วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย/11-2553/ข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

การระดมทุนและการล้อเลียนดำเนินต่อไป และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Horus 5 กันยายน 2553, ข


ภาพจับหน้าจอหนึ่งในป้ายระดมทุนที่แสดงภาพของจิมมี เวลส์

การระดมทุนและการล้อเลียนยังดำเนินต่อไป

หลังจากการระดมทุนของมูลนิธิวิกิมีเดียเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ภาพถ่ายของจิมมี เวลส์ได้ปรากฏขึ้นเกือบทุกหนแห่งในไซต์วิกิมีเดีย พร้อมกับจดหมายส่วนตัวที่ส่งถึงผู้ให้บริจาค (ในรูปของโฆษณาซึ่งพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการทดสอบ) ยังคงได้รับการตอบรับอย่างขบขันและรำคาญ รวมไปถึงการล้อเลียนจำนวนมาก มูลนิธิวิกิมีเดียได้ตอบสนองต่อเหตุดังกล่าวด้วยอารมณ์ขัน โดยรวบรวม "รายชื่อของเกร็ดที่ดีหรือน่าตลกขบขันที่สุด" จากข่าวและสื่อสังคมในการโพสต์ในบล็อกวันที่ 16 พฤศจิกายน

ปฏิกิริยาตอบรับแบบอื่นรวมไปถึงการออกส่วนขยายเบราเซอร์สำหรับกูเกิลโครมอันมีประโยชน์ ซึ่งให้ผู้ท่องอินเทอร์เน็ตสามารถเห็นป้ายการระดมทุนอันมีภาพของจิมมี เวลส์ในทุกเว็บไซต์แทนที่จะแสดงเฉพาะไซต์ของมูลนิธิวิกิมีเดีย การเปรียบเทียบสายตาของเวลส์กับสายตาของลูกสุนัข และรายงานของ Faking News ที่ว่า "มาเฟียขอทานในเดลฟี" กำลังหาผลประโยชน์จากความสำเร็จของการระดมทุนเพื่อประโยชน์ของตนเอง: "หลังจากใช้ภาพของเทพและเทพีฮินดูเพื่อแสวงหาเงินจากผู้เชื่อแล้ว พวกขอทานตอนนี้ได้ใช้รูปภาพของจิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย และหลอกเอาเงินจากผู้มีปัญญาบนอินเทอร์เน็ต" The Signpost

การระดมทุนประจำปีของมูลนิธิวิกิมีเดียได้ยอดบริจาคจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเล็กน้อย จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน ตามหน้าสถิติการระดมทุนอย่างเป็นทางการ คิดเป็นเกือบหนึ่งในสามของยอดการระดมทุนที่ 16 ล้านดอลลาร์

การระดมทุนได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน นับตั้งแต่มีป้ายกราฟฟิกซึ่งมีภาพของจิมมี เวลส์ (ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการทดสอบ) ยังคงถูกใช้ในการโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ และได้รับปฏิกิริยาตอบรับทั้งในด้านที่สนุกสนานและรำคาญในข่าวและสื่อสังคม (ป้ายดังกล่าวสามารถถูกนำออกได้ชั่วคราวโดยกด "X" ที่อยู่มุมขวาบน ผู้ใช้ที่ล็อกอินเท่านั้นที่จะสามารถนำป้ายออกอย่างถาวรได้ผ่านแก็ดเจ็ตในการตั้งค่าผู้ใช้)

นิตยสายสเลท ("His Wikiness requests your money") ได้ถามว่า "เวลส์อาจเป็นบิดาผู้ก่อตั้งก็จริง แต่เขาสมควรจะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้เผด็จการหมู่เกาะแคริบเบียนเชียวหรือ อย่างชัดเจน ใบหน้าของเขาได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าเป็นไอคอนระดมทุนที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าจะขัดกับการแข่งขันที่ค่อนข้างไม่น่าประทับใจก็ตาม" โดยชี้ให้เห็นถึง ป้ายระดมทุนแบบอื่นได้รับการเสนอให้แสดงภาพอาสาสมัครวิกิพีเดีย เสลทได้ระบุเพิ่มเติมว่า "ขณะนี้เวลส์มีการแก่งแย่งที่ยากลำบากจากผู้อยู่ใต้บังคับของตนเอง"

มีการโพสต์ในบล็อกของการริเริ่มวิจัยวิกิพีเดีย "มุมมองอันมีวิจารณญาณ" ตั้งคำถามว่า "ทำไมพวกเขาจึงต้องการเงินมากนัก" และกล่าวอ้างอย่างไมาถึงต้องว่า "มี[ลูกจ้าง]คนผอมเพียง 23 คนเท่านั้นที่อยู่บนหนังสือ[ของวิกิพีเดีย]" และ "ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นค่าใช้จ่ายหลักของค่าดำเนินงานทั้งหมด"

