วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/ธงชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติไทย[แก้]

ธงชาติไทย ถูกเสนอเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556
หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก จะได้รับการพิจารณาครั้งสุดท้ายภายในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556
เสนอชื่อโดย ฉัตรา (พูดคุย) 19:58, 23 มีนาคม 2556 (ICT)
สนับสนุน
  1. สนับสนุนครับ ลองอ่านดูแล้ว อ่านแล้วไม่สะดุด และเนื้อหาก็ครอบคลุมครับ --ปาล์มมี่ (พูดคุย) 22:29, 23 มีนาคม 2556 (ICT)
  2. เห็นด้วย เนื้อหาสมเป็นบทความคัดสรร --Sry85 (พูดคุย) 23:24, 25 มีนาคม 2556 (ICT)
  3. เห็นด้วย เนื้อหาโอเคครับ --Famefill (พูดคุย) 15:47, 28 มีนาคม 2556 (ICT)
  4. เห็นด้วย เนื้อหาดีมากครับ--Usermore (พูดคุย) 15:36, 2 เมษายน 2556 (ICT)
คัดค้าน
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. ผมไปเจอ http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/thaiflag/newsite/detail.php?id=162 มา ซึ่งจริง ๆ ก็กล่าวถึงราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2470 เหมือนกัน แต่จะเน้นไปที่ความคล้ายคลึงกันระหว่างธงประดับงานรื่นเริงกับธงไตรรงค์ซึ่งยังไม่มีประเด็นนี้ในบทความ ไม่รู้ว่าจะเหมาะสมที่จะเขียนลงในบทความ/หรือนำมาขยายความได้แค่ไหน --Nullzero (พูดคุย) 23:44, 25 มีนาคม 2556 (ICT)
    • จากข้อ 3 (ด้านล่าง) เขาให้เอาออกทั้งหัวข้อเลยคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT)
  2. เว็บอ้างอิง "พระราชนิพนธ์เครื่องหมายแห่งไตรรงค์ ในรัชกาลที่ 6", "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547" ไม่สามารถเข้าถึงได้ คงต้องนำออกและหาแหล่งอื่นทดแทน เป็นไปได้ให้เลือกใช้แหล่งที่คงอยู่ถาวร เช่น ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแม้ลิงก์อาจเปลี่ยนไป แต่ก็ยังค้นหาได้จากการอ้างอิงที่ใส่ไว้ --taweethaも (พูดคุย) 10:43, 5 เมษายน 2556 (ICT)
  3. ที่มาของสีธงไตรรงค์ ในย่อหน้าสรุปมีข้อความ "สีม่วงเพื่อเป็นตัวแทนของสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" (1) ควรมีการขยายความในส่วนเนื้อหาต่อไป และ (2) ควรมีอ้างอิงประกอบ อาจเป็นเอกสารในภาษาอังกฤษก็ได้ (ไม่แน่ใจว่าอยู่ในวิทยานิพนธ์/หนังสือของ ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม หรือเปล่า)--taweethaも (พูดคุย) 10:44, 5 เมษายน 2556 (ICT)
    • เท่าที่ตรวจสอบ เป็นการแก้ไขของ IP และไม่เห็นรัชกาลที่ 6 จะกล่าวถึงสีม่วงในธงชาติคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT)
  4. ธงที่คล้ายคลึงกัน - ไม่ทราบว่าใส่ไว้ทำไม มีประโยชน์อย่างไร และต้องการให้ครอบคลุมแค่ไหน ถ้าต้องการเพิ่ม ก็อาจเพิ่มรายชื่อธงที่มีสามสี แดง ขาว น้ำเงิน เหมือนกับธงไตรรงค์ไปด้วย เช่น ของอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อสนับสนุนข้อความในส่วนต้นเรื่องสัมพันธมิตร หรือถ้าไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด อาจนำออกทั้งหมดเลยก็ได้ --taweethaも (พูดคุย) 10:51, 5 เมษายน 2556 (ICT)
