วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/รอบประจำเดือน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


รอบประจำเดือน[แก้]

  1. ปิดการเสนอว่าผ่านได้เมื่อผ่านเกณฑ์ทุกข้อ (อาจรอข้อเสนอแนะเพิ่มอีกเล็กน้อย)
  2. ระยะเวลาการปรับปรุงแล้วแต่ผู้เขียนกับผู้ทบทวนหลักตกลงกัน
  3. หากไม่มีการตอบสนองเพียงพอโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 7 วันให้ปิดอภิปรายเป็นไม่ผ่าน
  4. ผู้ใช้มีบัญชีทุกคนร่วมเสนอแนะและทบทวนได้ ผู้ทบทวนหลักขอให้ทำความเข้าใจเกณฑ์ให้ดี
  5. ผู้เขียนหลักไม่ควรทบทวนงานของตนเอง ผู้เสนอแนะอาจช่วยแก้ไขได้แต่ไม่ควรมากเกินไป
เสนอชื่อโดย Horus (พูดคุย)

รายการตรวจ[แก้]

เกณฑ์บทความคัดสรร ผลการประเมิน
1ก) เขียนอย่างดี  สำเร็จ
1ข) ครอบคลุม  สำเร็จ
1ค) ค้นคว้าเป็นอย่างดี  สำเร็จ
1ง) เป็นกลาง  สำเร็จ
1จ) มีเสถียรภาพ  สำเร็จ
2ก) ส่วนนำ  สำเร็จ
2ข) โครงสร้างเหมาะสม  สำเร็จ
2ค) การอ้างอิงอย่างเหมาะสม  สำเร็จ
3) สื่อ  สำเร็จ
4) ความยาว  สำเร็จ

ผู้ทบทวนหลัก:Timekeepertmk (คุย)

สรุปผลการประเมิน:  สำเร็จ ผ่านหลักเกณฑ์บทความคัดสรร --Timekeepertmk (คุย) 23:57, 6 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอแนะการปรับปรุง[แก้]

จริง ๆ ตอนแรกจะรอดูว่าจะมีใครตรวจหรือไม่ เมื่อไม่มีใครก็ขอเสนอตัวเป็นผู้ตรวจหลักแล้วกันครับ โดยประเด็นของผมมีดังนี้ครับ

