วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ถูกเสนอเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2550 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เสนอชื่อ Patiwat 23:18, 25 เมษายน 2007

สนับสนุนให้เป็นบทความคุณภาพ (ไม่ต้องปรับปรุงแล้ว)
  1. Lerdsuwa 17:31, 25 เมษายน 2007 (UTC)
  2. Paru ~パル~ 03:37, 30 เมษายน 2007 (UTC)
  3. bact' 02:03, 1 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • ขอดูเรื่องข้อมูลขัดแย้งก่อนนะครับ -- bact' 15:24, 16 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  4. -- ปู้ใจ้:Tmd | อู้จา 04:32, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
สนับสนุนให้เป็นบทความคุณภาพ (หลังจากปรับปรุงแล้ว)
  1. --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:10, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  2. kinkkuananas 11:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  3. Oh~my goDnesS 14:42, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC) โดยรวมแล้วบทความมีความสมบูรณ์ค่อนข้างดีครับ ถ้าจะมีปัญหานิดหน่อยก็คือเรื่องข้อมูลเมื่อแรกบรรพชาเท่านั้น เดี๋ยวผมจะลองตรวจสอบไปยังวัดสระเกศอีกที อนึ่งผมได้ทำการแก้ไขการใช้ถ้อยคำและราชาศัพท์เล็กน้อย โดยพลการ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับน่าจะปรับแก้เฉพาะส่วนที่ข้อมูลยังหาข้อยุติไม่ได้ และยังขัดแย้ง นอกนั้นสมบูรณ์ดี โหวตให้ครับ
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. วิกิลิงก์แดงเป็นจำนวนมาก --Tmd 21:20, 29 เมษายน 2007 (UTC)
    • แก้ไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะ สมณศักดิ์ และระดับการศึกษาต่างๆ ที่เหลือก็มีแต่ลิงก์เกี่ยวกับพระครู Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:35, 30 เมษายน 2007 (UTC)
      • แก้ให้ไม่แดงแล้วก็จริง แต่มีบางวิกิลิงก์บางอันเช่น เปรียญธรรม 5 ประโยค เปลี่ยนทางไปที่ ประโยค ซึ่งใช้ไม่ได้ เดี๋ยวผมจะช่วยแก้และเติมในส่วนนี้ให้ ^_^--Tmd 18:13, 3 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  2. คำศัพท์ ช่วยตรวจคำศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ด้วยครับ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดคำศัพท์ของพระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสำหรับพระสงฆ์ปกติ อย่างที่เห็นคร่าว ๆ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชจะใช้ประชวรครับ ไม่ใช่ทรงอาพาธนะครับ ยังไงรบกวนช่วย ๆ กันตรวจสอบดูจุดอื่น ๆ ด้วยครับ
    • แก้แล้วครับ สำหรับสมเด็จพระสังฆราช. ในเมื่อสมเด็จเกี่ยวเป็นแค่ รักษาการแทนพระสังฆราช และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ก็คงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:36, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
      • ผมได้ช่วยแก้ ทรงอาพาธ เป็น ประชวรให้บางจุดที่ยังเหลือแล้วนะคับ สำหรับสมเด็จเกี่ยวนั้น ไม่ใช่พระสังฆราช คงใช้คำราชาศัพท์ไม่ได้แน่นอนครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:08, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  3. การเขียนเชิงเรซูเม ในบทความนี้มีหัวข้อหลัก 5 หัวข้อ แต่ 3 หัวข้อ คือ สมณศักดิ์ งานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ และ ผลงานด้านหนังสือ นั้น มีรูปแบบการเขียนในเชิงเรซูเม ซึ่งเห็นว่ากำลังเป็นที่อภิปรายกันอยู่ว่าเหมาะสมที่จะเอามาเขียนในวิกิพีเดียหรือเปล่า โดยสามารถเข้าร่วมอภิปรายได้ที่ คุยเรื่องแม่แบบ:เรซูเม ซึ่งเท่าที่ได้ติดตามมานั้น ได้มีการลบข้อความที่เขียนในเชิงเรซูเมออกบางส่วนแล้ว โดยถ้าบทความนี้ได้รับการพิจารณาเป็นบทความคุณภาพ จะทำให้เป็นการยอมรับการเขียนในรูปแบบเรซูเมไปโดยปริยาย ดังนั้น ผมจึงคิดว่าเราน่าจะร่วมกันพิจารณาดูว่าเราจะยอมรับการเชิงเรซูเมหรือเปล่าก่อนจะดีมากกว่านะครับ