    • เห็นด้วยที่เอาออกเลย ดูจับแพะชนแกะไปหน่อย ไม่ค่อยเกี่ยว --Sry85 (พูดคุย) 11:13, 5 เมษายน 2556 (ICT)
      • ถ้าเอาออกตรงนี้ ส่วนของสัมพันธมิตรอาจไปขยายความที่อื่น (สัมพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย (โซเวียต) อเมริกา มีสามสีอย่างเดียวกับไทย) --taweethaも (พูดคุย) 11:40, 5 เมษายน 2556 (ICT)
  5. ระเบียบในส่วนธงชาติไทย ควรเพิ่มเติมข้อบังคับตาม พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕ ไปด้วย (ใน พ.ร.บ. ไม่ได้เขียนโดยตรง แต่ให้อำนาจออกกฎระเบียบตามมา นั่นคือ มาตรา 6 และมาตรา 15 ประกอบพระราชกฤษฎีกาวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 6 (3) http://61.19.241.70/rkj/uploadword/691245.doc ควรใส่ไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายและประวัติศาสตร์) --taweethaも (พูดคุย) 10:56, 5 เมษายน 2556 (ICT)
    • แก่นคือให้เคารพธงชาติเหมือนกันคะ ไม่มีเนื้อหาอะไรพิเศษเพิ่มเติม แปลกใหม่เลยคะ ดิฉันว่าอย่างมากก็เอามาเพิ่มเป็น ref แค่นั้น ไม่อย่างนั้น ต้องมานั่งเปิดดู พรบ. ทุกฉบับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเคารพธงชาติแล้วเอามาเขียนในบทความเลยเปล่าคะ ซึ่งดิฉันมองว่า ถ้าเนื้อหาหรือแก่นไม่ต่างกัน ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ลงไปคะ นอกเหนือจากจะเขียนในมุมมองอื่น--ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT)
  6. contemporary issues เกี่ยวกับธงชาติไทย เช่น "พ.ศ. 2550 พลเอกปรีชา โรจนเสน ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม เคยเสนอแนวคิดร่างพระราชบัญญัติชักธงชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา โดยมีเนื้อหากำหนดคือให้ประชาชนยืนตรงเคารพธงชาติในเวลา 08.00 น. และเวลา 18.00 น. รวมถึงประชาชนที่ขับขี่รถบนท้องถนนด้วย ยกเว้นบนทางด่วนเท่านั้น" [1] และ "พ.ศ. 2555 ศูนย์เฝ้าระวังวัฒนธรรม วธ. ทำหนัง สือส่งถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จี้ให้จัดการนักร้องซูเปอร์สตาร์สาวชาวอเมริกัน ฐานนำ ชฎา-ธงชาติไทย ขึ้นไปเล่นเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงบนเวทีที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค. ชี้กาก้าทำผิดกฎหมายหมิ่นธงไตรรงค์" [2] หรือกรณีอื่นที่โดดเด่นกว่า --taweethaも (พูดคุย) 11:05, 5 เมษายน 2556 (ICT)
    • ข้อนี้ ดิฉันแก้ไขโดยยกหัวข้อ การการทำอันไม่สมควรและบทลงโทษ ขึ้นให้ชัดเจน ดีกว่ามานั่งรวบรวม case ที่เกี่ยวกับธงชาติดีกว่าคะ ไม่อย่างนั้น จะมีป้าย ไม่ update เนื้อหาขึ้นในอนาคตอีกถ้ามีกรณีเกี่ยวกับธงชาติ--ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT)
  7. "โอกาสและวันพิธีสำคัญที่ต้องมีการชักและประดับธงชาติ มีวันและระยะเวลาดังต่อไปนี้" (1) ใครต้องชักธง ราชการเท่านั้น? (2) ควรมีอ้างอิงให้ชัดเจนเหมาะสมตามสภาพบังคับ เช่น ถ้าไม่ชักแล้วติดคุกก็ต้องอ้างกฎหมายจากเว็บกฤษฏีกาหรือราชกิจจานุเบกษา --taweethaも (พูดคุย) 11:11, 5 เมษายน 2556 (ICT)