1. การตรวจสอบตั้งแต่การเริ่มต้นและความถึ่ถึงผลกระทบต่อสุขภาพด้านกายภาพ
1.1 พบการพิมพ์ผิดในประโยคดังนี้
A. พารากราฟที่ 2 ของส่วนการเริ่มต้นและความถี่ "อายุแลี่ยของการเริ่มแรกมีระดู ได้แก่"
B. พารากราฟที่ 1 ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพด้านกายภาพ "ดูเหมือนมีหลายแบรรูป"
C. พารากราฟที่ 4 ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพด้านกายภาพ ปรากฏการณ์นี้มีอธบาย
 สำเร็จ ขอขอบคุณคุณ Mr.BuriramCN ครับ --Horus (พูดคุย) 14:49, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
1.2 ปรับแก้คำแปล
A. หญิงหลายคนที่เป็นโรคลมชักมีอาการชักมากขึ้นในแบบรูปที่เชื่อมโยงกับรอบประจำเดือน เรียกว่า "โรคลมชักที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน" (catamenial epilepsy) ดูเหมือนมีหลายแบรรูป ในส่วนนี้คำแปลไม่ได้ผิดอะไร แต่คิดว่าพอมีคำหรือประโยคใดที่ทำให้ประโยคดูสละสลวยขึ้นอีกนิดไหมครับ
มาจากต้นฉบับ Many women with epilepsy have more seizures in a pattern linked to the menstrual cycle; this is called "catamenial epilepsy" ครับ หรือจะแปลว่า ผู้ป่วยโรคลมชักหญิงหลายคนมีอาการชักมากขึ้นโดยที่สัมพันธ์กับประจำเดือน? --Horus (พูดคุย) 14:49, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 สำเร็จ งั้นอันเดิมได้ครับ เพราะเชื่อมโยงไปกับประโยคถัดไปได้ดีกว่าครับ --Timekeepertmk (คุย) 16:23, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
B. “หญิงที่มีโรคลมชักบางส่วนหรือโรคลมชักที่ยังมีสติ (partial epilepsy) หายยากประมาณหนึ่งในสามเป็นโรคลมชักที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน” อาจพิมพ์ผิดหรือผมไม่เข้าใจเองก็ได้ครับ หรืออธิบายผมมาก็ได้ครับ เพราะผมอ่านอันนี้ไม่เข้าใจ
ขออนุญาตแก้ไขส่วนนี้เนื่องจากเป็นศัพท์เฉพาะนะครับ (intractable partial epilepsy = ภาวะลมชักเฉพาะส่วนที่ตอบสนองต่อยากันชักไม่ดี) --Siam2019 (คุย) 12:34, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
@Siam2019: intractable ผมเทียบเคียงจากศัพท์บัญญัติ intractable ulcer (แผลเปื่อยหายยาก) ครับ ส่วน partial epilepsy ผมไม่เจอ partial อาจจะแปลว่าเฉพาะส่วนก็ได้ แต่ epilepsy เห็นว่าใช้ โรคลมชัก นะครับ รวมกันน่าจะเป็น โรคลมชัก (เฉพาะส่วน/ยังมีสติ) หายยาก? --Horus (พูดคุย) 12:44, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
@Timekeepertmk: คือต้องอธิบายว่าโรคลมชักมีสองแบบ คือ generalized epilepsy ชักทั้งตัว ชักแบบหมดสติ (หาศัพท์บัญญัติไม่เจอ), กับ partial epilepsy ซึ่งก็คือคำนี้ "หายยาก" หมายถึง โรคที่คุมไม่อยู่เสียที หมอปรับยาจนแรงแล้วก็ยังไม่หาย ทำนองนี้ครับ ส่วน "โรคลมชักที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน" ก็คือคำที่ผมใช้กับ catamenial epilepsy ครับ --Horus (พูดคุย) 14:49, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ศัพท์เฉพาะในที่นี้คือศัพท์ที่แพทย์เฉพาะทางแปลเป็นภาษาไทยใช้ในเอกสารวิชาการนะครับ ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิต (ซึ่งในทางปฏิบัติไม่สามารถรอการบัญญัติศัพท์เฉพาะทางได้ครับ) คำว่า epilepsy เป็นศัพท์บัญญัติหมายถึงโรคลมชัก โดยเกิดจากอาการชัก (seizure) คำว่า partail epilepsy จะเกิดจากประเภทของการชัก "partail seizure" ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติของสหพันธ์ต่อต้านโรคลมชักระหว่างประเทศ The International League against Epilepsy (ILAE) หมายถึง "การชักที่เริ่มต้นจากจุดหนึ่งในสมองเพียงข้างเดียว โดยอาจจํากัดอยู่เพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือกระจายไปทั่วภายในสมองข้างนั้นเท่านั้น" อ้างอิงตามลิงก์นี้ครับ (Epilepsy digest ของ สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย หน้า 9) [1] (การชักประเภทนี้ผู้ป่วยมีทั้งกรณีมีสติหรือไม่มีสติครับ) ส่วนคำว่า intractable epilepsy ที่หมายถึง โรคลมชักที่มีภาวะดื้อต่อยากันชัก พิจารณาการใช้คำจากตำราเล่มนี้เป็นตัวอย่างครับ (การผ่าตัดโรคลมชัก ของกระทรวงสาธารณสุข) [2] --Siam2019 (คุย) 15:12, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณครับ partial ผมแปลผิดไป แต่คิดว่าคำที่ใช้ไม่น่าจะเป็นอาการลมชัก น่าจะใช้ว่าโรคลมชักไปเลย ส่วนคำว่า partial ขอถามความเห็นว่าจะแปลว่าอะไร ถ้าดูตามนิยามจะแปลว่า 1. จำกัดเฉพาะส่วน 2. จำกัดเฉพาะซีก ก็ได้ทั้งคู่ --Horus (พูดคุย) 15:22, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
