วีแคนดูอิต!
"วีแคนดูอิต!" (อังกฤษ: We Can Do It!; เราทำได้!) เป็นโปสเตอร์อเมริกันในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ผลิตโดย เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์ (J. Howard Miller) ในปี 1943 ให้กับบริษัทเวสซิงเฮาส์อิเล็กทริกเพื่อเป็นภาพสร้างแรงบันดาลใจและสร้างขวัญกำลังใจแก่คนงานผู้หญิง
โปสเตอร์นี้มีให้พบเห็นน้อยครั้งในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งได้รับการค้นพบใหม่อีกครั้งในต้นทศวรรษ 1980 และมีการนำมาผลิตใหม่ในหลายรูปแบบ นอกจากจะเรียกชื่อโปสเตอร์นี้ว่า "เราทำได้!" แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "โรสซีเดอะริฟเวตเตอร์" (โรสซี คนเจาะหมุด) ตามตัวละครบุคคลรูปคนงานผู้หญิงฝ่ายผลิตที่ดูแข็งแกร่ง ภาพ "เราทำได้!" มีการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรี และปัญหาทางการเมืองอื่น ๆ เริ่มต้นในทศวรรษ 1980[1] ภาพนี้กลายมาเป็นภาพปกของนิตยสาร สมิตโซเนียน ในปี 1994 และได้รับการนำไปปรับใช้เป็นดวงตราไปรษณียากรระดับหนึ่งของสหรัฐ (US first-class mail stamp) ในปี 1999 ต่อมาในปี 2008 ภาพนี้ได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อรณรงค์ของนักการเมืองอเมริกันหลายคน และในปี 2010 ได้นำมาสร้างสรรค์ใหม่เพื่อเฉลิมฉลองนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนแรกที่เป็นผู้หญิง โปสเตอร์นี้เป็นหนึ่งในสิบภาพที่ถูกร้องขอมากที่สุดขององค์การสื่อเสียงและหอสมุดแห่งชาติ[1]
หลังการค้นพบใหม่ ผู้ที่พบเห็นมักสันนิษฐานว่าภาพนี้ถูกนำมาใช้สร้างขวัญกำลังใจให้คนงานผู้หญิงเข้าร่วมในความพยายามทำสงครามมาตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม ในสมัยสงคราม ภาพนี้ได้มีการนำมาใช้เฉพาะภายในบริษัทวิสติงเฮาส์เท่านั้น และจัดแสดงเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ 1943 รวมถึงไม่ได้ใช้เพื่อเรียกการจ้างงาน แต่ใช้เพื่อเคี่ยวเข็ญคนงานผู้หญิงที่รับจ้างทำงานอยู่แล้วให้ทำงานหนักขึ้น[2] ผู้คนได้ฉกฉวยเอาเจตคติที่ฮึกเหิม (uplifting attitude) และข้อความดังที่ปรากฏนี้มาสร้างใหม่เป็นรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง, การสนับสนุนการรณรงค์, การโฆษณา และการล้อเลียน
หลังเจอรีลไดน์ ฮัฟ ดอยล์ ได้เห็นปกของ สมิตโซเนียน ฉบับปี 1994 เธอกล่าวว่าเธอเป็นบุคคลในโปสเตอร์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ดอยล์คิดว่าเธอถูกจับภาพในรูปภาพของคนงานโรงงานผู้หญิงในช่วงสงคราม และคิดเองโดยบริสุทธิ์ใจว่ารูปนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์ของมิลเลอร์ ดอยล์สับสนกับภาพ "โรซีเดอะริฟเวตเตอร์" และได้รับการเชิดชูเกียรติจากหลายหน่วยงาน รวมถึงหอเกียรติยศและศูนย์ประวัติศาสตร์สตรีของรัฐมิชิแกน อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 ได้มีการระบุตัวบุคคลในภาพว่าแท้จริงคือเนโอมี พาร์กเกอร์ ซึ่งได้ถ่ายภาพเธอ ปรากฏในต้นปี 1942 เธออายุ 20 ปี ซึ่งเวลานั้นดอยล์ยังเรียนไม่จบชั้นมัธยมศึกษา คำกล่าวอ้างของดอยล์ว่าภาพของเธอสร้างแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์นี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าดอยล์หรือพาร์กเกอร์เป็นนางแบบให้กับโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" นี้
ภูมิหลัง
[แก้]หลังญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ รัฐบาลสหรัฐได้เรียกให้ผู้ผลิตผลิตของใช้ในสงครามให้มากขึ้นอีก บรรยากาศการทำงานในโรงงานใหญ่ ๆ มักตึงเครียด อันเป็นผลมาจากความคับแค้นใจระหว่างสหภาพแรงงานกับฝ่ายบริหารมาตลอดทศวรรษ 1930 ผู้กำกับการของบริษัทต่าง ๆ เช่น เจเนรอล มอเตอส์ (GM) พยายามจะสนับสนุนทีมเวิร์กระหว่างทั้งสองกลุ่ม หลังข่าวลือที่ว่าสหภาพแรงงานยูไนเต็ดออโตเวิร์กเกอร์ทำการรณรงค์ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ จีเอ็มจึงตอบกลับด้วยการจัดทำโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อในปี 1942 ซึ่งแสดงภาพของทั้งแรงงานและฝ่ายบริหารต่างถกแขนเสื้อขึ้น และยืนตั้งแถวกันไปสู่การคงไว้ซึ่งอัตราการผลิตอุปกรณ์สงครามที่คงที่ โปสเตอร์นั้นเขียนว่า "เราสามารถทำมันได้ด้วยกัน!" (Together We Can Do It!) และ "Keep 'Em Firing!"[3] ในการผลิตโปสเตอร์เช่นนี้ บริษัทต่างหวังผลที่จะเพิ่มการผลิตโดยการลอบใช้แนวคิดสนับสนุนสงครามที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการป้องกันไม่ให้รัฐบาลเข้ามามีอำนาจเหนือการผลิต[3]
เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์
[แก้]เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์ (J. Howard Miller) เป็นศิลปินกราฟิกชาวอเมริกัน เขาได้สร้างสรรค์โปสเตอร์สนับสนุนกิจการสงครามในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งรวมถึงโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ที่โด่งดัง นอกจากงานชิ้นนี้แล้ว มิลเลอร์ก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก[4] เป็นเวลาหลายปีที่มีการเขียนไว้น้อยมากเกี่ยวกับชีวิตของมิลเลอร์ ซึ่งความไม่แน่นอนนี้รวมไปถึงวันเกิดและวันตายของเขาซึ่งก็ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[5][6][7][8] กระทั่งปี 2022 ศาสตราจารย์ เจมส์ เจ. คิมเบิล (James J. Kimble) ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของมิลเลอร์เพิ่มเติม ซึ่งตั้งปีเกิดของมิลเลอร์อยู่ที่ปี 1898 และเสียชีวิตในปี 1985 มิลเลอร์สมรสกับแมเบล อาแดร์ แม็กคอลี (Mabel Adair McCauley) ทั้งสองไม่มีบุตรร่วมกัน สมาชิกในครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนั้นเกี่ยวข้องกับมิลเลอร์ผ่านทางพี่น้องของมิลเลอร์[9]
มิลเลอร์จบการศึกษาจากสถาบันศิลปะพิตส์เบิร์กในปี 1939[10] เขาอาศัยอยู่ในพิตส์เบิร์กในสมัยสงคราม ผลงานของเขาได้รับความสนใจโดยบริษัทเวสติงเฮาส์ (ที่ซึ่งต่อมาเป็นคณะกรรมการประสานงานการผลิตสงครามเวสติงเฮาส์; Westinghouse War Production Co-Ordinating Committee) และมิลเลอร์ถูกจ้างให้ผลิตโปสเตอร์สงครามให้กับเวสติงเฮาส์ โปสเตอร์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการประสานงานการผลิตสงคราม (War Production Co-Ordinating Committee) ของบริษัท ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายร้อยคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของคณะกรรมการการผลิตสงครามแห่งชาติ (War Production Board) นอกเหนือจากงานเชิงพาณิชย์แล้ว มิลเลอร์ยังสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำมัน โดยที่งานทั้งหมดของเขาเก็บรักษาไว้โดยครอบครัวของมิลเลอร์ในบ้านของพวกเขา[9]
เวสติงเฮาส์อิเล็กทริก
[แก้]ในปี 1942 มิลเลอร์ได้รับว่าจ้างโดยคณะกรรมการประสานงานการผลิตสงครามของเวสติงเฮาส์อิเล็กทริก (Westinghouse Electric) ผ่านทางนายหน้าจัดหางานโฆษณารายหนึ่ง ให้สร้างสรรค์ชุดโปสเตอร์ที่จะติดแสดงให้กับคนงานของบริษัทดู[1][11] จุดมุ่งหมายของโครงการโปสเตอร์นี้เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนงาน, ลดการขาดงาน, ส่งต่อคำถามของคนงานโดยตรงไปยังฝ่ายบริหาร และลดโอกาสที่จะเกิดการลุกฮือของแรงงานไปจนถึงการนัดประท้วงหยุดงาน โปสเตอร์แต่ละชิ้นจากมากกว่า 42 ชิ้นที่มิลเลอร์ออกแบบ มีการติดแสดงในโรงงานเป็นเวลาสองสัปดาห์ ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยงานชิ้นต่อไปในชุดโปสเตอร์นี้ โปสเตอร์ส่วนใหญ่แสดงภาพของผู้ชายซึ่งเน้นย้ำบทบาทตามธรรมเนียมของชายและหญิง หนึ่งในโปสเตอร์ของเขาแสดงภาพผู้บริหารชายกำลังฉีกยิ้ม พร้อมคำว่า "มีคำถามอะไรเกี่ยวกับการทำงานของคุณรึ? ... ถามผู้บริหารสิ" ("Any Questions About Your Work? ... Ask your Supervisor.")[1][2]
