วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 8

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ป้ายลิขสิทธิ์ใหม่

ผมได้ตรวจดูป้ายสถานะลิขสิทธิ์ภาพทั้งหลายที่มีในวิกิไทยมาพอสมควรแล้ว ก็พบว่าติดป้าย "ถือลิขสิทธิ์" ทั้ง ๆ ที่ภาพนั้นผู้ใช้เป็นผู้ถ่ายเองหรือเป็นผู้จัดทำเอง ซึ่งขัดต่อนโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งถ้าเป็นวิกิอังกฤษ แน่นอนก็จะถูกฟ้องลบจนร้องเอ๋งโอยไปหลายตลบ (จะลบ หรือจะเปลี่ยน) และที่แน่ ๆ วิกิไม่ใช่ถิ่นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายที่แท้จริง ซึ่งบางทีการแจ้งลบอาจกระทำไปด้วยโทสะหรือการพิจารณาที่ไม่รอบคอบ (ขออภัยถ้าข้อความนี้ไปกระทบท่านผู้ใช้อื่น ๆ)

สำหรับผมคิดว่าทางออกที่น่าสนใจก็คือการจัดทำป้ายลิขสิทธิ์ใหม่เพิ่ม คือป้ายสงวนลิขสิทธิ์บางประการ ห้ามจำหน่าย ห้ามตัดต่อ ห้ามนำไปใช้ในทางที่เสื่อมต่อศีลธรรม (Attribution-Noncommercial-No Derivative Works 3.0 Unported ) ซึ่งน่าจะดีที่จะใช้แทนป้าย {{FairusewithNC}} (มีลิขสิทธิ์ ใช้ได้แต่ห้ามจำหน่าย) และนำไปแทนป้ายใช้งานโดยชอบธรรมที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นเอง ซึ่งขัดต่อนโยบายวิกิพีเดีย

แบบที่ 1

ใช้กรณีงานถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตัวผู้ใช้เอง

ภาพนี้มีลิขสิทธิ์
ภาพนี้มีลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์
ท่านสามารถแจกจ่ายงานของข้าพเจ้าได้ โดยมีเงื่อนไขว่าท่านต้องระบุชื่อของข้าพเจ้าในฐานะผู้สร้างสรรค์ท่านไม่สามารถนำงานของข้าพเจ้าไปแสวงหาผลกำไรได้ท่านไม่สามารถดัดแปลง ทำซ้ำ เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานของข้าพเจ้าได้

ข้าพเจ้า (ใส่ชื่อผู้สร้างสรรค์งาน) ในฐานะผู้สร้างสรรค์และ/หรือผู้ทรงลิขสิทธิ์ในภาพหรือสื่อนี้ อนุญาตให้ท่านนำภาพหรือสื่อนี้ไปแจกจ่ายได้โดยเสรี

แต่ข้าพเจ้าขอสงวนสิทธิ์ในภาพหรือสื่อนี้บางประการ ดังที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ระบุชื่อ-ห้ามนำไปค้า-ห้ามดัดแปลง 3.0 โดยมีเงื่อนไขโดยสรุปดังนี้

  • ท่านต้องระบุชื่อผู้สร้างสรรค์
  • ท่านไม่สามารถนำไปใช้ในทางการค้าหาผลประโยชน์
  • ท่านไม่สามารถดัดแปลง แก้ไข ตัดทอนใด ๆ ทั้งสิ้น

แบบที่ 2

กรณีเป็นภาพจากเว็บไซต์ หรือหนังสือ แต่เจ้าของอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยห้ามนำไปหากำไร หรือกรณีไม่ต้องการกระทบภาพพจน์เจ้าของลิขสิทธิ์

ภาพนี้มีลิขสิทธิ์
ภาพนี้มีลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์
ท่านสามารถแจกจ่ายงานนี้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องระบุที่มาดังที่ได้ระบุไว้ในหน้าอัปโหลดท่านไม่สามารถนำงานนี้ไปใช้แสวงหาผลกำไรได้ท่านไม่สามารถดัดแปลงงานนี้ได้

ภาพหรือสื่อนี้มีลิขสิทธิ์โดยเจ้าของ แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้อนุญาตให้ท่านนำภาพหรือสื่อนี้ไปแจกจ่ายได้โดยเสรี

โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ขอสงวนสิทธิ์ในภาพหรือสื่อนี้บางประการ ดังที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ระบุชื่อ-ห้ามนำไปค้า-ห้ามดัดแปลง 3.0 โดยมีเงื่อนไขโดยสรุปดังนี้

  • ท่านต้องระบุชื่อผู้สร้างสรรค์
  • ท่านไม่สามารถนำไปใช้ในทางการค้าหาผลประโยชน์
  • ท่านไม่สามารถดัดแปลง แก้ไข ตัดทอนใด ๆ ทั้งสิ้น

แบบที่ 3

อีกแบบหนึ่งคือ ไม่เป็นครีเอทีฟคอมมอนส์ คือว่างานนี้ถือลิขสิทธิ์กันแบบหลวม ๆ (en:แม่แบบ:Attribution) คือต้องยอมให้แจก นำไปใช้ในทางการค้า กระทำการใด ๆ ตามใจชอบ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ให้มันรู้กันไป

ภาพนี้มีลิขสิทธิ์โดยเจ้าของ ซึ่งเจ้าของอนุญาตให้ท่านนำไปใช้ในการใด ๆ ก็ได้ตามแต่ความประสงค์ของท่าน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ด้วย

อย่างไรก็ดี ผมใคร่ขอความคิดเห็นท่านผู้ใช้อื่น ๆ ว่าแนวคิดนี้จะเข้าท่าดีไหม? ถ้าข้อความข้างในไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมอย่างไร หรือถ้ามีคำติอื่น ๆ ก็ขอได้แสดงความคิดเห็นได้เลยครับ ตอนนี้แค่เอามาลงไว้ก่อนจะทำป้ายจริง (และตะลุยติดแทน "ใช้งานโดยชอบธรรม" ที่ผู้ใช้วิกิเป็นคนสร้างงานเอง) --Char (พูดคุย) 00:46, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ป.ล. สองป้ายแรกยังไม่เคยมีในวิกิภาษาอื่นเลย เพิ่งมามีหนแรกที่เรานี่แหละครับ--Char (พูดคุย) 00:46, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)


ถ้าเป็น creative commons ใช้สัญลักษณ์ © ไม่ได้นะครับ เพราะมันหมายถึง copyright ต้องใช้ cc อย่างเดียว ที่จริงแล้ว cc สามารถผสมได้ 6 แบบเท่านั้น ได้แก่
  1. Attribution alone (by)
  2. Attribution + Noncommercial (by-nc)
  3. Attribution + NoDerivs (by-nd)
  4. Attribution + ShareAlike (by-sa)
  5. Attribution + Noncommercial + NoDerivs (by-nc-nd)
  6. Attribution + Noncommercial + ShareAlike (by-nc-sa)
ซึ่งวิกิพีเดียยอมรับแค่แบบที่ 1 และ 4 เท่านั้นครับ และมีป้ายอยู่แล้วด้วย (ที่จริงคำว่า BY: กับรูปคน มันก็คืออันเดียวกัน) เพราะมีบอกไว้ว่า "The license must not prevent commercial reuse or derivative works." สัญญาอนุญาตจะต้องไม่ป้องกันการใช้เพื่อการค้าหรือการดัดแปลง ดังนั้นป้ายที่หนึ่งและป้ายที่สองใช้ไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าป้ายดังกล่าวไม่มีในที่อื่นมาก่อนครับ แต่มันหมายถึงไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดีย ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ หากพบเห็น cc แบบอื่นที่ไม่ใช่ 1 กับ 4 จะถูกแจ้งลบโดยเร็ว เราควรทำตามเพื่อให้วิกิพีเดียเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ใช่ว่าบนภาษานี้ใช้ได้ แต่อีกภาษาหนึ่งใช้ไม่ได้ en:Wikipedia:Image copyright tags/Deprecated#Non-free Creative Commons licenses
สำหรับแม่แบบ copyright สีเขียว (แบบที่สาม) ก็มีอีกสองแบบคือ ผู้เอาลงเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่อนุญาตให้เอาลงที่วิกิพีเดีย แต่ (1) ต้องระบุเจ้าของลิขสิทธิ์ (Attribution) หรือ (2) ไม่จำเป็นต้องระบุ (Copyrighted Free Use) โปรดดูที่ en:Wikipedia:Image copyright tags#For image creators ประกอบ เมื่อรวมสองเหตุผลด้านบนเข้าด้วยกัน ดังนั้น FairusewithNC ไม่ควรมีอยู่ในวิกิพีเดียครับ ต้องเลือก Att. หรือ Cfu. อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประการสุดท้าย เรามีแม่แบบ แม่แบบ:ถือลิขสิทธิ์ อยู่แล้ว แต่ข้อความในป้ายเข้าทำนองว่าห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลงแก้ไข กลายเป็น fair-use ไปโดยปริยาย ไม่ใช่ทั้ง Att. หรือ Cfu. ดังนั้นผมจะขอเปลี่ยนรูปภาพบางรูปที่ใช้สัญญาอนุญาตนี้ให้เป็น fair-use หรืออันที่เหมาะสมนะครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 07:47, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

แต่ที่อังกฤษ วกกลับมาที่การใช้ fair use กันดีกว่า เพราะการใข้รูปภาพแบบ Fair-use นั้นมัวิธีการที่ยุ่งยากและรัดกุมกว่านี้มาก เพื่อจับผิดผู้ใช้ที่อยากสงวนลิขสิทธิ์รูป และป้องกันการฟ้องร้อง โดยเขาจะต้องกวดขันให้ใช้ขนาดที่เล็กมาก ๆ และต้องเขียนคำขอใช้สิทธิ์ (fair use rationale) ลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น

ถึงแม้ว่าภาพนี้จะมีลิขสิทธิ์โดยเจ้าของภาพ ข้าพเจ้า (ชื่อ) เชื่อว่าการใช้ภาพนี้เป็นไปเพื่อการแสดงคำถามและคำตอบในวิกิพีเดีย ซึ่งก็เชื่อว่ามิได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยเหตุผลที่จำเป็นดังต่อไปนี้

  1. ไม่มีภาพอื่นใดที่สามารถทดแทนภาพนี้ได้
  2. ภาพนี้ใช้สำหรับเป็นสื่อประกอบบทความให้ดูน่าอ่าน
  3. ภาพนี้มีความละเอียดต่ำจนไม่สามารถนำไปทำปลอมให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ได้

และเหตุผลอื่น ๆ ตามความจำเป็น และภาพดังกล่าวห้ามใช้ในหลาย ๆ บทความเด็ดขาด ให้ใช้น้อย ๆ จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ fairuse

ซึ่งถ้าไม่เขียน ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกลบมากทีเดียว ฉะนั้น ภาพบางภาพที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นเอง เมื่อนำเข้ามาในที่นี่ต้องเปลี่ยนให้เป็นสัญญาอนุญาตแบบเสรีเท่านั้น ฉะนั้น คงต้องคิดต่อไปว่าจะจัดการกับภาพเหล่านั้นอย่างไรดี เพราะภาพบางภาพมีประโยชน์มากจนสามารถส่งเข้าวิกิกองกลางได้เลย Char (พูดคุย) 09:27, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ผมใส่ เหตุผลในการใช้ภาพ ให้หมดแล้วนะครับ (สำหรับป้ายถือลิขสิทธิ์เดิม ที่ทำไปเมื่อกี้) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:45, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
มีการดัดแปลงภาพจาก LGPL ด้วย ซึ่งผมได้ใส่คำอธิบายเพิ่มลงไปแล้ว เช่น ภาพ:Icon mime WikiBotany.png และ ภาพ:Icon mime WikiFungi.png กรณีอย่างนี้เกิดขึ้นน้อยมากครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:40, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ประเด็นน่าสนใจดีครับ ซึ่งตัวอย่างที่ 1 ที่คุณ Char ยกขึ้นมาจะใกล้เคียงกับ CC-BY-NC-ND ซึ่งถ้าเจ้าของจัดการอะไรเอง ก็คงไม่มีปัญหาถ้าจะใช้ตามครีเอทีฟคอมมอนส์ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ 2 ที่มาจากเว็บไซต์แล้วที่เจ้าของให้นำไปใช้ก็อาจจะปรับมาได้ แต่ก็ยากที่จะบอกเจ้าของว่าหันมาใช้ครีเอทีฟคอมมอนส์ไหม เพราะเข้าใจได้ทันที เนื่องจากตอนนี้ครีเอทีฟคอมมอนส์เอง ยังไม่เป็นที่นิยมในไทย ซึ่งถ้าเจ้าของสนใจก็อาจนำมาใช้ในครีเอทีฟคอมมอนส์ได้ ส่วนกรณีที่ 3 นั้น ถ้าจะใช้เป็นแบบ CC ก็คงใกล้เคียงกับ CC-BY
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ จะแตกต่างจากข้อมูลตัวอักษรที่บังคับให้เป็น GFDL ซึ่งนโยบายภาพบางทีก็อาจจะปรับปรุงกันได้ครับ เพราะอย่างในวิกิพีเดียแต่ละภาษาก็ค่อนข้างต่างกัน ในวิกิพีเดียอังกฤษเองก็มีการปรับปรุงมาตลอด ส่วนวิกิพีเดียภาษาไทยก็ลอกแบบมาจากวิกิพีเดียอังกฤษ ถ้าลองดูตัวอย่างวิกิพีเดียญี่ปุ่น ก็จะไม่มี fairuse ให้เห็น ถ้ามีหลายคนสนใจก็อาจลองมาปรับปรุงนโยบายการใช้ภาพกันครับ คือพยายามอยากให้มองกว้างนะครับ ไม่อยากให้ยึดติดมากกว่า
ส่วนเรื่องสัญลักษณ์ ก็ตามที่คุณออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา ว่าไว้นะครับ ว่าจะเป็น (C) หรือ (CC) เพราะปกติ CC ก็เป็น some rights reserved อยู่แล้ว โดยเจ้าของภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งตัวเนื้อหาของ CC เองก็มีกล่าวละเอียด (แต่ตอนนี้ท่าทางยังไม่มีภาษาไทย) --Manop | พูดคุย 18:10, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ท่าทางจะไม่มีความเห็นเพิ่มครับ ประเด็นจบแล้วหรือเปล่า? --Manop | พูดคุย 02:56, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

โครงการแก้ไขวิกิพีเดียและ Wikitravel ของ ททท.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีแผนการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาในวิกิพีเดีย และ Wikitravel ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อพูดคุยอยู่ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ทาง ททท. ได้เชิญชวนชาววิกิพีเดียเข้าร่วมคณะทำงานด้วย รบกวนอ่านรายละเอียดได้ที่หน้าบอร์ดในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษนะครับ

--PaePae | พูดคุย 15:42, 8 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เห็นว่ามีการย้อนกลับสนุกสนาน คนเขียนมีการใส่ข้อความต้อนรับไม่ว่า "Welcome to ..." (ไม่รู้ใส่ไปทำไม) ยังกับข้อมูลนำเที่ยว ใครว่างก็ไปช่วยย้อน + ตรวจสอบครับ --Manop | พูดคุย 00:51, 9 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ไม่ดูแล้ว ก็เห็นกว่าบางทีย้อนกลับมากเกินไปนะ เพราะผู้เขียนก็มีข้อมูลที่น่าคงไว้เหมือนกัน --Jutiphan | พูดคุย - 01:01, 9 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ถึงคุณJungide

ข้อความนี้ถูกย้ายไปที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (หน้าที่ต้องตรวจสอบ) เพื่อให้ข้อความรวมกับข้อความก่อนหน้า

Criteria for speedy deletion (ลบอย่างรวดเร็ว)

ที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีนโยบาย ลบอย่างรวดเร็ว ในหลาย ๆ กรณีที่หน้าไม่ต้องอภิปรายกัน ก็ลบได้เลยนะครับ เช่น ผู้สร้างต้องการให้ลบ ไร้สาระ สร้างโดยผู้ใช้ที่ถูกแบนไปแล้ว เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ที่ให้ครับ ซึ่งในหลาย ๆ วิกิพีเดียก็ได้มีการนำไปใช้แล้ว และยังมีการเพิ่มจาวาสคริปต์เข้าไปใน MediaWiki:Sysop.js อีก เพื่อให้สามารถลบในกรณี csd (เติม summary ให้อัตโนมัติ) ได้ทันที ดู Sysop.js ของอังกฤษตรงนี้ครับ ใครมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ? --Petje Bellพูดคุย 13:45, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ป.ล. ฝากช่วยคิดชื่อไทยด้วยนะครับ Criteria for speedy deletion --Petje Bellพูดคุย 13:45, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
สำหรับประเทศไทย มีนโยบายการลบแล้วครับผม ซึ่งขณะนี้เพียงพอครับ รวมถึงสคริปต์จัดให้ก็มีป้ายลบพร้อมระบุสาเหตุอยู่แล้ว เพราะในกรณีส่วนใหญ่บนวิกิพีเดียไทยนั้น ไม่ค่อยได้มีการอภิปรายครับ โดยส่วนมากจะดูวิเคราะห์สถาการณ์ รวมถึงหากบางบทความที่ไม่แน่ใจ จะปล่อยทิ้งระยะเวลาสักพักหนึ่ง เพื่อให้เวลาในการประกอบการตัดสินใจ และรอความคิดเห็นที่อาจมีการเพิ่มเติมมา ซึ่งวิกิพีเดียอังกฤษนั้นมีบทความที่ใหม่ และการแก้ไขจำนวนมาก รวมถึงผู้ดูแลระบบเป็นร้อยกว่าคนครับ ในขณะที่วิกิพีเดียนั้นมีที่ active จริง ๆ แล้วไม่กี่คน ซึ่งหากมีข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามผู้ที่ลบบทความดังกล่าวได้โดยตรงอยู่แล้วครับ --Jutiphan | พูดคุย - 13:51, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ก็เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าเราไม่ได้อภิปรายกันก่อนลบอยู่แล้ว กรณีไม่เห็นสวควรจะลบ ก็มักเปลี่ยนเป็นป้ายอื่นเช่น เก็บกวาด หรือ สั้นมาก หรือ ละเมิดฯ บลา ๆ ๆ ๆ แทน -- Lv.61 อะควากับมหาเมพดิวก๊อง ไฟล์:WikiBotany tap.png 16:49, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
งั้นรออีกสามความเห็นจากอีกสามคนนะครับ ถ้าไม่เห็นด้วยหมด ทุบค้อนปิดคดีไปได้เลย :P --Petje Bellพูดคุย 16:53, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
เคยไปเขียนที่ภาษาอังกฤษ โดนไอ้เจ้าสปีดเนี่ยลบไปซะหลายอัน แค้นจริง ๆ อย่ามาเลย วิกิพีเดียไทย ยังไม่จำเป็นขนาดนั้นครับ รอให้หนาปรับปรุงล่าสุดเรา 1 นาที มี recent change ซัก 100 อัน หรือรอให้มีสัก 1 ล้านบทความค่อยเอามาครับผม Thales.net 21:51, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องมี เพราะหน้าหนึ่ง ๆ ที่เห็นควรว่าสามารถลบได้ทันทียังสามารถดูแลได้ทั่วถึงอยู่ ดูได้ง่ายจากหน้าปรับปรุงล่าสุดหรือปูมบทความใหม่ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:54, 24 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ปกติหลายหน้าในวิกิพีเดียไทย ก็ไม่ค่อยได้อภิปรายกันเท่าไรนะครับ (เพราะอภิปรายไปก็ไม่ค่อยมีคนตอบเท่าไร) ส่วนใหญ่ก็ลบเลยอยู่แล้วตามที่เห็นในหน้า นโยบายในการลบบทความ --Manop | พูดคุย 00:51, 25 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
จะว่าไปปัจจุบันก็เหมือน speedy อยู่แล้ว --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:33, 26 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ต้องการอ้างอิง