    •  สำเร็จ แก้ไขแล้วคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT) "โดยกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ต้องใช้ธงชาติสำหรับชักขึ้นและลงตามที่ราชการกำหนด รวมทั้ง ต้องประดับธงชาติไว้ ณ สถานที่อันสมควรเป็นการถาวรและสม่ำเสมอ สำหรับภาคเอกชนและบ้านเรือนของประชาชนทั่วไปนั้นให้อนุโลมดำเนินการไปในทางเดียวกัน" --ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT)
  8. มีรายละเอียดเกี่ยวกับการเคารพธงชาติที่เพิ่มเติมได้อีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะตัวเลขวันเดือนปีที่เกี่ยวข้อง การกล่าวรวมว่าทศวรรษ 2480 อาจกว้างเกินไป ในขณะที่เราอาจหารายละเอียดเพิ่มเติมมาใส่ให้ครบได้ เช่น (1) คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2482 มีข้อแรกเกี่ยวกับธง (2) 14 กันยายน พ.ศ.2485 เป็นวันที่รายการนายมั่น-นายคงกำหนดนัดหมายประชาชนให้เคารพธงชาติพร้อมกันทั่วทั้งประเทศ [3] ดูราชกิจจานุเบกษาและหนังสืออ้างอิงเพิ่ม --taweethaも (พูดคุย) 11:23, 5 เมษายน 2556 (ICT)
    • ต้องการสื่ออะไรคะ ขยายความหน่อยคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 12:44, 18 เมษายน 2556 (ICT)
  9. เรื่องที่ว่า ร.6 ทรงเปลี่ยนจากธงช้างเป็นธงไตรรงค์เพราะว่ามีคนประดับธงช้างหัวกลับ เดิมเข้าใจว่าเป็น urban legend แต่ล่าสุดมีคนเอาหนังสือมาแสดง มีหลักฐานเขียนเป็นเรื่องเป็นราว [4] จึงอาจมีความสำคัญควรใส่ไว้ประกอบบทความ ความจริงเป็นอย่างไรผมไม่ทราบ แต่มีอ้างอิงร่วมสมัย ไม่ใช่เรื่องที่คนสมัยใหม่แต่งมาเอง (อาจเป็นเรื่องคนสมัยนั้นแต่งก็ได้) ที่มีอยู่แล้วในบทความยังใช้ไม่ได้เพราะ (1) อ้างอิง "ธงชาติไทย จากฐานข้อมูลรักบ้านเกิด" ลิงก์เสีย (2) ราชกิจจานุเบกษาที่อ้างไม่ได้กล่าวถึงเรื่องช้างหัวกลับ --taweethaも (พูดคุย) 11:32, 5 เมษายน 2556 (ICT)
  10. "ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์..." (1) น่าจะจัดเรียงแก้ไขประโยคใหม่ เพราะอาจอ่านแล้วสับสน ขึ้นต้นประโยคด้วย ร.5 แต่กล่าวถึงเรื่อง ร.1 (2) ถ้าจะใช้ ย์ ตามต้นฉบับข้อความควรอยู่ในอัญประกาศ --taweethaも (พูดคุย) 11:49, 5 เมษายน 2556 (ICT)
  11. ในหัวข้อ "การเคารพธงชาติ" ที่มีรายละเอียดถึง 14 ข้อ รวมถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์/กฎหมายที่เป็นประโยชน์ในหัวข้ออื่น อาจพิจารณาใส่เพียงสรุปและย้ายข้อมูลฉบับเต็มไปวิกิซอร์ซแทน แล้วทำลิงก์โครงการพี่น้องไปหากัน --taweethaも (พูดคุย) 11:59, 5 เมษายน 2556 (ICT)
  12. ผมกดดูอ้างอิงเฉพาะที่อยากรู้ก็เจอลิงก์เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แจ้งไปแล้วข้างต้นในข้อ 2 และ 9 รวมสามลิงก์ หากเป็นไปได้อยากให้ (1) ตรวจดูทั้งหมดอีกที (2) แก้ไขระบบอ้างอิงเป็นสองขั้น (อ้างอิง+บรรณานุกรม) อย่างในบทความคัดสรรอื่นๆ เช่น ความคลั่งทิวลิป --taweethaも (พูดคุย) 12:05, 5 เมษายน 2556 (ICT)