ่งเป็นการสานต่อนโยบายของรัฐสุลต่านมัมลูกอย่างมีประสิทธิผล ตามธรรมเนียมแล้ว การแบ่งแยกทางการเมืองในประเทศจะขึ้นอยู่กับการแบ่งแยกทางศาสนา[8] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 รัฐบาลชุดต่อ ๆ มาใช้ความพยายามอย่างกว้างขวางเพื่อจำกัดบทบาทของอุละมาอ์ในชีวิตสาธารณะ และสถาบันทางศาสนาถูกจัดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเรื่อย ๆ
หลังการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 รัฐบาลใหม่รับผิดชอบในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม[9] เช่นเดียวกันกับการกำหนดให้มีการปฏิรูปมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรที่เริ่มต้นใน ค.ศ. 1961 นโยบายเหล่านี้ทำให้หัวหน้าแผนกสามารถดึงมาจากผู้อยู่นอกกลุ่มอุละมาอ์ที่ได้รับการฝึกอบรมแบบดั้งเดิมได้
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ จำนวนระบุไว้หลายแบบ สำมะโน ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นสำมะโนสุดท้ายที่ระบุจำนวนผู้นับถือศาสนา ระบุประชากรร้อยละ 5.6 นับถือศาสนาคริสต์ (ลดลงจากร้อยละ 8.3 ใน ค.ศ. 1927)[10] อย่างไรก็ตาม สำมะโนนี้อาจนับจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ต่ำกว่าความเป็นจริง[10] จากการสำรวจข้อมูลประชากรและสุขภาพของรัฐบาลอียิปต์ (2008) ซึ่งสัมภาษณ์ผู้หญิงอายุระหว่าง 15 ถึง 49 ปี จำนวนประมาณ 16,500 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามประมาณร้อยละ 5 นับถือศาสนาคริสต์[10] หนังสือพิมพ์อัลอะฮ์รอม หนังสือพิมพ์แห่งชาติฉบับหนึ่งที่เป็นของรัฐบาลหลักในอียิปต์ ระบุว่าจำนวนร้อยละที่ระหว่าง 10% – 15% (2017)[11] QScience Connect ใน ค.ศ. 2013 ใช้ข้อมูลใน ค.ศ. 2008 ประมาณการว่าชาวอียิปต์ร้อยละ 5.1 ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 59 ปี เป็นชาวคอปต์[12] Pew Foundation ประมาณการว่ามีชาวคริสต์ใน ค.ศ. 2010 อยู่ที่ร้อยละ 5.1[13] CIA Fact Book ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 10 (2012)[14] ในขณะที่รายงานวอชิงตันเกี่ยวกับกิจการตะวันออกกลางระบุว่า ใน ค.ศ. 1997 "การประมาณจำนวนประชากรชาวคริสต์ในอียิปต์แตกต่างกันไปตั้งแต่ตัวเลขของรัฐบาลที่ 6 ถึง 7 ล้านคนไปจนถึง 12 ล้านคนตามที่ผู้นำคริสเตียนบางคนรายงาน จำนวนที่แท้จริงอาจอยู่ที่ 9 ถึง 9.5 ล้านคนจากจำนวนประชากรอียิปต์ทั้งหมดที่มีมากกว่า 60 ล้านคน" ซึ่งให้การประมาณไว้ที่ร้อยละ 10 ถึง 20[15] ข้อมูลบางแหล่งระบุไว้ที่ร้อยละ 10–20[16] [17] กระทรวงต่างประเทศอังกฤษระบุไว้ที่ร้อยละ 9[18] Christian Post ใน ค.ศ. 2004 อ้างจากสมาคมคอปติกของสหรัฐที่รายงานว่าร้อยละ 15 ของประชากรเป็นคริสเตียนพื้นเมือง[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Egypt". 11 September 2024.
- ↑ "Egypt from "The World Factbook"". American Central Intelligence Agency (CIA). 4 September 2008.
- ↑ Mohammad Hassan Khalil (31 January 2013). Between Heaven and Hell: Islam, Salvation, and the Fate of Others. Oxford University Press. p. 297. ISBN 9780199945412. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- ↑ An Independent Voice for Egypt’s al-Azhar? AHMED MORSY. 13 JULY 2011.
- ↑ "Data Analysis Tool – Arab Barometer".
- ↑ "Understanding Unbelief in Egypt - Understanding Unbelief - Research at Kent". Understanding Unbelief. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "Data Analysis Tool – Arab Barometer". สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.
- ↑ "Egypt". Berkley Center for Religion, Peace, and World Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14. See drop-down essay on "Islamic Conquest and the Ottoman Empire"
- ↑ "Al-Azhar University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2025-01-26. สืบค้นเมื่อ 2025-01-26.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Suh, Michael (15 February 2011). "How many Christians are there in Egypt?". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
- ↑ "Egypt's Sisi meets world Evangelical churches delegation in Cairo". english.ahram.org.eg. Al-Ahram. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
- ↑ Mohamoud, Yousra; Cuadros, Diego; Abu-Raddad, Laith (26 June 2013). "Characterizing the Copts in Egypt: Demographic, socioeconomic and health indicators". QScience Connect (2013): 22. doi:10.5339/connect.2013.22.
- ↑ "Religions in Egypt | PEW-GRF". globalreligiousfutures.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
- ↑ "Egypt from "The World Factbook"". American Central Intelligence Agency (CIA). 22 June 2014.
- ↑ Wagner, Don. "Egypt's Coptic Christians: Caught Between Renewal and Persecution". Washington Report on Middle East Affairs. No. October/November 1997. สืบค้นเมื่อ 28 June 2014.
- ↑ "The Copts and Their Political Implications in Egypt". Washington Institute for Near East Policy. 25 October 2005.
- ↑ Morrow, Adam (24 April 2006). "EGYPT: Attacks Raise Fear of Religious Discord". Inter Press Service. สืบค้นเมื่อ 28 June 2014.
- ↑ "Egypt". Foreign and Commonwealth Office. UK Ministry of Foreign Affairs. 15 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2012.
- ↑ Chan, Kenneth (7 December 2004). "Thousands Protest Egypt's Neglect of Coptic Persecution". The Christian Post. สืบค้นเมื่อ 28 June 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Booknotes interview with Caryle Murphy on Passion for Islam: Shaping the Modern Middle East—The Egyptian Experience, 3 November 2002.
- แม่แบบ:Country study
- US State Department [1].
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Sufism: Origin, Growth, Eclipse, Resurgence by R.M. Chopra, 2016, Anuradha Prakashan, New Delhi. ISBN 978-93-85083-52-5.