ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:การสร้างและใช้ไฟล์สื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกรีนแคสต์ที่พาชมวิธีอัปโหลดไฟล์สู่วิกิมีเดียคอมมอนส์และเพิ่มเข้าบทความวิกิพีเดีย

ไฟล์ภาพ เสียงและวิดีทัศน์ต้องอัปโหลดสู่วิกิพีเดียโดยใช้ลิงก์ "อัปโหลดไฟล์" บนแถบนำทางซ้ายมือ เฉพาะผู้อัปโหลดเท่านั้นที่สามารถอัพโหลดไฟล์ได้ เมื่ออัปโหลดไฟล์แล้ว จะสามารถใส่หรือลิงก์ไปยังไฟล์นั้นจากหน้าอื่นได้ ไฟล์ที่อัปโหลดแล้ว ระบบจะให้คำขึ้นต้น "ไฟล์:" และทุกฝ่ายมีหน้าคำบรรยายภาพ

กรุณาพิจารณาอัปโหลดเนื้อหาสัญญาอนุญาตเสรีไปยังวิกิมีเดียคอมมอนส์ แทนวิกิพีเดีย เพื่อให้ไฟล์นั้นสามารถใช้ได้ในทุกโครงการของวิกิมีเดีย ไฟล์จากวิกิมีเดียคอมมอนส์ใช้วากยสัมพันธ์เดียวกันกับที่อธิบายไว้ด้านล่าง โดยไม่มีขั้นตอนเพิ่มเติม ขนาดสูงสุดของไฟล์ที่อัปโหลดได้คือ 100 เมกะไบต์ ประเภทไฟล์ที่อนุญาตให้อัปโหลดได้มีดังนี้ png, gif, jpg/jpeg, xcf, pdf, mid, ogg/ogv/oga, svg, djvu ส่วนไฟล์ประเภทอื่นห้ามอัปโหลดด้วยเหตุผลด้นความปลอดภัย และ pdf และ djvu นั้นตั้งใจไว้สำหรับโครงการอย่างวิกิซอร์ซเป็นหลัก

หากคุณต้องการใส่ลิงก์ไปหน้าคำบรรยายไฟล์ในบทความ ให้ใส่เครื่องหมายทวิภาค (:) หนึ่งตัวนำหน้า เช่น "[[:ไฟล์:ชื่อหน้า" หากคุณพิมพ์ "[[สื่อ:ชื่อหน้า]]" จะสร้างลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์สื่อนั้น ชือหน้าสามารถมีประเภทไฟล์ได้ เช่น ชื่อหน้า.jpg

อักขระพิเศษและคณิตศาสตร์

[แก้]

ไม่จำเป็นต้องอัปโหลดภาพเพื่อใช้อักขระพิเศษ หรือแม้แต่นิพจน์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน

วิกิพีเดียใช้ระเบียบวิธีการเข้ารหัส UTF-8 ซึ่งหมายความว่า อักขระยูนิโคด ใด ๆ สามารถกรอกได้โดยตรงและควรกรอกด้วย ดูรายละเอียดและคำอธิบายที่ m:Help:Special characters (คุณยังสามารถใช้เอนทิตี SGML สำหรับอักขระบางตัวเช่น & amp; สำหรับ & หรือ é สำหรับ é)

สำหรับสูตรคณิตศาสตร์ วิกิพีเดียใช้มาร์กอัพ TeX สำหรับคำอธิบายและคำชี้แจง ดู m:Help:Formula

ไฟล์ข้อความ

[แก้]

กรุณาอย่าอัปโหลดข้อความธรรมดา (.txt), ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (.doc) หรือไฟล์ข้อความในรูปแบบอื่น กรุณาเริ่มหน้าใหม่และป้อนข้อความโดยใช้การจัดรูปแบบวิกิมาตรฐานแทน กรุณาอย่าเทข้อความเข้ามาในวิกิพีเดียยกเว้นคุณเขียนเอง หรือคุณทราบว่าข้อความนั้นผ่านข้อกำหนดสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์อันเข้มงวดของโครงการ

