ข้ามไปเนื้อหา

วิลเลียมส์เรซซิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์-เมอร์เซเดส
ชื่อเต็มแอตลัสเซียนวิลเลียมส์เรซซิง
ที่ตั้งโกรฟ ออกซฟอร์ดเชอร์ อังกฤษ
หัวหน้าทีมเจมส์ วาวส์
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคแพต ฟราย
ผู้ก่อตั้งแฟรงก์ วิลเลียมส์
แพทริก เฮด
เว็บไซต์www.williamsf1.com
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก 2025
นักขับ
แชสซีเอฟดับเบิลยู47[3]
เครื่องยนต์เมอร์เซเดส
ยางรถพีเรลลี่
สถิติการแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
แข่งครั้งแรกในฐานะทีมผู้เข้าร่วม:
สเปนิชกรังด์ปรีซ์ 1977
ในฐานะผู้ผลิต:
อาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1978
แข่งครั้งล่าสุดแคนาเดียนกรังด์ปรีซ์ 2025
เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะทีมผู้เข้าร่วม: 848 (ออกตัว 844)
ในฐานะผู้ผลิต: 837 (ออกตัว 836)
เครื่องยนต์
แชมป์ผู้ผลิต9 (1980, 1981, 1986, 1987, 1992, 1993, 1994, 1996, 1997)
แชมป์นักขับ7 (1980, 1982, 1987, 1992, 1993, 1996, 1997)
ชนะ114
โพเดียม313
คะแนน3686 (3692[a])
ตำแหน่งโพล128
รอบที่เร็วที่สุด133
อันดับในปี 20249 (17 คะแนน)

วิลเลียมส์เรซซิง (อังกฤษ: Williams Racing) หรือชื่อจดทะเบียนคือ วิลเลียมส์กรังด์ปรีซ์เอนจิเนียริง (อังกฤษ: Williams Grand Prix Engineering Limited) เป็นทีมและผู้ผลิตสัญชาติบริติชในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันฤดูกาลล่าสุดภายใต้ชื่อ แอตลัสเซียนวิลเลียมส์เรซซิง (อังกฤษ: Atlassian Williams Racing) ทีมก่อตั้งโดย แฟรงก์ วิลเลียมส์ และ แพทริก เฮด ในการแข่งขันฤดูกาล 1977 หลังจากการบริหารจัดการทีมก่อนหน้าของวิลเลียมส์คือ แฟรงก์ วิลเลียมส์เรซซิงคาส์ (หรือ วูลฟ์–วิลเลียมส์เรซซิงในฤดูกาล 1976) ไม่ประสบความสำเร็จ[4] ฐานการผลิตหลักของทีมตั้งอยู่ที่เมืองโกรฟ ในเทศมณฑลออกซฟอร์ดเชอร์[5]

ทีมเข้าร่วมการแข่งขันแรกที่สเปนิชกรังด์ปรีซ์ 1977 โดยใช้แชสซีที่ผลิตโดยมาร์ช เพื่อสนับสนุนนักขับ ปาทริก แนฟว์[6] วิลเลียมส์เริ่มผลิตรถเพื่อใช้แข่งขันเองในฤดูกาลถัดมา และได้รับชัยชนะแรกจาก เกลย์ เรกัซโซนี ในการแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1979[7] ทีมชนะการแข่งขันกรังด์ปรีซ์รายการที่ 100 จากชัยชนะของ ฌัก วีลเนิฟว์ ในการแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1997 ทำให้วิลเลียมส์เป็นหนึ่งในห้าทีมในฟอร์มูลาวันที่ชนะการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ 100 รายการ ร่วมกับแฟร์รารี แมกลาเรน เมอร์เซเดส และเรดบูลเรซซิง[8][9] วิลเลียมส์ได้รับตำแหน่งแชมป์ผู้ผลิตเก้าสมัย ในระหว่างฤดูกาล 1980 ถึง 1997 ซึ่งเป็นสถิติทีมผู้ผลิตที่ได้รับตำแหน่งแชมป์มากที่สุด จนกระทั่งแฟร์รารีได้รับตำแหน่งแชมป์สมัยที่สิบในฤดูกาล 2000[8][10]