มีชิ้นงานไม่ถึง 1,800 ฉบับ ขนาด 17 คูณ 22 นิ้ว (559 คูณ 432 มิลลิเมตร) ของชิ้นโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ที่พิมพ์[1] ในระยะแรก โปสเตอร์นี้มีเห็นแค่เพียงภายในโรงงานต่าง ๆ ของเวสติงเฮาส์ในอีสต์พิตส์เบิร์กและในตะวันตกกลางของสหรัฐ ที่ซึ่งโปสเตอร์นี้มีระยะเวลาการติดแสดงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ห้าวันทำงาน เริ่มต้นในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 1943[1][12][13][14][15] โรงงานที่ถูกตั้งเป้าแสดงโปสเตอร์นี้ในเวลานั้นกำลังผลิตแผ่นหุ้มพลาสติกของหมวกกันน็อก (plasticized helmet liners) ที่อิ่มตัวด้วยมิการ์ตา ซึ่งเป็นเรซินฟีนอล (phenolic resin) ที่คิดค้นขึ้นโดยเวสติงเฮาส์ คนงานส่วนใหญ่ในส่วนการผลิตนี้เป็นผู้หญิง ตลอดช่วงสงครามมีการผลิตหมวกกันน็อกรวมกว่า 13 ล้านชิ้น[16] สโลแกนที่ว่า "วีแคนดูอิต!" น่าจะไม่ได้รับการตีความโดยคนงานของโรงงานว่าใช้สร้างขวัญกำลังใจแก่เพียงเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่ถูกมองรวมว่าเป็นหนึ่งในชุดโปสเตอร์ที่ควบคุมและกดขี่แรงงาน (paternalistic) ที่สนับสนุนอำนาจของฝ่ายบริหาร, ความสามารถการผลิตของโรงงาน และเป็นไปได้มากกว่าว่าคนงานจะมองโปสเตอร์นี้ว่าสื่อถึง "ลูกจ้างของเวสติงเฮาส์ ทำได้!" ภายใต้การทำงานร่วมกัน[1] ภาพที่สร้างขวัญกำลังใจนี้ได้ใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อเบา ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้าง และทำให้การผลิตดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด[17] เข็มกลัดบนปกคอเสื้อของคนในโปสเตอร์นี้บ่งบอกว่าเธอเป็นคนงานระดับภาคพื้นของโรงงานผลิตของเวสติงเฮาส์อิเล็กทรอนิก (plant floor employee)[17] เสื้อผ้าที่มีสีแดง ขาว และน้ำเงินนั้น ให้ความรู้สึกแอบแฝงถึงคติชาตินิยม ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคที่คณกรรมการการผลิตสงครามมักนำมาใช้[1][2]
โรสซีเดอะริฟเว็ตเตอร์
[แก้]ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ไม่ได้นำมาเชื่อมโยงเลยกับเพลงปี 1942 เพลง "โรสซีเดอะริฟเว็ตเตอร์" (Rosie the Riveter; โรสซีนักปักหมุด) หรือแม้แต่กับภาพเขียนที่เป็นที่รู้จักทั่วของ นอร์แมน ร็อกเวล ที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งปรากฏบนปกฉบับวันเมมอเรียลของ แซทเทอร์เดย์อีฟนิงโพสต์ ฉบับ 29 พฤษภาคม 1943 โปสเตอร์ของเวสติงเฮาส์ฉบับนี้ไม่ได้นำมาเกี่ยวพันกับหญิงใด ๆ ที่มีชื่อเล่นว่า "โรสซี" เลย ในทางกลับกัน หลังโปสเตอร์นี้ได้นำมาติดแสดงครบสองสัปดาห์ในเดือนกุมภาพันธ์ 1943 ภายในโรงงานของเวสติงเฮาส์ โปสเตอร์นี้ก็ได้สูญหายไปเลยนับสี่ทศวรรษ[18][19] ในขณะที่ภาพถ่ายอื่น ๆ ของ "โรสซี" กำลังได้รับความนิยม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายของคนงานจริง สำนักงานข้อมูลข่าวสารสงครามได้เตรียมการสำหรับการรณรงค์โฆษณาขนาดใหญ่ทั่วประเทศเพื่อพยายามขายสงคราม ในขณะที่ "วีแคนดูอิต!" นั้น ไม่ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของโฆษณาที่สำนักงานนำมาใช้[17]
ภาพเขียน Rosie the Riveter ซึ่งเป็นภาพเขียนเชิงสัญลักษณ์ของร็อกเวลล์นั้นถูกยืมโดย Post ไปให้กับกระทรวงการคลังเพื่อใช้ในโปสเตอร์และการรณรงค์สำหรับพันธบัตรสงคราม ในปีถัดมา ภาพเขียนของร็อกเวลนี้ได้ค่อย ๆ หายไปจากความทรงจำของสาธารณะเนื่องจากภาพเขียนได้รับการขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับภาพเขียนอื่น ๆ ของร็อกเวลล์ที่ได้รับการปกป้องอย่างหนักโดยกองมรดกของเขาหลังร็อกเวลเสียชีวิต การคุ้มครองในครั้งนี้ทำให้ภาพเขียนต้นฉบับเกิดมูลค่าขึ้นมา และถูกขายไปด้วยราคาเกือบ 5 ล้านดอลล่าร์ ในปี 2002[20] ในขณะที่ "วีแคนดูอิต!" เผชิญชะตากรรมที่กลับกัน คือการขาดการคุ้มครองชิ้นงานนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ภาพนี้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง[13]