ในกรณีที่พบน้อย มีการอัปโหลดไฟล์เอชทีเอ็มแอล เพื่อเป็นการทดสอบหรือสาธิต

บางครั้งมีการอัปโหลด PDF เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ดี PDF ส่วนใหญ่ควรแปลงเป็นข้อความวิกิ เอกสารต้นฉบับควรอัปโหลดไปยังวิกิซอร์ซแทน

ภาพ

[แก้]

ขั้นตอนแรกในการใช้ภาพหรือไฟล์สื่ออื่นคือการอัปโหลดไปยังวิกิมีเดียคอมมอนส์ แต่ด้วยเหตุผลด้านกฎหมาย บางไฟล์จะต้องอัปโหลดสู่วิกิพีเดียภาษาไทยแทน วิกิพีเดีย:อัพโหลด ช่วยให้คุณเลือกระหว่างตัวเลือกเหล่านี้

ภาพสามารถแสดงผลโดยตรงในหน้าวิกิพีเดีย

รูปแบบที่ต้องการคือ JPEG สำหรับภาพถ่ายและ Scalable Vector Graphics (SVG) สำหรับภาพวาด หรือจะใช้ PNG ก็ได้ แนะนำกราฟิกแบบเวกเตอร์เพื่อแรสเตอร์กราฟิกส์สำหรับภาพวาด เพราะสามารถปรับขนาดได้ตามต้องการโดยไม่สูญเสียสารสนเทศ และสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า

การใช้ภาพ

[แก้]

พิมพ์ "[[ไฟล์:ชื่อไฟล์|alt=ข้อความทางเลือก|ข้อความชื่อเรื่อง]]" เมื่อคุณต้องการแสดงไฟล์ภาพโดยตรง ในกรณีส่วนใหญ่รูปขนาดย่อมีประโยชน์มากกว่า ให้ใส่รหัสดังนี้ " [[ไฟล์:ชื่อไฟล์|thumb|alt=ข้อความทางเลือก|ข้อความชื่อเรื่อง]] " ดูสารสนเทศเพิ่มเติมที่ วิธีใช้:ภาพ

ดูเพิ่ม

เสียง

[แก้]

วิกิพีเดียใช้รูปแบบ Ogg Vorbis, FLAC และ WAV สำหรับเสียงเนื่องจากไม่มีสิทธิบัตรติดพัน (เป็นปัญหาซึ่งทำให้เกิดการวินิจฉัยในปี 2547 ว่าจะไม่เก็บไฟล์เอ็มพี3 ไว้บนวิกิพีเดีย[1]) นับแต่นั้นสิทธิบัตรเอ็มพี3 หมดอายุและทีมกฎหมายของวิกิมีเดียอนุญาตให้อัปโหลดไฟล์ดังกล่าวตามความจำเป็นโดยชุมชนและวิกิมีเดีย[2]

มีซอฟต์แวร์ที่รองรับ Vorbis อยู่หลายแพลตฟอร์ม มอซิลลา ไฟร์ฟ็อกซ์ 4, โอเปรา 10.5 และ กูเกิล โครม 3 และรุ่นใหม่กว่านั้นรองรับไฟล์ Ogg Vorbis สำหรับเครื่องเล่นมัลติมีเดีย Winamp สามารถใช้เล่นไฟล์ Ogg Vorbis ได้ ถึงแม้ว่า iTunes จะไม่รองรับ Vorbis ด้วยตัวเอง แต่ Xiph.Org มีส่วนประกอบ QuickTime ที่สามารถใช้กับผู้เล่นที่ใช้ QuickTime เช่น iTunes ทั้งบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์และแมคโอเอส มีตัวกรอง DirectShow เพื่อถอดรหัส Vorbis ในเครื่องเล่นมัลติมีเดีย เช่น Windows Media Player และอื่น ๆ ที่รองรับ DirectShow

ซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์สำหรับเสียง มีดังนี้

  • สำหรับการแก้ไขเสียง Audacity เป็นโปรแกรมบันทึก/แก้ไขเสียงฟรีคุณภาพสูงสำหรับวินโดวส์ แม็กอินทอช ลินุกซ์ และระบบเหมือนยูนิกซ์อื่น ๆ
  • Sweep เป็นโปรแกรมแก้ไขเสียงฟรีอีกตัวที่สามารถใช้ในสภาพแวดล้อมลีนุกซ์
  • สำหรับการเข้ารหัส Ogg Vorbis แนะนำให้คุณใช้ตัวเข้ารหัสที่ Hydrogenaudio แนะนำเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด oggenc (ข้ามแพลตฟอร์ม) เป็นตัวเข้ารหัสบรรทัดคำสั่ง ในขณะที่ OggDropXPd (เฉพาะวินโดวส์) เป็น GUI ที่ใช้งานง่ายสำหรับการเข้ารหัส Ogg Vorbis
  • โปรแกรมแปลงดนตรี dBpowerAMP (ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์เฉพาะวินโดวส์) มี GUI ที่สะดวกสำหรับการแปลงรหัสระหว่างโคเดกเสียงส่วนใหญ่รวมถึง Ogg Vorbis ด้านตัวเข้ารหัส Vorbis ต้องดาวน์โหลดแยกจากซอฟต์แวร์ แต่ไม่เสียค่าใช้จ่ายและเข้าถึงได้จากเว็บไซต์เดียวกัน
  • วิธีที่ง่ายที่สุดในการเล่นไฟล์ Ogg Vorbis บนเครื่องแมกอินทอช (โอเอส 9 และรุ่นก่อนหน้า) คือการใช้ JustOgg

สถานีเชื่อมโยง Vorbis Software Players ที่ xiph.org wiki มีรายการทันสมัยของซอฟต์แวร์ที่รองรับ Vorbis สำหรับทุกระบบปฏิบัติการ อผู้ใช้สามารถทดสอบโปรแกรมเหล่านี้โดยใช้รายการสตรีมเสียง Vorbis ซึ่งอยู่ที่ [1]

การใช้เสียง

[แก้]

การใช้งานที่ดีที่สุดคือใช้ แม่แบบ:ฟัง ดูคำบรรยายในรายละเอียดในหน้าแ่แบบ สำหรับการใช้โดยทั่วไปแสดงรายการไว้ที่นี่

{{listen|filename=ชื่อไฟล์.ogg |title=ชื่อเรื่อง |description=คำบรรยาย}}

ตัวอย่าง

{{listen |filename=Accordion chords-01.ogg |title=คอร์ดแอ็กคอร์เดียน |description=ขณะกำลังเล่นคอร์ดบนแอ็กคอร์เดียน }}

มีแม่แบบเสียงอื่นอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้สำหรับการสาธิตการออกเสียงภาษาต่างประเทศหรือคำที่เคลือบคลุมเป็นหลัก อย่าง {{audio-IPA}} เมื่อเพิ่มไฟล์เสียงลงในบทความ ให้เลี่ยงการใช้แม่แบบที่ลิงก์ไปยังไฟล์เสียงดิบ เพราะซ่อนสารสนเทศสัญญาอนุญาตที่สำคัญซึ่งให้ผู้อ่านดูชื่อผู้สร้างและอัปโหลดไฟล์ แหล่งที่มาและสัญญาอนุญาตที่เผยแพร่

รายการบทความเสียง

[แก้]

สารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์เสียง

[แก้]

วีดีทัศน์

[แก้]