เห็นหลายบทความติด {{ต้องการอ้างอิง}} ค้างไว้เป็นปี ไม่มีการแก้ไข พอมีใครมีวิธีช่วยแก้ หรือช่วยหาอ้างอิงมาใส่ ไหมครับ ตัวอย่างเช่นเรื่อง ดาราศาสตร์ (ติดป้ายตั้งแต่ ก.ย. 49 แล้ว ผมติดเอง ตอนนั้นเห็นฮิตกันเลยช่วยกันติด แต่หารู้ไม่ว่าติดไว้เฉย ๆ) --Manop | พูดคุย 00:38, 1 มีนาคม 2551 (ICT)

นอกประเด็นหน่อย คิดว่า ป้าย ต้องการอ้างอิง และ ช่วยเก็บกวาด ไม่ควรจะใส่ในบทความที่บ่งไว้ว่ายังเขียนไม่เสร้จ เพราะเมื่อขยายความก็คงจะมีการอ้างอิงตามมา นอกจากนั้นก็จะมีป้ายรุงรังไปหมด ขอบคุณค่ะ --Mattis 03:12, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ไม่มีใครทราบหรอกนะครับว่าบทความเขียนเสร็จแล้วหรือยัง บทความในวิกิพีเดียมีเป็นหมื่นนะครับ การเขียนทุกครั้งถ้าใส่อ้างอิงไว้ก็จะเป็นการดีกว่าที่ไม่ใส่อยู่แล้วนะครับ คงต้องหัดใส่อ้างอิงในบทความให้เป็นนิสัยนะครับ ไม่งั้นป้ายก็จะต้องตามมาติดอยู่ดี เพื่อเพิ่มคุณภาพของบทความในวิกิพีเดียครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:00, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
อ้าว ใส่อ้างอิงให้เป็นนิสัยหรือครับ ผมนึกว่าติดป้ายอ้างอิงให้เป็นนิสัยซะอีก เห็นชอบติดกันจังแต่ไม่เห็นจะช่วยใส่อ้างอิงเลยซักคน คนหลายคนเขาช่วยแปลจากวิกิพีเดียอังกฤษ นึกว่าจะมาช่วยใส่อ้างอิง แต่มาช่วยใส่ป้าย ว้า ว้า --Manop | พูดคุย 10:08, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ขอโทษนะครับคุณ Manop คงไม่มีใครรอบรู้ไปได้ซะทุกเรื่อง คนที่มาเขียนวิกิพีเดีย ก็ไม่รับเงินเหมือนคุณนะครับ ใครจะทำอะไรมันเป็นสิทธิของเขานะครับ การมาพูดประชดประชันตามนิสัยของคุณไม่ได้ทำให้วิกิพีเดียดีขึ้นมาหรอกนะครับผม ถ้าจะดีก็หัดปรับปรุงคุณภาพของบทความจะดีกว่านะครับ ป้ายมีไว้ระบุปัญหาของบทความ คุณก็ปรับปรุงบทความตามป้ายก็จบ ไม่ควรมาวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของคนอื่นนะครับ ถ้าจะให้ดีกรุณาศึกษา วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย วิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่น และ วิกิพีเดีย:เชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี ด้วยนะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:27, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
"...คุณก็ปรับปรุงบทความตามป้ายก็จบ" เอ่อ เหมือนเป็นคำสั่งเลยนะครับ เอ่อ ผมไม่ได้เงินนะครับ (ถ้าได้ก็ดี) --Manop | พูดคุย 16:05, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ถ้าอ่านแบบตัดแปะ แล้วยกประโยคมาแล้วมาบอกว่าเป็นประโยคคำสั่ง ก็คงช่วยอะไรไม่ได้นะครับ เพราะถ้าอ่านทั้งหมดก็จะเห็นว่ามันคือการแนะนำการปรับปรุงบทความว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อนำป้ายออกไปนะครับ และผมก็ไม่ได้เงินจากคุณนะ ที่ต้องมาทนฟังการประชดประชันของคุณบ่อย ๆ นะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 16:14, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ความคิดเห็นข้างล่างนี้เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดป้าย ต้องการอ้างอิง ในบทความที่ยังเป็น โครง เท่านั้น
ที่ว่า “คงต้องหัดใส่อ้างอิงในบทความให้เป็นนิสัย” ออกจะแรงไปหน่อยนะ ลองดูผลงานของคนเขียนบ้างว่าบทความอื่นมีการอ้างอิงหรือไม่ก่อนที่จะพูดอะไรเช่นนั้น นอกจากเรื่องการอ้างอิงแล้ว ตัวดิฉันเองก็ไม่ได้แปลเฉย ๆ จะเพิ่มเนื้อหา ถ้าเห็นว่าไม่ชัดเจน, ลิ้งค์ข้อมูลในบทความไปยังบทความต่าง ๆ ที่ของวิกิไทยมีอยู่แล้ว, หารูปที่เหมาะสม, และอื่น ๆ ที่บอกว่าทราบได้อย่างไรว่าเขียนไม่เสร็จ ก็ทราบได้โดยป้าย โครง ข้างล่างถ้าลงไปดูเสียหน่อยก็จะเห็น ถ้ายังเขียนไม่เสร็จจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อขยายความจะมีการอ้างอิงหรือไม่ ป้ายโครงก็เป็นการบอกเป็นนัยอยู่แล้วให้ช่วยทุกอย่างอยู่แล้ว มาติดป้าย ต้องการอ้างอิง ในบทความ โครง เป็นการสั่งงานซ้ำซ้อน
ตกลงบทความประเภทโครง ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างอิงงั้นเหรอครับ ถ้าคุณ Mattis ลองสังเกตจากบทความอื่น ๆ ในวิกิพีเดีย ส่วนมากเกือบครึ่งติดโครงทั้งนั้น แสดงว่าบทความพวกนี้ไม่จำเป็นต้องมีอ้างอิงงั้นหรือครับ ถ้าไม่มีอ้างอิงแล้วเราจะแน่ใจได้ยังไงหรือครับว่าบทความที่แต่ละคนมาเขียนนั้นเป็นข้อมูลที่เชื่อได้ ไม่ใช่ทุกบทความในนี้จะมีคนมาเขียนต่อทุกบทความนะครับ ว่าง ๆ ลองอ่านบทความอื่น ๆ ประกอบด้วยนะครับ ดังนั้น ผมคิดว่า ตรรกะ บทความที่เป็นโครงแล้วไม่จำเป็นต้องใส่อ้างอิงนั้น ไม่ควรนำมาใช้นะครับผม ส่วน "“คงต้องหัดใส่อ้างอิงในบทความให้เป็นนิสัย” ถ้าแรงไปอันนี้ต้องขอโทษด้วยนะครับ เพราะมิได้มีเจตนาทำให้เสียกำลังใจ แค่ต้องการให้ทุกคนที่มาเขียนวิกิพีเดียใส่อ้างอิงทุก ๆ บทความที่คุณเขียนจนเป็นนิสัย ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพียงคุณคนเดียวเท่านั้น--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:17, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ประการที่สองถ้าเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่นทั้งดุ้นและบทความต้นฉบับไม่มีการอ้างอิง มือสองจะทราบได้อย่างไรว่าผู้เขียนเดิมไปเอามาจากไหน หรือไม่แปลบทความที่ไม่มีการอ้างอิงจากภาษาอื่นเลยจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป แต่ถ้าทำเช่นนั้นก็จำกัดเรื่องที่จะแปลที่อาจจะมีประโยชน์ลงไปมาก ถ้าคุณอยากจะ 'สร้างนิสัย' ไปเตึอนผู้เขียนต้นฉบับจะถูกกว่า เวลาแปลก็พยายามแล้วที่จะไม่แปลบทความทีมีปัญหาการอ้างอิง
นั่นสิครับ คุณ Mattis เชื่อข้อมูลที่เอามาลงทั้งหมดที่ไม่มีการอ้างอิงมาเหรอครับ ตามปกติ วิกิปะกิดจะเข้มงวดเรื่องนี้มากผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าทำไมไม่มีป้ายติด และถ้าคุณ Mattis พึงจะสังเกตสังหน่อย หลายบทความที่คุณเขียนนั้น ผมไม่ได้ติดป้ายต้องการอ้างอิงใช่ไหมครับ เพราะอะไร เพราะผมก็เปิดไปดูในวิกิปะกิดที่คุณแปลมาว่ามันมีอ้างอิงไหม ถ้าไม่มีส่วนใหญ่ผมก็จะยกประโยชน์ให้ผู้แปลอยู่แล้วนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:17, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
คิดว่าทุกคนทราบว่าการมีการอ้างอิงเป็นสิ่งดี ... กรุณาเลือกคำที่ใช้หน่อย หัดให้กำลังใจคนเขียนก่อนที่จะบอกกล่าวกันบ้างก็จะดี --Mattis 18:32, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
เช่นเดิมครับ ถ้าทำให้เสียกำลังใจก็ต้องขออภัยมาณที่นี้ด้วยนะครับ ส่วนทุกคนทราบว่าการอ้างอิงเป็นสิ่งที่ดีนั้น ผมไม่รับประกันนะครับว่าจะทุกคนเปล่า เพราะผมต้องการรวบรวมบทความที่มีปัญหาทั้งหมดในวิกิพีเดียตอนนี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพบทความ แต่ก็ยังโดนประชดประชันเช่นกันนะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:17, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ลองคิดดูเล่น ๆ นะครับ ว่าแบบไหนมีประโยชน์กว่ากัน

  • คุณพบบทความที่ขาดการอ้างอิง แล้วพยายามหาแหล่งอ้างอิงมาใส่ แน่นอนไม่มีใครสามารถรู้ไปทุกเรื่อง แต่ถ้ามุมานะอีกสักหน่อยก็คงหาแหล่งอ้างอิงได้ไม่ยาก ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ตรงนั้นด้วยซ้ำ
  • คุณพบบทความที่ขาดการอ้างอิง แล้วเอาป้ายไปวางไว้เพื่อแจ้งให้คนอื่นหาแหล่งอ้างอิงแทน ด้วยความคิดที่ว่า การหาแหล่งอ้างอิงเป็นหน้าที่ของคนที่เอาข้อมูลมาลง จากนั้นคุณก็ค้นหาบทความอื่น ๆ ที่ขาดการอ้างอิงเพื่อติดป้ายอีก

สำหรับผมแล้ว ใครจะอยากหาแหล่งอ้างอิง หรืออยากเป็นนักติดป้าย หรือจะทำทั้งสองอย่าง ก็เชิญทำไป ผมไม่สามารถไปห้ามปรามได้ แต่ผมเห็นด้วยกับคุณมัด ที่ว่าไม่ควรติดป้ายนี้กับป้ายโครง เพราะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผมไม่เคยเห็นบทความไหนเลยที่จะมีป้าย no cite กับ stub อยู่ในหน้าเดียวกัน (ตามประสบการณ์นะครับ) แต่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง บางบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่มีการอ้างอิงหลายสิบแหล่ง แต่ก็ยังได้รับการติดป้าย ผมก็ไม่ทราบว่ามันยังไม่พออีกหรือไร --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:00, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ตอบนะครับ
ถ้าคุณแก้ไขบทความเพียงตัวคุณคนเดียว บทความเป็นหมื่นเป็นพันจะสามารถแก้สำเร็จทุกบทความไหม แต่ถ้าคุณติดป้ายเพื่อบอกให้คนที่เข้ามาอ่านหรือแก้ไขทราบ บทความพวกนี้ก็อาจจะได้รับการแก้ไขจากหลาย ๆ ฝ่าย ไม่เฉพาะตัวคุณคนเดียวนะครับ และผมก็เลือกทั้ง ข้อหนึ่งและข้อสอง ตามที่คุณออกตะกล่าว นั่นคือ บทความที่ผมสนใจและถนัด ผมก็หาอ้างอิงมาใส่และพัฒนาบทความตามแนวทางของผม ส่วนบทความที่ผมไม่ถนัด ก็ติดป้ายเพื่อบ่งบอกว่าบทความมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นที่มีความสนใจมาสานต่อ ผมมองในมุมความร่วมมือจากคนเขียนมากกว่าที่จะโยนภาระให้คนเขียนอย่างที่คุณอกตะกล่าวว่า "การหาแหล่งอ้างอิงเป็นหน้าที่ของคนที่เอาข้อมูลมาลง " นะครับ ถ้าจะสังเกตให้ดี ผมงดที่จะเขียนบทความใหม่ตอนนี้ ก็เพราะจะปรับปรุงบทความที่มีในวิกิพีเดียทั้งหมดตอนนี้ ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าบทความทั้งหมดตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้าง คุณจะปรับปรุงคุณภาพมันได้อย่างไร แต่ผมไม่สามารถทำคนเดียวได้ ดังนั้น การติดป้ายเพื่อบอกให้คนอื่นทราบว่าบทความมีปัญหาอะไรเป็นวิธีการที่ดีที่สุดนะครับ
ส่วนป้ายโครง กับ ป้ายอ้างอิง ข้อความในโครงของในวิกิไทยกับปะกิดต่างกันครับ โดย
โครงของปะกิดจะบอกแค่ว่า "This article about a 2000s novel is a stub. You can help Wikipedia by expanding it"
แต่ของไทยจะบอก "พระแม่มารี เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น" มันคือป้ายเก็บกวาดนั่นเอง

ดังนั้น ถ้าคิดว่าการใส่โครง คือ การใส่ป้ายเก็บกวาด แล้ว ต่อไป ผมก็คงจะไม่ติดป้ายใด ๆ ทั้งสิ้นในบทความประเภทโครงนะครับผม แต่อาจจะติดป้าย ต้องการอ้างอิงตรงนี้ สำหรับบทความที่ผมตรวจสอบแล้วสงสัยแทน--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 20:50, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ความคิดเห็นข้างล่างนี้เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดป้าย ต้องการอ้างอิง ในบทความที่ยังเป็น โครง เท่านั้น
เสนอเท่านั้นว่า ไม่ควรมี ไม่ใช่ ไม่จำเป็น และถ้าจะติดป้ายกันจริง ๆ ก็คงติดอันดับกันไปตาม ๆ กัน!! และอย่างที่บอกไว้แต่ต้นและตามที่คุณ octahedron80 ว่าเป็นการติดป้ายซ้ำซ้อน
ที่แปลบทความที่ไม่มีการอ้างอิงนั้นมิได้เกี่ยวกับการ เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ แต่ขณะนี้มีข้อมูลเท่านี้ที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในบทความอื่น ๆ ที่แปลอยู่จึงได้แปล ความจริงแล้วบทความของวิกิอังกฤษทั้งหลายก็มีชื่อเสียงอยู่แล้วว่าเป็นบทความที่มีปัญหาทางคุณภาพ แม้แต่บทความที่มีการอ้างอิงก็เถอะ จึงได้มีผู้แตกหน่อไปจากวิกิไปสร้างบทความที่มีการตรวจโดยผู้มีความรู้ทางวิชาการจริง แต่การทำงานเช่นนั้นใช้เวลามากจำนวนบทความจึงมีน้อย วิกิใหญ่ขณะนี้จึงใช้เป็นสะพาน แต่ผู้อ่านก็ต้องพิจารณาเอาหน่อยว่าเชื่อถือได้แค่ไหน
เราต่างก็ช่วยกัยเพื่อพัฒนาคุณภาพด้วยกันทั้งนั้น ไม่เช่นนั้นก็จะมิได้เพียงแต่ “แปลเฉย ๆ จะเพิ่มเนื้อหา ถ้าเห็นว่าไม่ชัดเจน, ลิ้งค์ข้อมูลในบทความไปยังบทความต่าง ๆ ที่ของวิกิไทยมีอยู่แล้ว, หารูปที่เหมาะสม, และอื่น ๆ ” และมีความเชื่อว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของวิกิมีความตั้งใจดีด้วยกันทั้งนั้นจริง ๆ ถ้าคุณจะพยายามให้ผู้อื่นเข้าใจในความคิดของคุณตามที่คุณอธิบายข้างบน ครั้งต่อไปก็เขียนเป็นข้อเสนอทั่วไป อย่าเจาะจงในหน้าผู้ใช้ในการติดต่อเฉพาะบุคคลเช่นที่ทำ ไม่เหมาะ --Mattis 20:04, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ผมว่าจะไม่ใส่แล้วนะครับผม แล้วใครเขียนข้อความ แสดงความไม่พอใจมาใส่หน้าพูดคุยผมเหรอครับ และที่ผมตอบนี่มันก็มีอยู่ทั้งหน้าพูดคุยของคุณและหน้าโครงการวิกิพีเดียนะครับ กรุณาคิดเสียใหม่เหอะว่ามันเจาะจงเฉพาะคุณ มันไม่เหมาะถ้าคุณจะคิดเอาเอง แล้วมาใส่คนอื่นแบบมั่ว ๆ และถ้าการเขียนข้อความแบบนั้นของคุณมันแสดงว่าคุณมีมารยาทแล้วกรุณากลับไปเรียบเรียงคำพูดใหม่ดีกว่าไหมครับ เพราะผมอ่านข้อความของคุณแล้ว มันเหมือนคนที่เข้ามาว่า ๆ ๆ ๆ และสะบัดหน้าหนี พร้อมกล่าวคำว่า ขอบคุณค่ะ คุณคิดว่าคุณมีอารมณ์โมโหได้คนเดียวหรือยังไงครับ ผมว่าจะสงบอารมณ์และพยายามใจเย็นกับคุณแล้วนะครับ ขอโทษแล้วก็ไม่พอใจ แล้วจะเอายังไงอีกหรือครับผม ขอโทษนะครับ สิ่งที่คุณสาธยายมาทั้งหมดเนี่ยะ ผมก็ทำอย่างคุณทั้งนั้นแหละ และหาข้อมูลมาลงเองด้วย เสียเวลามากกว่าคุณตั้งหลายเท่า พอบทความคุณโดนติดป้ายก็ไม่พอใจมาแว๊ด ๆ ใส่ผม คุณไม่พอใจก็ปรับปรุงคุณภาพบทความแล้วเอาป้ายออกไปแค่นั้นเองนะครับ
แล้วบทความแปลที่ไม่มีอ้างอิง ผมก็บอกคุณไปแล้วนะครับว่า ที่จริงมันควรจะติดป้ายต้องการอ้างอิงเสียด้วยซ้ำ แต่ส่วนมากผมก็ไม่ติดใช่ไหมครับ แล้วคุณไม่พอใจอะไรอีกเหรอครับ ถ้าไม่พอใจนะครับ ไปเขียนเพิ่มในการอ้างอิงในวิกิพีเดียใหม่ด้วยนะครับว่า บทความแปลจากวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องใส่ป้ายอ้างอิง และยกเลิกข้อที่ว่า วิกิพีเดียไม่อ้างอิงกันเองด้วยนะครับ จะได้ไม่ต้องยกแม่น้ำทั้งห้ามาอ้างว่า บทความที่แปลมาไม่ต้องใส่ป้ายอ้างอิง--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 20:46, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
หน่อวิกิ Citizendium มีบทความ 5,700 บทความ --Mattis 20:32, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
เห็นผ่านตามาตั้งนาน ผมก็เพิ่งจะสังเกตว่า ป้ายโครงในวิกิพีเดียภาษาไทยระบุครอบคลุมทุกอย่าง ถ้าอย่างนั้นแล้ว ถ้าเนื้อหามันไม่มาก (โครงส่วนใหญ่ก็ไม่มากอยู่แล้ว) ใส่ต้องการอ้างอิงเฉพาะจุด น่าจะทำให้ชัดเจนนะครับ ว่าตรงไหนที่ควรจะมีการอ้างอิง --KINKKUANANAS 10:59, 28 มีนาคม 2551 (ICT)

