วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
คณะพยาบาลศาสตร์
สถาบันพระบรมราชชนก
Boromarajonani College of Nursing Nopparat Vajira
สถาปนา2 มกราคม พ.ศ. 2455
สังกัดการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
ผู้อำนวยการนางพเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ
ที่อยู่
สี███ สีเหลืองราชพฤกษ์
เว็บไซต์www.bcnnv.ac.th

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ เป็นวิทยาลัยในสังกัด คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระเคยเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1]

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมตึกและสิ่งก่อสร้างจากเอกชนเพื่อจัดทำเป็นโรงพยาบาลนามว่า “วชิรพยาบาล” และทรงมอบให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลเป็นผู้ปกปักษ์รักษา หน่วยงานราชการและประชาชนนิยมเรียกว่า “โรงพยาบาลวชิระ” ต่อมา เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2496วชิรพยาบาล” อยู่ในความดูแลของกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย นับเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยมาก โดยเฉพาะทางด้านสูติกรรม พ.ศ. 2470ได้เปิดการอบรมหมอตำแยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยอบรมเป็นงวดๆละ 20 คน ระยะเวลาการอบรมงวดละ 3 สัปดาห์ เมื่อเสร็จการอบรมแล้วได้ส่งกลับภูมิลำเนาเดิมให้ช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับการคลอดบุตรต่อไปเพื่อลดอัตราการตายจากการคลอดบุตรให้น้อยลง คำว่า ”หมอตำแย” เรียกตามชื่อครูผู้หนึ่งที่สอนวิชานี้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ การเรียกชื่อเช่นนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูผู้เป็นเจ้าของตำรา

ในพ.ศ. 2472 สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ หลังจากเสด็จนิวัติกลับพระนคร ได้ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาลได้อย่างครบครันทางด้านการศึกษา ได้ทรงเน้นว่าวชิรพยาบาลควรเป็นศูนย์กลางการศึกษาของกรมสาธารณสุข โดยมีโรงเรียนอบรมหมอตำแยและโรงเรียนพยาบาลที่เข้ามาตรฐานรวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมของผู้สำเร็จวิชาแพทย์ เพื่อเตรียมตัวไปปฏิบัติงานสาธารณสุขและกำหนดให้หัวหน้าพยาบาลต้องปกครองโรงเรียนผดุงครรภ์ด้วย สำหรับพยาบาลให้เพิ่มพยาบาลหญิงให้มากขึ้น ลดพยาบาลชายให้เหลือแต่ในหน่วยกามโรคเท่านั้น พ.ศ. 2474 กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งโรงเรียนอบรมผดุงครรภ์ชั้นสองขึ้นในวชิรพยาบาล นับเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อเปิดรับได้กำหนดจำนวน นักเรียนไว้ปีละ 20 คน ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี เมื่อจบแล้วได้ประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ชั้น 2ผู้เข้าอบรมเป็นผู้คัดเลือกส่งมาจากอำเภอต่างๆทั่วประเทศ เมื่อจบการศึกษาแล้ว กรมสาธารณสุขได้จัดส่งภูมิลำเนาเดิมเพื่อช่วยการคลอดบุตร และมารดาทารกสงเคราะห์ ตลอดจนงานสาธารณสุขอื่นๆที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคต่าง เช่น การปลูกฝี และการฉีดวัคซีนเซรุ่ม เป็นต้นนับว่าประชาชนที่อยู่ในชนบทได้เพิ่มความปลอดภัยในเรื่องเหล่านี้ดีขึ้นเป็นอันมาก