เอ็ก ไรส์ (Ed Reis) นักประวัติศาสตร์อาสาสมัครให้กับเวสติงเฮาส์ ระบุว่าภาพต้นฉบับไม่ได้ถูกนำไปแสดงให้กับนักยึดหมุดหญิงในสมัยสงคราม ดังนั้นการนำมาเชื่อมโยงกับ "โรสซีเดอะริฟเว็ตเตอร์" ในยุคหลังมานี้ ถือว่าไม่สมเหตุผล ในทางกลับกัน ภาพโปสเตอร์นี้มีเป้าหมายผู้ชมคือผู้หญิงที่ทำตัวบุหมวกกันน็อกที่ทำมาจากมิการ์ตา ไรส์ยังพูดขำขันไว้ว่าผู้หญิงในภาพควรจะตั้งชื่อว่า "มอลลีนักหล่อพิมพ์มิการ์ตา" หรือ "เฮเลนคนทำตัวบุหมวกกันน็อก" ("Molly the Micarta Molder or Helen the Helmet Liner Maker") ด้วยซ้ำ[16]
ค้นพบอีกครั้ง
[แก้]ในปี 1982 โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ได้รับนำมาผลิตใหม่ในบทความนิตยสารหนึ่ง ชื่อ "Poster Art for Patriotism's Sake" (ศิลปะโปสเตอร์เพื่อความคลั่งชาติ) ของ วอชิงตันโพสต์แมกกาซีน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโปสเตอร์ในคลังของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐ[21]
ในปีถัด ๆ มา มีการนำโปสเตอร์นี้มาใช้ในรูปใหม่ (re-appropriated) เพื่อสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรี นักนิยมสิทธิสตรีมองว่าภาพนี้เป็นภาพแทนการสร้างพลังให้แก่ผู้หญิง[22] คำว่า "We" (พวกเรา) เข้าใจว่าหมายถึง "We Women" (พวกเรา เหล่าผู้หญิง) ซึ่งรวมผู้หญิงทั้งปวงในภคินีภาพ (sisterhood) ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมทางเพศ เนื้อหานี้ถือว่าต่างกันมากกับความหมายเดิมของโปสเตอร์ในปี 1943 ที่ถูกใช้เพื่อควบคุมและปราบปรามการลุกฮือของแรงงาน[1][17] ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ เจเรไมยาห์ แอ็กเซิลร็อด (Jeremiah Axelrod) ให้ความเห็นว่าเป็นการรวมเอาการเรียกร้องสิทธิสตรี เข้ากับ "องค์ประกอบและภาษากายแบบผู้ชาย (และออกจะชายแท้; macho)"[23]
นิตยสาร สมิตโซเนียน ได้นำภาพนี้มาใช้เป็นภาพปกในเดือนมีนาคม 1994 ซึ่งเชิญชวนให้ผู้อ่านมาอ่านบทความคัดสรรเกี่ยวกับโปสเตอร์ยุคสงคราม กรมบริการไปรษณีย์สหรัฐ ได้จัดทำดวงตราไปรษณียากรมูลค่า 33¢ ในเดือนกุมภาพันธ์ 1999 โดยมีภาพนี้เป็นพื้น และเพิ่มคำว่า "Women Support War Effort" (เหล่าผู้หญิงสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อสงคราม)[24][25][26] โปสเตอร์ชิ้นหนึ่งของเวสติงเฮาส์จากปี 1943 ได้นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติประวัติศาสตร์อเมริกัน เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่แสดงข้าวของจากทศวรรษ 1930 และ 1940[27]
ภาพถ่ายของศูนย์กระจายข่าว
[แก้]ในปี 1984 อดีตคนงานสงคราม เจอรอลดีน ฮัฟ ดอยล์ ได้บังเอิญเจอกับบทความหนึ่งบนนิตยสาร มอเดิร์นแมทชัวริที (Modern Maturity) ซึ่งแสดงภาพถ่ายสมัยสงครามรูปหญิงสาวทำงานกับเครื่องกลึง เธอเข้าใจว่ารูปนั้นเป็นภาพถ่ายของตัวเธอเองสมัยกลางถึงปลายปี 1942 ที่ซึ่งเธอทำงานอยู่ในโรงงานเป็นช่วงสั้น ๆ สิบปีให้หลัง ดอยล์ได้พบกับโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" เป็นภาพปกของนิตยสาร สมิตโซเนียน และเข้าใจเองว่าโปสเตอร์นี้เป็นภาพของตัวเธอเอง เธอได้ตัดสินใจว่าภาพถ่ายปี 1942 นั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับมิลเลอร์สร้างสรรค์โปสเตอร์นี้ขึ้นมา ซึ่งหมายความว่าเธอเป็นนางแบบของหญิงในโปสเตอร์นี้ ทั้งนี้เธอไม่ได้มีความตั้งใจที่จะแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ จากภาพนี้[28] ในเวลาต่อมา ดอยล์จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์ของมิลเลอร์[18][29][30][31][32] ศาสตราจารย์เจมส์ เจ. คิมเบิล (James J. Kimble) ได้รับภาพถ่ายต้นฉบับนั้นจากสำนักจดหมายเหตุของภาพข่าวแอคมี ในภาพมีคำบรรยายสีเหลืองซึ่งระบุตัวบุคคลไว้ว่าคือ เนโอมี พาร์กเคอร์ และภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพชุดที่ถ่ายที่ศูนย์ทัพอากาศแอลาเมดาในรัฐแคลิฟอร์เนีย แสดงให้เห็นภาพของพาร์กเคอร์และพี่/น้องสาวเธอกำลังทำงานสงครามอยู่ในเดือนมีนาคม 1942[33][34] ภาพเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับตั้งแต่เดือนเมษายน 1942 ซึ่งเวลานั้นดอยล์ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายในรัฐมิชิแกน[28] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 คิมเบิลได้สัมภาษณ์พี่น้องพาร์กเคอร์ ซึ่งประกอบด้วย เนโอมี เฟอร์น แฟรลีย์ (Naomi Fern Fraley) วัย 93 ปี และน้องสาว แอดา วิน มอร์เฟิร์ด (Ada Wyn Morford) วัย 91 ปี เขาพบว่าทั้งคู่ไม่ทราบเลยมาตลอดห้าปีว่ามีการระบุตัวตนบุคคลจากภาพถ่ายของเธอผิด และปฏิเสธว่าไม่ใช่เธอเพื่อจะแก้ไขข้อมูลทางประวัติศาสตร์[28] เนโอมีเสียชีวิตด้วยวัย 96 ปี ในวันที่ 20 มกราคม 2018[35]
