ว่านนกคุ่ม
ว่านนกคุ่ม | |
---|---|
ว่านนกคุ่มที่สวนพฤกษศาสตร์ออกแลนด์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | อันดับขาเขียด Alismatales |
วงศ์: | วงศ์บอน Araceae |
สกุล: | Alocasia Alocasia (Lour.) Schott |
สปีชีส์: | Alocasia cucullata |
ชื่อทวินาม | |
Alocasia cucullata (Lour.) Schott | |
ชื่อพ้อง | |
Arum cucullatum |
ว่านนกคุ่ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alocasia cucullata) เป็นพืชในวงศ์ Araceae เป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ ตั้งต้นตรง ลำต้นขนาดใหญ่ สะสมแป้ง น้ำยางใสหรือขุ่น มีกลิ่นฉุน เหง้าแตกแขนง ก้านใบติดตรงกลาง แผ่นใบรูปหัวใจ มีรอยหยักเว้าตื้นๆ ชอบขึ้นในที่โล่งแจ้งและชื้นแฉะ
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หัว หัวย่อยและลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือรับประทานเป็นผัก ในจีนใช้เป็นยาสมุนไพร ใช้ทาภายนอกแก้งูกัด แก้ปวด[1]เป็นพิษเพราะมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต [2] พืชนี้เชื่อว่าเป็นพืชนำโชคดี จึงนิยมปลูกในวัดทั้งในลาวและไทย[3]
ว่านนกคุ้ม[4] เป็นพืชในสกุลเปราะ (บางครั้งก็เรียกสกุลตูบหมูบ) อยู่ในวงศ์ขิง เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเด่นของพืชสกุลเปราะ คือ ทุกส่วนของพืชมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (คล้ายกันกับขิง) โดยเฉพาะส่วนของเหง้าจะมีกลิ่นและมีน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด ในประเทศไทยพบพืชสกุลเปราะหรือสกุลตูบหมูบนี้มากกว่า 25 ชนิด เช่น
- เปราะป่า (Kaempferia pulchra Ridl.) ใช้เป็นไม้ประดับ บางท้องถิ่นเรียก ว่านนกคุ้ม
- เปราะใหญ่ (Kaempferia elegans (Wall.) Baker) บางท้องถิ่นเรียก ว่านนกคุ้ม (คล้ายเปราะป่า แต่ที่จริงแล้วเป็นคนละชนิด)
- ตูบหมูบ (Kaempferia marginata) ใช้เป็นอาหาร
- ตูบหมูบ (Kaempferia marginata Carey)
- ตูบหมูบ (Kaempferia parviflora Wall. ex Baker)
- กระชายดำ (Kaempferia parviflora) ใช้เป็นสมุนไพร
- ปราบสมุทร (Kaempferia angustifolia Rosc.)
- เปราะหอม (Kaempferia galanga)
- สาริกาลิ้นทอง (Kaempferia gilbertii W.Bull.)
- ตูบหมูบมหาสารคาม (Kaempferia mahasarakhamensis Saensouk & P. Saensouk)
- ว่านหาวนอน (Kaempferia rotunda L.) บางท้องถิ่นเรียก ว่านเฒ่าหนังแห้งป่า (สระแก้ว), ว่านนกคุ้ม (พิษณุโลก)
- เปราะหอมป่า (Kaempferia albomaculata Jenjitt. & Kaempferia Larsen)
- เปราะป่า (Kaempferia marginata Caray ex Roscoe) บางท้องถิ่นเรียก ว่านตูบหมูบ (อุดรธานี)
- เปราะป่า (Kaempferia sp.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Boyce, P. C. (2008). A review of Alocasia (Araceae: Colocasieae) for Thailand including a novel species and new species records from South-West Thailand. เก็บถาวร 2010-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Thai Forest Bulletin 36 1-17.
- ↑ Alocasia cucullata. เก็บถาวร 2013-06-20 ที่ archive.today National Tropical Botanical Garden.
- ↑ Alocasia cucullata. Flora of China.
- ↑ esan108.com; เซียงเหมี่ยง (2022-07-19). "ว่านนกคุ้ม สมุนไพรและไม้มงคลที่ควรมีติดบ้าน". อีสานร้อยแปด.
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 231 - 232