วีนัสฟลายแทร็ป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วีนัสฟลายแทร็ป
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงElectronic, Pub, House, Clubbing, New Wave และ Ballad
ช่วงปีพ.ศ. 2548 - 2553
ค่ายเพลงSony-bmg
สมาชิกBobo(2548-2553)
Nok (2548-2550)
Taya (2548-2553)
Gina(2548-2553)
Ammy(2548-2550)
Bell(2551-2553)
Muw(2551-2553)

วีนัสฟลายแทร็ป (อังกฤษ: Venus Flytrap) เป็นวงดนตรีสาวประเภท 2 มีสมาชิก 5 คน ภายใต้ชื่อบริษัท SONYBMG ชื่อวงตั้งตามชื่อภาษาอังกฤษของต้นกาบหอยแครง

สมาชิก[แก้]

ชุดที่ 1 (2548-2550)[แก้]

  • เพชรไพฑูรย์ เฮงรักเฮงรวย (โบโบ้ภ์)
  • ยลดา สวนยศ (นก)
  • มุกดารัศมิ์ เรืองรุ่งโรจน์ (ทาย่า)
  • ธัญนภัทร บุญชาลี (จีน่า)
  • รชกร เจริญสุข (แอมมี่)

ชุดที่ 2 (2551-2553)[แก้]

  • เพชรไพฑูรย์ เฮงรักเฮงรวย(โบโบ้ภ์)
  • มุกดารัศมิ์ เรืองรุ่งโรจน์ (ทาย่า)
  • ธัญนภัทร บุญชาลี (จีน่า)
  • นันทิตา ฆัมภิรานนท์ (เบลล์)
  • ณรินลดา ศรีเงิน (มิว)

การทำงานเริ่มแรก[แก้]

เป็นการคัดสรรสาวสวยประเภท 2 (Ladyboy Band) คาแร็คเตอร์ต่าง ๆ กัน เพื่อมาเป็นศิลปิน ทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกนอกจากจะมีบุคลิกที่แตกต่างกันแล้ว ยังจะต้องได้รับการฝึกผนทางด้านการร้อง การเต้น การพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อให้ได้ศิลปินคุณภาพสามารถร้องได้จริง เต้นได้จริง ใช้เสียงจริงในการทำงาน (Women Voice) ซึ่งยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน[ต้องการอ้างอิง] 5 ศิลปินนี้มาจากสถานที่ต่าง ๆ กัน ชีวิต และความเป็นอยู่ที่ต่างกัน และต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันเกือบตลอดเวลาของการทำงาน มีการสรรหา Producer ที่มาร่วมงานในชุดนี้ จากคนที่มีชื่อเสียงด้านการทำเพลงให้กับตลาด Pub ในเยอรมัน คือ “Marco Krismann” “Ingo Schoor”[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสมาชิกในวง และมีสองคนที่ลาออกจากวงไป คือ นก (เกริกก้อง สวนยศ) กับ แอมมี (รชกร เจริญสุข) [1] ในปี พ.ศ. 2550 ทางต้นสังกัดจึงได้จัดการประกวดค้นหาสมาชิกใหม่ ใช้ชื่อว่า Venus Flytrap : Search for the Missing Puzzle คัดเลือกจากผู้สมัครกว่า 200 คน เหลือ 12 คน และคัดออกเหลือ 2 คน คือ นันทิตา ฆัมภิรานนท์ (เบลล์) และพันธกานต์ ศรีเงิน (มิว) [2]

แนวเพลง[แก้]

งานเพลงเป็นเพลงประเภท Electronic, Pub, House, Clubbing, New Wave และ Ballad ซึ่ง เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีในสไตล์ยุโรป และเอเชีย เป็นแนวเพลงใหม่เรีกว่า “Nuable” Pop มาจาก Eurasian Pop sound คือปกติ Sound ดนตรีของยุโรปเมื่อมาใส่เนื้อร้องภาษาไทย จะขาดความผสมกลมกลืน และมักจะกลายเป็นทำนองในแบบเอเชีย ทำให้เสียรสชาติของเพลงสากลไป แต่สำหรับ แนวเพลงในแบบ “Nuable” นี้จะได้เนื้อร้องเอเชียในสไตล์สากล เนื้อหาของเพลงจะมีทั้งความสนุกสนาน ความเซ็กซี่เร้าร้อน ความหวาน และลึกซึ้งกินใจ เป็น Positive thinking หรือถ้าจะเรียกง่ายกว่านั้นก็มาแนว “Sexy Dance”[ต้องการอ้างอิง]

ผลงานอัลบั้ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]