ถึงแม้จะมีงานตีพิมพ์จำนวนมากที่ยังคงผลิตซ้ำคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลของดอยล์ว่าภาพถ่ายยุคสงครามนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์ของมิลเลอร์[28] นักประวัติศาสตร์เวสติงเฮาส์ ชาลส์ เอ. รัค (Charles A. Ruch) ชาวพิตส์เบิร์กและมิตรสหายของมิลเลอร์ กล่าวว่ามิลเลอร์ไม่ใช่คนที่โดยนิสัยแล้วทำงานจากภาพถ่าย แต่จะทำงานจากนางแบบที่เป็นคนจริง ๆ มากกว่า[36] อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายของเนโอมี พาร์กเคอร์ ได้ปรากฏบนหนังสือพิมพ์พิตส์เบิร์กเพรส (Pittsburgh Press) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1942 หมายความว่ามิลเลอร์อาจจะเคยเห็นภาพถ่ายนี้ขณะที่สร้างสรรค์โปสเตอร์[35]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]ในปัจจุบัน ภาพของ "วีแคนดูอิต!" กลายมาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไกลไปกว่าเป้าหมายอันคับแคบเดิมในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โปสเตอร์ได้รับนำไปผลิตซ้ำในรูปของเสื้อยืด, รอยสัก, แก้วกาแฟ และแม่เหล็กติดตู้เย็น ถือเป็นสินค้าหลายชนิดจน เดอะวอชิงตันโพสต์ เรียกภาพนี้ว่าเป็นของฝากที่ "ได้รับนำมาแสดงมากที่สุด" ("most over-exposed") ที่มีในวอชิงตันดีซี[1] ในปี 2008 นักรณรงค์ท้องถิ่นจำนวนหนึงได้นำโปสเตอร์นี้มาใช้ในการหาเสียงให้กับแซราห์ เพลิน, รอน พอล และ ฮิลลารี คลินตัน[16] มิเชล โอบามา ยังเคยถูกแปลงเป็นภาพโปสเตอร์นี้โดยผู้เข้าร่วมงานบางส่วนของแรลลีทูเรสสตอร์เซนิตีแอนด์/ออร์เฟียร์เมื่อปี 2010[17] ภาพนี้ได้นำไปใช้โดยธุรกิจต่าง ๆ เช่น คลอรอกซ์ ใช้ภาพนี้สำหรับโฆษณาอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดในครัวเรือน ซึ่งแสดงภาพของผู้หญิงคนเดียวกันนี้สวมแหวนแต่งงานบนมือซ้ายด้วย[37] ภาพล้อเลียนยังมีการนำเอาผู้หญิง ผู้ชาย สัตว์ และตัวละครสมมติที่มีชื่อเสียงมาทำล้อเลียน รวมถึงมีการผลิตของเล่นตุ๊กตาบ็อบเบิลเฮด และ แอ็กชั่นฟิกเยอร์ เช่นกีน[1] พิพิธภัณฑ์เด็กอินดีแอแนพอลิสเคยจัดแสดงภาพเลียนแบบขนาด สี่-โดย-ห้า-ฟุต (1.2-โดย-1.5-เมตร) โดยศิลปินคริสเติน คัมมิงส์ (Kristen Cumings) ที่ทำมาจากขนมเจลลีเบลลีนับพันชิ้น[38][39]
หลังจูเลีย กิลเลิร์ด ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนแรกที่เป็นผู้หญิงในเดือนมิถุนายน 2010 ศิลปินสตรีตอาร์ตรายหนึ่งในเมลเบิร์นซึ่งเรียกตนเองว่า ฟีนิกซ์ (Phoenix) ได้แปะหน้าของกิลเลิร์ดลงบนโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ในรูปแบบสีเดี่ยว (monochrome)[40] นิตยสาร แอนอาเธอร์ ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายของโปสเตอร์นี้ที่ถ่ายจากฮอสเซียร์เลนในเมลเบิร์นเมื่อกรกฎาคม 2010 แสดงให้เห็นว่าเนื้อความคำว่า "War Production Co-ordinating Committee" ตรงขวาล่างของโปสเตอร์ถูกแทนที่ด้วยยูอาร์แอลที่ลิงก์ไปยังโฟโต้สตรีมบนฟลิกเกอร์ของฟีนิกซ์[41][42][43] ในเดือนมีนาคม 2011 ฟีนิกซ์ได้ผลิตรูปแบบมีสี และใส่คำว่า "She Did It!" (เธอทำมันได้แล้ว!) ตรงล่างขวา[44] จากนั้นในเดือนมกราคม 2012 เขาได้แปะคำว่า "Too Sad" (น่าเศร้า) ฆ่าโปสเตอร์เพื่อแสดงถึงความผิดหวังต่อการดำเนินไปของการเมืองออสเตรเลียในเวลานั้น[45]