เท่าที่เคยสังเกตมีการใช้ในเอกสารต่าง ๆ ว่า จำกัดเฉพาะส่วน หรือเฉพาะที่ มากกว่าครับ ก็น่าจะแปลตามนี้ครับ --Siam2019 (คุย) 15:46, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 สำเร็จ ตอนนี้ใช้ว่า โรคลมชักชนิดเฉพาะส่วนที่ดื้อยากันชัก โดยมาจากคำแนะนำของคุณ Siam2019 (partial epilepsy) กับลิงก์ 2 (intractable) ครับ --Horus (พูดคุย) 15:51, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
C. ตัวอย่างเช่นในช่วงลูเทียม (เมื่อระดับเอสโตรเจนต่ำ) การไหลเวียนของเลือดในต่อมไทรอยด์มีความเร็วต่ำกว่าในระยะถุงน้อย (เอสโตรเจนสูง) ในวงเล็บสุดท้ายน่าจะเป็นเมื่อระดับเอสโตรเจนสูงครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:41, 1 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
1.2 C อาจจะต้องดูว่า "ระดับเอสโตรเจน" กับ "เอสโตรเจน" ทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเปล่า เพราะบางที่ผมก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจจะได้ไม่ยาวเสียเปล่า ๆ --Horus (พูดคุย) 02:26, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ผมว่าน่าจะใช้ประโยคหรือวลีเดียวกัน เช่น ระดับเอสโตรเจนก็ระดับเอสโตรเจน เอสโตรเจนก็เอสโตรเจน เพื่อที่จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่ากำลังเปรียบเทียบประเด็นเดียวกันครับ --Timekeepertmk (คุย) 10:58, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
หลักการเขียนอย่างหนึ่งคือพยายามเลี่ยงการใช้คำซ้ำกัน เช่น ใช้คำสรรพนามแทนนาม หรือละคำที่ใช้เหมือนกัน เช่น "20 ถึง 30%" หรือ "3 ถึง 8%" อย่างนี้ผมต้องแก้เป็น 20% และ 3% ด้วยหรือเปล่า เพราะมันก็กรณีนี้เหมือนกัน และถ้าคุณมองว่ามันกำกวม ขอตอบหน่อยได้ไหมครับว่าอาจเข้าใจผิดเป็นอะไรได้ ความเข้มข้นสูง ความหนาแน่นสูง? --Horus (พูดคุย) 12:20, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ผมไม่ได้หมายถึงการใช้คำเหมือนกันครับ เป็นเรื่องของความกำกวม ในฐานะคนอ่านทั่วไปเกรงว่าอาจสร้างความกำกวมเข้าใจผิดได้ครับ แต่เนื่องจากประโยคก่อนหน้าพูดถึงระดับก็น่าจะเข้าใจเองได้ว่าพูดถึงระดับ ไม่ได้พูดถึงอย่างอื่น --Timekeepertmk (คุย) 13:02, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ครับ ผมก็มองว่าอย่างนั้น ถ้าในบทความมีพูดถึงความเข้มข้นหรือความหนาแน่นด้วย ตรงนี้ผมอาจจะใส่ว่า ระดับ ลงไปด้วย แต่ไม่ใช่กรณีนี้ครับ --Horus (พูดคุย) 13:09, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
2. การตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพด้านภาวะเจริญพันธุ์
2.1 covers the time from some 6 days before until 2 days after ovulation คำแปลคือ กินเวลาตั้งแต่ 5 วันก่อนการตกไข่ จนถึง 1 ถึง 2 วันหลังการตกไข่ อันนี้แปลผิดหรือว่ามีข้อมูลอ้างอิงที่ต่างจากต้นฉบับหรือผมผิดเองครับ
2.2 ตรงพารากราฟที่ 1 แปลตกอันนี้หรือเปล่าครับ These approximately 8 days in a 28 day cycle with a 14 day luteal phase
2.3 ตรงส่วนนำของพารากราฟที่ 2 “มีวิธีทดสอบภาวะเจริญพันธุ์หลายชนิด รวมถึงชุดตรวจปัสสาวะที่ตรวจจับการเพิ่มขึ้นกระทันหันของ LH ที่เกิดขึ้น 24 ถึง 36 ชั่วโมงก่อนการตกไข่ เรียกว่าชุดทำนายการตกไข่ (OPK)” อันนี้แปลหลงมาจากข้างล่างหรือเปล่าครับ
2.4 ขอคำอธิบายในส่วนนี้เนื่องจากไม่มีในต้นฉบับครับ However, despite this hypothesis, a similar paternal age effect has also been observed. กับ การสังเกตพบผลกระทบของอายุบิดาที่คล้ายกันกับอายุมารดาด้วย --Timekeepertmk (คุย) 16:23, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 สำเร็จ ข้อ 2.1 – 2.3 น่าจะมีการปรับหลังรุ่นที่ผมแปลครับ มีแปลผิดเล็กน้อยตรงที่กล่าวถึงน้ำลาย แต่แก้ไขแล้ว ส่วน 2.4 ไม่เข้าใจว่าจะให้แก้อะไรครับ --Horus (พูดคุย) 16:29, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ข้อ 2.4 เห็นต้นฉบับพูดถึงแต่ paternal age effect = ผลกระทบของอายุบิดา แต่อันนี้ผมเข้าใจแล้วครับว่าเชื่อมโยงไปกับเรื่องของอายุมารดา