    • แก้แล้วสำหรับผลงานด้านหนังสือ กำลังจะแก้สำหรับส่วนอื่นๆ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 20:10, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • แก้แล้วครับ สำหรับงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ส่วนสมณศักดิ์ คิดว่าเป็น bullet point จะดีกว่า เพราะมีอยู่ไม่กี่ ลำดับ และการเป็น bullet จะช่วยให้เห็นว่าได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง สมณศักดิ์ แต่ละประเภทในปีใหน (ช่วยเื่รื่องการเปรียบเทียบความอาวุโส). Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:12, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
      • สำหรับสณศักดิ์ คงไว้แบบนี้ก็ได้ครับ เห็นด้วยนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:34, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  4. เชิงอรรถ บทความนี้มีศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยอยู่บางส่วนที่อาจจะทำให้อ่านไม่เข้าใจสำหรับคนทั่วไป นั่นคือ อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำเป็นเชิงอรรถอธิบายว่ามันคืออะไร และมีข้อแตกต่างจาก "อาวุโสโดยพรรษา" ยังไงนะครับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับคำพวกนี้นะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:08, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • แก้แล้วครับ โดยอธิบายความสำคัญของวิธีการนับความอาวุโส. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:08, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  5. ข้อมูลขัดแย้งกับอ้างอิง
    • การบวชเป็นสามเณร เห็นที่ใส่อ้างอิงมากล่าวว่าบวชเป็นสามเณรเมื่อ "วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 ที่วัดสว่างอารมณ์ " ซึ่งสมเด็จเกี่ยวเกิดแต่ในบทความเขียนว่า "เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง " อย่างไรก็ตาม เมื่อตามมาดูอ้างอิงอันที่ 2 กลับระบุว่า " เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง " ข้อมูลตรงนี้ขัดแย้งกันอยู่นะครับ ยังไงรบกวนตรวจสอบหน่อยนะครับ ว่าอันไหนเป็นอันถูกต้องและน่าเชื่อถือกว่า
      • เจอแหล่งอ้างอิงที่สาม จากนสพ.มติชนรายวัน และแหล่งอ้างอิงที่สี่ จากนสพ.มติชนรายวัน เช่นกัน (คนละบทความ) ระบุตรงกับ dhammathai.org ว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2484 (อายุ 13 ปี 3 เดือน) ดังนั้นผมจะแก้ตามแหล่งอ้างอิงเสียงข้างมาก (ถ้าเสียงข้างมาก ผิดช่วยบอกด้วย) ส่วนที่เหลือ ก็แก้ไปเพื่อความคงเส้นคงวา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:33, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
        • อันนี้ผมก็ไม่ทราบอ่ะครับว่าอันไหนผิดอันไหนถูกอะครับ ผมไม่ค่อยทราบเรื่องของสมเด็จเกี่ยวมากนัก แต่ที่ผมเห็นนั้น คือ แหล่งข้อมูล 3 แหล่ง(รวมที่คุณ Patiwat กรุณาหามาเพิ่ม) ซึ่งมันค่อนข้างที่จะแตกต่างกันอย่างมาก ได้แก่
          1. เวปธรรมะไทย ระบุว่า สมเด็จเกี่ยวเกิดเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 บวชเป็นสามเณรเมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489ี่วัดสว่างอารมณ์สรุปคือ บวชเมื่ออายุ 18 ปี โดยมีอธิการพัฒน์เจ้าอาวาสวัดภูเขาทองเป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชที่วัดสว่างอารมณ์