บทความคุณภาพและบทความคัดสรร

ผมเพิ่งได้เพิ่มเงื่อนไขลงไปที่ขั้นตอนการเสนอบทความคุณภาพและบทความคัดสรรว่า "ชาววิกิพีเดียที่มีบัญชีผู้ใช้เท่านั้นจึงจะเสนอได้ (ไม่ใช่หมายเลขไอพี) " แบบนี้จะโอเคไหมครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 16:08, 6 มีนาคม 2551 (ICT)

เห็นด้วย สนับสนุนครับ d_b --Manop | พูดคุย 16:17, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย สนับสนุนด้วยคนครับ --Lerdsuwa 17:02, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย กับความคิด สนับสนุนด้วยคน--Se:Rin | พูดคุย - 18:04, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย สนับสนุนครับ แต่คิดว่าส่วนวงเล็บคงไม่ต้องระบุ --Jutiphan | พูดคุย - 22:11, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย สนับสนุนครับ คิดว่าส่วนวงเล็บคงไม่ต้องระบุเหมือนกันครับ
ที่จริง น่าจะมีระยะเวลาการใช้สิทธิได้หลังจากสมัครแล้ว 1 เดือนด้วยซ้ำ เนืองจากจะได้ไม่มีผู้สมัครใหม่เพื่อการนี้

ซึ่งก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ไม่ต่างกับหมายเลขไอพี แค่เสียเวลาสมัครเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง --Gantz 19:17, 18 มีนาคม 2551 (ICT)

เห็นด้วย --Petje Bellพูดคุย 18:36, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 21:43, 9 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย โดยเฉพาะกับที่ท่าน Gantz ว่า "ที่จริงน่าจะมีระยะเวลาการใช้สิทธิได้หลังจากสมัครแล้ว 1 เดือนด้วยซ้ำ" ไม่งั้นอาจมีคนหาช่องโหว่ได้ --Sirius (TeeTaweepo)

อ้างอิงเแปลกตา

ฝากรบกวนดูบทความนี้หน่อยครับ ดับลินคอร์ ข้อความมีบรรทัดครึ่งแต่มีอ้างอิงอีก 5 บรรทัด ดูแปลกทีเดียว --Manop | พูดคุย 09:20, 9 มีนาคม 2551 (ICT)

ดูแล้วคือแปลจากวิกิภาษาอังกฤษย่อหน้าแรกแล้วไม่ได้แปลต่อ ผมเอาลิงก์ส่วนใหญ่ไปอยู่แหล่งข้อมูลอื่นแล้วครับ --Lerdsuwa 09:33, 10 มีนาคม 2551 (ICT)

ไม่มีหน้าหลัก

หน้าเหล่านี้เป็นหน้าพูดคุย ซึ่งไม่มีหน้าหลักหรือหน้าหลักถูกลบไปแล้ว ช่วยลบทิ้งหรือนำไปรวมกับบทความที่เกี่ยวข้องด้วยครับ





--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:59, 12 มีนาคม 2551 (ICT)

จัดการให้แล้วครับ --Lerdsuwa 09:58, 13 มีนาคม 2551 (ICT)

เครื่องมือแก้ไขใหม่

ได้ทำ เครื่องมือแก้ไขใหม่ เป็นเวลานานมากแล้วนะครับ ในที่สุดก็สำเร็จซักที ถูกใจไม่ถูกใจใครบ้างครับ เพราะอยากให้มีหลายอย่าง หลายรูปแบบ เวลาเลือกใช้จะได้ใส่ได้ง่าย (ป.ล. ตรงกรอบกับพื้นหลังถ้าไม่ชอบ เปลี่ยนเป็นโค้ดเดิมได้) --Petje Bellพูดคุย 19:51, 13 มีนาคม 2551 (ICT)

หมายเหตุ : หากคุณคิดว่าขาดตกบกพร่องอะไรก็ตามไป "Feel free to edit" --Petje Bellพูดคุย 19:52, 13 มีนาคม 2551 (ICT)
ไม่ใช้สีขาว (ไม่มีสี) หรือครับ (บอกเฉย ๆ) --Manop | พูดคุย 01:42, 14 มีนาคม 2551 (ICT)

เยอะไปหรือเปล่า ปกติก็ไม่ค่อยได้ใช้ (ใช้อยู่แค่แถวบน นอกนั้นใช้วิธีก๊อปปี้เอา) มันจะทำให้เว็บโหลดช้าลงทุกครั้งที่แก้ไขนะ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 01:54, 14 มีนาคม 2551 (ICT)

ตอบพี่มานพ
ผมเห็นมาจากวิกิอื่น ๆ น่ะครับ เห็นว่าสวยดี เลยลองเอามาใช้ดูบ้าง ส่วนการเปลี่ยนเป็นสีขาวนั้นก็ง่ายมากครับ
ตอบคุณออกตรา
จริงอยู่ครับที่มันเยอะ แล้วโหลดช้า ตามข้างต้น "แก้ไขได้เลย" ครับ (ป.ล. อย่าตัดพินอิน ขอร้องครับ) --Petje Bellพูดคุย 17:22, 14 มีนาคม 2551 (ICT)
เสนอว่าทำไว้เป็นทางเลือกดีไหมครับ ใครที่ต้องการใช้ก็ให้เอาสคริปต์ไปใส่ส่วนตัว เพราะมันก็ทำให้โหลดช้าจริง ๆ ด้วย -- Portalian 17:26, 17 มีนาคม 2551 (ICT)
น่าสนใจดีครับตามที่คุณ Portalian ว่าไว้ ทำเพิ่มเป็นสคริปต์ต่างหากแยกไว้ในส่วนแกเจต ใครอยากได้ก็ไปเลือกใช้กันเอง พิเศษ:Gadgets --Manop | พูดคุย 21:57, 17 มีนาคม 2551 (ICT)
ส่วนตัวแล้ว รุ่นที่คุณ Passawuth เสนอนั้นมันเยอะเกินไปครับ 99.9% ของการใช้งานคงไม่ได้ใช้ตัวเลือกอย่าง "เวียดนาม" หรืออะไรอย่างนี้ ผมมองว่าหลายตัวเลือกไม่จำเป็นเพราะว่าไม่ได้ใช้กัน บางอันอาจโอเคที่มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้บ้าง และอย่างที่หลายคนบอก แม้ไม่แสดงทั้งหมด แต่ความจริงทางเทคนิคนั้น เวลาโหลดหน้า ตัวเลือกทุกอย่างต้องโหลดทั้งหมด --Jutiphan | พูดคุย - 23:26, 17 มีนาคม 2551 (ICT)
คร้าบบบ ตัดแล้วคร้าบบบ... ^-^ --Petje Bellพูดคุย 16:34, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ร่วมตั้งชื่อ Wikiversity

ผมคิดว่าเราน่าจะตั้งชื่อ Wikiversity เป็นภาษาไทยได้แล้ว เนื่องจากว่า หน้าหลายหน้าที่แม่วิกิ หรือ Betawiki ก็ตาม ได้ให้ผมแปล Wikiveristy เป็นภาษาไทย ซึ่งผมยังทำไม่ได้ และอีกอย่างนึงนะครับ เวลาเรียกทีนี้เราจะได้เรียกเป็นภาษาไทยซักที และเผื่อการสร้างบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับ Wikiversity ก็สามารถเรียกในภาษาไทย ไม่ต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษแล้ว ว่ายังไงกันบ้างครับ (แล้วก็อย่าลืมเสนอชื่อด้วยล่ะครับ :) ) --Petje Bellพูดคุย 17:46, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ต้องขอให้ลบลิ้งของ สถานีย่อยมหา'ลัยไทยก่อนนะครับ แอบเอาชื่อมาใช้ตอนนั้น--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:09, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
เสนอให้ใช้ "วิกิวิทยาลัย" แต่ว่าโครงการนี้มีไว้ทำอะไร ถ้ามีโครงการภาษาไทยจะมีคนเขียนหรือไม่ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:15, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

Wikiversity : wiki + university งั้นขอเสนอว่าตั้งเป็น "วิกิมหาวิทยาลัย" หรือ" วิกิมหา'ลัย" (แอบลดรูปตามภาษาปะกิด) ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตว่า วิกิวิทยาลัย เกรงว่าจะไม่ตรงสักเท่าไหร่นะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:20, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ถ้ามีผมจะเขียนนะครับ แต่ตอนนี้ยังไม่มีแผนจะเสนอให้สร้าง แต่ว่า ใช้สำหรับกรณีอื่น ๆ ก่อนที่วิกิอะไรก็ตามภาคภาษาไทยจะเปิดตัว ไม่งั้นต้องทับศัพท์ไปอย่างเดียวล่ะครับ --Petje Bellพูดคุย 18:24, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
"วิกิมหาวิทยาลัย" ครับ --Manop | พูดคุย 00:49, 23 มีนาคม 2551 (ICT)

ถ้ายังไม่เปิดภาษาไทย ไม่ใช้ทับศัพท์ไปก่อนหรือครับ? --►KINKKUANANAS◄ 16:49, 23 มีนาคม 2551 (ICT)

ก็อย่างที่บอกไว้ข้างต้นครับ... แล้วก็ จะใส่ชื่อไว้ใน มูลนิธิวิกิมีเดีย ด้วย แต่ต้องคิดชื่อ และ ตกลงกันก่อน เดี๋ยวมีปัญหา ให้มีมติกันก่อน --Petje Bellพูดคุย 18:47, 23 มีนาคม 2551 (ICT)
"วิกิมหา'ลัย" น่าจะดีครับ เพราะถ้าวิกิมหาวิทยาลัย อาจจะยาวไปหน่อย แล้วโครงการนี้เกี่ยวกับอะไรครับ --Mdacion 20:00, 23 มีนาคม 2551 (ICT)

โครงการจะคล้ัายกับ "วิกิตำรา" นะครับ แต่จะเน้นไปในด้านรูปแบบคล้ายกับการเรียนออนไลน์มากกว่าครับ (วิกิตำราจะคล้ายกับเอาหนังสือมาอ่านเรียนด้วยตัวเอง) --Manop | พูดคุย 23:38, 23 มีนาคม 2551 (ICT)

จริง ๆ ถ้าจะให้รูปแบบคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในเรื่องการแทรกคำว่า วิกิ ในคำว่ามหาวิทยาลัย ก็อาจจะเป็น "มหาวิกิลัย" แต่ว่า จะไม่ได้คำว่า วิกิ นำหน้า ก็คงไม่เหมาะ้เท่าไหร่ ขอเสนออีกคำเป็น "วิกิยาลัย" ครับ --►KINKKUANANAS◄ 10:15, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
"วิกิยาลัย" ดีครับ แหวกแนวดี --Mdacion 10:30, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
มหาวิทยาลัย = มหา + วิทยา + อาลัย เห็นด้วยกับ "วิกิยาลัย" --Yuktanan 11:09, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
เอารายชื่อเลยนะจ๊ะ
  1. วิกิวิทยาลัย ชื่อสั้นกระชับ ตรงประเด็น แต่อาจจะเกิดความสับสน คือ วิทยาลัย เล็กกว่าและไม่ใช่ มหาวิทยาลัย ถ้าโครงการนี้เป็นการแนะนำที่เรียนไม่จำเพาะแค่มหาวิทยาลัย วิกิวิทยาลัย เป็นทางเลือกที่ดีมาก
  2. วิกิมหาวิทยาลัย ยาว แต่ชัดเจน เจาะจงไปเลยว่าเป็นเฉพาะมหาวิทยาลัย
  3. วิกิมหา'ลัย อ่านดูเหมือนจะดี แต่ภาษาวิบัติคะ มหา'ลัย มันอาจจะเป็น มหาประลัย ก็ได้ใช่ไหมคะ ดังนั้น อันนี้ไม่สนับสนุน
  4. วิกิยาลัย เพราะดีคะ แต่ไม่สื่ออะไรเลย คำว่า "ยาลัย" ที่ลดรูปมานั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็น วิทยา+อาลัย เท่านั้น อาจจะเป็น สัตย์+อาลัย เป็น สัตยาลัย หรือ ปูชนีย์+อาลัย เป็น ปูชนียาลัย
ถ้าจะตั้งชื่อเค้าว่าควรจะเป็นชื่อที่อ่านแล้วเข้าใจไม่ต้องนั่งตีความ ภาษาต้องไม่วิบัติ ชัดเจน และตรงประเด็น ดังนั้น คิดว่า วิกิมหาวิทยาลัย หรือ วิกิวิทยาลัย เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้จ้า--Blacknut 12:12, 24 มีนาคม 2551 (ICT)

เข้ามาเห็นด้วยกับ "วิกิวิทยาลัย" ครับ ฟังดูเหมือนกับเป็นมหาวิทยาลัยชื่อ"วิกิ"ดี ตรงประเด็นดีนะผมว่า --Kie 16:26, 24 มีนาคม 2551 (ICT)

น่าจะใช้คำว่า มหาวิกิยาลัย นะครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.149.87 (พูดคุย | ตรวจ) 04:32, 28 มีนาคม 2551 (ICT)
Wikiversity ก็ไม่สื่อความหมายนะครับ ส่วน มหา'ลัย มันไม่วิบัตินะครับ เป็นแค่การเขียนภาษาพูดมากกว่า (คนเราไม่ออกเต็มเสียงทุกคำอยู่แล้ว นอกจากความพยายามผิดธรรมชาติของพวกอนุรักษนิยม) อย่าสับสนภาษาวิบัติกับธรรมชาติของการพูด --KINKKUANANAS 21:51, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

รู้สึกว่าเริ่มมีหลายชื่อ สรุปสั้น ๆ ละกันครับ

  • Wikiversity
  • วิกิยาลัย
  • วิกิวิทยาลัย
  • วิกิมหาวิทยาลัย
  • วิกิมหา'ลัย
  • มหาวิกิลัย
  • มหาวิกิยาลัย

--Manop | พูดคุย 22:06, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

วิกิยาลัย หรือ มหาวิกิยาลัย สวยดี -- 203.131.212.68 19:06, 31 มีนาคม 2551 (ICT)
ไม่ วิกิยาลัย ก็ วิกิมหา'ลัย ครับ ถ้าข้าพเจ้าเลือก --Mduf 19:50, 31 มีนาคม 2551 (ICT)

วิกิยาลัย (ดูคล้ายสนธิแบบบาลี อิ เป็น เอ - เอ เป็น อย จึงได้ วิกิยาลย ความหมาย: วิกิ+อาลย = ที่อยู่ของวิกิ) ไม่มีความหมายเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอย่างที่ทุกคนประสงค์ แนะนำให้ตัดชื่อนี้ออก เช่นเดียวกับ มหาวิกิลัย (มหนฺต+วิกิ+อาลย) ศัพท์นี้สนธิผิดรูปแบบภาษาบาลีและไม่ได้มีเนื้อหาอะไรเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน ผมแนะนำให้ตัดออก ทั้ง "วิกิยาลัย" "มหาวิกิลัย" "มหาวิกิยาลัย"

จะว่าไปแล้ว "วิกิวิทยาลัย" สั้น กระชับ ตรงประเด็น เข้าใจง่ายดีครับ เห็นด้วยถ้าจะใช้ชื่อนี้ -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 21:11, 3 เมษายน 2551 (ICT)
ไม่ได้คัดค้านนะครับ แต่ขอเสริมข้อมูลว่า Wikiversity ซึ่งเป็นชื่อต้นฉบับ ก็ไม่มีความหมายอะไรถ้าแยกคำออกมา (ภาษาละติน uni แปลว่า หนึ่ง + versus แปลว่า เปลี่ยน) ดังนั้นเรื่องการผิดความหมายหรือไวยากรณ์ น่าจะเป็นประเด็นรอง --KINKKUANANAS 16:34, 4 เมษายน 2551 (ICT)
ขอลงความคิดเห็นบ้างครับ เคยเปิดมาดูสภากาแฟหลายครั้งแล้วไม่เคยได้เสนอความคิดเห็นสักที ครั้งนี้ก็ครั้งแรก
คิดว่าชื่อที่น่าใช้จะเป็น วิกิวิทยาลัย ครับ ฟังดูแล้วเป็นทางการนิด ๆ ดี แต่โดยส่วนตัวแล้วผมชอบ วิกิมหา'ลัย มากกว่า
--MakinJoke 19:13, 5 เมษายน 2551 (ICT)