นักแข่งที่มีชื่อเสียงดังต่อไปนี้เคยแข่งขันให้แก่วิลเลียมส์ ได้แก่ แอลัน โจนส์, การ์โลส เรวเตมัน, เกเก รูสแบริ, ไนเจล แมนเซลล์, แนลซง ปีเก, ริกการ์โด ปาเตรเซ, อาแล็ง พร็อสต์, เดมอน ฮิลล์, อาอีร์ตง เซนนา, เดวิด คูลทาร์ด, ฌัก วีลเนิฟว์, เจนสัน บัตทัน, ฆวน ปาโบล มอนโตยา, มาร์ก เว็บเบอร์, นีโค ร็อสแบร์ค, วัลต์เตริ โบตตัส และ ฟีลีปี มัสซา โดยนักแข่งเจ็ดคนจากทั้งหมดนี้ได้รับตำแหน่งแชมป์นักขับขณะอยู่กับทีม ได้แก่ โจนส์, รูสแบริ, แมนเซลล์, ปีเก, พร็อสต์, ฮิลล์ และวีลเนิฟว์ และจากนักขับทั้งหมดที่ได้รับตำแหน่งแชมป์นักขับ มีเพียงแค่ โจนส์, รูสแบริ และวีลเนิฟว์ แข่งขันต่อเพื่อป้องกันแชมป์ขณะที่อยู่กับทีม ปีเกย้ายไปอยู่กับโลตัสหลังจากเป็นแชมป์ฤดูกาล 1987 แมนเซลล์ออกจากฟอร์มูลาวันเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันแชมเปียนชิปออโตเรซซิงทีมส์หลังจากเป็นแชมป์ฤดูกาล 1992 พร็อสต์อําลาวงการแข่งรถหลังจากเป็นแชมป์ฤดูกาล 1993 และฮิลล์ย้ายไปอยู่กับแอร์โรส์หลังจากเป็นแชมป์ฤดูกาล 1996 วิลเลียมส์ยังไม่มีแชมป์นักขับคนใดที่ได้รับตำแหน่งแชมป์ต่อเนื่องกับทีมหลังจากพวกเขาได้แชมป์[11][12][13]

วิลเลียมส์ร่วมงานกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์จำนวนมาก และประสบความสำเร็จมากที่สุดกับเรอโนด้วยตำแหน่งแชมป์ผู้ผลิตห้าสมัยจากตำแหน่งแชมป์ทั้งหมดเก้าสมัยกับบริษัท[14] วิลเลียมส์เป็นหนึ่งในกลุ่มทีมผู้ผลิตร่วมกับแฟร์รารี แมกลาเรน เบเนตตอน และเรอโน ที่ได้รับตำแหน่งแชมป์ผู้ผลิตทุกสมัยตั้งแต่ฤดูกาล 1979 ถึง 2008 และตำแหน่งแชมป์นักขับทุกสมัยตั้งแต่ฤดูกาล 1984 ถึง 2008[12] ปัจจุบันวิลเลียมส์เป็นของบริษัทดอริลตันแคพิทัลที่เข้ามาซื้อทีมใน ค.ศ. 2020 จากแฟรงก์และ แคลร์ วิลเลียมส์ บุตรของเขา ซึ่งลงจากตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการทีมตามลำดับ[15][16] วิลเลียมส์ยังมีผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่นนอกเหนือจากฟอร์มูลาวัน โดยก่อตั้งบริษัทวิลเลียมส์แอดวานซ์เอนจิเนียริง (Williams Advanced Engineering) และ วิลเลียมส์ไฮบริดพาวเวอร์ (Williams Hybrid Power) เพื่อนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นสำหรับฟอร์มูลาวันโดดเฉพาะมาดัดแปลงให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ ทั้งสองธุรกิจได้ถูกขายให้กับบริษัทอื่น ก่อนจะก่อตั้งบริษัทอีกครั้งใน ค.ศ. 2024 ภายใต้ชื่อ วิลเลียมส์กรังด์ปรีซ์เทคโนโลยี (Williams Grand Prix Technologies; WGPT)[17]

สถิติการแข่งขัน

[แก้]

วิลเลียมส์มีสถิติการแข่งขันในฐานะทีมผู้ผลิตดังต่อไปนี้:

  • อัตราร้อยละของตำแหน่งแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตที่ได้รับ: 19.1%
  • อัตราร้อยละของตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับที่ได้รับ: 14.9%
