วิกเตอร์ แอมโบรส
วิกเตอร์ แอมโบรส | |
---|---|
เกิด | ฮันนอเวอร์ รัฐนิวแฮมป์เชอร์ สหรัฐ | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1953
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ (BS, PhD) |
มีชื่อเสียงจาก | การค้นพบไมโครอาร์เอ็นเอ |
รางวัล | |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ชีววิทยา |
สถาบันที่ทำงาน | ศูนย์วิจัยมะเร็ง เอ็มไอที (1975–1976) เอ็มไอที (1976–1979) มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด (1985–1992) วิทยาลัยดาร์ตมัธ (1992–2001) วิทยาลัยแพทยศาสตร์ดาร์ตมัธ (2001–2007) วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตส์ (2008–) |
วิทยานิพนธ์ | พันธะโคเวเลนต์โปรตีนที่เชื่อมกับปลาย 5 ไพรม์ของอาร์เอ็นเอไวรัสโปลิโอ (The protein covalently linked to the 5'-end of poliovirus RNA) (1979) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | เดวิด บอลทีมอร์ |
เว็บไซต์ | umassmed |
วิกเตอร์ อาร์. แอมโบรส (อังกฤษ: Victor R. Ambros, เกิด 1 ธันวาคม 1953) เป็นนักชีววิทยาพัฒนาการชาวอเมริกัน ผู้รับรางวัลโนเบล ผู้ค้นพบไมโครอาร์เอ็นเอ (miRNA) เป็นครั้งแรก ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์ประจำอยู่ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตส์ จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 2024 จากผลงานการวิจัยเกี่ยวกับไมโครอาร์เอ็นเอ[1]
ในปี 1993 แอมโบรสและคณะซึ่งรวมถึงโรซาลินด์ ลี และ รอนดา ไฟน์เบาม์ ตีพิมพ์รายงานในวารสาร เซลล์[2] ประกาศการค้นพบโมเลกุลอาร์เอ็นเอควบคุมการเขียนรหัสที่ไม่ใช่โปรตีน แบบสายเดี่ยว (single-stranded non-protein-coding regulatory RNA) ในสิ่งมีชีวิต C. elegans ในงานวิจัยชิ้นก่อนหน้า[3][4] เขาพบว่ายีนที่ชื่อว่า lin-4 มีความสำคัญในการพัฒนาตัวอ่อนปกติของ C. elegans (เนมาโทดที่นิยมศึกษาเป็นสิ่งมีบีวิตต้นแบบ) ยีน lin-4 มีหน้าที่ในการกดอย่างก้าวกระโดด (progressive repression) ของโปรตีน LIN-14 ระหว่างการเจริญเป็นตัวอ่อนของเนมาโทดนี้ โดยเนมาโทดที่มีความผิดปกติบกพร่องจากการกลายพันธุ์ของยีน lin-4 จะปรากฏมีระดับของ LIN-14 สูงอยู่ตลอด และมีความผิดปกติในการเจริญเติบโต
แอมโยรสแบะคณะพบว่า lin-4 ไม่ได้เอ็นโคด (encode) โปรตีนควบคุม (regulatory protein) แต่กลับสร้างโมเลกุลอาร์เอ็นเอขนาดเล็กบางส่วนที่ขนาด 22 และ 61 นิวคลีโอไทด์ (nucleotides) แอมโบรสเรียกว่าเป็น lin-4S (short) และ lin-4L (long) ตามลำดับ การวิเคราะห์ลำดับ (Sequence analysis) พบว่า lin-4S เป็นส่วนหนึ่งของ lin-4L โดย lin-4L มีการนำยายว่ายะสร้างโครงสร้างรูปสเต็มลูป (stem-loop structure) โดยที่ lin-4S มีแขน 5' ในบรรดาหลายแขนที่มี นอกขากนี้ แอมโบรสกับแกรี รูฟคูน (มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด) ค้นพบว่า lin-4S มีส่วนส่งเสริมบางส่วน (partially complementary) ต่อลำดับ (sequences) หลายลำดับในพื้นที่ 3' ที่ยังไม่ได้แปล (untranslated region) บนเอ็มอาร์เอ็นเอที่มีหน้าที่เอ็นโคดโปรตีน LIN-14[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2024". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 7, 2024.
- ↑ Lee, R. C.; Feinbaum, R. L.; Ambros, V. (1993). "The C. Elegans heterochronic gene lin-4 encodes small RNAs with antisense complementarity to lin-14". Cell. 75 (5): 843–854. doi:10.1016/0092-8674(93)90529-Y. PMID 8252621.
- ↑ Chalfie, M.; Horvitz, H. R.; Sulston, J. E. (1981). "Mutations that lead to reiterations in the cell lineages of C. Elegans". Cell. 24 (1): 59–69. doi:10.1016/0092-8674(81)90501-8. PMID 7237544. S2CID 33933388.
- ↑ Ambros, V. (1989). "A hierarchy of regulatory genes controls a larva-to-adult developmental switch in C. Elegans". Cell. 57 (1): 49–57. doi:10.1016/0092-8674(89)90171-2. PMID 2702689. S2CID 13103224.
- ↑ Wightman, B.; Ha, I.; Ruvkun, G. (1993). "Posttranscriptional regulation of the heterochronic gene lin-14 by lin-4 mediates temporal pattern formation in C. Elegans". Cell. 75 (5): 855–862. doi:10.1016/0092-8674(93)90530-4. PMID 8252622.