วิกิทยาลัย -- Lv.66i อะควากับวิศวกรรมเครื่องแกง ไฟล์:WikiBotany tap.png 16:56, 6 เมษายน 2551 (ICT)

"วิกิมหาวิทยาลัย" แม้ว่าจะเห็นชอบ (แต่ไม่เห็นด้วย) เพราะตรงจุดมุ่งหมาย สอดคล้องเป็นนโยบาย"ถูกหลักภาษา" และเป็นนโยบายเดียวกับ "วิกิพจนานุกรม" แต่ชื่อยาวจัง จะยุ่งยากในการใช้งานภายหลัง - "วิกิวิทยาลัย" แม้ไม่ตรงความนัก แต่ก็ไม่ผิดความเกิน ทั้งอ่านง่ายกว่าวิกิมหาวิทยาลัย ก็อย่างที่ท่าน Kinkku Ananas ว่า - "วิกิมหา'ลัย" ขัดนโยบายแม่ รับไม่ได้ - "วิกิทยาลัย" ชอบ ฟังเข้าใจดี เหมือนเล่นคำ แม้ไม่ถูกแต่ก็ไม่ผิดเท่ากับมหาลัย - "มหาวิกิลัย" อันนี้ขำ ฟังทะแม่ง ๆ (ฟังเสียงเหมือนกับ " (จะ) มาหาวิกิ (เอาอะ) ไร") -- Sirius (Teetaweepo)

ลงคะแนน Wikiversity

- ปิดผลการเลือกตั้งแล้ว -
  • วิกิยาลัย
  • วิกิทยาลัย
เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
เห็นด้วย ดูเป็นการเล่นคำที่พอจะเดาที่มาได้ แม้ว่าจะไม่มีความหมายอะไรก็ตาม --KINKKUANANAS 02:35, 20 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย --Lv.66i อะควากับวิศวกรรมเครื่องแกง 22:43, 27 เมษายน 2551 (ICT)
ไม่เห็นด้วย บางคนอาจจะอ่านแล้วไม่เข้าใจครับ -- Portalian 23:09, 28 เมษายน 2551 (ICT)
  • วิกิวิทยาลัย
เห็นด้วย -- Tmd 21:50, 9 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย -- Manop 03:27, 11 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย -- Lerdsuwa 16:47, 15 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย --Petje Bellพูดคุย 23:01, 17 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย ตรง ๆ เข้าใจง่าย --KINKKUANANAS 02:35, 20 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย -- Portalian 23:09, 28 เมษายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย ช้าไปรึเปล่า? · Dr.Garden · พูดคุย · 20:01, 1 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • วิกิมหาวิทยาลัย
เห็นด้วย -- Manop 03:27, 11 เมษายน 2551 (ICT) ล
เห็นด้วย --Petje Bellพูดคุย 15:06, 18 เมษายน 2551 (ICT)
  • วิกิมหา'ลัย
ไม่เห็นด้วย ขัดนโยบายแม่ของวิกิฯเองที่ต้องการความถูกต้อง -- Sirius (Teetaweepo)
ไม่เห็นด้วย ภาษาไทยอาจวิบัติ --Petje Bellพูดคุย 23:01, 17 เมษายน 2551 (ICT)
  • มหาวิกิลัย
ไม่เห็นด้วย อ่านแล้วไม่ได้ความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น --Petje Bellพูดคุย 23:01, 17 เมษายน 2551 (ICT)
  • มหาวิกิยาลัย
ไม่เห็นด้วย -- Portalian 23:09, 28 เมษายน 2551 (ICT)
  • วิทยาลัยวิกิ
เป็นกลาง - กึ่งชอบและไม่ชอบครับ --Petje Bellพูดคุย 23:01, 17 เมษายน 2551 (ICT)
  • มหาวิทยาลัยวิกิ
ไม่เห็นด้วย อ่านแล้วเหมือนมหาวิทยาลัยสอนแต่เรื่องวิกิครับ -- Manop 03:27, 11 เมษายน 2551 (ICT)
ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกันครับ -- Portalian 23:09, 28 เมษายน 2551 (ICT)
ผมขอประเดิมลงชื่อก่อนละกัน ใครจะเพิ่มชื่อใหม่ก็ใส่ได้เลยครับ -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 21:50, 9 เมษายน 2551 (ICT)
ขอโหวตสองชื่อละกันครับ (คงไม่ว่ากัน) --Manop | พูดคุย 03:27, 11 เมษายน 2551 (ICT)
ลังเลระหว่าง วิกิทยาลัย กับ วิกิวิทยาลัย.. ตัดสินใจโหวต ให้เหตุผลไว้ข้างบนนะครับ --Sirius (TeeTaweepo) 08:24, 17 เมษายน 2551 (ICT)
ตกลง เอาชื่อวิกิมหาวิทยาลัยล่ะกัน --Donuttowanoon2
ปิดผลโหวตแล้วกันนะครับ ตอนนี้เรื้อรังมานานแล้ว สรุป "วิกิวิทยาลัย" เป็นชื่อใหม่ของ Wikiversity ในภาษาไทย คะแนน 7 เสียง --Petje Bellพูดคุย 09:26, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อ้างอิง (อีกรอบครับ)

อยากรบกวนนิดหน่อยครับ มีไอเดียว่าน่าจะมีหน้าใหม่ที่อธิบายภาพรวมของการอ้างอิง แทนที่จะอธิบายทุกอย่างและสร้างความงงกับผู้ใช้ใหม่อย่างในหน้า การอ้างอิงแหล่งที่มา โดยคิดว่าหน้าใหม่จะช่วยลดปัญหาที่ว่า

  1. คนใหม่ไม่เข้าใจการอ้างอิง เหตุผลของการอ้างอิง รูปแบบการอ้างอิง คำสั่งการอ้างอิง
  2. คนเก่าคิดว่าทุกอย่างต้องอ้างอิง เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนต้องทำ (และเผอิญเข้าใจว่าคนใหม่รู้ทุกเรื่องและคิดตรงกันแต่ไม่ยอมทำ)

เลยได้ไอเดียมาสร้างหน้า วิกิพีเดีย:10 ข้อสำหรับการอ้างอิง เริ่มเขียนได้นิดหน่อย และชื่อก็ไม่แน่ใจว่าใช้อย่างไรดี อยากขอรบกวนช่วยอ่านผ่านต่อ หรือว่าถ้ามีความเห็นเพิ่มเติมสามารถช่วยแก้ไขได้เลยครับ

แล้วก็น่าจะมีปรับแก้หน้า วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ (อ่านยาก) กับ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา ที่หลายส่วนไม่ได้อัปเดตเท่าไร --Manop | พูดคุย 01:57, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

ช่วยเขียนเพิ่มให้บ้างแล้วครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:18, 3 เมษายน 2551 (ICT)

เก็บกวาดการวางตำแหน่งกล่องและป้าย

คนละประเด็นกับข้างบนนะครับ การจัดหน้า แรก ๆ ก็คิดว่าเข้าใจหมดแล้ว แต่ทำไปทำมา ก็ชักไม่แน่ใจครับ เกี่ยวกับ ตำแหน่งวางของ แม่แบบ เชื่อมโยงหัวข้อ ไม่ทราบว่า มีกำหนดหรือยัง หรือว่าเสรีอะครับ เพราะเห็นมา มีหลากหลายมาก น่าจะสังคายนาซะที

แต่ที่แน่ ๆ ยังไม่ระบุในหน้าสอน 2 หน้านี้เลย วิกิพีเดีย:แนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น และ วิกิพีเดีย:หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ ถ้ายังไม่ตกลงกันน่าจะเปิดประเด็นที่สภากาแฟไหมครับ.. หรือว่ามีหัวข้อคุยในสภาฯแล้ว.. ถ้าตกลงกันแล้วก็อัปเดต ไว้ให้สมาชิกและทีมงานรับทราบพร้อมเขียนพร้อมเก็บกวาดต่อไป..

  • ป้ายโครงการพี่น้อง (ไม่แน่ใจ ไว้ที่ "ดูเพิ่ม" หรือ "แหล่งข้อมูลอื่น")
  • ป้ายกลุ่มบทความ (ไว้เหนือแม่แบบ"โครง" ใต้"ดูเพิ่ม"กับ"อ้างอิง" ใช่ไหมครับ หรือว่าไม่ได้กำหนดไว้)
  • กล่องข้อมูล (อันนี้รู้ว่าไว้บรรทัดบนสุด (ใต้ก็แต่"แม่แบบแสดงข้อความ"ถ้ามี) แต่ก็ยังไม่อธิบายในหน้าวิธีใช้)
  • ฯลฯ

ขอบคุณครับ (ปล.ขออภันผิดพลาดตอนโพสต์หัวข้อหาย มาแก้) ---Sirius (TeeTaweepo) 09:26, 25 เมษายน 2551 (ICT)

  • ตอนนี้เท่าที่เห็นหลัก ๆ ก็มีป้ายวางบนสุด สำหรับป้ายเตือนคนอ่านและคนเขียน และป้ายล่างสุดสำหรับบอกคนที่อยากเขียนครับ นอกจากนี้ป้าย โครง จะไว้ใต้หมวดหมู่ครับ เพื่อให้หมวดหมู่ที่เขียนว่า "บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์..." จะได้ถูกจัดไว้หลังสุด
  • ส่วนป้ายโครงการพี่น้องนี่เห็นบ้างเป็นประปราย ส่วนใหญ่ก็จะไว้ใต้ แหล่งข้อมูลอื่น แต่ถ้าไม่มีแหล่งข้อมูลอื่น ก็จะเห็นวางใต้ดูเพิ่มครับ
  • ป้ายกลุ่มบทความนี่ส่วนใหญ่จะไว้สุดท้ายครับ ไว้เหนือหมวดหมู่ จะได้ถูกดันไปล่างสุด เพราะไม่งั้นเนื้อหาที่อยู่ใต้ป้ายกลุ่มบทความมักจะโดนมองข้าม
  • กล่องข้อมูลก็มักจะอยู่บนสุดสุดครับ แต่ไม่แน่ใจว่าควรวางไว้บนหรือใต้ {{ความหมายอื่น}} ดี
  • เพิ่มเติม แม่แบบ เกิดปี กับตายปี อันนี้ผมพยายามไว้ใต้หมวดหมู่ แต่เหนือโครงครับ ในลักษณะเดียวกันคือ ให้หมวดหมู่เรียงไว้ท้ายสุด
  • เพิ่มเติม แม่แบบ {{เรียงลำดับ}} อันนี้ยังไม่แน่ใจว่าวางตรงไหนดี แต่ผมวางไว้เหนือหมวดหมู่ เพราะจะง่ายในการอ่านสำหรับคนเขียนว่าสั่งให้เรียงลำดับ แต่จริงแล้ววางตรงไหนก็ได้ ไม่มีผลทางเทคนิค
ว่าไปแล้วมาทำสังคายนาก็ดีเหมือนกันนะครับ จะได้ทำเป็นรูปแบบเดียวกันหมด จะได้ไม่มีปัญหาแก้กันไปแก้กันมา ถ้าสรุปได้เสร็จ จะได้นำไปปรับแก้ข้อความใน วิกิพีเดีย:แนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น และ วิกิพีเดีย:หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ ซะที เห็นว่าไม่ได้ปรับแก้มานาน --Manop | พูดคุย 04:29, 30 เมษายน 2551 (ICT)
ลองเรียงลำดับ โดยสรุปจากความเห็นข้างบนให้ดูง่าย ๆ ครับ (สัญลักษณ์ ? หมายถึงยังไม่แน่ใจตำแหน่ง)
  • เนื้อหา
ส่วนผม เห็นด้วยกับคุณ Manop ครับ --Lerdsuwa 11:15, 30 เมษายน 2551 (ICT)
ว่าจะถามเพิ่ม ขอพ่วงไปด้วยละกันนะครับ คือตอนนี้ส่วน อ้างอิง/ ดูเพิ่ม/ แหล่งข้อมูลอื่น จะจัดลำดับอย่างไรดีครับ ตอนนี้ปัจจุบันเป็น --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teetaweepo (พูดคุยหน้าที่เขียน) 12:39, 30 เมษายน 2551 (ICT)
  • อ้างอิง
  • ดูเพิ่ม
  • แหล่งข้อมูลอื่น
แต่เห็นบางคนจัดตามวิกิพีเดียอังกฤษที่เป็น
  • ดูเพิ่ม
  • แหล่งข้อมูลอื่น
  • อ้างอิง
เผื่อถ้าจะแก้ไข หรือว่าปรับปรุงจะได้เสนอไอเดียไปพร้อมกันเลย (ไม่แน่ใจว่าออกนอกประเด็นเกินไปหรือเปล่าครับ) --Manop | พูดคุย 14:12, 30 เมษายน 2551 (ICT)
ผมว่าน่าจะเรียง
  • ดูเพิ่ม
  • อ้างอิง
  • แหล่งข้อมูลอื่น
ตามบทความคัดสรรภาษาอังกฤษครับ เช่น en:Anabolic steriod. --Lerdsuwa 16:52, 30 เมษายน 2551 (ICT)
คิดว่าน่าจะเรียง
  • ดูเพิ่ม
  • อ้างอิง
  • แหล่งข้อมูลอื่น
เหมือนกันครับ เอาส่วนที่มีการโยงไปเว็บไซต์อื่นมาไว้ข้างล่างทีเดียวเลย -- Portalian 17:44, 6 พฤษภาคม 2551 (ICT)
1. สำหรับส่วนบนสุด
ป้ายเตือน/ {{ความหมายอื่น}}/ กล่องข้อมูล ดีแล้วครับ
ความหมายอื่นมีจุดประสงค์กึ่งคล้ายป้ายเตือน (แต่ป้ายเตือนสำคัญกว่า)
ส่วนกล่องข้อมูลมีเนื้อความยาวกว่ามาก ไว้ล่างกว่า จะได้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป จะอ่านจะเรียบเรียงจะแก้ก็ง่าย
2. สำหรับส่วนล่าง กำลังนึกอยู่เชียวว่าลืมอะไรไป ประเด็นนี้เล่นเอาผมงงไปเยอะเลยตอนมาใหม่ ๆ ทีนี้ทำไปทำมา ผมว่า
  • อ้างอิง/ ดูเพิ่ม/ แหล่งข้อมูลอื่น น่าจะเหมาะแล้ว
ผู้ริเริ่มคงมีเหตุผลที่ต้องการ เน้นอ้างอิงให้เห็นก่อน เพื่อว่า (และเผื่อว่า) จะยกไปอ้าง
  • ส่วนวิกิฯอังกฤษ จาก en:Guide_to_writing_better_articles#Standard appendices จะเป็น ดูเพิ่ม/ เชิงอรรถ/ อ้างอิง/ แหล่งข้อมูลอื่น (หนังสือ) / แหล่งข้อมูลอื่น (ลิงก์)
แต่พอดูจากบทความที่พบเห็นแล้ว บางทีก็ยังหลากครับ หลัง ๆ นี้เลยชักระแวงเวลาแปลบทความ เหอ ๆ
3. เพิ่มประเด็น
แล้ว เชิงอรรถ (ที่ใช้แท็ก reference/ ซึ่งมีทั้ง 1.การขยายความ และ 2.การอ้างอิงเฉพาะส่วน) ละครับ
  • รู้ว่า อยู่ใน อ้างอิง แต่ไว้เหนือหรือใต้ รายการอ้างอิงหลัก (อ้างอิงรวม) ดี ?
  • แล้วถ้า บางเชิงอรรถเป็นขยายความ บางเชิงอรรถเป็นอ้างอิงเฉพาะส่วน (โดยแท็ก ref จะถูกรวมกันโดยเรียงตามลำดับอ้างก่อน-หลัง) แต่มีวิธีแยกไหมครับ หรือว่าดีแล้วผ่าน
4. ถามครับ
ถ้าแหล่งข้อมูลที่เอามามีทั้ง ข้อมูลที่นำมาเขียน (อ้างอิง) และข้อมูลที่ขยายความ (แหล่งข้อมูลอื่น) พอ ๆ กัน จะใส่ตรงไหน
--Sirius (TeeTaweepo) 19:39, 30 เมษายน 2551 (ICT)
ตอบนะครับ เห็นว่าเคยมีคุยกันซักพักหนึ่ง (ผมหาไม่เจอแล้ว) แต่ในหน้า คุยเรื่องวิธีใช้:การอ้างอิงแหล่งที่มา มีการคุยไว้นิดหน่อยครับ (แอบงงเหมือนกัน) --Manop | พูดคุย 09:34, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

หน้าพวกนี้เป็น "วิกิพีเดีย:" หรือ "วิธีใช้:" กันแน่

ช่วยกันจับ หน้าวิธีใช้ที่ชื่อ "วิกิพีเดีย:.." มาใส่เนมสเปซ "วิธีใช้:.." กันเถิด ไม่ใช่เรื่องด่วนแต่ก็อยากให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จะได้ไม่สับสนและลดปัญหาการค้นไม่เจอ

ผมเจอหน้าพวกนี้มา (ส่วนใหญ่ก็ใน {{คู่มือ}} นั่นแหละ) และไม่แน่ใจ
(แม้จะรู้ว่า วิกิพีเดีย: สำหรับหน้านโยบาย ก็เถอะ แต่บางหน้ามีทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันว่าด้วย"วิธีการ"มากกว่า"นโยบาย" เอ๊ะ หรือน้อยกว่า ไม่รู้แหะ ถามให้สภาสูงสรุปชัด ๆ ช่วยกันตัดสินชี้ขาดดีกว่า)

(ในที่นี้บางหน้าถึงแน่ใจก็ใส่ไว้ในที่นี้ด้วย กันไว้เผื่อเผลอแก้ หรือหน้าที่แก้แล้วก็ใส่ไว้ด้วยเป็นตัวอย่าง) --Sirius (TeeTaweepo) 11:41, 24 เมษายน 2551 (ICT)

ผมว่าหน้านโยบาย และแนวทางการเขียนน่าจะเป็น "วิกิพีเดีย" ส่วนพวกวิธีใช้ ก็เป็น "วิธีใช้" เลยครับ จะได้เข้าใจง่าย แต่ดูไปดูมาก็งงเหมือนกันครับ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
บางหน้าก็มีผสมกันครับ ทั้งนโยบายและวิธีใช้ แต่มีส่วนของวิธีใช้ยาวกว่าเพราะรวบรวมรายละเอียดแม่แบบต่าง ๆ ผมเลยโหวตให้ใช้ วิธีใช้: กับหน้าพวกนั้น คนอื่นมีความเห็นยังไงเสนอได้ครับ --Lerdsuwa 10:49, 25 เมษายน 2551 (ICT)
ผมมองว่า ถ้ามีส่วนที่เป็นนโยบายและแนวทางรวมอยู่ ก็น่าจะยังเก็บไว้ที่ "วิกิพีเดีย:" หรือแยกเฉพาะส่วน "วิธีใช้" ออกไปแยกเป็นสองหน้า --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)