  • อัตราร้อยละของการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ที่ชนะ: 13.6%
(ตัวเอียง หมายถึงการเข้าร่วมที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับทีม; ตัวหนา หมายถึงได้รับตำแหน่งแชมป์)
ฤดูกาล ชื่อทีม แชสซี เครื่องยนต์ ยางรถยนต์ หมาย
เลข
นักขับ คะแนน อันดับ
1977 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์กรังด์ปรีซ์เอนจิเนียริง มาร์ช 761 ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 G 27. ประเทศเบลเยียม ปาทริก แนฟว์
1978 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์กรังด์ปรีซ์เอนจิเนียริง เอฟดับเบิลยู06 ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 G 27. ประเทศออสเตรเลีย แอลัน โจนส์ 11 9
1979 สหราชอาณาจักร อัลบิลัด-เซาเดียเรซซิงทีม เอฟดับเบิลยู06
เอฟดับเบิลยู07
ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 G 27.
28.
ประเทศออสเตรเลีย แอลัน โจนส์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เกลย์ เรกัซโซนี
75 2
1980 สหราชอาณาจักร อัลบิลัดวิลเลียมส์เรซซิงทีม เอฟดับเบิลยู07
เอฟดับเบิลยู07บี
ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 G 27.
28.
ประเทศออสเตรเลีย แอลัน โจนส์
ประเทศอาร์เจนตินา การ์โลส เรวเตมัน
120 1
สหราชอาณาจักร แบรนส์แฮตช์เรซซิง 43. ประเทศแอฟริกาใต้ เดซีเรีย เวิลซอน
สหราชอาณาจักร อาร์เอเอ็ม – เพนต์เฮาส์รีลาเรซซิง
สหราชอาณาจักร อาร์เอเอ็ม – เรนโบว์จีนส์เรซซิง
สหราชอาณาจักร อาร์เอเอ็มทีโอดอร์ – เรนโบว์จีนส์เรซซิง
50.
51.
51.
สหราชอาณาจักร รูเพิร์ต คีแกน
สหรัฐอเมริกา เควิน โคแกน
สหราชอาณาจักร เจฟฟ์ ลีส์
1981 สหราชอาณาจักร อัลบิลัดวิลเลียมส์เรซซิงทีม เอฟดับเบิลยู07ซี ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 M
G
1.
2.
ประเทศออสเตรเลีย แอลัน โจนส์
ประเทศอาร์เจนตินา การ์โลส เรวเตมัน
95 1
สหราชอาณาจักร เตอาเฌวิลเลียมส์เรซซิงทีม
1982 สหราชอาณาจักร เตอาเฌวิลเลียมส์เรซซิงทีม เอฟดับเบิลยู07ซี
เอฟดับเบิลยู08
ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 G 5.
5.
5.
6.
ประเทศอาร์เจนตินา การ์โลส เรวเตมัน
สหรัฐอเมริกา มารีโอ อันเดรตตี
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เดริก เดลี
ประเทศฟินแลนด์ เกเก รูสแบริ
58 4
1983 สหราชอาณาจักร เตอาเฌวิลเลียมส์เรซซิงทีม เอฟดับเบิลยู08ซี ฟอร์ด-คอสเวิร์ท ดีเอฟวี 3.0 วี8 G 1.
2.
42.
ประเทศฟินแลนด์ เกเก รูสแบริ
ประเทศฝรั่งเศส ฌัก ลาฟิต
สหราชอาณาจักร โจนาทาน พาล์มเมอร์
36 4
เอฟดับเบิลยู09 ฮอนด้า อาร์เอ163อี 1.5 วี6 เทอร์โบ 2 11
1984 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์กรังด์ปรีซ์เอนจิเนียริง เอฟดับเบิลยู09
เอฟดับเบิลยู09บี
ฮอนด้า อาร์เอ163อี 1.5 วี6 เทอร์โบ
ฮอนด้า อาร์เอ164อี 1.5 วี6 เทอร์โบ
G 5.
