ข้ามไปเนื้อหา

ศาลในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลในประเทศญี่ปุ่น
สถาปนา1947 (โชวะศกปีที่ 22)
อำนาจศาล ญี่ปุ่น
จำนวนตุลาการผู้พิพากษาศาลสูงสุด 15 คน
ประธานศาลสูง 8 คน
ผู้พิพากษา 2155 คน
ผู้ช่วยผู้พิพากษา 857 คน
ผู้พิพากษาศาลแขวง 806 คน
งบประมาณต่อปี322,814 ล้านเยน
ประเภทของศาลศาลยุติธรรม

ศาลในประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 裁判所, อังกฤษ: Courts in Japan) เป็นอำนาจฝ่ายตุลาการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันศาลของประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วยศาลสูงสุดและศาลชั้นรอง (ศาลสูง ศาลภาค ศาลครอบครัว และศาลแขวง) (มาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น)

พระราชบัญญัติศาลระบุว่าศาลยุติธรรมประกอบด้วยศาลสูงสุดจำนวนหนึ่งศาลและบรรดาศาลชั้นรอง ทั่วประเทศมีศาลสูงสุดเพียงแห่งเดียวตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ผู้พิพากษาศาลชั้นรองมีสี่ประเภท ได้แก่ ประธาลศาลสูง, ผู้พิพากษา, ผู้ช่วยผู้พิพากษา และผู้พิพากษาศาลแขวง

ศาลสูงสุด (最高裁判所)

[แก้]
อาคารศาลฎีกา กรุงโตเกียว

ศาลสูงสุดของญี่ปุ่นมีอำนาจในด้านต่าง ๆ ได้แก่[1]

  1. อำนาจพิจารณาคดี (裁判権)
    ศาลสูงสุดมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการรับอุทธรณ์คดีที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (มาตรา 7 แห่งพรบ.ศาล)[1]
  2. อำนาจออกกฎระเบียบ (規則制定権)
    ศาลสูงสุดมีอำนาจกำหนดระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาคดี, ทนายความ, ระเบียบภายในของศาล (มาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ)
  3. อำนาจบริหารงานตุลาการ (司法行政権)
    การจัดตั้งและบริหารงานศาลถือเป็นหน้าที่ด้านการบริหารงานตุลาการ ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น อำนาจบริหารงานตุลาการเป็นของศาลทุกระดับ ซึ่งจะดำเนินการผ่านที่ประชุมผู้พิพากษา ในส่วนของการกำกับดูแลการบริหารงานตุลาการ ศาลสูงสุดมีอำนาจในฐานะเป็นหน่วยงานสูงสุดในการกำกับดูแล (มาตรา 80 แห่งพรบ.ศาล)

ศาลชั้นรอง (下級裁判所)

[แก้]

หมายถึงศาลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และอยู่ภายใต้ศาลสูงสุดทั้งในแง่ของลำดับชั้นในการพิจารณาคดีและการบริหารงานตุลาการ ศาลชั้นรองมีสามประเภท ได้แก่:

  • ศาลสูง (高等裁判所 High Court) เทียบได้กับชั้นศาลอุทธรณ์ของไทย
  • ศาลภาค (地方裁判所 District Court) และศาลครอบครัว (家庭裁判所 Family Court) เทียบได้กับชั้นศาลจังหวัดของไทย
  • ศาลแขวง (簡易裁判所 Summary Court) เทียบได้กับชั้นศาลแขวงของไทย

ศาลสูงสามารถมีสาขา (支部) ส่วนศาลภาคและศาลครอบครัวสามารถมีทั้งสาขา (支部) หรือสำนักงานย่อย (出張所) แต่ในปัจจุบัน สาขาของศาลภาคและศาลครอบครัวทั้งหมดถูกรวมให้อยู่ในที่เดียวกัน สำนักงานย่อยจะมีเพียงหน่วยของศาลครอบครัว สาเหตุที่ศาลภาคไม่มีสำนักงานย่อยเลย เป็นเพราะมีกฎระเบียบกำหนดว่า "การพิจารณาคดีต้องกระทำที่ที่ตั้งของศาลหรือที่สาขาของศาล" และหากไม่มีห้องพิจารณาคดี การพิจารณาคดีของศาลภาคก็ไม่สามารถดำเนินการได้

เขตอำนาจศาลชั้นรอง

[แก้]

เขตอำนาจศาลสูงโตเกียว

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูงและศาลสูงคดีทรัพย์สินทางปัญญา 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 11 แห่ง, ศาลแขวง 107 แห่ง