ต่อมาวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนสิทธิและกิจการของวชิรพยาบาลกรมสาธารณสุขมาอยู่ในความดูแลของเทศบาลกรุงเทพฯ และข้าราชการที่ทำงานอยู่ในวชิรพยาบาลก็ยังเป็นข้าราชการกรมสาธารณสุขไปตามเดิม จนถึง พ.ศ. 2498 วชิรพยาบาลมีฐานะเป็นกอง ๆ หนึ่งในส่วนราชการเทศบาลนครกรุงเทพฯ อย่างแท้จริงและได้พัฒนาเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับส่วนของโรงเรียนอบรมผดุงครรภ์ชั้น 2 ยังคงสังกัดกรมสาธารณสุขเช่นเดิม พ.ศ. 2478-2481 การอบรมผดุงครรภ์ในระยะนี้มีอุปสรรคบางประการจึงต้องหยุดชะงักการอบรมลงเป็นระยะเวลา 4 ปี จนถึง พ.ศ. 2482 จึงได้เปิดการอบรมขึ้นอีกครั้งหนึ่งเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา คุณสมบัติผู้เขัศึกษา ระเบียบข้อบังคับและการปกครองเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น พ.ศ. 2485 ทางราชการได้ปรับโครงสร้างให้กรมสาธารณสุขเป็นกระทรวงสาธารณสุข และได้จัดตั้งวชิรพยาบาลเข้าในทำเนียบของกรมการแพทย์ด้วย จนถึงพ.ศ. 2498 ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่อีกกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตัดวชิรพยาบาลออกจากทะเบียนของกรมการแพทย์รวมทั้งมีคำสั่งย้ายข้าราชการที่ทำงานอยู่ในวชิระทั้งหมดเข้าประจำกรมการแพทย์แต่ตัวบุคคลยังคงปฏิบัติงานอยู่ในวชิระเช่นเดิม ส่วนโรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 ยังคงสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเช่นเดิมตราบจนปัจจุบันนี้

พ.ศ. 2494 การศึกษายังคงใช้หลักสูตรชั้น 2 แต่ปรับระยะเวลา 1 ปี เป็น 1 ปี 6 เดือนและรับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 โรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 อยู่ในสังกัดกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2497 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ แห่งที่ 1 ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เดิมชื่อ “โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล” หลักสูตร 3 ปี 6 เดือน รับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลของวชิรพยาบาล พ.ศ. 2508 โรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 ใช้หลักสูตรผดุงครรภ์อนามัย และใช้ชื่อสถานศึกษาว่า “โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ” สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ตั้งยังคงอยู่ ในวชิรพยาบาลเช่นเดิม พ.ศ. 2511 วชิรพยาบาลต้องการขยายอาคาร จึงได้ขอให้โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัยย้ายออกไปอยู่บริเวณด้านหลังฝั่งตรงข้ามถนนกับโรงพยาบาลฯ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2526 โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) ระยะเวลา 2 ปี รับผู้สำเร็จ ม.ศ. 5 พ.ศ. 2530 โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ระดับต้น) และในวันที่ 8 กรกฎาคม 2530ได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น “วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ วชิระ” สังกัดศูนย์สงเสริมสุขภาพ เขต 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2537 วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ วชิระ ได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น โดยความเห็นชอบของทบวงมหาวิทยาลัยและสภาการพยาบาลมีนักศึกษารุ่นที่96 จำนวน 100 คน ซึ่งเข้าศึกษาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537

การไปอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ” ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2539[2]

วิทยาลัยได้ดำเนินการเพื่อขอเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อประสาทปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีมติรับเป็นสถาบันสบทบ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2546 (พรก. เล่ม 120 ตอนที่ 35 ก. ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2546)โดยมีสีภู่ประจำวิทยาลัยคือ สีเหลืองดอกราชพฤกษ์

จนกระทั่งะในปี พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดชสยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสถาบันพระบรมราชชนกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 ขึ้นไว้และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนที่ 43 ก เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 ให้สถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้สถาบันพระบรมราชชนกสามารถออกปริญญาเองได้ จึงได้ยุติการสมทบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไปใช้หลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (เปิดการเรียนการสอนแล้ว)

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

  • สาขาพยาบาลศาสตร์

(ยังไม่เปิดการเรียน-การสอน)

(ยังไม่เปิดการเรียน-การสอน)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. http://www.bcnnv.com/?p=6 เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