เจอรอลดีน ดอยล์ สียชีวิตในเดือนธันวาคม 2010 อัทนีรีดเดอร์ ได้นำหน้าไปด้วยภาพปกสำหรับฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2011 เป็นภาพล้อ "วีแคนดูอิต!" แต่เป็นรูปของมาร์จ ซิมป์สัน แทน[46] บรรณาธิการชองนิตยสารยังได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อการจากไปของดอยล์[47]
ภาพแนวสเตรีโอสโคปของ "วีแคตดูอิต!" ได้รับรังสรรค์ขึ้นสำหรับเครดิตปิดท้ายของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ปี 2011 เรื่อง Captain America: The First Avenger โดยภาพนี้ใช้เป็นภาพพื้นหลังให้กับไทเทิลการ์ด (title card) สำหรับนักแสดงหญิงชาวอังกฤษ เฮลี แอทเวล[48]
แอดเคาน์ซิลอ้างว่าโปสเตอร์นี้พัฒนาขึ้นในปี 1942 โดยองค์กรก่อนหน้าของตน คณะกรรมการโฆษณาสงคราม (War Advertising Committee) เพื่อใช้เป็นส่วนกนึ่งของการณรงค์ "อาชีพของสตรีในสงคราม" (Women in War Jobs) ซึ่งช่วยนำ "ผู้หญิงมากกว่าสองล้านคน" เข้ามาสู่ขบวนการการผลิตเพื่อการสงคราม[49][50][51] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ในระหว่างการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของแอดเคาน์ซิล หน่วยดิจิทัลเฮลพสกู้ดของอานิมักซ์ ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เขื่อมต่อกับหน้าของแอดเคาน์ซิลบนเฟซบุ๊ก แอพพลิเคชั่นบนเฟซบุ๊กนี้มีชื่อว่า "โรซีฟายยัวร์เซลฟ์" ("Rosify Yourself"; ทำตัวคุณให้กลายเป็นโรสซี) ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงโรสซีนักยึดหมุด (Rosie the Riveter) ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพใบหน้าของตนไปเป็นส่วนหนึ่งของโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" แล้วบันทึกเพื่อนำมาเผยแพร่แก่เพื่อนได้[52] ประธานและซีอีอโอของแอดเคาน์ซิล เพ็กกี คอนลอน (Peggy Conlon) ได้โพสต์ภาพของตนเองที่ใบหน้าผ่านการ "โรซีฟาย" (Rosified) บน ฮัฟฟิงทันโพสต์ ในบทความหนึ่งซึ่งเธอเขียนเล่าถึงประวัติศาสตร์ตลอด 70 ปีขององค์กร[51] พนักงานประจำรายการโทรทัศน์ ทูเดย์ ยังได้โพสต์ภาพของตนที่ผ่านการ "โรซีฟาย" แล้วบนเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยหน้าของผู้ดำเนินรายการแมต ลอเออร์ และ แอน เคอรี[53] อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเซตตันฮอล เจมส์ เจ. คิมเบิล (James J. Kimble) และศาสตารจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก เลสเตอร์ ซี. ออลซ็อน (Lester C. Olson) ได้ทำการค้นคว้าถึงที่มาของโปสเตอร์ และสรุปผลว่าโปสเตอร์นี้ไม่ได้ผลิตโดยแอดเคาน์ซิล และไม่ได้นำมาใช้เพื่อจ้างงานคนงานผู้หญิง[1]
ในปี 2010 นักร้องชาวอเมริกัน พิงก์ ได้รังสรรค์โปสเตอร์ใหม่ในมิวสิกวิดีโอเพลง "เรสยัวร์แกลส"
โปสเตอร์ยังคงสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปิน เช่น เคต เบอร์เกน (Kate Bergen) ซึ่งวาดภาพบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานกับโรคโควิด-19 ในรูปแบบที่คล้าบกัน แรกเริ่มเพื่อรับมือกับความเครียดจากงาน และยังเพื่อผลักดันให้คนอื่น ๆ ออกมาแสดงความสนับสนุนคนทำงานด่านหน้าเช่นดัน[54]
ดูเพิ่ม
[แก้]- คีปคาล์มแอนด์แคร์รีออน - โปสเตอร์สงครามโลกครั้งที่สองที่กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งในหลายทศวรรษให้หลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 Kimble, James J.; Olson, Lester C. (Winter 2006). "Visual Rhetoric Representing Rosie the Riveter: Myth and Misconception in J. Howard Miller's 'We Can Do It!' Poster". Rhetoric & Public Affairs. 9 (4): 533–569. JSTOR 41940102. Also available through Highbeam.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bird, William L.; Rubenstein, Harry R. (1998). Design for Victory: World War II posters on the American home front. Princeton Architectural Press. p. 78. ISBN 978-1-56898-140-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 10, 2016. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2016.
