ข้ามไปเนื้อหา

วิทยุติดตามตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยุติดตามตัวรุ่นต่าง ๆ

วิทยุติดตามตัว หรือ เพจเจอร์ (อังกฤษ: pager) (ราชบัณฑิตยสถาน: วิทยุเรียกตัว, วิทยุตามตัว) เป็นเครื่องมือทางโทรคมนาคมส่วนตัวอย่างง่าย สำหรับการส่งข้อความสั้น ๆ โดยรับข้อความทางเดียว กับจำนวนข้อความที่จำกัด อย่างเช่นหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ จนถึงทั้งตัวอักษรและตัวเลข และเพจเจอร์ 2 ทาง คือสามารถส่งและรับอีเมล การส่งข้อความตัวและและการส่งเอสเอ็มเอส[1] [2] โดยการส่งข้อความไม่สามารถที่จะส่งได้ทันทีทันใด แต่ต้องโทรศัพท์ไปยังโอเปอร์เรเตอร์เพื่อบอกให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความที่ต้องการและส่งต่อให้อีกทอดหนึ่ง โดยแจ้งหมายเลขประจำเครื่องของผู้รับ

ปัจจุบัน เพจเจอร์โดยมากใช้สำหรับการสนับสนุนการส่งข้อความในยามวิกฤต เนื่องจากความน่าเชื่อถือ และสามารถส่งข้อความถึงอุปกรณ์เป็นกลุ่มได้ ไม่เหมือนกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ในยามฉุกเฉินหรือหายนะจะประสบปัญหาการใช้เครือข่ายเกินพิกัดจนใช้การไม่ได้ อย่างเช่นในเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ด้วยเหตุผลนี้ทำให้เพจเจอร์ยังคงได้รับความนิยมในหมู่ของเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริการสารสนเทศหรืออยู่ในระบบคอมพิวเตอร์มือถือ


เพจเจอร์ในไทย

[แก้]

เพจเจอร์หรือวิทยุตามตัวเริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2544 โดยบริษัทแปซิฟิก

โดยเทเลซิส เป็นผู้ให้บริการรายแรก ภายใต้ ชื่อ “แพคลิงก์” ซึ่งได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยต่อมาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้ให้สัมปทานแก่เอกชนรายอื่น เริ่มจาก “โฟนลิงก์” ของกลุ่มชินคอร์ป ตามมาด้วย “ฮัทชิสัน” ซึ่งเป็นการร่วม ทุนระหว่างฮัทชิสันวัมเปาและล็อกซเล่ย์ ที่เปิดให้บริการในเวลาไล่เลี่ยกัน หลังจากนั้นมีกลุ่มเลนโซ่และกลุ่มยูคอม [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://searchmobilecomputing.techtarget.com/sDefinition/0,,sid40_gci212739,00.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-10-29.
  3. เพจเจอร์..ตำนานที่ยังไม่ตาย