  • ศาลสูงโตเกียว (東京高等裁判所) และศาลสูงคดีทรัพย์สินทางปัญญา (知的財産高等裁判所)
    • ศาลภาคโตเกียว, ศาลครอบครัวโตเกียว
    • ศาลภาคโยโกฮามะ, ศาลครอบครัวโยโกฮามะ
    • ศาลภาคไซตามะ, ศาลครอบครัวไซตามะ
    • ศาลภาคชิบะ, ศาลครอบครัวชิบะ
    • ศาลภาคมิโตะ, ศาลครอบครัวมิโตะ
    • ศาลภาคอุตสึโนะมิยะ, ศาลครอบครัวอุตสึโนะมิยะ
    • ศาลภาคมาเอะบาชิ, ศาลครอบครัวมาเอะบาชิ
    • ศาลภาคชิซุโอกะ, ศาลครอบครัวชิซุโอกะ
    • ศาลภาคโคฟุ, ศาลครอบครัวโคฟุ
    • ศาลภาคนางาโนะ, ศาลครอบครัวนางาโนะ
    • ศาลภาคนีงาตะ, ศาลครอบครัวนีงาตะ

เขตอำนาจศาลสูงโอซากะ

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 6 แห่ง, ศาลแขวง 57 แห่ง

  • ศาลสูงโอซากะ (大阪高等裁判所)
    • ศาลภาคโอซากะ, ศาลครอบครัวโอซากะ
    • ศาลภาคเกียวโต, ศาลครอบครัวเกียวโต
    • ศาลภาคโกเบ ศาลครอบครัวโกเบ
    • ศาลภาคนาระ, ศาลครอบครัวนาระ
    • ศาลภาคโอตสึ, ศาลครอบครัวโอตสึ
    • ศาลภาควากายามะ, ศาลครอบครัววากายามะ

เขตอำนาจศาลสูงนาโงยะ

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 6 แห่ง, ศาลแขวง 42 แห่ง

  • ศาลสูงนาโงยะ (名古屋高等裁判所)
    • ศาลภาคนาโงยะ ศาลครอบครัวนาโงยะ
    • ศาลภาคสึ, ศาลครอบครัวสึ
    • ศาลภาคกิฟุ, ศาลครอบครัวกิฟุ
    • ศาลภาคฟุกุอิ, ศาลครอบครัวฟุกุอิ
    • ศาลภาคคานาซาวะ, ศาลครอบครัวคานาซาวะ
    • ศาลภาคโทยามะ, ศาลครอบครัวโทยามะ

เขตอำนาจศาลสูงฮิโรชิมะ

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 5 แห่ง, ศาลแขวง 41 แห่ง

  • ศาลสูงฮิโรชิมะ (広島高等裁判所)
    • ศาลภาคฮิโรชิมะ, ศาลครอบครัวฮิโรชิมะ
    • ศาลภาคยามางูจิ, ศาลครอบครัวยามางูจิ
    • ศาลภาคโอกายามะ, ศาลครอบครัวโอกายามะ
    • ศาลภาคทตโตริ, ศาลครอบครัวทตโตริ
    • ศาลภาคมัตสึเอะ, ศาลครอบครัวมัตสึเอะ

เขตอำนาจศาลสูงฟุกุโอกะ

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 8 แห่ง, ศาลแขวง 82 แห่ง

  • ศาลสูงฟุกุโอกะ (福岡高等裁判所)
    • ศาลภาคฟุกุโอกะ, ศาลครอบครัวฟุกุโอกะ
    • ศาลภาคซากะ, ศาลครอบครัวซากะ
    • ศาลภาคนางาซากิ ศาลครอบครัวนางาซากิ
    • ศาลภาคโออิตะ, ศาลครอบครัวโออิตะ
    • ศาลภาคคุมาโมโตะ ศาลครอบครัวคุมาโมโตะ
    • ศาลภาคคาโงชิมะ, ศาลครอบครัวคาโงชิมะ
    • ศาลภาคมิยาซากิ, ศาลครอบครัวมิยาซากิ
    • ศาลภาคนาฮะ, ศาลครอบครัวนาฮะ

เขตอำนาจศาลสูงเซ็นได

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 6 แห่ง, ศาลแขวง 51 แห่ง

  • ศาลสูงเซ็นได (仙台高等裁判所)
    • ศาลภาคเซ็นได ศาลครอบครัวเซ็นได
    • ศาลภาคฟุกุชิมะ, ศาลครอบครัวฟุกุชิมะ
    • ศาลภาคยามากาตะ ศาลครอบครัวยามากาตะ
    • ศาลภาคโมริโอกะ, ศาลครอบครัวโมริโอกะ
    • ศาลภาคอากิตะ, ศาลครอบครัวอากิตะ
    • ศาลภาคอาโอโมริ, ศาลครอบครัวอาโอโมริ

เขตอำนาจศาลสูงซัปโปโระ

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 4 แห่ง, ศาลแขวง 33 แห่ง

  • ศาลสูงซัปโปโระ (札幌高等裁判所)
    • ศาลภาคซัปโปโระ, ศาลครอบครัวซัปโปโระ
    • ศาลภาคฮาโกดาเตะ, ศาลครอบครัวฮาโกดาเตะ
    • ศาลภาคอาซาฮิกาวะ, ศาลครอบครัวอาซาฮิกาวะ
    • ศาลภาคคุชิโระ, ศาลครอบครัวคุชิโระ