          2. เวปจากมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี ระบุว่า บวชเมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง
          3. เวปมติชน (ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะนับรวมเป็น 1 หรือเปล่า เพราะมาจากแหล่งเดียวกันนะครับ ข้อมูลอาจจะเหมือนกัน) ระบุว่า บรรพชาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ มีเจ้าอธิการพัฒน์ วัดสว่างอารมณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สรุปคือ บวชเมื่ออายุ 13 ปี ที่วัดสว่างอารมณ์ โดยมี อธิการพัฒน์ วัดสว่างอารมณ์ บรรพชาให้
        • ดังนั้น จึงมีประเด็นคือ บรรพชาเมื่อไหร่กันแน่ และพระอธิการพัฒน์ นี่ตกลงอยู่วัดไหน วิธีแก้ ผมว่าน่าจะหาอ้างอิงมาอีก 1 ที่ไม่ใช่จากเวปทั้ง 3 แห่งมายืนยันเพิ่มนะครับ อ้อ อย่าลืมใส่แหล่งข้อมูลอ้างอิงไว้ด้วยครับ ที่จริงบทความนี้ผมยังตรวจสอบได้ไม่ครบ เดี๋ยวถ้าตรวจเพิ่มแล้วจะมาช่วยปรับปรุงอีกนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:06, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • รายละเอียดว่า พระอธิการพัฒน์ อยู่วัดใหน ผมว่าเอาออกดีกว่า เพราำะหลวงพ่อพัฒน์ มีความเกี่ยวพันกับวัดมากกว่าหนึ่งวัดในสุราษฎร์ธานี. ส่วนเรื่องการหาแหล่งอ้างอิงอื่น กำลังค้นอยู่ครับ. ป.ล. เรื่องนี้ก็ทำให้ปวดหัวเหมือนกัน แต่ก็ำพยายามนึกอยู่ว่าวิกิพีเดียเน้นความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ มากกว่าความเป็นจริง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 20:43, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
4. เวปสยามรัฐ ระบุว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 ที่วัดสว่างอารมณ์ มีอธิการพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทองเป็นพระอุปัชฌาย์ (ตรงกับเวปธรรมะไทย)
5. เวปวัดสระเกศฯเอง ระบุว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ (ตรงกับเวปมติชน)

ให้เปรียบเทียบง่ายๆ

แหล่งอ้ิางอิง บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ บรรพชาเป็นสามเณร ที่ พระอุปัชฌาย์
วัดสระเกศฯ 6 มิถุนายน พ.ศ.2484 (อายุ 13 ปี) วัดสว่างอารมณ์ (ไม่ระบุ)
นสพ.มติชน 6 มิถุนายน พ.ศ.2484 (อายุ 13 ปี) วัดสว่างอารมณ์ เจ้าอธิการพัฒน์ วัดสว่างอารมณ์
มหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี อายุ 12 ปี วัดภูเขาทอง (ไม่ระบุ)
ธรรมะไทย 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 (อายุ 18 ปี) วัดสว่างอารมณ์ เจ้าอธิการพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง
นสพ.สยามรัฐ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 (อายุ 18 ปี) วัดสว่างอารมณ์ เจ้าอธิการพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง
  • ผมว่าตอนนี้มี 3 ทางเลือกกับสภาพ ราโชมอน ที่เห็นกัน
  1. ไม่ระบุว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ บรรพชาเป็นสามเณร ปีใหนวัดใหน
  2. ระบุว่า บรรพชาเป็นสามเณร ปีใหนวัดใหน โดยอ้างแหล่งอิงอิงเพียงชุดเดียว จะเป็น เวปวัดสระเกศฯ/มติชน หรือ เวปสยามรัฐ/ธรรมะไทย หรือ เวปจากมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ได้ ผมไม่อยากชั่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอ้างอิงเหล่านี้ (เพราะน่าเชื่อถือหมด)
  3. ระบุทั้งข้อมูลทั้งหมด โดย บอกให้ชัดเจนว่า ข้อมูลใหนมาจากอ้างอิงใหน