เห็นด้วยไหมที่จะเปลี่ยนชื่อ

  • ถ้าหน้าใด ควรเปลี่ยนเป็น วิธีใช้: ...ใส่... #* {{เห็นด้วย}} -- ~~~ -- (เหตุผล ถ้ามี)
    • หน้าที่สรุปแล้วว่า เปลี่ยน... ขีดฆ่า แล้วดำเนินการ เปลี่ยนชื่อ หน้านั้นต่อไป
  • ถ้าหน้าใด เป็น วิกิพีเดีย: เหมือนเดิม ...ใส่... #* {{ไม่เห็นด้วย}} -- ~~~ -- (เหตุผล ถ้ามี)
    • หน้าที่สรุปแล้วว่า ไม่เปลี่ยน... ทำสีและ/หรือขีดฆ่า (ไม่ต้องลบเก็บเป็นหลักฐาน) (ออกตัวก่อนว่า หน้าที่ผมขีดฆ่าไว้ก่อนเพราะมันแก้มาแล้วก่อนผมเสนอ)
  • ใครเจอหน้าใดน่าสงสัย มาเพิ่มในรายการก็ได้
  • ขออนุญาตเตือนอีกรอบ เสร็จแล้วลืมช่วยกันแก้ใน {{คู่มือ}} ด้วยนะจ๊ะ
  • ลืมนัดว่าจะสรุปผลเมื่อไหรกันดี (ปกติเขากำหนดปิดโหวตอย่างไรครับ เป็นจำนวนคนหรือเป็นจำนวนวัน แล้วกี่คนกี่วัน) --Sirius (TeeTaweepo) 09:26, 25 เมษายน 2551 (ICT)
เท่าที่ดูนิยมกำหนดเป็นช่วงเวลา และอยู่ที่เรากำหนดครับไม่ให้สั้นเกินไปหรือนานเกินไป สักอาทิตย์นึงน่าจะพอ ผมเสนอปิดโหวต 1 พฤษภาคม ก็แล้วกันครับ ตอนนี้ผมใส่ใน แม่แบบ:ประกาศ น่าจะมีคนมาออกความเห็นมากขึ้น หลายหน้าข้างล่างมันค่อนข้างก้ำกึ่ง น่าจะเอาความเห็นจากหลาย ๆ คน --Lerdsuwa 10:41, 25 เมษายน 2551 (ICT)
  1. วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:48, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย สไตล์การเขียน น่าจะเป็นลักษณะของแนวนโยบาย --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย นโยบาย -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:05, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  2. วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ
    • นโยบาย --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:48, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • งดออกเสียง -- Sirius (Teetaweepo)
    • ไม่เห็นด้วย เป็นแนวนโยบาย --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)
      •  ไม่เปลี่ยน -- Portalian 17:35, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  3. วิกิพีเดีย:การแก้ไขหน้า
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) -- อย่างยิ่งเลย
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:48, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Portalian 22:54, 28 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:35, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  4. วิธีใช้:การแก้ไขหน้าพื้นฐาน
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) -- ทีจริงผมว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น "วิธีใช้:สัญลักษณ์พื้นฐานในการแก้ไขหน้า" จะตรงกับเนื้อหามากกว่า
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:48, 24 เมษายน 2551 (ICT)
  5. วิกิพีเดีย:การแก้ไขเล็กน้อย
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:48, 24 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:38, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  6. วิกิพีเดีย:คำอธิบายอย่างย่อ
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) --
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:38, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  7. วิกิพีเดีย:การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบเข้ามาช่วย
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) --
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:41, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  8. วิกิพีเดีย:แนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • แนวทาง --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)
      •  ไม่เปลี่ยน -- Portalian 17:41, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  9. วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
    • แนวทาง --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • ไม่เห็นด้วย --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)
      •  ไม่เปลี่ยน -- Portalian 17:41, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  10. วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์
    • ไม่เห็นด้วย --Sirius
    • นโยบาย --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)
      •  ไม่เปลี่ยน -- Portalian 17:41, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  11. วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรให้เป็นกลาง
    • แนวทาง --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • งดออกเสียง -- Sirius (Teetaweepo)
    • ไม่เห็นด้วย --KINKKUANANAS 23:57, 26 เมษายน 2551 (ICT)
      •  ไม่เปลี่ยน -- Portalian 17:41, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  12. วิกิพีเดีย:สร้างบทความใหม่
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) -- มีเนื้อหาน้อย แต่ที่น้อย ๆ นั่นแหละ ใช่เลย
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:45, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  13. วิกิพีเดีย:การอัปโหลดภาพ
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Portalian 22:54, 28 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:45, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  14. วิธีใช้:การใส่ภาพ
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
  15. วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ
  16. วิธีใช้:ตาราง
  17. วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ - ไม่แน่ใจว่าต้องเป็นชื่อด้วยเป็น วิธีใช้:หมวดหมู่ หรือเปล่า --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 17:45, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  18. วิกิพีเดีย:หน้าเปลี่ยนทาง
  19. วิกิพีเดีย:URLs (การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย)
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  20. วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย
  21. วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 14:06, 24 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  22. วิกิพีเดีย:แม่แบบ
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) -- ขออนุญาตเปลี่ยนใจเป็นเห็นด้วย อิ ๆ
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 14:06, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย จริง ๆ หน้านี้ควรจะลิงก์กับ en:Help:Template ในภาษาอังกฤษมากกว่า -- Portalian 22:54, 28 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  23. วิกิพีเดีย:วิธีการสร้างแม่แบบ
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
    • วิธีใช้ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Portalian 22:54, 28 เมษายน 2551 (ICT)
      •  เปลี่ยน -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  24. วิกิพีเดีย:โครง
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 14:05, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) --
    • ไม่เห็นด้วย เป็นการอธิบายเกี่ยวกับวิกิพีเดียมากกว่า -- Portalian 22:54, 28 เมษายน 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย -- มันเป็นการอธิบายและแสดงรายชื่อมากกว่าครับ --Petje Bellพูดคุย 13:33, 3 พฤษภาคม 2551 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย เป็นแนวทาง ไม่ใช่วิธีใช้ระบบวิกิ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:05, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  25. วิกิพีเดีย:รายการแม่แบบแสดงข้อความ
    • วิธีใช้ - อาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น วิธีใช้:แม่แบบ/แม่แบบแสดงข้อความ --Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) -- เห็นด้วยกับท่าน Manop ที่ใช้เปลี่ยนชื่อ เสริมว่าลิงก์จากหน้าหลักต้องให้ชัดเจน
      •  เปลี่ยน -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  26. วิกิพีเดีย:แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
    • วิธีใช้ - อาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น วิธีใช้:แม่แบบ/แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ--Manop | พูดคุย 12:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย --Lerdsuwa 13:53, 24 เมษายน 2551 (ICT)
    • เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo) -- เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นหน้าย่อย
      •  เปลี่ยน -- Portalian 20:22, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)

วิธีใส่เอกสารกำกับแม่แบบ

หลังจากสร้าง แม่แบบ:xxx/doc (หน้าวิธีใช้แม่แบบ) แล้ว
เพื่อดึงหน้าเอกสารกำกับฯ (วิธีใช้) นั้น ใส่ลงในหน้าแม่แบบทั้งหลาย น่าจะใส่ข้อความนี้ (ใส่ระหว่าง <noinclude></noinclude> )

{{เอกสารกำกับแม่แบบ}}

แทนที่จะใช้ข้อความดึงหน้าโดยตรง เช่น (แทนที่จะใช้) {{/วิธีใช้}} หรืออะไรทำนองนี้
ข้อดีกว่า
  1. มีกรอบดูสวยกว่า ช่วยให้เข้าใจง่ายและเห็นชัดเจนว่า สิ่งที่เห็นนั้น ส่วนใดเป็นการแสดงผล ส่วนใดมาจาก ../doc
  2. มีลิงก์ไปหน้า '../doc' ใน แม่แบบเอกสารกำกับฯ อยู่แล้ว จึงไม่ต้องใส่ 'คำแนะนำสำหรับแก้ไขวิธีใช้' อีก
  3. มี <br clear="all"/> ใน แม่แบบเอกสารกำกับฯ อยู่แล้ว ทำให้ข้ามวัตถุที่ขวางอยู่ไปขึ้นบรรทัดใหม่ได้เลย
  4. ทำให้เป็นมาตรฐานไปในแนวเดียวกัน ไม่สับสน
จึงเรียนมาเพื่อ เสนอแนะ และรับทราบ (เผื่อยังไม่ทราบว่ามีตัวนี้) ครับผม --Sirius (TeeTaweepo)
สนับสนุนด้วยครับ --Manop | พูดคุย 04:31, 30 เมษายน 2551 (ICT)
คือบางอันมันก็มีอยู่แล้วนะครับ แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดให้ทุกแม่แบบใส่รึเปล่า --Petje Bellพูดคุย 19:47, 30 เมษายน 2551 (ICT)

การใช้บอตสร้างบทความในวิกิพีเดียไทย

คือ เมื่อนำมาพิจารณาดูแล้วนะครับ ตอนนี้ไม่ว่าวิกิพีเดียไหน ๆ เช่น อังกฤษ เวียดนาม ลาว นือนอสก์ โวลาปุก เตลูกู และอีกหลาย ๆ วิกิ ต่างใช้บอตสร้างบทความทั้งนั้น แต่ยังไม่มีบอตสร้างบทความในวิกิพีเดียไทยอย่างเป็นทางการ และผมกำลังคิดว่าเราควรใช้บอตสร้างบทความที่มี่คุณภาพ บ้างหรือไม่ เพราะว่าถ้าวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ ต่างใช้บอตสร้างบทความ (ตอนนี้ถูกแซงไปแล้วสองภาษา) โดยวันนึงขึ้นมาหนึ่งหมื่น เราอาจจะลำบากทางด้านสถิตินะครับ ก็คือ อาจจะมีเกณฑ์การจัด tier ใหม่ ซึ่งเราอาจตกระดับ หรือ โดนลบลิงก์ออกจากหน้าวิกิภาษาอังกฤษก็เป็นได้ ซึ่งได้ปรึกษากับผู้ดูแลระบบหลายคนแล้ว ไม่ทราบว่าทุกคนมีความเห็นว่ายังไงบ้างครับ ตอนใช้บอตจะได้ไม่มีปัญหา ซึ่งเวียดนามเค้าก็ทำกันอย่างนี้ เอาลงกาแฟ แล้วตัดสินว่าจะเอาหัวข้อเรื่องอะไรให้บอตสร้าง

สรุปแล้ว จะถามว่า เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย ครับ --Petje Bellพูดคุย 18:55, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ขอประเดิมความเห็นแรกเลยแล้วกันนะคะ ในฐานะผู้เขียนบทความไม่เห็นด้วยค่ะกับการใช้บอตเพื่อสร้างบทความใหม่ในวิกิพีเดียไทย ถ้าใช้บอตเพื่อสร้างบทความระดับคุณภาพ แล้วผู้เขียนที่ทุ่มเทแรงกายและใจในการเขียนบทความแต่ละบท ค้นคว้าข้อมูล หาเอกสารอ้างอิงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ จะทำอะไรในวิกิพีเดีย ในเมื่อบอตแย่งหน้าที่เขียนบทความไปเสียแล้ว? เก็บกวาดบทความที่บอตเขียนอย่างนั้นหรือ? การที่วิกิพีเดียไทยถูกวิกิพีเดียภาษาอื่นแซงหน้าด้วยจำนวนบทความโดยอาศัยบอตช่วย ก็ไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้กับวิกิพีเดียไทย วิกิพีเดียไทยกำลังเติบโตด้วยตัวของตัวเอง เติบโตด้วยบทความที่มาจากทุก ๆ คน มาจากคนที่อยากเขียนให้วิกิพีเดีย ไม่ใช่เจริญเติบโตแบบพรวดพราดด้วยบอต การนับบทความสถิติบทความอาจจะทำให้วิกิพีเดียไทยอยู่อันดับท้าย ๆ หรือหลังสุด แต่ก็เป็นการอยู่ลำดับสุดท้ายด้วยความภูมิใจที่ได้เขียนบทความด้วยตัวเองไม่ใช่เหรอ?--Se:Rin | พูดคุย - 19:04, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
สรุปว่าเขียนไม่เคลียร์ กับความหมายที่ว่า และผมกำลังคิดว่าเราควรใช้บอตสร้างบทความที่มี่คุณภาพ บ้างหรือไม่ ? ทำให้อ่านเข้าใจผิดไปเอง? ก็เล่นจั่วหัวข้อมาแบบนี้ อ่านตอนแล้วก็นึกถึงบทความคุณภาพของวิกิพีเดียไทยทันที ขนาดคนเขียนยังกว่าจะผ่านด่านการคัดเลือกมาได้ คัดแล้วคัดอีก เลยนึกว่าบอตจะเจ๋งกว่าคน เขียนบทความระดับคุณภาพได้ ถ้าเขียนได้จริงมีหวังคนเขียนบทความตกงานและต้องหนีจากวิกิไปแน่นอนเพราะไม่มีอะไรทำ แต่ที่งงสุด ๆ และไม่เข้าใจเลยคือจำนวนสถิติของบทความที่มันเกี่ยวอะไรกับการที่จำนวนของบทความวิกิภาษาอื่นแซงหน้า ตกลงข้อมูลต่าง ๆ ในวิกิพีเดียไทยทำไว้ให้คนอ่านหรือทำไว้แข่งกันแน่--Se:Rin | พูดคุย - 20:04, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ผมเห็นด้วยนะคับ การให้บอตมาสร้างบทความเนี่ย เพราะวิกิพีเดียไทยจะได้มีบทความเยอะ ๆ ข้อมูลความรู้เยอะ ๆ ให้บอตได้ช่วยสร้างบทความหรือช่วยแก้ไขบทความให้มีคุณภาพด้วยก็ดีครับ เพื่อวิกิพีเดียไทยจะได้เป็นที่นิยมของใครหลาย ๆ คนที่เพิ่งเข้ามาครั้งแรก อาจทำให้มีคนสนใจมาใช้งานวิกิพีเดียไทยมากขึ้นก็ได้นะคับ --DoLKuNGBiGHEAD 19:10, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
บอตสร้างบทความอย่างไรครับ ลองให้รายละเอียดเพิ่มเติม หลายท่านจะได้เข้าใจครับ --ธวัชชัย 19:43, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เอ่อ รู้สึกว่าจะเกิดการเข้าใจผิดถึงคำว่า "บทความที่มีคุณภาพ" กันใหญ่นะครับ จริง ๆ แล้ว การใช้บอตสร้างบทความ ที่คุณ Passawuth หมายถึง นั่นน่าจะเป็นพวกบทความที่เป็นชุด ๆ แล้วก็เนื้อหาคล้าย ๆ กัน ที่จะช่วยประหยัดเวลากว่ามานั่งสร้างด้วยมือ (ตัวอย่างเช่น บทความ พ.ศ. 2000) ไม่ใช่ บทความระดับคุณภาพ เลยซักนิดครับ (ยังไง ๆ บอตก็ไม่มีทางจะเขียนบทความที่มีคุณภาพขนาดนั้นได้หรอกครับ)
  • ตัวอย่างบทความที่เคยมีการใช้ semi-bot สร้างมาแล้วคือ บทความปี พ.ศ. (เช่น ตั้งแต่ พ.ศ. 1 จนถึง พ.ศ. 2550) ซึ่งเนื้อหาเป็นโครง (มีกล่องข้อมูลกับช่องเหตุการณ์ไว้เพิ่มเติม) ซึ่งการใช้บอตในกรณีแบบนี้ก็เป็นการประหยัดเวลากว่าการใช้มือสร้างได้มากครับ ดังนั้น งานของผู้เขียนบทความกับบอตก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยครับ ยังไงบอตไม่มีวันที่จะมาทำงานแทนมนุษย์ได้หรอกครับ เพราะทำงานคนละส่วนกัน
  • สำหรับผม ก็เห็นด้วยครับถ้าจะใช้บอตสร้างเฉพาะบทความที่จำเป็นจริง ๆ อย่างเช่น พวกบทความปีคริสต์ทศวรรษ ฯลฯ ประมาณนี้ ที่จะช่วยเป็นการประหยัดเวลาในการสร้างด้วยมือเป็นอย่างมาก แล้วก็ใช้บอตเพื่อบทความเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าไปใช้พร่ำเพรื่อแบบวิกิพีเดียภาษาโวลาปุก (ตอนนี้ที่มีแสนกว่าบทความเป็นบอตสร้างเกือบทั้งหมดครับ รู้สึกจะสร้างบทความชื่อเมืองเกือบทุกเมืองบนโลกแล้วมั้ง - -") ดังนั้นถ้าใช้บอตให้ถูกวิธีก็ทำให้เกิดประโยชน์ได้ครับ -- Portalian 19:46, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
อ่า คุณ Portalian อธิบายให้ฟังแล้วนะครับ เป็นการเขียนบทความทั้งหมดด้วยมือ และบันทึกทีเดียว โดยจะทำเป็นชุด ๆ อย่างระมัดระวัง ลืมไป หมายถึง บทความที่มีคุณภาพพอสมควร --Petje Bellพูดคุย 19:49, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
บทความหนึ่งที่คิดว่าน่าจะใช้บอตสร้างได้ คือ บทความ นักแสดง ครับ ยกตัวอย่างบทความที่ผมเพิ่งเริ่มเขียนเมื่อวันก่อน คือ ไพโรจน์ ใจสิงห์ ส่วนของผลงาน ผมใช้วิธีเสิชจากบทความ รายชื่อภาพยนตร์ไทย พ.ศ. 2500 ไล่ไปจนถึงปี พ.ศ. 2551 แล้วตัดแปะชื่อภาพยนตร์ทีละเรื่อง ซึ่งเสียเวลาเ็ป็นอย่างมาก อยากให้บอตมาช่วยรวบรวมข้อมูลตรงนี้ให้ครับ -- t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 20:00, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
อ่านดูแล้ว น่าจะเป็น "บอตช่วยสร้างบทความ" มากกว่านะครับ --ธวัชชัย 21:55, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย เห็นด้วยครับ เนื้อหาหลายส่วนสามารถใช้บอตสร้างเป็นโครงของบทความได้ เช่น พวกกล่องข้อมูล รายชื่อผลงาน จะได้เอาเวลาไปเขียนเนื้อหาครับ แต่อยากให้เป็นแบบทยายสร้างและเขียนเนื้อหาไปด้วย ไม่ใช้สร้างบทความที่เป็นโครงหรือมีแต่กล่องข้อมูลจำนวนมากแต่ไม่มีเนื้อหาครับ --Lerdsuwa 23:05, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย เห็นด้วยกับแนวคิดครับ สำหรับบทความที่สามารถใช้บอตสร้างได้ หรืออย่างที่คุณ t¸·´ ¯·.¸¸.ღp ว่าไว้ก็น่าจะสะดวกดีครับ เห็นอย่างในวิกิซอร์ซไทยก็ใช้บอตช่วยสร้างเหมือนกัน ส่วนวิธีการอาจจะทำการเสนอชุดบทความ ในสภากาแฟ และสอบถามความเห็นหลายคน ว่าชุดบทความนี้ควรสร้างดีหรือไม่ และเนื้อหาที่นำมาสร้างมีแหล่งอ้างอิงเหมาะสมครับ แก้หน่อยนึงครับ พ.ศ. 1 จนถึง พ.ศ. 2550 อะไรนั่นตอนแรกผมใช้ Excel สร้างนะครับ ทำทุกอย่างเองใน Excel แล้วนั่งทำ copy/paste เอาแล้วก็เซฟไล่ทีละบทความ เสียเวลาเหมือนกัน แล้วซักพักน้องAkiAkira มาเสนอแนะและสร้างสคริปต์ขึ้นมา (ลองดูที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี) เลยใช้สคริปต์สร้างซึ่งสะดวกและประหยัดเวลามากขึ้น แต่พอมาหลัง ๆ แม่แบบสามารถ parse คำสั่งได้ (ใช้ตัวแปรเดียวอ่านผ่านได้หลายค่า) เลยจะเห็นแม่แบบรุ่นเก่าหลงเหลืออยู่บางหน้านะครับ --Manop | พูดคุย 23:58, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เป็นกลาง ซึ่งตรงนี้อาจจะขึ้นอยู่กับประเภทบทความครับ อย่างพวกบทความปีหรืออะไรแบบนี้อาจใช้บอตสร้างโครงขึ้นมาได้เลย แต่บางประเภทบทความอาจจะไม่เหมาะสมครับ ลองดูละกันครับ --Jutiphan | พูดคุย - 02:09, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เป็นกลาง เหตุผลของคุณ Jutiphan ตรงใจผมมากครับ เดี๋ยวมีคนแก้ไขบทความปี บทความบุคคลที่เสียชีวิตในปี... หรือบทความเหตุการณ์ปัจจุบันเสียหมด --Horus 08:31, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย ตอนแรกก็งง ๆ ว่าช่วยสร้างยังไง