วิกิพีเดียใช้ WebM และ Ogg Theora สำหรับวิดทัศน์เนื่องจากเป็นโอเพนซอร์ซและไม่มีค่าสิทธิ์ ด้าวยเหตุว่ารูปแบบภาพยนตร์/เสียงยอดนิยมมีสิทธิบัตรและต้องเสียค่าสิทธิ จึงไม่มีโปรแกรมแปลงวิดีทัศน์อเนกประสงค์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ดู หน้าวิธีใช้การแปลงวิดีโอ Theora ของวิกิมีเดียคอมมอนส์

ข้อจำกัดและปัญหาการนำไปใช้

[แก้]

ซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์

[แก้]
  • สำหรับวิดีทัศน์ ffmpeg2theora [2] [3] เป็นตัวเข้ารหัสบรรทัดคำสั่งที่สามารถแปลงไฟล์รูปแบบต่าง ๆ (.mov, .mpg, .mpeg, .avi) ให้เป็น Ogg Theora โปรแกรมทำงานบนวินโดวส์, แมคอินทอช และลีนุกซ์/ยูนิกซ์
  • คุณยังสามารถใช้แอปพลิเคชัน encoder_example ที่มาพร้อมกับ libtheora ร่วมกับโปรแกรมอย่าง MPlayer [4] ที่สามารถทิ้งวิดีโอและเสียงดิบ (yuv4mpeg) ให้เข้ารหัสใน Ogg Theor ไดเa
  • http://programmer-art.org/projects/arista-transcoder และ http://www.linuxrising.org/transmageddon/ เป็นตัวแปลงสัญญาณกราฟิกส์สำหรับยูนิกซ์ / ลีนุกซ์
  • มี Kdenlive, OpenShot และโปรแกรมวิดีทัศน์อื่น ๆ สำหรับลีนุกซ์ที่สามารถแก้ไขวิดีทัษน์ Theora และ WebM
  • สามารถใช้ ตัวกรอง directshow เข้ารหัส Ogg Theora โดยใช้ GraphEdit [5] [ลิงก์เสีย]
  • วิกิ Xiph.org มีรายการโปรแกรมเข้ารหัสซอฟต์แวร์ Theora
  • handbrake เป็น transcoder (GPL'd) ฟรีสำหรับวินโดวส์ แมคและลีนุกซ์
  • Adobe Premiere Pro และ Adobe Creative Suite สามารถส่งออกวิดีทัศน์โดยตรงในรูปแบบ WebM โดยใช้ปลั๊กอิน fnordware ฟรี (Win/Mac)

การใช้งานวิดีทัศน์

[แก้]

การฝังตัววิดีทัศน์

[แก้]
Television clip of Buzz descending the ladder and stepping onto the moon.

วิธีง่ายที่สุดในการฝังตัววิดีทัศน์ลงในบทความโดยตรงคือการใช้ป้ายระบุ [[ไฟล์:]] เหมือนกับไฟล์ภาพ ผลลัพธ์อยู่ด้านขวา

[[File:A11v 1094228.ogv |thumb |200px |alt=A spacesuited astronaut slowly climbs down a ladder on a complicated metal structure, and then hops the last step onto a bright terrain. |Television clip of Buzz descending the ladder and stepping onto the moon. ]]

การตั้งค่าภาพขนาดย่อของวิดีทัศน์

[แก้]

โดยปริยายจะใช้เฟรมจากจุดกึ่งกลางของวิดีทัศน์เป็นภาพนิ่งแรกสุด หากต้องการใช้เฟรมอื่น ให้ใช้ตัวแปรเสริม thumbtime ตัวอย่างเช่น

[[File:Bombers of WW1.ogg |thumbtime=3 |thumb |200px |alt=World War I era biplanes on bombing runs, captioned "Captain 'Eddie' Rickenbacker, American 'Ace of Aces,' over the lines – looking for a scrap." then "Bombing the German lines." |"Bombers of WW1" with a still from 3 seconds]]

ระบุเวลาหน่วยเป็นวินาที หรือใช้ทวิาภาคเพื่อแยกชั่วโมง นาทีและวินาที

"Bombers of WW1" ที่ใช้ภาพนิ่งจากจุดกึ่งกลาง
"Bombers of WW1" ที่ใช้ภาพนิ่ง ณ เวลา 3 วินาที