  • ผมว่าทางเลือกที่ 3 น่าจะตรงหลักวิกิพีเดียมากกว่า. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:31, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • ต้องขอชี้แจงนิดหนึ่งนะครับ ที่มาของปัญหานี้ คือ การเขียนบทความอย่างหนึ่ง แล้วใส่อ้างอิงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเขียนตรงกับที่ได้อ้างอิงมาก็คงไม่ต้องมานั่งปวดสมองกันนะครับ สำหรับผมแล้วถ้าลองพิจารณาดูเวปธรรมะไทยและสยามรัฐนั้น ข้อมูล copy กันมา ดังนั้น จึงนับเป็น 1 อันก็พอ เช่นเดียวกันกับเวปมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีและเวปวัดสระเกศ ที่ข้อมูลเหมือนจะ copy กันมาเช่นกัน ส่วนตัวผมชอบที่จะอ้างอิงเวปที่เกี่ยวข้องกับบทความมากที่สุด (ขอเลือกข้อ 2 นะครับ) ผมคิดว่าเวปวัดสระเกศเกี่ยวโดยตรงกับสมเด็จเกี่ยวมากที่สุดครับ เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ แล้วอาจจะซ่อนข้อความ <!--มีการอภิปรายเรื่องนี้ ๆ อยู่ที่หน้าพูดคุย -->เพื่อป้องกันการแก้ข้อมูลในกรณีแหล่งอ้างอิงไม่ตรงกัน จะได้เปิดโอกาสให้คนอื่นที่รู้กว่าเรามาพูดคุยกันด้วยในตัว ส่วนพระอุปัชฌาย์นั้น ก้ระบุเพียงเจ้าอธิการพัฒน์เป็นผู้บรรพชาให้ก็พอ นอกนั้นไม่ต้องก็ได้มังครับ เพราะไม่น่าจะทำให้บทความเสียหายอะไร บรรพชาที่วัดสว่างอารมณ์ค่อนข้างจะแน่นอนละครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:30, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • เห็นด้วยกับท่าน ScorpianPK ครับ ข้อมูลของวัดสระเกศเอง ดูจะมีความถูกต้องของข้อมูลและน่าเชื่อถือมากที่สุด กว่าข้อมูลภายนอกวัด -- ปู้ใจ้:Tmd | อู้จา 05:04, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
โดยส่วนตัวลองเปิดข้อมูลดูแล้ว (ยกเว้นเว็บมหาวิทยาลัยฯที่้เปิดไม่ได้) ออกจะให้น้ำหนักกับเว็บของวัดมากกว่านิดหน่อย แต่ก็ไม่มีความรู้้เรื่องนี้ ถ้าเกิดว่ามีข้อมูลใดที่ถูกต้องหรือมีความแน่นอน น่าเชื่ิอถือกว่า ก็อาจจะระบุไปข้อมูลเดียว แตุ่ถ้ืาไม่แน่นอน วิธีที่สามก็น่าจะตรงกับหลักวิกิพีเดียอย่างที่คุณ Patiwat ว่า (ไม่ต้องตัดสินใจ ให้ผู้อ่านชั่งน้ำหนักเอง) kinkkuananas 08:00, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
โดยรวมผมให้น้ำหนักข้อมูลจากของวัดมากกว่าครับ เพราะน่าจะเป็นแหล่งของข้อมูลต้นทาง ที่บทความอื่นๆเอาไปเขียนต่ออีกทีครับ ตามความเห็นผมใส่ข้อมูลเดียวได้ครับ ส่วนเรื่องพระอุปัชฌาย์ว่าจากวัดไหนที่ทางวัดสระเกตไม่ได้ระบุ อาจใส่ในส่วนเชิงอรรถได้ครับ ว่ามีข้อมูลขัดแย้งกันว่ามาจากวัดไหนและก็ใส่แหล่งอ้างอิง -- Lerdsuwa 07:25, 12 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • ได้แก้ตามคำแนะนำแล้ว โดยในตัวบทความ ระบุข้อมูลตามวัด และใส่รายละเอียดของข้อมูลตามแหล่งข้อมูลอื่นในเชิงอรรถ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:42, 19 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • ตรงไหนที่เกิดข้อขัดแย้งและได้รับการแก้ไขไปแล้วใส่อ้างอิงไว้ก็จะดีนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:41, 20 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • "โยมมารดานำไปฝากไว้กับท่านพระครูอรุณกิจโกศล (หลวงพ่อพริ้ง) " แต่ในอ้างอิงกล่าวว่า "โยมบิดา ได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง ( พระครูอรุณกิจโกศล ) " ซึ่งตรงนี้เหมือนกันข้อแรกครับ คือ แหล่งอ้างอิงให้ข้อมูลที่ต่างกัน
  1. การเขียนในบางตำแหน่งเป็นลักษณะ copy and paste มานะครับ อย่างที่เห็นก็ตรง เช่น