6.
ประเทศฝรั่งเศส ฌัก ลาฟิต
ประเทศฟินแลนด์ เกเก รูสแบริ
25.5 6
1985 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์ฮอนด้าทีม เอฟดับเบิลยู10
เอฟดับเบิลยู10บี
ฮอนด้า อาร์เอ164อี 1.5 วี6 เทอร์โบ
ฮอนด้า อาร์เอ165อี 1.5 วี6 เทอร์โบ
G 5.
6.
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
ประเทศฟินแลนด์ เกเก รูสแบริ
71 3
1986 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์ฮอนด้าทีม เอฟดับเบิลยู11 ฮอนด้า อาร์เอ166อี 1.5 วี6 เทอร์โบ G 5.
6.
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
ประเทศบราซิล แนลซง ปีเก
141 1
1987 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์ฮอนด้าทีม เอฟดับเบิลยู11บี ฮอนด้า อาร์เอ167อี 1.5 วี6 เทอร์โบ G 5.
5.
6.
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
ประเทศอิตาลี ริกการ์โด ปาเตรเซ
ประเทศบราซิล แนลซง ปีเก
137 1
1988 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์ทีม เอฟดับเบิลยู12 จัดด์ ซีวี 3.5 วี8 G 5.
5.
5.
6.
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
สหราชอาณาจักร มาร์ติน บรันเดิล
ประเทศฝรั่งเศส ฌ็อง-ลูย ชแลเซ
ประเทศอิตาลี ริกการ์โด ปาเตรเซ
20 7
1989 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์ทีม เอฟดับเบิลยู12ซี
เอฟดับเบิลยู13
เรอโน อาร์เอส1 3.5 วี10 G 5.
6.
ประเทศเบลเยียม ตีแยรี บุตแซน
ประเทศอิตาลี ริกการ์โด ปาเตรเซ
77 2
1990 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์ทีม เอฟดับเบิลยู13บี เรอโน อาร์เอส2 3.5 วี10 G 5.
6.
ประเทศเบลเยียม ตีแยรี บุตแซน
ประเทศอิตาลี ริกการ์โด ปาเตรเซ
57 4
1991 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู14 เรอโน อาร์เอส3 3.5 วี10 G 5.
6.
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
ประเทศอิตาลี ริกการ์โด ปาเตรเซ
125 2
1992 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู14บี เรอโน อาร์เอส3ซี 3.5 วี10
เรอโน อาร์เอส4 3.5 วี10
G 5.
6.
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
ประเทศอิตาลี ริกการ์โด ปาเตรเซ
164 1
1993 สหราชอาณาจักร แคนนอนวิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู15ซี เรอโน อาร์เอส5 3.5 วี10 G 0.
2.
สหราชอาณาจักร เดมอน ฮิลล์
ประเทศฝรั่งเศส อาแล็ง พร็อสต์
168 1
1994 สหราชอาณาจักร รอทมันส์วิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู16
เอฟดับเบิลยู16บี
เรอโน อาร์เอส6 3.5 วี10 G 0.
2.
2.
2.
สหราชอาณาจักร เดมอน ฮิลล์
ประเทศบราซิล อาอีร์ตง เซนนา
สหราชอาณาจักร เดวิด คูลทาร์ด
สหราชอาณาจักร ไนเจล แมนเซลล์
118 1
1995 สหราชอาณาจักร รอทมันส์วิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู17
เอฟดับเบิลยู17บี
เรอโน อาร์เอส7 3.0 วี10 G 5.
6.
สหราชอาณาจักร เดมอน ฮิลล์
สหราชอาณาจักร เดวิด คูลทาร์ด
112 2
1996 สหราชอาณาจักร รอทมันส์วิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู18 เรอโน อาร์เอส8 3.0 วี10 G 5.
6.
สหราชอาณาจักร เดมอน ฮิลล์
ประเทศแคนาดา ฌัก วีลเนิฟว์
175 1
1997 สหราชอาณาจักร รอทมันส์วิลเลียมส์เรอโน เอฟดับเบิลยู19 เรอโน อาร์เอส9 3.0 วี10 G 3.