เขตอำนาจศาลสูงทากามัตสึ

[แก้]

ประกอบด้วย ศาลสูง 1 แห่ง, ศาลภาคและศาลครอบครัว 4 แห่ง, ศาลแขวง 25 แห่ง

  • ศาลสูงทากามัตสึ (高松高等裁判所)
    • ศาลภาคทากามัตสึ ศาลครอบครัวทากามัตสึ
    • ศาลภาคโทกูชิมะ, ศาลครอบครัวโทกูชิมะ
    • ศาลภาคโคจิ, ศาลครอบครัวโคจิ
    • ศาลภาคมัตสึยามะ, ศาลครอบครัวมัตสึยามะ

การบันทึกภาพในห้องพิจารณาคดี

[แก้]

การถ่ายภาพและบันทึกเสียงในห้องพิจารณาคดีเคยได้รับอนุญาต แต่เนื่องจากนักข่าวบางคนละเมิดคำสั่งของผู้พิพากษาและมีพฤติกรรมที่รุนแรง ทำให้เกิดความวุ่นวายในห้องพิจารณาคดี ส่งผลให้มีการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1949 ซึ่งกำหนดให้การถ่ายภาพในศาลต้องได้รับอนุญาตจากศาล และโดยทั่วไปแล้ว ห้ามถ่ายภาพทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณาคดี ยกเว้นบางกรณี ส่วนในคดีแพ่ง มีการบังคับใช้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11 ในปี 1956 ด้วยเหตุผลเดียวกัน

ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1987 มีการผ่อนปรนกฎบางประการภายใต้เงื่อนไข เช่น ต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา สามารถถ่ายภาพได้ไม่เกินสองนาทีก่อนเริ่มพิจารณาคดี และต้องเป็นหลังจากผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์แล้ว, ในคดีอาญาต้องไม่มีจำเลยอยู่ในห้องพิจารณาคดีขณะถ่ายภาพ, การถ่ายภาพต้องทำจากด้านหลังของห้องพิจารณาคดี โดยให้บัลลังก์อยู่ในแนวกึ่งกลางของภาพ, มีการกำหนดให้ใช้ช่างภาพจากสื่อมวลชนที่เป็นสมาชิกสโมสรผู้สื่อข่าว และอนุญาตเพียงหนึ่งคนสำหรับกล้องถ่ายภาพนิ่ง และหนึ่งคนสำหรับกล้องวิดีโอ, ห้ามใช้แสงสว่างเสริมและห้ามบันทึกเสียง

แม้ว่าการถ่ายภาพจะไม่ได้รับอนุญาต แต่การวาดภาพด้วยมือยังคงได้รับอนุญาต ส่งผลให้สื่อมวลชนนำศิลปินเข้าสังเกตการณ์เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศในห้องพิจารณาคดีผ่านภาพวาด ซึ่งนำไปสู่การเกิดอาชีพ “จิตรกรศาล” (法廷画家) นอกจากนี้ เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่จำเลยใช้อาวุธก่อความรุนแรงในห้องพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่อง ในปี 2017 ศาลฎีกาได้ออกประกาศให้ศาลทั่วประเทศนำเครื่องตรวจจับโลหะมาใช้[2]

การพิจารณาคดีแบบเปิดเผย

[แก้]

มาตรา 82 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่าการพิจารณาคดีทั้งความแพ่งและความอาญา และการอ่านคำพิพากษาจะต้องกระทำโดยเปิดเผยเป็นหลัก ดังนั้นบุคคลทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาคดี[3] หลักการนี้มีเป้าหมายเพื่อรับประกันความเป็นธรรมของกระบวนการพิจารณาคดีและเสริมสร้างความไว้วางใจของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม

อย่างไรก็ตาม มาตรา 82 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่าถ้าหากการกระทำการดังกล่าวโดยเปิดเผยอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมหรือศีลธรรมอันดี ศาลสามารถมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินการพิจารณาคดีแบบปิด ในกรณีนี้ ศาลต้องแจ้งเหตุผลก่อนให้ผู้ที่เข้าฟังออกจากห้องพิจารณาคดี[4] แต่มีกรณีที่ศาลไม่สามารถปิดการพิจารณาคดี ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ได้แก่ 1) คดีอาชญากรรมทางการเมือง 2) คดีอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งพิมพ์และสื่อ 3) คดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สำหรับคดีทั้งสามประเภทนี้ แม้ว่าการเปิดเผยการพิจารณาคดีอาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของสังคม แต่ ศาลไม่มีอำนาจปิดการพิจารณาคดี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 石川晃司著『国民国家と憲法』三和書籍、2016年、184頁。
  2. "岡山の裁判所 来庁者の所持品検査 10月から、金属探知機を設置". 山陽新聞. 2019-09-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-05-04.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "見学・傍聴案内". สืบค้นเมื่อ 2023-8-25. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 法学協会 1949, p. 388.