แต่ถ้าบอตช่วยสร้างบทความแล้วเราตามไปอัปข้อมูลนั่นน่าจะเขียนง่ายขึ้นนะ (ในความคิดของผม) มันน่าจะช่วยทุ่นแรงได้พอสมควร --Azoma

ลงคะแนนบอตสร้างบทความ

ลงคะแนนเลยแล้วกันครับ ว่าจะให้สร้างเกี่ยวกับประเภทอะไร (ใส่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยต่อท้ายตัว #) หนึ่งคนสามารถลงคะแนนได้มากกว่าหนึ่งประเภทของบทความชุด --Petje Bellพูดคุย 09:33, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ก่อนจะลงคะแนนน่าจะมีตัวอย่างและขอบเขตไหมครับ ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร และผลที่ได้จะเป็นอย่างไร เพราะอย่าง ปี พ.ศ. นี่ว่าจะสร้างถึงปีไหน (ไม่ใช่ว่าสร้าง พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 5000 ได้ 2,000 บทความ) ส่วนปี ค.ศ. รู้สึกว่าเหลืออยู่ประมาณไม่กี่ร้อย ทำหน้าเปลี่ยนทางคงสะดวกครับ (ลองดูที่ วิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี/ดัชนี ค.ศ. ไป พ.ศ.)
ผมว่างานแรกให้บอตช่วยสร้างเอาตามที่คุณ 2T ว่ามาอันดับแรกก่อนดีไหมครับ ที่สร้างบทความนักแสดงไทย จากหน้าในหมวดหมู่รายชื่อภาพยนตร์ไทย ซึ่งจุดนี้คงช่วยประหยัดเวลาคนที่ต้องเขียนจริง และเนื้อหามีประโยชน์นำไปใช้งานได้นะครับ --Manop | พูดคุย 10:18, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ผมขอชี้แจงที่มาของข้อมูลในบทความรายชื่อภาพยนตร์ไทย นิดนึงนะครับ เดิมข้อมูลตรงนี้ มีอยู่ที่เว็บ thaifilmdb.com ครับ เก็บเป็นฐานข้อมูลคล้าย ๆ imdb.com แล้วผม copy เป็น text เก็บไว้ในเครื่อง ราว ๆ ต้นปี 49 จากนั้นไม่นาน ปรากฏว่าเว็บนี้ก็หายไป ผมโทรไปสอบถามที่ มูลนิธิหนังไทย ได้ความว่าเซิฟเวอร์พัง และไม่มีงบประมาณกู้ ยังไม่ทราบว่าจะกลับมาใช้งานได้อีกเมื่อไร โชคดีจริง ๆ ที่ทำเป็น text ไว้ ก็เลยได้ใช้ข้อมูลนั้น เอามาสร้างบทความที่วิกิ แล้วใช้อ้างอิงสร้างบทความอื่น ๆ จนถึงทุกวันนี้แหละครับ -- t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 12:37, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
แล้วจำพวก xxxx ปีก่อนคริสตกาล หรือ xxxx ปีก่อนพุทธกาล ละครับ --Sirius (TeeTaweepo)
เรื่องปีมีพูดคุยก่อนหน้าในหน้า คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี (อยู่ล่าง ๆ) --Manop | พูดคุย 03:55, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ส่วนเรื่องบอต นี่ผมยังงอยู่เลยครับที่โหวตกัน คือโหวตเสร็จ แล้วบอตตัวไหนสร้างหรือครับ เพราะอย่างปี พ.ศ. กับ ค.ศ. เหมือนกับว่าคุณ Passawuth จะรันบอต แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น คุณ Jutiphan รันบอตแทน เพราะบอตของคุณ Passawuth มีปัญหา รันไม่ได้ ตอนนี้ก็เลยงงว่าโหวตกันเสร็จ แล้วคุณ Passawuth จะรันหรือว่าจะกลายเป็นภาระคุณ Jutiphan อีก หรือว่าโหวตกันเฉย ๆ แต่ไม่สร้าง ช่วยอธิบายหน่อยก็ดีครับ งง--Manop | พูดคุย 03:55, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ปี พ.ศ. ต่าง ๆ

  1. เห็นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาไปเขียนหรือแก้ไขบทความอื่น ๆ ด้วย --Horus 09:51, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  2. เห็นด้วย ใช้เพื่อเก็บกวาดบทความปี พ.ศ. ที่มีอยู่ให้ใช้กล่องข้อมูลแบบใหม่ {{กล่องรวมปี}} ที่เคยมีการตกลงเอาไว้ตั้งแต่ตอนนั้น ส่วนสร้างบทความเพิ่มอาจจะไม่ต้อง เพราะตอนนี้ก็น่าจะมีครบแล้ว -- Portalian 10:19, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  3. เห็นด้วย ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่คุณมานพได้พูดถึง ป.ล. คุณ Portalian ผมได้ให้บอตคุงเก็บกวาดไปใช้กล่องรวมปีเรียบร้อยไปสักพักแล้ว (อัปเดต: คุณมานพได้แจ้งให้ทราบว่ารอบที่สั่งให้บอตคุงอัปเดตไม่ได้เก็บกวาดครบทั้งหมด โดยผมไปตรวจสอบพบว่าเก็บเฉพาะพุทธศตวรรษที่ 1 ผมเลยสั่งบอตคุงให้เก็บกวาดงานเดิมที่เสร็จไม่เรียบร้อยให้แล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว) --Jutiphan | พูดคุย - 12:18, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  4. เห็นด้วย -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 15:00, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  5. เห็นด้วย เห็นของต่างประเทศเขาทำกัน อนาคตหน้าจะมีทำเกี่ยวกับ ยอดเขา เขตปกครอง ฯลฯ อีกก็หน้าจะดีครับ--Mda 21:53, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  6. เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)

ปี ค.ศ. ต่าง ๆ

  1. เห็นด้วย ปีค.ศ. เป็นจำนวนมากที่ยังไม่ถูกสร้างขึ้นนั้น ปรากฏเป็นลิงก์แดงหลายบทความที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา หรือประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป คิดว่าควรสร้างครับ --Petje Bellพูดคุย 09:46, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  2. เห็นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาไปเขียนหรือแก้ไขบทความอื่น ๆ ด้วย --Horus 09:52, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  3. เห็นด้วย อันนี้เห็นด้วยมาก ๆ ครับ ทำ redirect นี่มันงานของบอตโดนตรงเลยล่ะ -- Portalian 10:19, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  4. เห็นด้วย ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่คุณมานพได้พูดถึง --Jutiphan | พูดคุย - 12:18, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  5.  ปี ค.ศ. ต่าง ๆ บอตได้ทำการเปลี่ยนทางหมดแล้วครับ --Petje Bellพูดคุย 13:51, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
    • เนื่องจากขอจำกัดทางเทคนิคของ Pabot และเพื่อไม่ให้เสียเวลาที่ต้องมาแก้ไขรอบ 2 ตามความเห็นด้วยของ Passawuth ผมได้ให้บอตคุงดำเนินงานต่อสร้างหน้าเปลี่ยนทางจนเสร็จครบหมดแล้ว --Jutiphan | พูดคุย - 16:10, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ปี พุทธทศวรรษต่าง ๆ

  1. เห็นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาไปเขียนหรือแก้ไขบทความอื่น ๆ ด้วย --Horus 09:53, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  2. เห็นด้วย ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่คุณมานพได้พูดถึง --Jutiphan | พูดคุย - 12:18, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  3. เห็นด้วย -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 15:00, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Mda 21:53, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  5. เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)

ปีคริสต์ทศวรรษต่าง ๆ

  1. เห็นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาไปเขียนหรือแก้ไขบทความอื่น ๆ ด้วย --Horus 09:53, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  2. เห็นด้วย ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่คุณมานพได้พูดถึง --Jutiphan | พูดคุย - 12:18, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  3. เห็นด้วย -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 15:00, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Mda 21:53, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  5. เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)

อันดับของขนาด (ความยาว)

  1. เป็นกลาง งดออกเสียง ใจหนึ่งอยากเห็นด้วยเพราะเป็นบทความที่ขาดอยู่มาก แต่อีกใจกลัวคุณภาพบทความไม่ดี มันไม่เหมือน พ.ศ. ที่พอจะ "ดึงวาง ๆ" มาได้ -- Sirius (Teetaweepo)

อื่น ๆ

หมวดหมู่

ใช้บอตช่วยใส่หมวดหมู่ บุคคลที่เกิดปี บุคคลที่เสียชีวิตปี อัตโนมัติ ได้ไหม ตอนนี้บทความชีวประวัติหลายอัน ใช้ฟอร์แมต ชื่อคน (วันเกิด - วันตาย) แบบนี้บอตพอดึงมาได้ไหมครับ

  1. เห็นด้วย -- Sirius (Teetaweepo)
  2. เห็นด้วย จะเริ่มดำเนินการให้นะครับ --Petje Bellพูดคุย 21:56, 9 พฤษภาคม 2551 (ICT)

การปลดสถานะบทความคัดสรรที่ไม่ได้มาตรฐาน

ขอกล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งครับ เรื่องบทความคัดสรรในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ในปัจจุบัน จริง ๆ ก็เห็นมานานแล้ว คิดว่าถึงเวลาเสียที ตอนนี้ก็เป็นช่วงหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนระบบคัดเลือกบทความคัดสรรมาเป็นระบบแบบในปัจจุบันมาได้เกือบปีแล้ว แถมบทความคัดสรรชุดใหม่ ๆ ก็มีเนื้อหามากขึ้นกว่าเดิมเยอะ ยิ่งพอมาเปรียบเทียบกับบทความคัดสรรในอดีตหลาย ๆ บทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานอยู่ อย่างลองเทียบ เพชรพระอุมา หรือ คลองปานามา เทียบกับ ไดโนเสาร์ หรือ พอล แอร์ดิช หรือ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ จะเห็นว่าคุณภาพต่างกันอย่างมาก คิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีผลกระทบต่อมาตรฐานของ FA ในวิกิพีเดียไทยโดยตรงเลย จึงคิดว่าน่าจะมีการดำเนินการเพื่อรักษามาตรฐานไว้ ขอเปรียบเทียบให้เห็นตามนี้

  1. จริง ๆ แล้ว ในอดีตเคยมีการกล่าวถึงเรื่องนี้มาก่อนแล้ว (ดูใน วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย) /กรุ 4 และ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย) /กรุ 5) แต่ตอนนั้นสรุปกันว่าจะไม่ปลด แต่จะติดป้ายให้บทความอยู่ในรายชื่อบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานเอาไว้ ซึ่งก็เนื่องจากว่าตอนที่คุยกันตอนนั้น ระบบการคัดเลือกบทความคัดสรรยังเป็น 1 บทความต่อ 1 เดือนอยู่ ซึ่งก็เลยไม่ปลดด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เขียนอุตสาห์เขียนมา แล้วเมื่อถูกปลดไปแล้วก็จะเสนอกลับมาเป็น FA อีกได้ยาก เพราะจำกัดเวลาในการเสนอ ซึ่งก็น่าจะเหมาะสมกับระบบในตอนนั้นดี แต่ตอนนี้ระบบการคัดเลือกเปลี่ยนไปเป็นแบบในปัจจุบัน ก็เลยคิดว่าการปลดบทความที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีความเหมาะสมมากขึ้น เพราะถ้าบทความไหนที่ถูกปลดจาก FA แล้วต่อมามีการปรับปรุงจนได้มาตรฐานอีกครั้ง ก็สามารถเสนอเพื่อมาเป็น FA ใหม่ได้ เพราะตอนนี้ทุกคนสามารถเสนอบทความเป็น FA ได้ทุกเมื่อ ไม่มีกำหนดเวลาแบบเมื่อก่อนแล้ว
  2. บทความคัดสรรในสมัยก่อนได้รับสถานะมาด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างจากในปัจจุบัน บทความเหล่านั้นเพียงแค่ได้รับคัดเลือกว่า "ดีที่สุด" ในบรรดาบทความที่มีการเสนอชื่อในเดือนนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพราะในหนึ่งเดือนอาจจะมีบทความที่ได้มาตรฐานมากกว่าหนึ่งบทความหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ ซึ่งพอเปลี่ยนกระบวนการคัดเลือกมาเป็นเช่นปัจจุบันแล้ว ถ้าหากบทความที่จะได้รับศักดิ์ศรีเท่ากันว่าเป็น FA เหมือนกัน ก็ควรจะผ่านมาตรฐานเดียวกันด้วย คือผ่านตามนโยบายในปัจจุบัน
  3. บทความที่อยู่ในรายชื่อว่าต้องการปรับปรุง รายชื่อใน บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่ ก็เห็นว่ามีผู้ใช้หลายท่านที่ได้เข้าไปช่วยปรับปรุงจนหลาย ๆ บทความพัฒนาขึ้นได้อีกมาก แต่ก็ยังมีบทความอีกจำนวนมากที่อยู่ในรายชื่อมาเกือบปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการปรับปรุงมาจนได้มาตรฐาน รวมถึงบางบทความที่มีเนื้อหาจำกัดด้วย อย่างเช่น พอล แอร์ดิช ที่แม้แต่เนื้อหาในวิกิอังกฤษก็ยังไม่ถึงระดับ GA ด้วยซ้ำ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะพัฒนาบทความีที่มีเนื้อหาจำกัดเหล่านี้ให้ได้มาตรฐาน FA ได้
  4. บทความเหล่านี้หลายบทความที่ทำให้ การจัดระดับบทความยังดูลักลั่นกันอยู่ครับ อย่างใน ไดโนเสาร์ ที่ถูกจัดระดับไว้ที่ระดับพอใช้ ซึ่งดูจากเนื้อหาก็ควรจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่กลับมีป้าย FA ติดอยู่ ซึ่งดูแล้วก็ขัดกับหลักที่ใช้ในวิกิพีเดีย:ระดับการเขียนบทความ ว่าบทความที่เป็น FA จะถูกจัดอยู่ใน "ระดับคัดสรร"
  5. บทความ FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของวิกิพีเดียไทยโดยตรงเลยครับ อย่างถ้าคนจากวิกิพีเดียภาษาอื่นไปอ่านบทความนี้แล้วเห็นลิงก์ข้ามภาษาโยงเข้ามาว่าบทความนี้เป็น FA ในวิกิพีเดียไทย แล้วมาเห็นบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานแบบนี้ แต่กลับได้ชื่อว่า "หนึ่งในบทความที่ดีที่สุดในวิกิพีเดียไทย" ก็จะกระทบถึงคุณภาพในภาพรวมของวิกิไทยอย่างชัดเจนเลยครับ
  6. การปลดสถานะบทความคัดสรรไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งมีการเสนอแต่อย่างใด ในวิกิพีเดียภาษาอื่นหลายภาษาก็ให้มีการปลดบทความคัดสรรที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกิอังกฤษที่เน้นมาตรฐานด้านคุณภาพของบทความเป็นอย่างมาก อย่างตอนนี้วิกิอังกฤษมี FA อยู่ ประมาณ 2,000 บทความ แล้วก็มีบทความที่ถูกปลดเป็น former FA ถึง 500 กว่าบทความ เพราะเขารักษามาตรฐานของ FA เอาไว้เคร่งครัดมาก

