ศาสนศึกษา
ศาสนศึกษา[1] (อังกฤษ: religious studies; religious education) คือสาขาวิชาที่ศึกษาความเชื่อ พฤติกรรม และสถาบันทางศาสนา โดยการบรรยาย ตีความ และอธิบาย ศาสนาอย่างเป็นระบบ อิงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และมุมมองจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ศาสนศึกษาต่างจากเทววิทยาซึ่งเน้นศึกษาเพื่อให้เกิดความเชื่อและเข้าใจอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า แต่ศาสนศึกษาจะศึกษาจากมุมมองของคนนอก จึงมีการใช้หลายสาขาวิชามาเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้วย เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา และประวัติศาสตร์ศาสนา
ศาสนศึกษาเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยหลักวิชาประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยม และคัมภีร์ของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูก็เพิ่งถูกแปลเป็นภาษายุโรปเป็นครั้งแรก นักศาสนศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรก ๆ คือ ศาสตราจารย์มักซ์ มึลเลอร์ ในช่วงแรกนั้นยังใช้ชื่อว่าศาสนาเปรียบเทียบหรือศาสนศาสตร์
สาขาย่อย[แก้]
- ศาสนาพุทธ - พุทธศาสนศึกษา (Buddhist studies) พุทธวิทยา (Buddhology)
- ศาสนาคริสต์ - คริสต์ศาสนธรรม (Catechesis) เทววิทยาศาสนาคริสต์ (Christian theology) คริสตวิทยา (Christology)
- ศาสนาอิสลาม - อิสลามศึกษา (Islamic studies)
- ศาสนาฮินดู - ฮินดูศึกษา (Hindu studies)
- อื่น ๆ - ศาสนาเปรียบเทียบ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 456