4.
ประเทศแคนาดา ฌัก วีลเนิฟว์
ประเทศเยอรมนี ไฮนทซ์-ฮารัลท์ เฟรนท์เซิน
123 1
1998 สหราชอาณาจักร วินฟีลด์วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู20 เมกาโครม จีซี37-01 3.0 วี10 G 1.
2.
ประเทศแคนาดา ฌัก วีลเนิฟว์
ประเทศเยอรมนี ไฮนทซ์-ฮารัลท์ เฟรนท์เซิน
38 3
1999 สหราชอาณาจักร วินฟีลด์วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู21 ซูเปอร์เทค เอฟบี01 3.0 วี10 B 5.
6.
ประเทศอิตาลี อาเลสซันโดร ซานาร์ดี
ประเทศเยอรมนี รัล์ฟ ชูมัคเคอร์
35 5
2000 สหราชอาณาจักร บีเอ็มดับเบิลยูวิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู22 บีเอ็มดับเบิลยู อี41 3.0 วี10 B 9.
10.
ประเทศเยอรมนี รัล์ฟ ชูมัคเคอร์
สหราชอาณาจักร เจนสัน บัตทัน
36 3
2001 สหราชอาณาจักร บีเอ็มดับเบิลยูวิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู23 บีเอ็มดับเบิลยู พี80 3.0 วี10 M 5.
6.
ประเทศเยอรมนี รัล์ฟ ชูมัคเคอร์
ประเทศโคลอมเบีย ฆวน ปาโบล มอนโตยา
80 3
2002 สหราชอาณาจักร บีเอ็มดับเบิลยูวิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู24 บีเอ็มดับเบิลยู พี82 3.0 วี10 M 5.
6.
ประเทศเยอรมนี รัล์ฟ ชูมัคเคอร์
ประเทศโคลอมเบีย ฆวน ปาโบล มอนโตยา
92 2
2003 สหราชอาณาจักร บีเอ็มดับเบิลยูวิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู25 บีเอ็มดับเบิลยู พี83 3.0 วี10 M 3.
4.
4.
ประเทศโคลอมเบีย ฆวน ปาโบล มอนโตยา
ประเทศเยอรมนี รัล์ฟ ชูมัคเคอร์
ประเทศสเปน มาร์ก เฌเน
144 2
2004 สหราชอาณาจักร บีเอ็มดับเบิลยูวิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู26 บีเอ็มดับเบิลยู พี84 3.0 วี10 M 3.
4.
4.
4.
ประเทศโคลอมเบีย ฆวน ปาโบล มอนโตยา
ประเทศเยอรมนี รัล์ฟ ชูมัคเคอร์
ประเทศสเปน มาร์ก เฌเน
ประเทศบราซิล อังโตนีอู ปิซโซเนีย
88 4
2005 สหราชอาณาจักร บีเอ็มดับเบิลยูวิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู27 บีเอ็มดับเบิลยู พี84/5 3.0 วี10 M 7.
8.
8.
ประเทศออสเตรเลีย มาร์ก เว็บเบอร์
ประเทศเยอรมนี นิค ไฮท์เฟ็ลท์
ประเทศบราซิล อังโตนีอู ปิซโซเนีย
66 5
2006 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู28 คอสเวิร์ท ซีเอ2006 2.4 วี8 B 9.
10.
ประเทศออสเตรเลีย มาร์ก เว็บเบอร์
ประเทศเยอรมนี นีโค ร็อสแบร์ค
11 8
2007 สหราชอาณาจักร เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู29 โตโยต้า อาร์วีเอกซ์-07 2.4 วี8 B 16.
17.
17.
ประเทศเยอรมนี นีโค ร็อสแบร์ค
ประเทศออสเตรีย อเล็คซันเดอร์ ววทซ์
ประเทศญี่ปุ่น คาซูกิ นากาจิมะ
33 4
2008 สหราชอาณาจักร เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู30 โตโยต้า อาร์วีเอกซ์-08 2.4 วี8 B 7.