- ↑ 3.0 3.1 Bird/Rubenstein 1998, p. 58 เก็บถาวร พฤศจิกายน 17, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Doris Weatherford (2009). American Women during World War II: An Encyclopedia. Routledge. p. 1181. ISBN 978-1-135-20189-0.
- ↑ Wong, Hannah Wai Ling (กรกฎาคม 17, 2007). A Riveting "Rosie": J. Howard Miller's We Can Do It! Poster and Twentieth Century American Visual Culture (M.A.). University of Maryland, College Park. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 20, 2018. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 19, 2018.
- ↑ "We Can Do It!". Smithsonian American Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2007.
- ↑ William H. Young; Nancy K. Young (2010). World War II and the Postwar Years in America: A-I. ABC-CLIO. p. 528. ISBN 978-0-313-35652-0.
- ↑ Susan Doyle; Jaleen Grove; Whitney Sherman (2018). History of Illustration. Bloomsbury Academic. pp. 353–. ISBN 978-1-5013-4211-0.
- ↑ 9.0 9.1 Raccuglia, Andrew (May 20, 2022). "How a Seton Hall professor discovered the creator of 'Rosie the Riveter'". The Setonian. สืบค้นเมื่อ June 29, 2022.
- ↑ Fisher, Jacquelyn Felix; Goodman, E. W. (2009). The Art Institute of Pittsburgh Arcadia Publishing. p. 16. ISBN 978-0738565545.
- ↑ Ehrlich, David A.; Minton, Alan R.; Stoy, Diane (2007). Smokey, Rosie, and You!. Hillcrest Publishing Group. p. 62. ISBN 978-1-934248-33-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 17, 2016. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2016.
- ↑ Heyman, Therese Thau (1998). Posters American Style. New York: National Museum of American Art, Smithsonian Institution, in association with Harry N. Adams, Inc. p. 106. ISBN 978-0-8109-3749-9.
- ↑ 13.0 13.1 Harvey, Sheridan (กรกฎาคม 20, 2010). "Rosie the Riveter: Real Women Workers in World War II". Journeys & Crossings. Library of Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 1, 2011. สืบค้นเมื่อ มกราคม 23, 2012.
- ↑ "Work–Fight–Give: Smithsonian World War II Posters of Labor, Government, and Industry". Labor's Heritage. 11 (4): 49. 2002.
- ↑ "We Can Do It!". Smithsonian Institution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 29, 2013. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 25, 2012. Search results for catalog number 1985.0851.05.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "'Rosie the Riveter' is not the same as 'We Can Do It!'". Docs Populi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 25, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 23, 2012. Excerpted from:
Cushing, Lincoln; Drescher, Tim (2009). Agitate! Educate! Organize!: American Labor Posters. ILR Press/Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7427-9. - ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 Sharp, Gwen; Wade, Lisa (มกราคม 4, 2011), "Sociological Images: Secrets of a feminist icon", Contexts, 10 (2): 82–83, doi:10.1177/1536504211408972, ISSN 1536-5042, S2CID 145551064, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 8, 2011, สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012
- ↑ 18.0 18.1 McLellan, Dennis (ธันวาคม 31, 2010). "Geraldine Hoff Doyle dies at 86; inspiration behind a famous wartime poster". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 20, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ Young, William H.; Young, Nancy K. (2010). World War II and the Postwar Years in America: A Historical and Cultural Encyclopedia. Vol. 1. ABC-CLIO. p. 606. ISBN 978-0-313-35652-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 1, 2016. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2016.
- ↑ Weatherford, Doris (2009). American Women during World War II: an encyclopedia. Taylor & Francis. p. 399. ISBN 978-0-415-99475-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 7, 2016. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2016.
- ↑ Brennan, Patricia (May 23, 1982). "Poster Art for Patriotism's Sake". Washington Post Magazine. p. 35.
- ↑ Endres, Kathleen L. (2006). "Rosie the Riveter". ใน Dennis Hall, Susan G. Hall (บ.ก.). American icons: an encyclopedia of the people, places, and things. Vol. 1. Greenwood. p. 601. ISBN 978-0-275-98429-8.