3 การตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพด้านตะคริว  ความเห็น ผมเข้าใจว่าคุณฮอรัสนำเนื้อความจาก en:Dysmenorrhea แบบนี้ควรยกแท็ก ref ที่อ้างอิงเนื้อหาส่วนนี้ตามมาด้วยหรือไม่ครับ --Timekeepertmk (คุย) 16:40, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 สำเร็จ อันนี้ลืมครับ เติมแล้วครับ --Horus (พูดคุย) 16:48, 2 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
4. การตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพด้านพื้นอารมณ์และพฤติกรรม
4.1 พารากราฟที่ 1 ผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ในหญิงที่มีระดับโปรเจสเตอโรนจะทำได้ดีกว่า น่าจะเป็นประมาณว่า ผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ในหญิงที่มีระดับโปรเจสเตอโรนต่ำจะทำได้ดีกว่า เพราะต้นฉบับคือ Performances on emotion recognition tasks were better when women had lower progesterone levels
4.2 พบการพิมพ์ผิดในพารากราฟที่ 2 จำนวน 2 จุด คือ แสดงให้เห็นว่าการตำบสนองค และ กล่าวโดยสรุป ระยะของรอบประจพเดือน ต้องขออภัยด้วยนะครับที่ไม่ได้แก้ให้ทันที เนื่องจากจำเป็นต้องใช้สมาธิในการอ่านครับ --Timekeepertmk (คุย) 11:43, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
5.  สำเร็จ การตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพด้านทางเลือกคู่ การเว้นวรรคพารากราฟที่ 1 ของกลิ่น หญิงในระยะเจริญพันธุ์ของรอบเดือนจัดให้ชายที่มีคะแนนความเป็นใหญ่ (dominance) สูงกว่ามีความเร้าทางเพศ (sexy) มากกว่า น่าจะเว้นวรรคระหว่างคำว่ากว่ากับมี ครับ --Timekeepertmk (คุย) 17:04, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
6. การตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพด้านพฤติกรรมการกิน พารากราฟสุดท้ายพิมพ์ผิด โดยวงจักรไม่ตกไข่เกิดจากการจจำกัดอาหาร --Timekeepertmk (คุย) 20:52, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
7. การตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพด้านสารเสพติด ประโยคที่ว่า ระดับของการติดสารเสพติดเพิ่มขึ้นตาม PMS ส่วนใหญ่การติดสารเสพติดเช่น นิโคติน ยาสูบ และโคเคน ตรง <ส่วนใหญ่การติดสารเสพติดเช่น นิโคติน ยาสูบ และโคเคน> ควรหาสันธานมาเชื่อมประโยคก่อนหน้าเพื่อแสดงความเชื่อมโยงกัน --Timekeepertmk (คุย) 20:58, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
8.  ความเห็น การตรวจสอบการยับยั้งการตกไข่ด้านการคุมกำเนิด (สัปดาห์ที่ใช้ยาหลอ ไม่ใช้แผ่นแปะหรือห่วงเป็นเวลา 1 สัปดาห์) อันนี้พิมพ์ผิด พิมพ์ตกหรือถูกแล้วครับ --Timekeepertmk (คุย) 21:56, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
9. Etymological น่าจะใช้คำว่าศัพทมูลวิทยามากกว่านิรุกติศาสตร์ครับ --Timekeepertmk (คุย) 22:13, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 สำเร็จ ข้อ 4-9 (ขอตอบรวมไปเลยนะครับ) --Horus (พูดคุย) 23:27, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ขณะนี้ผมได้ดำเนินการตรวจสอบและคุณฮอรัสได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะแล้ว หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ/ให้แก้ไขเพิ่มเติมโปรดแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งนี้หากไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในวันที่ 7 ผมจะปิดการนำเสนอและพิจารณาให้บทความนี้เป็นบทความคัดสรรครับ --Timekeepertmk (คุย) 00:01, 4 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณที่รับเป็นธุระตรวจให้ครับ --Horus (พูดคุย) 00:50, 4 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ยินดีมาก ๆ ครับ ผมเองก็ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเช่นกันครับ --Timekeepertmk (คุย) 14:36, 4 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]