8.
ประเทศเยอรมนี นีโค ร็อสแบร์ค
ประเทศญี่ปุ่น คาซูกิ นากาจิมะ
26 8
2009 สหราชอาณาจักร เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู31 โตโยต้า อาร์วีเอกซ์-09 2.4 วี8 B 16.
17.
ประเทศเยอรมนี นีโค ร็อสแบร์ค
ประเทศญี่ปุ่น คาซูกิ นากาจิมะ
34.5 7
2010 สหราชอาณาจักร เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู32 คอสเวิร์ท ซีเอ2010 2.4 วี8 B 9.
10.
ประเทศบราซิล รูเบงซ์ บาร์รีแกลู
ประเทศเยอรมนี นีโค ฮึลเคินแบร์ค
69 6
2011 สหราชอาณาจักร เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู33 คอสเวิร์ท ซีเอ2011เค 2.4 วี8 P 11.
12.
ประเทศบราซิล รูเบงซ์ บาร์รีแกลู
ประเทศเวเนซุเอลา ปัสตอร์ มัลโดนาโด
5 9
2012 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู34 เรอโน อาร์เอส27-2012 2.4 วี8 P 18.
19.
ประเทศเวเนซุเอลา ปัสตอร์ มัลโดนาโด
ประเทศบราซิล บรูนู เซนนา
76 8
2013 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เอฟวันทีม เอฟดับเบิลยู35 เรอโน อาร์เอส27-2013 2.4 วี8 P 16.
17.
ประเทศเวเนซุเอลา ปัสตอร์ มัลโดนาโด
ประเทศฟินแลนด์ วัลต์เตริ โบตตัส
5 9
2014 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง เอฟดับเบิลยู36 เมอร์เซเดส พียู106เอ ไฮบริด 1.6 วี6 เทอร์โบ P 19.
77.
ประเทศบราซิล ฟีลีปี มัสซา
ประเทศฟินแลนด์ วัลต์เตริ โบตตัส
320 3
2015 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง เอฟดับเบิลยู37 เมอร์เซเดส พียู106บี ไฮบริด 1.6 วี6 เทอร์โบ P 19.
77.
ประเทศบราซิล ฟีลีปี มัสซา
ประเทศฟินแลนด์ วัลต์เตริ โบตตัส
257 3
2016 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง เอฟดับเบิลยู38 เมอร์เซเดส พียู106ซี ไฮบริด 1.6 วี6 เทอร์โบ P 19.
77.
ประเทศบราซิล ฟีลีปี มัสซา
ประเทศฟินแลนด์ วัลต์เตริ โบตตัส
138 5
2017 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง เอฟดับเบิลยู40 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม08 อีคิว พาวเวอร์+ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 18.
19.
40.
ประเทศแคนาดา แลนซ์ สโตรลล์
ประเทศบราซิล ฟีลีปี มัสซา
สหราชอาณาจักร พอล ดี เรสตา
83 5
2018 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง เอฟดับเบิลยู41 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม09 อีคิว พาวเวอร์+ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 18.
35.
ประเทศแคนาดา แลนซ์ สโตรลล์
ประเทศรัสเซีย เซียร์เกย์ ซีรอตกิน
7 10
2019 สหราชอาณาจักร โรคิตวิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู42 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม10 อีคิว พาวเวอร์+ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 63.
88.
สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์
ประเทศโปแลนด์ รอแบร์ต กูบิตซา
1 10
2020 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู43 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม11 อีคิว เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 6.
63.
89.
ประเทศแคนาดา นิโคลัส ลาตีฟี
สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์
สหราชอาณาจักร แจ็ก เอตกิน
0 10
2021 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู43บี เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม12 อี เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 6.
63.
ประเทศแคนาดา นิโคลัส ลาตีฟี
สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์
23 8
2022 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู44 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม13 อี เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 6.
23.
45.
ประเทศแคนาดา นิโคลัส ลาตีฟี
ประเทศไทย อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
ประเทศเนเธอร์แลนด์ นิก เดอ ฟรีส
8 10
2023 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู45 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม14 อี เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 2.