- ↑ Axelrod, Jeremiah B.C. (2006). "The Noir War: American Narratives of World War II and Its Aftermath". ใน Diederik Oostdijk, Markha G. Valenta (บ.ก.). Tales of the Great American Victory: World War II in Politics and Poetics. VU University Press. p. 81. ISBN 978-90-5383-976-8.
- ↑ "1999–2000 Highlights". Rosie The Riveter Memorial Project. Richmond, California: Rosie the Riveter Trust. เมษายน 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 28, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ "Women Support War Effort". United States Postal Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 23, 2013. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ "Women On Stamps (Publication 512)" (PDF). United States Postal Service. เมษายน 2003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 20, 2013. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ "Treasures of American History: The Great Depression and World War II". National Museum of American History. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 19, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 Kimble, James J. (Summer 2016). "Rosie's Secret Identity, or, How to Debunk a Woozle by Walking Backward through the Forest of Visual Rhetoric". Rhetoric and Public Affairs. 19 (2): 245–274. doi:10.14321/rhetpublaffa.19.2.0245. ISSN 1094-8392. S2CID 147767111.
- ↑ Chuck, Elizabeth (December 30, 2010). "Geraldine Doyle, inspiration for 'Rosie the Riveter,' dies at 86". Field Notes from NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2011. สืบค้นเมื่อ July 1, 2015.
- ↑ Williams, Timothy (ธันวาคม 29, 2010). "Geraldine Doyle, Iconic Face of World War II, Dies at 86". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 24, 2017. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 26, 2017.
- ↑ Memmot, Mark (ธันวาคม 31, 2010). "Michigan Woman Who Inspired WWII 'Rosie' Poster Has Died". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 19, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 23, 2012.
- ↑ Schimpf, Sheila (1994). "Geraldine Hoff Doyle". Michigan History Magazine. 78: 54–55.
- ↑ "Ada Wyn Morford Papers". National Park Service Museum Collections. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 7, 2016. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 27, 2016.
- ↑ "All This and Overtime, Too". Corbis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 29, 2015. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 28, 2016.
- ↑ 35.0 35.1 Fox, Margalit (2018). "Naomi Parker Fraley, the Real Rosie the Riveter, Dies at 96". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 22, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 23, 2018.
- ↑ Coleman, Penny (December 30, 2010). "Rosie the Riveter Image". PennyColeman.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2011. สืบค้นเมื่อ January 24, 2012.
- ↑ Wade, Lisa (ตุลาคม 22, 2007). "Sociological Images: Trivializing Women's Power". The Society Page. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 22, 2013. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ Paul, Cindy (April 12, 2011). "Masterpieces of Jelly Bean Art Collection at the Children's Museum". Indianapolis, Illinois: Funcityfinder.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2012. สืบค้นเมื่อ October 5, 2012.
- ↑ Cumings, Kristen. "We Can Do It!". Jelly Belly Bean Art Collection. Jelly Belly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 3, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2012.
- ↑ Phoenix (มิถุนายน 29, 2010). "We Can Do It!". Flickr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 7, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2012.
- ↑ Hellqvist, David (July 27, 2010). "Australian President, Julia Gillard". AnOther Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2012. สืบค้นเมื่อ October 5, 2012.
- ↑ Dama Design (กรกฎาคม 8, 2010). "Julia Gillard". Tumblr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 7, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2012.
- ↑ Phoenix (มีนาคม 12, 2011). "We Can Do It!". Flickr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 23, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2012.
- ↑ Phoenix (กรกฎาคม 2, 2010). "We Can Do It!". Flickr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 23, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2012.
- ↑ Phoenix (มกราคม 23, 2012). "She Did It! (TOO SAD)". Flickr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 18, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2012.
- ↑ "Table of Contents". Utne Reader. มกราคม–กุมภาพันธ์ 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 31, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ "untitled". Utne Reader editorial blog. Utne Reader. มกราคม 3, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 23, 2013. สืบค้นเมื่อ มกราคม 24, 2012.
- ↑ Landekic, Lola (สิงหาคม 30, 2011). "Captain America: The First Avenger". Art of the Title. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 25, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 17, 2012.
- ↑ "The Story of the Ad Council". Ad Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2007. สืบค้นเมื่อ September 24, 2012.
- ↑ "Frequently Asked Questions". Ad Council. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 3, 2013. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2012.
Working in tandem with the Office of War Information, the Ad Council created campaigns such as Buy War Bonds, Plant Victory Gardens, 'Loose Lips Sink Ships,' and Rosie the Riveter's 'We Can Do it.'
- ↑ 51.0 51.1 Conlon, Peggy (กุมภาพันธ์ 13, 2012). "Happy Birthday Ad Council! Celebrating 70 Years of Public Service Advertising". Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 16, 2012. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2012.
- ↑ "HelpsGood Develops 'Rosify Yourself' App for Ad Council's 70th Birthday". HelpsGood. กุมภาพันธ์ 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 26, 2013. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2012.
- ↑ Veres, Steve (กุมภาพันธ์ 13, 2012). "Plaza sign of the day: Matt as Rosie the Riveter". Today. MSN Allday Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 7, 2017. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2012.
- ↑ Woolston, Chris (8 July 2022). "How to deal with work stress — and actually recover from burnout". Knowable Magazine. doi:10.1146/knowable-070722-1. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.