ก็เลยจะขอเสนอว่า บทความคัดสรรในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับการปรับปรุงไปนาน ๆ ก็ควรจะมีการปลดสถานะบทความคัดสรรได้ เพื่อรักษาคุณภาพของบทความในวิกิพีเดียไทยเอาไว้ครับ -- Portalian 21:40, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เห็นด้วยอย่างแรงครับ เพราะจะได้รักษามาตรฐานบทความวิกิพีเดียไทยไว้ ไม่ให้ใครสามารถดูถูกได้ --Petje Bellพูดคุย 21:46, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เพิ่มเติมให้ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน FA ก็จะดีนะครับ แทนที่จะปลดเฉย ๆ --ธวัชชัย 22:02, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ปลดก็ดีเหมือนกันครับ เพราะก็ไม่มีใครคิดจะเขียนและปรับปรุงบทความอยู่แล้วครับ ปลดง่ายกว่าเขียนเยอะเลยครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 22:20, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย เรื่องปรับปรุงบทความคัดสรรคุยกันมานานมากแล้ว บทความที่เหลือยังไม่ได้คุณภาพ ผมว่าปลดออกจากบทความคัดสรรได้ครับ ถ้าปล่อยไว้ก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้คุณภาพครับ --Lerdsuwa 23:05, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย ปลดไว้ก็ดีเหมือนกันนะครับ เพราะจะสะดวกเวลาใช้ในการเป็นบทความตัวอย่าง อันไหนที่เห็นว่าไม่ควรผ่านเกณฑ์ถ้านำออก คนใหม่ที่เข้ามาเขียนจะได้เข้าใจตรงกันว่า มาตรฐานอยู่ตรงจุดไหน ว่าจะสอบถามเรื่องปลด GA ด้วยครับ เพราะเห็นหลายเรื่องผ่านเกณฑ์แล้ว แต่เมื่อมีการปรับแก้เพิ่มเติมคุณภาพดันไม่ได้มาตรฐาน ส่วนเรื่องการดูถูกไม่มีใครมาดูถูกหรอกนะครับ --Manop | พูดคุย 23:47, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เรื่องเหรอไหนของ GA เหรอครับที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะก็ไม่เคยเห็นมีใครไปเสนอแนะที่ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ/เสนอบทความคุณภาพที่ควรปรับปรุงใหม่ เมื่อไม่เสนอแล้วใครจะรับรู้ว่าไม่ได้มาตรฐานตรงไหน มาเสนออีกทีก็จะปลดกันเลยอันนี้คงไม่เหมาะสมนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 00:34, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย ผมว่าอาจจะมีเวลา 2 อาทิตย์หลังจากแจ้ง แล้วก็ปลด จากนั้นใครก็สามารถนำเสนอใหม่เพื่อเข้าขั้นตอนเป็นบทความคัดสรรได้ครับ ซึ่งปัจจุบันนั้นสามารถเป็นบทความคัดสรรได้เรื่อย ๆ อยู่แล้ว ไม่น่ามีปัญหาอะไร --Jutiphan | พูดคุย - 02:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย เพื่อให้ผู้เขียนได้ปรับปรุงบทความให้ดีเสียก่อนที่จะไปแก้ไขบทความอื่น ๆ (เขียนให้เสร็จทีเดียว) --Horus 08:25, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย น่าจะมีขั้นตอนการแจ้งปลดด้วย เหมือนการแจ้งเสนอ ระยะ 2 อาทิตย์ ก็ดูสมเหตุสมผล --Sry85 12:14, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

งั้นถ้าเป็นว่า มีการปลด ก็ยังมีเรื่องขั้นตอนที่น่าจะพิจารณากันอีกครับ อย่างเช่น

  • จำเป็นต้องมีการเสนอบทความเพื่อปรับปรุงก่อนหรือไม่? หรือจะเสนอเพื่อปลดได้เลย
  • ถ้ามีการเสนอปรับปรุง จะมีกำหนดเวลาในการปรับปรุงเท่าไร?
  • ถ้าหากบทความไม่ได้รับการปรับปรุง จะปลดเลยหรือไม่? หรือจะมีการพิจารณากันอีกรอบว่าจะปลดหรือไม่ปลด -- Portalian 23:13, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ผมขอเสนอ ขั้นตอนดังนี้นะครับ คือ น่าจะทำเหมือนเสนอชื่อเป็นบทความคัดสรร เลย

  • สร้างหน้าใหม่ เสนอบทความคัดสรรที่ควรปรับปรุง แล้วเขียนสาเหตุ เป็นข้อ ๆ เลยว่า เหตุได้จึงควรปรับปรุง มีอะไรบ้าง
  • แปะโค้ด {{เสนอคัดสรรที่ควรปรับปรุง|ชื่อบทความ|วันที่พิจารณา}} ระยะเวลา 2 สัปดาห์
  • ใส่ป้ายที่หน้าพูดคุย

ในหน้าพิจารณา นอกจากเหตุผลแล้ว ก็มีให้ลงคะแนน ระหว่าง ปลดจากบทความคัดสรร กับ ยังคงเป็นบทความคัดสรรต่อไป ....หากมีการแก้ไขตามที่ควรปรับปรุงแล้ว ก็ควรอยู่ แต่หากไม่ได้ปรับปรุงก็คงต้องปลด ...เป็นข้อเสนอของผมครับ ส่วนระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก็น่าจะเหมาะสม โดยเน้นการเสนอแนะสิ่งที่ควรปรับปรุงมากกว่าการลงคะแนน --Sry85 23:23, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

  • เห็นด้วย กับขั้นตอนการปลด แต่เสนอเพิ่มว่า ควรให้ขั้นตอนกระชับ (เร็ว) กว่า ขั้นตอนการตั้ง (หมายถึงถ้าผ่านขั้นตอนการปรับปรุง (ถ้ามี) แล้วนะ) --Sirius (TeeTaweepo)
  • ทำไมโครงการนี้ไม่ดำเนินการอีกละครับ --18:08, 15 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • อยากให้เพิ่มลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ ลงไปในหน้าแรกในช่องของศาสนาและวัฒนธรรมด้วยครับ--Cometz 02:33, 22 สิงหาคม 2551 (ICT)

การใช้งานภาพชอบธรรม

เห็นช่วงนี้สภากาแฟคนเยอะดี เลยอยากเสนอนโยบายการใช้ภาพเพิ่มสองเรื่องครับ เผื่อถ้าเห็นด้วยกันส่วนใหญ่จะได้เพิ่มเข้าไปใน วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ คือตอนนี้คิดว่าภาพที่ใช้งานอย่างชอบธรรม พวกภาพจากหนังสือพิมพ์ ภาพจากข่าว ภาพจากเว็บ ภาพการ์ตูน ภาพจากเกม ที่ใช้ในบทความนอกเหนือจากหน้าโครงการ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teetaweepo (พูดคุยหน้าที่เขียน) 01:07, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

คิดว่าถ้ากำหนดไว้ว่าใช้ได้ไม่เกินหนึ่งภาพต่อหนึ่งบทความ ซึ่งอันนี้ไม่รวมภาพสัญลักษณ์และโลโก้ เพราะหลัง ๆ เห็นมีพวกภาพดารามาตกแต่งบทความเยอะเหมือนกัน เหมือนจะเป็นเว็บแฟนคลับ (และอาจจะมีการแอบโฆษณาไปในตัว)

ซึ่งนอกจากนี้เวลาคนนำภาพชอบธรรม (ที่ละเมิดลิขสิทธิ์) มาลง จะได้เลือกเอาเฉพาะภาพที่มีความหมายจริง ๆ และดีสุดมาใช้เพียงภาพเดียว ตอบในกรณีเดิมก็ดีนะครับ {{เห็นด้วย}} {{เป็นกลาง}} {{ไม่เห็นด้วย}} Manop - 03:38, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

  • เป็นกลาง ครับ ไม่ขอเสนอความเห็นใด ๆ --Petje Bellพูดคุย 10:58, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ไม่เห็นด้วย บทความบางบทความหาภาพเสรีไม่ได้จริง ๆ ครับ จำเป็นต้องใช้ fair use อย่างบทความเกี่ยวกับเกมหรือการ์ตูน หากบทความนั้นยาวก็ควรจะมีภาพประกอบมากตามไปด้วย ดูอย่าง en:Kanon มีภาพ fair use ทั้งหมด 7 ภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวก็ได้เป็น GA ของวิกิอังกฤษด้วย -- Portalian 11:08, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • คิดว่าน่าจะจัดการเป็นกรณี ๆ ไปครับ อย่างภาพที่เป็นการโฆษณา ก็แจ้งลบภาพนั้นไป เอาเฉพาะภาพที่จำเป็นต่อบทความใส่ไว้ในบทความ -- Portalian 11:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
แบบนี้หรือครับ รายชื่อตอนในแอร์ เพิ่งรู้ --Manop | พูดคุย 10:02, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ไม่เห็นด้วย ผมอาจจะ ideal ไปหน่อย แต่คิดว่าถ้าเป็นกฎไปเลยอาจจะแรงไป จริง ๆ ถ้าภาพดารามีชีวิตอยู่และแต่ละภาพไม่ได้แสดงเหตุการณ์อะไรเป็นพิเศษ ภาพที่มีเยอะ ๆ ก็คงแจ้งลบในฐานะที่ไม่ใช่ fair use ได้เลย เหลือไว้แค่รูปที่ดีที่สุดอย่างที่ว่า (ตกลงว่าตอนนี้ เราบังคับเขียน rationale กันหรือยังครับ?) --KINKKUANANAS 11:21, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ตอนนี้ที่บังคับมีก็มี เว็บที่มา กับป้ายลิขสิทธิ์ และก็รายละเอียดเล็กน้อย (บางภาพก็ไม่จำเป็นต้องมี) เช่น ภาพ:Love siam poster.png หรือ ภาพ:ไอ้แมงมุม.jpg --Manop | พูดคุย 12:25, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ควรประดับบทความเหมือนแกลเลอรี่ ... อย่างในภาษาอังกฤษ สำหรับบทความที่เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ จะเคร่งครัดไม่ให้ใช้ในกล่องข้อมูลเลย เห็นด้วยรึเปล่า? --Sry85 12:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • เป็นกลาง ละกันค่ะ ส่วนหนึ่งในใจคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีภาพ เพราะไปหาภาพดูเอาในแหล่งข้อมูลอื่นก็ได้ แต่อีกส่วนในใจก็คิดว่าหากจะบังคับเป็นกฎเลยก็เกินไปนิด และเห็นด้วยกับคุณ Sry85 ตรงที่ว่ามีภาพประกอบได้ เพียงแต่ไม่ควรใส่เข้าไปมากจนกลายเป็นหน้าแกลเลอรี่ --Piggy 22:48, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • เป็นกลาง ไม่มีความเห็นครับ --Tona22 06:55, 6 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ไม่เห็นด้วย ไปเพิ่มไว้ใน คำแนะนำในการใช้ภาพ สิครับ ไม่ใช่เพิ่มกฎ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:08, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • เป็นกลาง ผมเข้าใจเจตนาของนโนบายใหม่นี้ ซึ่งคิดว่าควรจะมีรูปแบบนี้ เพราะสังเกตว่าบางบทความมีการใส่ภาพมากเกินไป รวมถึงสร้างความไม่เหมาะสมในมุมมองไม่เป็นกลาง แต่ส่วนตัวแล้วนโยบายที่เสนอนั้นรัดกุมเกินไปในหลายกรณีด้วยกัน ผมคิดว่าอาจจะมีการเพิ่มนโยบายโดยรวมประมาณว่า ภาพที่ใช้ควรคงเจตนาความเป็นกลางของบทความโดยรวม อะไรแบบนี้ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 09:07, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ขออธิบายเพิ่มละกันครับ ท่าทางจะงงกันหลายฝ่าย คือไอเดียที่ออกมาว่าหนึ่งบทความมีภาพชอบธรรมเพียงหนึ่งรูป มีหลายสาเหตุ
  1. ถ้าบทความที่มีภาพชอบธรรมเยอะแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะไม่พยายามหาภาพเสรีมาใส่ในบทความ (เว้นแต่เป็นคนในวิกิเอง)
  2. หลายบทความทำเป็นแกลลอรีภาพซะมากกว่า แทนที่จะเน้นที่ตัวบทความ กลับเน้นที่แต่งภาพในบทความ ตัวอย่างเช่นในหน้า รายชื่อตอนในแอร์ (ที่ผมกล่าวไว้ด้านบน) ภาพทั้งหมดก็ไม่ได้สื่ออะไรมากไปกว่าแต่ละตอน ซึ่งคุณ Portalian เองก็สร้างไว้ แต่ข้อความที่เขียนไว้ด้านบนว่า "เอาเฉพาะภาพที่จำเป็นต่อบทความใส่ไว้ในบทความ" ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าความจำเป็นของแต่ละคนจะเท่ากันแค่ไหน เพราะอย่างในหน้านั้นก็มีภาพชอบธรรม 15 ภาพ หรืออย่าง ตัวละครในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ (เกือบ 100 ภาพได้ ยังกับเว็บแฟนคลับ)
  3. ตอบคุณออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา คือไม่ได้จะเสนอเป็นการแนะนำนะครับ จะเสนอเป็นนโยบายมากกว่า
  4. สุดท้ายที่เสนอให้ใช้หนึ่งภาพ แทนที่จะห้ามให้ใช้ภาพเลยเหมือน วิกิพีเดียญี่ปุ่น ก็คิดว่ามีภาพที่ดีย่อมช่วยให้เนื้อหาสื่อความหมาย และมีประโยชน์มากขึ้นกว่าไม่มีภาพ แม้ว่าภาพจะละเมิดลิขสิทธิ์มาก็ตาม --Manop | พูดคุย 04:05, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
รายชื่อตอนในแอร์ ผมไม่ได้เป็นคนเขียนเลยครับ แค่เป็นคนแยกเป็นบทความใหม่ออกมาจากบทความหลักเฉย ๆ ซึ่งภาพในนั้นก็คิดว่าควรจะลบไปเหมือนกัน เพราะไม่ค่อยช่วยขยายความเนื้อหา และภาพส่วนใหญ่ก็ระบุคำอธิบายไม่ชัดเจนและไม่ระบุแหล่งที่มา
ยังไงก็คิดว่าควรจะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไปอยู่ดี เพราะถึงจะเป็นภาพเสรี แต่ถ้าใส่มากเกินไปจนดูเหมือนเป็นการโฆษณา ก็ควรจะเอาออกเหมือนกันไม่ใช่หรือ? -- Portalian 10:22, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ป.ล. รายชื่อตอนในแอร์ ผมปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วครับผม เอาภาพออกตามที่คุณ Manop แนะนำ เพราะภาพก็ไม่ค่อยจำเป็นจริง ๆ ด้วย -- Portalian 15:34, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)

  • คือเรื่องภาพหน่ะครับ โดยปกติแล้ว ในการเขียนบทความเชิงวิชาการในประเทศตะวันตกนั้น เอาภาพจากแหล่งอื่นมาแปะใช้ได้เลย แต่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาท้ายภาพด้วย ซึ่งนอกจากภาพแล้ว ยังรวมไปถึงตารางและแผนภูมิต่าง ๆ ด้วย ซึ่งตรงนี้ ผมเลยไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องยุ่งยากกันด้วย แต่ถ้าผมเข้าใจอะไรผิด ขอทราบข้อมูลด้วย เพราะอาจจะได้ใช้ในการปรับปรุงหน้า อ้างอิง ต่อไปอ่ะครับ --ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:11, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • เห็นด้วย เห็นด้วยในหลักการ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ hi5 รู้สึกจะทำเป็นแกลลอรีจริง ๆ ด้วย ไม่เหมาะจริง ๆ ให้กำหนดดีกว่า แต่ก็กำหนดเป็นแนวทางอย่างที่ว่านั่นแหละครับ (ไม่ใช่กฎ) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teetaweepo (พูดคุยหน้าที่เขียน) 01:07, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
อย่างไรก็ตามที่ว่า 1 รูป แลจะน้อยไป เอาทางสายกลางครับ คือกำหนดตามเหมาะสมตามประเภทบทความ ซึ่งผมเสนอกำหนดจำนวน พร้อมวิธีคิด เป็นตัวอย่าง ๆ ดังนี้
  • จำพวกบุคคล ผ่อนให้ไม่ควรเกิน 6 รูป.. เผื่อว่า รูปวัยเด็ก รูปก่อนเข้าวงการ รูปขณะรุ่ง ๆ รูปปัจจุบัน (ถ้าคนนั้นอยู่ในวัยชราหรือตายแล้วก็จะหมายถงรูปวัยชรา) และรูปที่คนรู้จักที่สุด (ถ้ามี, ประมาณรูปที่ใครเห็นก็ต้องอ๋อคนนี้นี่เอง อาจมาจากผลงานที่โดดเด่นที่สุดหรือแจ้งเกิดในวงการหรือเป็นข่าว เช่น มิตร ชัยบัญชา ก็เป็นรูปในหนังเรื่องอินทรีแดง หรือ ไอน์สไตน์ก็ตอนเขียน E=mc2 หรือ เลโอนาโด ดิคาปิโอ ก็ต้องฉากไททานิค เป็นต้น)
  • การ์ตูน ขึ้นอยู่กับประเภทของการ์ตูน (แต่ไม่เกินเท่านี้ ๆ) เนื่องจากไม่ถนัดจึงขอยังไม่เสนอจำนวน
อะไรทำนองนี้แหละครับ แค่นี้ก่อนคิดอะไรออกเพิ่มค่อยมาบอกอีก
ส่วนประเด็นลิขสิทธิ์คงต้องแยกพิจารณาต่างหากครับ แนวทางของคุณ Brandy Friskey (ขี้เมาฯ) น่าสนใจ คือถ้าหาภาพยากจริง ๆ ก็ใช้วิธีเอาจากไหนอย่าลืมให้เครดิต ก็ดีครับนะครับผมว่า --Sirius (TeeTaweepo)
  • เห็นด้วย เห็นด้วยในหลักการ แต่ก็ไม่อยากให้กฎไปเลย เลยลองเสนอแนวทางมาสามสี่ข้อด้านล่าง
  • ในรายชื่อตอนในการ์ตูนต่าง ๆ ควรเอาภาพประกอบออกให้หมดเหมือนที่ wiki EN ทำ
  • ในรายชื่อตัวละครควรใส่ภาพเฉพาะตัวละครหลักและรองพอ ไม่ต้องใส่ทุกตัว (บางตัวโผล่ฉากเดียว)
  • หน้าชีวประวัติบุคคลผมว่าถ้าหากจำกัดภาพไปเลยอาจจะไม่ค่อยดี ผมว่าให้ใส่อย่างมาก 1 ภาพต่อหนึ่งหัวข้อใหญ่ (และภาพต้องมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น) แต่ถ้ามีภาพประกอบด้านอื่น เช่นกราฟหรือผลเลือกตั้งอะไรก็อาจจะอนุโลมใส่เพิ่มเติมได้อีก 1 ภาพ
  • ส่วนเรื่องการจำกัดภาพในบทความอื่น ๆ ควรดูเรื่องความเหมาะสมและความยาวของบทความเป็นหลักนะครับ -- Prince | พูดคุย 11:09, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ตอนนี้ผมเพิ่มหน้า วิกิพีเดีย:เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม โดยนำเนื้อหาสรุปจากหน้านี้ รวมถึงบางส่วนจากวิกิพีเดียอังกฤษครับ อย่างไรฝากตรวจสอบด้วยละกันครับ กะว่าจะให้คนที่โหลดภาพชอบธรรม (หลายภาพ) ได้อ่านจะได้ไม่ต้องตอบปัญหาไล่ทีละคน ส่วนเรื่องจำนวนผมข้ามไปนะครับ เพราะคิดว่าคงใช้คำว่า "ตามความเหมาะสม" มากกว่า (ความเหมาะสมอีกแล้ว)
ส่วนเรื่อง การใช้งานของคุณไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรมบอกว่า "บทความเชิงวิชาการในประเทศตะวันตกนั้น เอาภาพจากแหล่งอื่นมาแปะใช้ได้เลย แต่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาท้ายภาพด้วย" ผมอยู่ตะวันตกมาซักหลายปี แล้วก็ยังไม่เห็นเขาจะทำนะครับเขาซีเรียสเรื่องลิขสิทธิ์กว่าทางประเทศไทยอีก (ถ้าไม่ผิด ผมก็คงอยู่ตะวันตก) และที่เห็นเขาใส่ที่มาของภาพเหล่านั้น เขามีการขอลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้วนะครับ ไม่ใช่ว่าอยากแปะก็แปะ แล้วใส่อ้างอิงให้ก็จบ อย่างนั้นเขาไม่มีทำกันนะครับ (บอกไว้เฉย ๆ) --Manop | พูดคุย 06:38, 25 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ประเด็นว่า ชาวตะวันตกเอาภาพแหล่งอื่นมาแปะแล้วให้เครดิต จะว่าไม่เห็นเลย ก็ไม่เชิงนะ ก็เห็นอยู่ (สังเกตจากเวลาท่องเว็บเซิร์ซ) แต่ผมไม่ได้บอกว่าเป็นบรรทัดฐานให้เอาอย่างตามได้หรือไม่ก็ไม่รู้นะ เพราะผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า สิ่งที่เห็น เป็นธรรมเนียมที่ถูกต้อง หรือไม่ (หรือเผอิญผมไปเจอกรณีที่ไม่ถูกธรรมเนียมก็ไม่รู้นะ) อันนี้เล่าสู่กันฟังว่าเคยเจอ แต่ก็ไม่เข้าใจนะ (ไม่รู้ฝรั่งอเมริกากับฝรั่งออสเตรเลียคิดไม่เหมือนกันหรือเปล่านะ อิ ๆ) ผมลองเสนอแนะให้ทั้งสองท่านคุยกับเพื่อนต่างชาติชาววิกิ ที่วิกิแม่ ดีกว่าไหม น่าจะได้เรื่องกว่านี้ (หรือที่ไร้สาระแม่ ด้วยก็ดีนะ ไม่แน่ว่า เราอาจไม่ต้องยึดตามตะวันตก คุยกับชาวฮ่องกง เอเชียด้วยกัน อาจจะสื่อใจได้ใกล้เคียงกัน) --Sirius (TeeTaweepo)