การทำป้ายล้อเลียนได้เริ่มปรากฏขึ้น สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ได้รายงานการหยอกล้อ "การบริจาควิกิพีเดียอันน่าตลกขันและไม่มีเจตนาโดยสิ้นเชิง" (TechCrunch) ทาง 4chan โดยผู้ก่อตั้งของไซต์ m00t (คริสโตเฟอร์ พูล) ได้เชื่อมโยงกับรูปภาพของลูกแมวมากกว่าการขอรับบริจาค (รายงานโดย Erictric) และทุกหน้าในไร้สาระนุกรมกำลังแสดงหนึ่งในป้ายทำล้อเลียนจำนวนมากซึ่งแสดงภาพของจิมมี เวลส์

บล็อก "Techerator" ได้อธิบายว่าวิกิพีเดีย "ต้องการเงินจำนวนเหมาะสมเพื่อที่จะรักษาความเป็นอิสระ" และเรียกการขอรับบริจาคว่าเป็น "วิธีการที่ไม่เสแสร้างและสมเหตุสมผลในการขอรับบริจาค" แต่ก็ให้ความเห็นว่า "จิมมี เวลส์ได้ทำให้ตัวเองกลายมาเป็นอารมณ์ขันอันไม่มีที่สิ้นสุดบนอินเทอร์เน็ตจริง ๆ กับการเคลื่อนไหวทางการตลาดล่าสุด" โดยเสนอภาพจากโฟโตชอปและข้อความทวีตถากถางเป็นตัวอย่าง

บล็อก "Urlesque" ของ AOL ได้เปรียบเทียบหนึ่งในป้ายขอรับบริจาคกับบทความ "การแข่งจ้องตา" และถามว่า "ที่จิมมี เวลส์จ้องตาคุณอยู่นั้นน่าขยะแขยงหรือเป็นความพยายามที่จะให้คนบริจาคเงินให้กับวิกิพีเดียจริง ๆ กันแน่ ปิดงานโฆษณาภาพจิมมีกำลังจ้องเสียที" โดยเชื่อมโยงกับผลการทดสอบป้ายของมูลนิธิ

ดังที่ได้รายงานใน "เรื่องจากข่าว" ส่วนขยายเบราเซอร์อย่างไม่เป็นทางการของส่วนขยายกูเกิลโครม (เข้าถึงได้ที่นี่) แสดงป้ายระดมทุนของวิกิพีเดียซึ่งมีภาพของจิมมี เวลส์ ในเว็บเพจทุกหน้าที่เข้าถึง ทำให้ป้ายระดมทุนดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงในสื่อเพิ่มเติมอีก พีซีเวลด์อินเดีย เสนอว่ามันน่าจะสามารถเพิ่มลงไปในคอมพิวเตอร์สาธารณะได้ เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตามวิทยาลัยต่าง ๆ ส่วนขยายกูเกิลโครมอีกแห่งหนึ่งกลับกล่าวตารงกันข้าม โดยให้สัญญาว่าจะเปลี่ยนภาพถ่ายของเวลส์กับภาพของลูกแมวในหน้าวิกิพีเดียทั้งหมด

บล็อกเกอร์จาก Colorado Springs Independent กล่าวป้องกันป้ายจากการล้อเลียนต่าง ๆ : "เชิญสนุกสนานกับใบหน้าของจิมมี เวลส์ที่พบเห็นได้ทั่วไปเท่าที่คุณต้องการ ... แต่นั่นจะไม่เป็นการลดประสิทธิภาพของผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียในการรณรงค์ระดมทุนนี้" The Signpost

ข่าวสั้น

  • วิกิพีเดียภาษาพม่า: ตอบรับการเรียกร้องของมูลนิธิวิกิมีเดียให้เพิ่มบทความในวิกิพีเดียภาษาพม่า สมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์พม่าได้ขอให้ชาวพม่าใช้เวลา 15 นาทีในการสร้างบทความในภาษาพม่า โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้มีบทความครบ 15,000 บทความภายในเดือนกรกฎาคมปีหน้า ตามการรายงานข่าว การยืนกรานที่จะใช้ยูนิโคดของวิกิพีเดีย (ซึ่งการตั้งค่าของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพม่าที่ไม่ใช้ยูนิโคดสำหรับฟอนต์อักษรพม่า [Zawgui]) อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีอัตราการมีส่วนร่วมของผู้พัฒนาวิกิพีเดียในหมู่ประชาชนชาวพม่า 20 ล้านคน อีกเหตุผลหนึ่งที่มีการกล่าวถึง คือ ความไม่ชื่นชอบรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยของวิกิพีเดีย และการขาดรางวัลที่เป็นตัวเงินในการมีส่วนร่วม Myanmar Times
หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