23.
สหรัฐอเมริกา โลแกน ซาร์เจนต์
ประเทศไทย อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
28 7
2024 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู46 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม15 อี เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 2.
23.
43.
สหรัฐอเมริกา โลแกน ซาร์เจนต์
ประเทศไทย อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
ประเทศอาร์เจนตินา ฟรังโก โกลาปินโต
17 9
2025 สหราชอาณาจักร แอตลัสเซียนวิลเลียมส์เรซซิง เอฟดับเบิลยู47 เมอร์เซเดส เอฟ1 เอ็ม16 อี เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ P 23.
55.
ประเทศไทย อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
ประเทศสเปน การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์
55* 5*
แหล่งที่มา:[18]
หมายเหตุ
  • * ฤดูกาลกำลังดำเนินอยู่

แชมป์โลกประเภทนักขับ

[แก้]

นักขับต่อไปนี้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกฟอร์มูลาวันประเภทนักขับให้แก่วิลเลียมส์:[13]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. คะแนนที่เพิ่มเติมมา 6 แต้ม เป็นคะแนนของ เดวิด คูลทาร์ด จากการแข่งขันบราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ 1995 ซึ่งไม่ถูกนับรวมเป็นคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตของฤดูกาล 1995 ให้แก่ทีม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cleeren, Filip (5 February 2024). "Albon tied to Williams until the end of F1 2025, clarifies Vowles". Motor Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2024. สืบค้นเมื่อ 9 February 2024.
  2. "Sainz signs for Williams as Spaniard's F1 future is confirmed". Formula One. 29 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2024. สืบค้นเมื่อ 29 July 2024.
  3. "Williams Racing is pleased to announce a new multi-year partnership with Santander that will begin in 2025". Williams Racing. 9 December 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
  4. "Constructors: Williams F1". Grandprix.com. Inside F1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2025. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  5. Thompson, Neil (14 September 2016). "Moving the Factory from Didcot to Grove". The Williams Grand Prix Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2021. สืบค้นเมื่อ 21 October 2024.
  6. "Williams Grand Prix Engineering – 1977 results". The Formula One DataBase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2006.
  7. Hooper, Andrew (20 May 2002). "WilliamsF1 History 77-88 - Building a winning team". SportNetwork.net. Durham Associates Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2012. สืบค้นเมื่อ 13 July 2006.
  8. 8.0 8.1 Hooper, Andrew (20 May 2002). "WilliamsF1 History 96-2000 The Nineties". SportNetwork.net. Durham Associates Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2012. สืบค้นเมื่อ 13 July 2006.
  9. Walsh, Fergal (19 June 2023). "Where F1 teams claimed their 100th grand prix win". Motorsport Week. Motorsport Media Services. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2024. สืบค้นเมื่อ 29 March 2024.
  10. "Statistics Constructors: World Champion titles by number". Stats F1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2024. สืบค้นเมื่อ 19 May 2024.
  11. "Williams – Drivers". StatsF1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 8 May 2025.
  12. 12.0 12.1 Diepraam, Mattijs (3 November 2019). "European & World Champions". 6th Gear. Forix 8W. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
  13. 13.0 13.1 "Hall of Fame – the World Champions". Formula One.
    • "Alan Jones". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
    • "Nelson Piquet". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
    • "Keke Rosberg". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
    • "Alain Prost". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
    • "Nigel Mansell". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
    • "Damon Hill". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
    • "Jacques Villeneuve". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
  14. "Renault and F1" (PDF). Renault. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 January 2012. สืบค้นเมื่อ 17 October 2011.
  15. "Williams family to step aside from running of the team after Italian GP". Formula One. 3 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020.
  16. Buxton, Will; Barretto, Lawrence (3 September 2020). "Williams Family Steps Back From F1: What Does The Future Hold?". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-25. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020 – โดยทาง YouTube.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  17. "Williams launches new company to solve clients' engineering challenges with F1-derived innovation and pedigree". Chamois Consulting. 11 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2024. สืบค้นเมื่อ 8 May 2024.
  18. "Williams – Grands Prix started". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]