    • อ้างอิง เขียนว่า "ทว่าต่อจากนั้นไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร ถูกเครื่องบิน ทิ้งระเบิดอย่างหนัก หลวงพ่อพริ้งจึงมารับตัวกลับ และพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ศึกษาต่อที่พุมเรียง อำเภอไชยา เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งจึงพาไปฝากที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง แต่ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลา สิกขาบทไปเสียแล้ว ท่านจึงพาไฟฝากไว้กับ พระครูปลัดเพียบ ( ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อจากสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ญาโณทยมหาเถระ )"
    • บทความ เขียนว่า "ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดอย่างหนัก หลวงพ่อพริ้งจึงมารับตัวกลับ และพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ศึกษาต่อที่พุมเรียง อำเภอไชยา เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งจึงพาไปฝากที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง แต่ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลา สิกขาบทไปแล้ว ท่านจึงพาฝากไว้กับ พระครูปลัดเพียบ (ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ฯ (อยู่ ญาโณทโย))"
      • ได้ลองเรียบเรียงเขียนใหม่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โครงสร้างย่อหน้าก็ไม่ได้เปลี่ยนจากเดิมมากนัก เพราะเป็นการเล่าเหตุการตามลำดับเวลา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:18, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  2. ขอชี้แจงการลบป้าย"ต้องการแหล่งอ้างอิง"ออก ตรงข้อความ "เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม" ในบทนำ พอดีอ้างอิงตรงนี้มีอยู่สองแหล่ง คือ หมายเลข 10 กับ 11 (อ้างในตัวบทความในส่วนที่พูดถึงความอาวุโส) แต่ไม่อยากให้มีอ้างอิงมากในบทนำ เพราะจะทำให้รก. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 09:06, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • ผมว่าตรงนี้เป็นบทเริ่มของบทความครับ ซึ่งการกล่าวถึงความเป็นที่สุด น่าจะต้องมีอ้างอิงเสมอ โดยควรจะอ้างอิงครั้งแรกที่เขียนข้อความนั้น ๆ โดยเมื่อเขียนในครั้งต่อไป เราก็ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงครับ หรือมีความเห็นอื่นว่ายังไง เกี่ยวกับวิธีการใส่อ้างอิงครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:30, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
      • เป็นไปได้ว่า บทนำนั้นเป็นเหมือนส่วนที่สรุปเนื้อในบทความมา และเนื้อหาในบทความมีอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ใส่ในบทนำด้วยผมก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไรครับ kinkkuananas 11:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
      • เกร็งว่าถ้าทำอย่างนั้น บทนำคงจะมีประมาณ 30 อ้่างอิง และบทความไม่มีอ้่างอิงเลย เพราะบทนำเป็นที่สรุปข้อมูลสำคัญของทั้งบทความ และแต่ละข้อมูลสำคัญของบทความ มีอ้างอิงอย่างน้ิอยหนึ่งแหล่ง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:28, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
      • เปรียบเทียบกับ บทความคุณภาพอื่นๆ ประมาณครึ่งหนึ่งของบทนำจะไม่ไม่มีอ้างอิงเลย (ถึงแม้จะมีข้อมูลสำคัญและกล่าวถึงความเป็นที่สุด) และบทนำที่มีอ้างอิงบ้าง ก็มีอย่างไม่คงเส้นคงวา คืิอบางข้อมูลสำคัญมี บางข้อมูลสำคัญไม่มี. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:36, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • นี้คือบทนำถ้าจะใส่อ้างอิงสำหรับทุกข้อมูลสำคัญอย่างคงเส้นคงวา ผมว่ามันดูไม่ค่อยจะได้
  • สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2508[13] เมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม[14] เมื่อปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ิเลื่อนเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์[15] ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนามหาเถรสมาคม[16]
  • เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมีพระอาการประชวร[17][18] และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก[19] มหาเถรสมาคม จึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในต้นปี พ.ศ. 2547[20][21] ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคม จึงมีมติให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์[22] ทำหน้าที่ประธาน การแต่งตั้งดังกล่าวทั้งสองครั้ง ถูกต่อต้านอย่างแรงจากกลุ่ม หลวงตาบัว นายสนธิ ลิ้มทองกุล และนายทองก้อน วงศ์สมุทร[23][24][25]
  • ข้อสังเกตุ:
  • ถ้าจะใส่ ก็ควรจะใส่ให้คงเส้นคงวา ไม่ใช่ว่าบางข้อมูลสำคัญในบทนำมีอ้างอิง บางข้อมูลสำคัญในบทนำไม่มีอ้างอิง ไม่งั้นคนอ่านจะไว้ใจข้อมูลในบทนำมีอ้างอิง และไม่เชื่อถือข้อมูลในบทนำที่ไม่มีอ้างอิง (ทั้งๆที่ทั้งหมดมีอ้างอิงอย่างครบถ้วนในตัวบทความ)
  • ไม่มีบทความคุณภาพ หรือ บทความคัดสรรใดๆ ที่มีีอ้่างอิงสำหรับทุกข้อมูลสำคัญในบทนำ
  • มันอ่านแล้วรกตาอย่างไรก็ไม่รู้
  • จึงขอให้คุณ kinkku กับ Scorpion ช่วยพิจารณาตรงนี้ใหม่ครับ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:55, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • เกรงว่าคุณ Patiwat อาจจะเข้าใจเจตนาผมคลาดเคลื่อนไปหน่อย ผมไม่ได้ต้องการการอ้างอิงทุกจุดในส่วนของบทนำ เพียงแต่ข้อความอันกล่าวว่าเป็นที่สุดต่าง ๆ นั้น ควรจะอ้างอิงไว้ในตอนแรกเท่านั้นครับ นอกนั้นคงไม่ค่อยมีปัญหาถ้าจะอ้างอิงไว้ในส่วนบทความ และผมคิดว่า ถ้าผมจำไม่คลาดเคลื่อนนัก ผมก็คอมเม้นบทความที่เขียนแสดงความเป็นที่สุดนั้น ควรจะใส่อ้างอิงไว้เสมอนะครับ เพียงแต่เขาไม่เอามาเขียนไว้ที่บทนำเท่านั้นเอง และถ้าไม่ผิดนักในสมเด็จเกี่ยวในส่วนบทนำผมใส่ตเองการอ้างอิงเฉพาะส่วนแคข้อความที่บ่งบอกว่าเป็นที่สุดไม่ใช่หรือ (ที่คุณ Patiwat ยกตัวอย่างการอ้างอิงมานั้น ออกจะดูเกินจากความเป็นจริงไปมากมายนัก เพราะผมก็เห็นว่าแม้กระทั่งในตัวบทความเอง คุณ Patiwat ก็มิได้อ้างอิงขนาดที่คุณ Patiwat ได้ยกตัวอย่างมานะครับ)--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:58, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
      • ก็ยังคิดอยู่ดีว่า ถ้าบางข้อมูล (ที่เป็นที่สุด) มีอ้างอิง แต่บางข้อมูล (ที่อาจเป็นที่โต้เถียง อย่างเช่น "สมเด็จพระญาณสังวรฯ ประชวร" หรือ "ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่ม หลวงตาบัว etc.") ไม่มีอ้างอิง จะทำให้ข้อมูลที่ไม่มีอ้างอิงในบทนำดูมีความน่าเชื่อถือน้อยลง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:17, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