แฟรกเมนต์สื่อตามเวลา

[แก้]
เริ่มที่ 5 วินาทีและสิ้นสุดเพลย์แบ็กที่ 7 วินาที

อนุญาตให้รหัสที่ฝังตัวเพื่ออ้างอิงส่วนของสตรีมวิดีทัศน์หรือตั้งเวลาเริ่ม ลากเมาส์เหนือโปรแกรมเล่นเพื่อดูเวลาเริ่มที่แสดงรายการไว้เป็น 5 วินาที และสังเกตว่ามันหยุดเพลย์แบ็กที่ 7 วินาที

[[File:Weeding.ogv|thumb|300px|start=5|end=7|เริ่มที่ 5 วินาทีและสิ้นสุดเพลย์แบ็กที่ 7 วินาที]]

นอกจากนี้ยังสามารถใช้รูปแบบ MM:SS หรือ HH:MM:SS สำหรับการเริ่มต้นและสิ้นสุด

หมายเหตุ: ยังไม่รองรับในซาฟารีและอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์

การเชื่อมโยงไปวิดีทัศน์

[แก้]

มีลิงก์ไปวิดีทัศน์สองประเภท

  • ไฟล์ – ในการสร้างลิงก์ไปหน้าคำบรรยายไฟล์ของวิดีทัศน์
    • ใช้ [[:ไฟล์:Time Lapse of New York City.ogv]]
    • ในการทำให้ข้อความของลิงก์ไปหน้าคำบรรยายไฟล์ของวิดีทัศน์ปรากฏเป็นข้อความอื่นนอกเหนือจากชื่อไฟล์ของวิดีทัศน์ ให้ใช้ [[:ไฟล์:Time Lapse of New York City.ogv|ข้อความอื่นที่จะให้ปรากฏ]]
  • สื่อ – ในการสร้างลิงก์ที่ดาวน์โหลดวิดีทัศน์
    • ใช้ [[สื่อ:Time Lapse of New York City.ogv]] หรือใช้ [[:สื่อ:Time Lapse of New York City.ogv]]
    • ในการทำให้ข้อความของลิงก์ที่ดาวน์โหลดวิดีทัศน์ปรากฏเป็นข้อความอื่นนอกเหนือจากชื่อไฟล์ของวิดีทัศน์ ให้ใช้ [[สื่อ:Time Lapse of New York City.ogv|ข้อความอื่นที่จะให้ปรากฏ]] หรือใช้ [[:สื่อ:Time Lapse of New York City.ogv|ข้อความอื่นที่จะให้ปรากฏ]]

ดูเพิ่ม

การย้ายไฟล์ไปคอมมอนส์

[แก้]

มีการอัปโหลดไฟล์จำนวนมากเข้าสู่วิกิพีเดีย ปัจจุบันกำลังมีโครงการระยะยาวเพื่อย้ายไฟล์เนื้อหาเสรี รวมทั้งภาพและเสียง ไปยังวิกิมีเดียคอมมอนส์ คอมมอนส์เป็นตำแหน่งศูนย์กลางสำหรับไฟล์เพื่อใช้ในทุกโครงการของมูลนิธิวิกิมีเดีย

คอมมอนส์มีนโยบายจำกัดต่อปัญหาลิขสิทธิ์ยิ่งกว่าวิกิพีเดียภาษาไทย ตัวอย่างเช่น ภาพที่ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบไม่สามารถเก็บไว้บนคอมมอนส์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "[WikiEN-l] Should MP3 files be allowed on wikipedia - Current ongoing discussion". WikiEN-l mailing list. 2004-07-17. สืบค้นเมื่อ 2017-11-27.
  2. "T120288 Enable MP3 uploads on Wikimedia Commons and TMH playback". 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-27.