คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Maha Sarakham University
ตราสิงห์สารคาม
สัญลักษณ์ประจำคณะ
สถาปนา1กรกฎาคม พ.ศ. 2557
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคร คัยนันทน์
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
สี  สีแดงชาติ
มาสคอต
ตราสิงห์สารคาม
เว็บไซต์pspa.rmu.ac.th

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Political Science and Public Administration) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ในสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

ประวัติ[แก้]

เดิมมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเปิดสอนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ และสาขาวิชารัฐศาสตร์ ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองรับผิดชอบในสาขารัฐประศาสนศาสตร์และสาขาวิชานิติศาสตร์ ส่วนภาควิชาสังคมวิทยารับผิดชอบสาขาวิชารัฐศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูมหาสารคามยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองจึงเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) และภาควิชาสังคมวิทยาได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาชุมชน) ต่อมา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองได้เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (นิติศาสตร์) เป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2543 หลังจากการการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ขึ้น โดยหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์รับผิดชอบหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์รับผิดชอบหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ส่วนหลักสูตรสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนรับผิดชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาชุมชน) ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต[1]

เนื่องจากหลักสูตรสาขาทั้ง 3 สาขาเป็นหลักสูตรวิชาชีพและกึ่งวิชาชีพ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน รวมทั้งรองรับความเติบโตของหน่วยงาน จึงมีการรวมหลักสูตรสาขาวิชาทั้ง 3 หลักสูตรเพื่อยกฐานะขึ้นเป็นหน่วยงาน เรียกว่า วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (College of Law and Government - CLG) มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งได้รับการอนุมัติจัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้เปลี่ยนชื่อ "วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง" เป็น "คณะนิติศาสตร์" ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ได้มีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามให้แยกสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ออกจากคณะนิติศาสตร์ แล้วจัดตั้งเป็น คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ขึ้นมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป

อัตลักษณ์คณะ[แก้]

  • สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ประจำคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้แก่ "สิงห์สารคาม" โดย "สิงห์" หมายถึง ผู้ปกครองดั่งราชสีห์ ผู้เป็นจ้าวแห่งป่า และ "สารคาม" หมายถึง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

  • สีประจำคณะ

  สีแดงชาติ หมายถึง สีแห่งเลือดเนื้อและจิตวิญญาณ

  • ดอกไม้ประจำคณะ

อาคารสถานที่[แก้]

  • คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ตั้งอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (อาคาร 15 ชั้น) ชั้นที่ 9-15
    • ชั้นที่ 9-10 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
    • ชั้นที่ 9-10 สาขาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา (หลักสูตร WIL)
    • ชั้นที่ 11-12 สาขาวิชารัฐศาสตร์
    • ชั้นที่ 13 ชุมนุมรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
    • ชั้นที่ 14 ชุมนุมรัฐศาสตร์
    • ชั้นที่ 15 สำนักงานคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานและหลักสูตร[แก้]

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยแบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปริญญาบัณฑิต
ปริญญามหาบัณฑิต
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา (หลักสูตร WIL)

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

หลักสูตรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.)

  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ลำดับ
ผู้ดำรงตำแหน่ง
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
อาจารย์ประจำสาขา
หมายเหตุ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา เจริญศิริ 20 กรกฎาคม 2557 – 2558 รัฐประศาสนศาสตร์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ผู้รักษาราชการแทน
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพาพร ยุภาศ 2558- 24 กันยายน 2561 รัฐประศาสนศาสตร์
3. รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร 25 กันยายน 2561 – 31 กันยายน 2565 รัฐประศาสนศาสตร์
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคร คัยนันทน์ 1 ตุลาคม 2565 – ปัจจุบัน รัฐประศาสนศาสตร์

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีเป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะรับตำแหน่ง

รายนามคณาจารย์[แก้]

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

จำนวน 11 ท่าน ดังนี้

รายนามคณาจารย์
ตำแหน่งอื่น
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุภาพร ยุภาศ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุธินี อัตรถากร
  • ประธานหลักสูตร รป.บ.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ปริญญาตรี)
  • รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภักดี โพธิ์สิงห์
  • ประธานหลักสูตร รป.ด.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ปริญญาเอก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคร คัยนันทน์
  • คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวเรศ หลุดพา
  • รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและประกันคุณภาพ
ดร.สัญญา เคณาภูมิ
  • ประธานหลักสูตร รป.ม.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ปริญญาโท)
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ดร.สิริกัญญา เสติ
  • ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวางแผนและประกันคุณภาพ
ดร.อนุชา ลาวงค์
อาจารย์ธีรพจน์ ภูริโสภณ
อาจารย์พิชิต เปลี่ยนขำ
  • ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา

สาขาวิชารัฐศาสตร์[แก้]

จำนวน 7 ท่าน ดังนี้

รายนามคณาจารย์
ตำแหน่งอื่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพงษ์ ทองจันทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียานุช วัฒนกูล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ร.บ. รัฐศาสตร์ (ปริญญาตรี)
ดร.มนัสวิน จิตตานนท์ รองคณบดี ฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
อาจารย์วาสนา บรรลือหาญ
อาจารย์สิทธานต์ ดีล้น
อาจารย์สาวิตรี ชุ่มจันทร์ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
อาจารย์อาภาภรณ์ จวนสาง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา (หลักสูตร WIL)[แก้]

จำนวน 11 ท่าน ดังนี้

รายนามคณาจารย์
ตำแหน่งอื่น
รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ นิกรวิทยา
รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร ปรีเอียม
  • ประธานหลักสูตร ปร.ด.นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ปริญญาเอก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ เกียรติเจริญ
ดร.วัชรินทร์ สุทธิศัย
  • ประธานหลักสูตร รป.บ.สาขาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา (ปริญญาตรี)
ดร.สิทธิพรร์ สุนทร
  • ประธานหลักสูตร รป.ม.การจัดการภาครัฐและเอกชน (ปริญญาโท)
  • ประธานหลักสูตร รป.ด.การจัดการภาครัฐและเอกชน (ปริญญาเอก)
ดร.รังสรรค์ อินจันทร์
ดร.ภัทรภร จ่ายเพ็ง
ดร.ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย
  • ประธานหลักสูตร ศศ.ม.นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ปริญญาโท)
ดร.กุลประภัสสร์ รำพึ่งจิตต์
อาจารย์สดใส ธรรมรัตน์
อาจารย์ธัณฏิกานต์ คำวิเศษธนธรณ์

กิจกรรมและองค์กรนักศึกษา[แก้]

องค์กรนักศึกษา

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีองค์กรนักศึกษา ดังนี้

ชื่อองค์กรนักศึกษา
คณะ/สาขา
  • สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  • ชุมนุมรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
  • ชุมนุมรัฐศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์
  • ชุมนุมรัฐประศาสนศาสตร์การบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา
สาขาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา (WIL)

กิจกรรมและการสัมมนาระหว่างมหาวิทยาลัย[แก้]

สิงห์อีสานสัมพันธ์[แก้]

เป็นกิจกรรมที่มี นักศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ทั่วภาคอีสาน

สิงห์ตักสิลาสัมพันธ์[แก้]

เป็นกิจกรรมการสัมมนาและแข่งขันกีฬา ระหว่าง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กับ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ จัดครั้งแรกในปี 2560 ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สิงห์สัญจรร้อยแก่นสารสินธุ์[แก้]

เป็นกิจกรรมการสัมมนา ระหว่างมหาวิทยาลัย ในเขต จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ จัดครั้งแรกในปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]