        • อย่างนี้ดีกว่า: อะไรในบทนำที่เป็นที่สุด หรือที่อาจจะทำให้เกิดการโต้เถียง จะใส่อ้างอิงไว้ตั้งแต่บทนำ แต่อะไรในบทนำที่เป็นข้อมูลสำคัญ ที่ไม่น่าจะเถียงกันมาก จะใส่ไว้ในตัวบทความดีก่วา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  1. ผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดและอาวุโสโดยพรรษาสูงสุด คือ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ ไม่ใช่หรือ--Sundae 18:32, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • ช่วยบอกแหล่งอ้างอิงให้หน่อยได้มั้ยครับ พอดีมี แหล่งอ้างอิงสองแหล่ง ([[1]], [[2]]) ที่บอกว่าสมเด็จเกี่ยวอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุด. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:32, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • แก้บทความไปแล้วนะครับ ขอบคุณ Sundae ที่ช่วยเสนอแนะการปรับปรุง พอดีแหล่งอ้างอิงทั้งสองแหล่งที่ใช้ผิด พระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคมคือ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แต่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดีมีอายุถึง 99 พรรษา (ชาตกาล 2 มีนาคม พ.ศ.2451) และอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ บางแหล่งข่าวจึงเรียก สมเด็จพระพุฒาจารย์ ว่าเป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุด ซึ่งเป็นการเรียกที่ผิด. ผมแก้ไขในทุดจุดที่มีการพูดถึงความเป็นอาวุโสสูงสุดแล้ว. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 20:13, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  2. หัวข้อ "รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช" ผมหาข้อมูลมาเพิ่มให้นะครับ การแต่งตั้งครั้งแรกนั้น แต่งตั้งโดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงนามโดย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไม่น่าจะใช่มหาเถระสมาคมนะครับ[3] ตำแหน่งครั้งที่ 2 ถึงจะแต่งตั้งโดยมหาเถระสมาคมหรือเปล่าครับ [4] อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ แต่ก็หาข้อมูลมาให้คุณ Patiwat ลองพิจารณาดู อีกเรื่องครับ ตรงรูปหนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” แต่ก่อนผมเห็นมีเขียนถึงข้อวิจารณ์ว่าอาจจะเป็นของปลอม ข้อความตรงนั้นหายไปไหนเหรอครับ ที่จริงน่าจะเอามาใส่ในหัวข้อ "ข้อวิจารณ์ กรณีแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" ด้วยนะครับ เพราะเห็นเอาหนังสือนี้มาใช้อ้างอิงในบทความด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:24, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • ข้อก่ลาวหาว่าลายมือเขียน “ทราบและเห็นชอบ” ไม่ได้เป็นของสมเด็จพระสังฆราช แต่เป็นของ พระเทพสารเวที ถูกลบไปเมื่ิอเดืิอนที่แล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม ผมใส่กลับไปแล้วในหัวข้ิอ "รักษาการแทนพระสังฆราช" เพราะว่าเกี่ยวกับการแต่งตั้งรักษาการแทนพระสังฆราช ไม่ใช่ การแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช. ขอบคุณ ScorpianPK ที่ช่วยสังเกตุ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:33, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • ได้แก้ไขข้อมูลเรื่ององค์กรแต่งตั้ง พร้อมทั้งเติมราชกิจจานุเบกษาเป็นอ้่างอิงแล้วครับ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มครับ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:21, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  1. placeholder
  2. placeholder
  3. placeholder
  4. placeholder
  5. placeholder
  6. placeholder
  7. placeholder
  8. placeholder
  9. placeholder
  10. placeholder
  11. placeholder
  12. placeholder
  13. placeholder
  14. placeholder
  15. placeholder
  16. placeholder
  17. placeholder
  18. placeholder
  19. placeholder
  20. placeholder
  21. placeholder
  22. placeholder
  23. placeholder
  24. placeholder
  25. placeholder