สภาเบียร์

เราก็น่าจะสร้าง "สภาเบียร์" ด้วยนะครับ ต่อจาก วิกิพีเดีย:สภาไวน์ --Voraprachwพูดคุย 19:28, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อย่าสร้างเยอะเดี๋ยวไม่มีคนดูแล หน้าพูดคุยใช้ไปก่อนก็ได้ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:36, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:36, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ถ้าสนใจสร้าง ลองสร้างดูก็ได้ครับ วิกิพีเดีย:สภาเบียร์ แต่เอามาทำอะไรดี ^_^ --Manop | พูดคุย 16:08, 18 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อีกหน่อยคงจะมี สภาบรั่นดี สภาวิสกี้ สภาวอดก้า สภาสาเก สภาสาโท --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 07:17, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)

หรือว่าเป็น วิกิพีเดีย:ลานเบียร์ ดีครับ คุ้นปากกันมากกว่า --Manop | พูดคุย 09:52, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • รู้สึกว่าสถานีย่อย:ภาษาน่าจะช่วยเรื่องคำทับศัพท์ให้อยู่แล้วนะครับ --Horus 18:06, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
สภาเบียร์ ไว้ใช้กับสถานีย่อยเยอรมนี ดีกว่านะ หุหุ แต่ว่า.. สภาราชพฤกษ์ ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นสภาดอกคำฝอย สภาเก็กฮวย หรือสภาหล่อฮังก้วย ไหมล่ะคั --Lv.88 พรรณพฤกษา 2.0 ไฟล์:WikiBotany tap.png 18:15, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • ไม่ขัด (สนับสนุนด้วยซ้ำ แม้ต่อไปจะมีสภาสาเก สาโท ก็ไม่ว่า) แต่คิดว่า ต้องมี "สังคมผู้ใช้ในภาษาที่แข็งแรง" เสียก่อน เหมือนที่สภาไวน์ เขามีสังคมผู้ใช้ก่อน ถึงก่อตั้งสภาไวน์ขึ้น ถ้าอยากมีสภาเบียร์ก็รวบรวมคนให้ได้เสียก่อน (จะดีไหมครับ) สมาชิกที่รู้ภาษาเยอรมัน และชอบ สร้าง/แก้/แปล/ให้ความเห็น บทความ ที่มี/จาก ภาษาเยอรมัน --Sirius (TeeTaweepo) 08:07, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ขอคิดด้วยคน

ข้าพเจ้านายพิเชษฐ์ สุนทรพจน์สมาชิกใหม่ ใครขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิกิพีเดีย:สภากาแฟ อยากให้สภากาแฟเปิดกว้างในให้สมาชิกทุกคนสามารถแนะนำตัวและธุรกิจของสมาชิกให้สมาชิกได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและขอให้สภาแฟของเรามีแต่ความรักใคร่สามัคคีกันตลอดกาลนาน ด้วยความปรารถนาดี --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Jack-chet (พูดคุยหน้าที่เขียน) 04:18, 16 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เนื่องจากวิกิพีเดียไม่ใช่เว็บบอร์ด จึงไม่จำเป็นต้องแนะนำตัวในนี้ครับ ถ้าอยากแนะนำตัวหรืออธิบายสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับตัวท่านเอง ท่านสามารถเขียนลงในหน้าผู้ใช้ของท่านได้เลยครับ เดี๋ยวก็มีคนที่สนใจเข้าไปอ่านเอง (แต่ห้ามโฆษณา) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:14, 16 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ทุกคนสามารถเขียนแนะนำตัวเองได้ในหน้าส่วนตัวครับ โดยหน้านั้นจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "ผู้ใช้:" และตามด้วยชื่อ ซึ่งสามารถแนะนำตัวเอง แนะนำกิจการที่ทำหรือธุรกิจเล็กน้อย แต่ถ้าไม่มีการเขียนแนะนำอะไร นอกจากโฆษณาขายสินค้า หน้านั้นจะถูกลบออกครับ เพราะถ้ามองในทางกลับกันคือ หน้านั้นไม่ได้แนะนำตัวผู้ใช้แต่อย่างไรครับ --Manop | พูดคุย 23:54, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เป็นไอเดียที่ดี แต่เราก็มีหน้าผู้ใช้ สำหรับกรณีนี้อยู่แล้ว ถ้าคำว่าโฆษณา หมายถึงแค่แนะนำตัวว่าที่ทำงานที่ไหน เช่น เปิดร้านที่ไหน เปิดอู่ที่ไหน บริษัทอะไรที่ไหน ฯลฯ ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นข้อความโฆษณาชวนเชื่อ เช่น "ไปร้านผมสิ มีแต่ของดี ๆ" ทำนองนี้ ไม่น่าผ่านกติกาครับ --Sirius (TeeTaweepo)

ออกแบบโลโก้

แยกหน้าละกันครับ ดูที่ วิกิพีเดีย:โครงการออกแบบโลโก้วิกิพีเดียไทย

แม่แบบ:แก้กำกวม

ย้ายไปที่ คุยเรื่องแม่แบบ:แก้กำกวม


มาตรฐาน

เพื่อให้การเขียนบทความมีลักษณะเดียวกัน ผมขอเสนอว่าควรจะมีการสร้างลิงก์ในหน้าทุกหน้า (หรือหาวิธีใดก็ได้) ที่จะไปเปิดหน้าการเขียนบทความวิกิพีเดียตามแบบมาตรฐาน (เพื่อให้ผู้เขียนทุกท่านทราบการจัดหน้าแม่แบบ การทับศัพท์ ฯลฯ) โปรดพิจารณาด้วยครับ --Horus 19:34, 3 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ไม่จำเป็น... เพราะอยู่ทาง sidebar แล้ว กดหาก็ย่อมหาเจอ --Piazzadiscussioni 19:36, 3 กรกฎาคม 2551 (ICT)

Google Analytics

(copied from Mediawiki:monobook.js)

Please remove Google Analytics, at it is not allowed per out m:Privacy policy. See [1] Bryan 21:44, 9 กรกฎาคม 2551 (ICT)

I have removed it as an emergency measure. Please note that all such violations are considered EXTREMELY SERIOUS and may result in desysopping. MaxSem 00:36, 10 กรกฎาคม 2551 (ICT)

The village pump

Could someome be so kind and move my contribution to your "village pump" and also, could someone please add a link to your village pump on meta ? Thanks, GerardM 17:26, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ไออาร์ซีแชต

สวัสดีครับ ผมคิดว่าตอนนี้วิกิพีเดียไทยควรจะมีช่อง ไออาร์ซี (IRC) เป็นของเขาบ้าง เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่ว ๆ ไปแชตกันได้

สาเหตุ
  1. บริการแชต Itshee ของคุณ Manop มีการโหลดช้ามาก และขณะนี้ก็ปิดให้บริการลง
  2. ปัจจุบันมีการพูดคุยกันอยู่มาก หากมีแชตของวิกิพีเดียเองก็จะดี
  3. เนื่องจาก IRC ไม่ต้องการอีเมลของคุณ ดังนั้นคุณสามารถมั่นใจความปลอดภัยได้
ข้อดี
  1. IRC สามารถใช้งานผ่านโปรแกรมบนเครื่อง โปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต บริการบนอินเทอร์เน็ต ก็ได้
  2. คุณสามารถเข้าได้หลายช่องในเวลาเดียวกัน ทำให้สามารถแชตที่ช่องอื่น ๆ ได้ด้วย
  3. สามารถสนทนาแบบ หนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง ผ่านระบบส่งข้อความส่วนตัว หรือ สนทนากับหลาย ๆ คนได้

ในอดีตเคยมีช่อง #wikipedia-th แต่ก็ถูกปิดไปเนื่องจากไม่มีผู้ใช้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้ด้วยมีผู้ใช้จำนวนหลากหลายคน อาจจะเป็นการดีที่มีการเปิดช่องของวิกิพีเดียไทยอีกครั้งครับ (ขณะนี้ทั้งวิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ วิกิพจนานุกรม วิกิอื่น ๆ ในภาษาต่าง ๆ จำนวนมากต่างก็เข้าร่วมกันทั้งนั้น) --Piazzadiscussioni 17:10, 15 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ลองโหลด ChatZilla แล้วเปิดห้อง irc://irc.freenode.net/wikipedia-th ทิ้งไว้แล้วครับ ไม่ได้เล่นมานานหลายปี ตั้งค่าไม่ค่อยเป็นแล้ว -- t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 17:30, 18 กรกฎาคม 2551 (ICT)
แนะนำสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้ใช้ไฟร์ฟอกซ์ให้ใช้บริการของ Wikizine Chat หรือ Mibbit Chat ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์นะครับ --Piazzadiscussioni 17:59, 18 กรกฎาคม 2551 (ICT)
ดีดีครับ สนับสนุนครับ แต่อย่างไรฝากเขียนวิธีใช้ด้วยนะครับ เพราะคิดว่ามีผู้ใช้งานหลายคนไม่เคยใช้ IRC และไม่รู้วิธีเข้าใช้งาน วิธีใช้นะครับ จะสะดวกอย่างยิ่ง --Manop | พูดคุย 12:20, 20 กรกฎาคม 2551 (ICT)

สโลแกนของวิกิวิทยาลัย

สโลแกนภาษาอังกฤษของวิกิวิทยาลัยคือ "Free learning material" นะครับ ทีนี้ผมไม่ทราบว่าจะใช้ชื่อไทยว่าอะไรดี กำลังว่าจะเพิ่มในแม่แบบ:โครงการพี่น้องอยู่พอดี ซึ่งก็คิดสโลแกนเหมือนกับ "Free Encyclopedia" สารานุกรมเสรี ครับ ผมเองก็ไม่แน่ใจระหว่าง

  • แหล่งเรียนรู้เสรี
  • อุปกรณ์การเรียนรู้เสรี

และบางท่านอาจจะมีคำแปลดีกว่านี้นะครับ --Piazzadiscussioni 22:19, 15 กรกฎาคม 2551 (ICT)

แบบแรกก็ดีแล้วครับ มันเอาไว้อ่าน ไม่น่าจะเป็นอุปกรณ์ได้ --Octra Dagostino 07:15, 16 กรกฎาคม 2551 (ICT)

"สื่อเรียนรู้เสรี" ก็ได้นะครับ ถ้าจะแปล material --ธวัชชัย 00:56, 22 กรกฎาคม 2551 (ICT)

"เสรีนุกรม"#Lognezzy 19:20, 24 กรกฎาคม 2551 (ICT)

  • ชอบ "แหล่งเรียนรู้เสรี" ครับ ใช้คำได้เข้ากับระบบการศึกษาไทย ที่ (อ้างว่า) เน้นให้เด็กนักเรียนเข้าหา "แหล่งเรียนรู้" · Dr.Garden · คุยกันได้! · 20:41, 25 กรกฎาคม 2551 (ICT)
"สื่อเรียนรู้สำหรับทุกคน"--Cometz 06:56, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
โหวต แหล่งเรียนรู้เสรี ปล. มันต้องมี เสรี นะ จะได้สอดคล้องกับวิกิพี่น้องอื่น --Sirius (TeeTaweepo)

โลโก้วิกิพีเดียไทยใหม่

ฝากช่วยกันลงคะแนนกันด้วยครับ โหวตได้ทุกคนไม่ว่าคนเก่า คนใหม่ คนใหม่มาก ดูและลงคะแนนกันได้ที่ วิกิพีเดีย:โครงการออกแบบโลโก้วิกิพีเดียไทย --Manop | พูดคุย 00:39, 21 กรกฎาคม 2551 (ICT)

คัดสรร/คุณภาพ

อนุญาตให้ไอพีร่วมโหวตบทความที่กำลังเสนอได้หรือไม่ครับ? เช่นใน วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ผมเห็นว่าไม่ควร เพราะอาจจะกระหน่ำกันมาโหวตยิ่งกว่าหุ่นเชิดเสียอีก --Octra Dagostino 15:02, 25 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ลงคะแนนโหวดไม่ได้ครับ อย่างที่คุณ Oct ว่า แต่หากมีข้อเสนอแนะ ในการพิจารณาก็ยินดีครับ --Sry85 15:16, 25 กรกฎาคม 2551 (ICT)

งั้นก็หมายความว่า แสดงความคิดเห็นได้ แต่จะไม่นับคะแนน ใช่ไหมครับ --Octra Dagostino 15:19, 25 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ผมเห็นด้วยครับกับการที่แสดงความคิดเห็นได้ หรือหากโหวต ก็จะไม่นับคะแนน --Jutiphan | พูดคุย - 18:26, 25 กรกฎาคม 2551 (ICT)
บางทีเห็นที่เป็นไอพีเข้ามา ก็เป็นคนกันเอง แต่ไม่กล้าล็อกอิน กลัวออกความเห็น แล้วจะเสียน้ำใจกัน ขัดใจกัน ก็เห็นมีเป็นระยะนะครับ --Manop | พูดคุย 23:17, 19 สิงหาคม 2551 (ICT)
กรณีเพื่อคุณภาพ ต้องไม่เกรงใจกันนะครับ สงสัยต้องใส่ไว้ในหน้าสอนวิธีใช้ ให้เกรงใจให้ถูกเรื่อง เรื่องใดควรเกรงใจ เรื่องใดไม่ควร --Sirius (TeeTaweepo)

Manual for new and small Wikipedias

Hello, at Meta there are pages created to help new and small Wikipedias: Manual and Wikipedia and help pages. You are welcome to have a look and comment. Kind regards --Ziko 05:57, 16 สิงหาคม 2551 (ICT)

อย่ากลัวป้าย

สร้างนโยบายใหม่กันไหมครับ เรื่อง "อย่ากลัวป้าย" ผู้เขียนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่ามักจะกลัวป้ายที่ปรากฏบนหน้าที่ตัวเองเขียน และรีบกุลีกุจอเอาออกอยู่เสมอ แถมไปด้วยความหมดกำลังใจที่จะเขียน อ้อน่าจะพ่วงนโยบาย "อย่ามัวติดป้าย" เข้าไปด้วยนะครับ :D --Octra Dagostino 17:50, 19 สิงหาคม 2551 (ICT)

สนับสนุนอีกเสียงครับ "อย่ากลัวป้าย" แต่ตรง อย่ามัวติดป้าย เดี๋ยวอีกหน่อยคงมีนโยบาย "อย่ากลัวติดป้าย" เพิ่มเข้ามาแน่เลย --Manop | พูดคุย 23:16, 19 สิงหาคม 2551 (ICT)
ขอผมเนี่ย เขียนเอง ติดป้ายเองเลย ถือว่าเป็นการบอกว่า พี่ ๆ เพื่อน ๆ คร๊าบ ช่วยมาดู/แก้ให้หน่อยครับ เพราะคนยิ่งแก้มาก บทความยิ่งสมบูรณ์มาก (เผื่อจะได้บทความคุณภาพกับเขาบ้าง) ผมกลับกลัวตรงข้าม กลัวไม่ถูกแก้ กลัวไม่มีป้ายติด มันเหมือนว่า เฮ้ย ไม่มีใครสนใจบทความเราเลยอะ เหงา เศร้า ซึม ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น เป็นปัญหาสังคัง เอ้ย สังคม .. ปล. ต่อไปจะมี อย่ากลัวป้ายเหลือง (ข้อความใหม่) ไหม อิ ๆ --Sirius (TeeTaweepo)

ภาพคัดสรร

สวัสดีครับ พอดีเห็นภาพคัดสรรนั้นไม่มีความเคลื่อนไหว ล้มเลิกไปตั้งแต่ก่อนผมเข้ามาในวิกิพีเดียแล้ว ก็เลยอยากให้ร่วมกันกำหนดว่า:

  1. จะดำเนินการโครงการภาพคัดสรรต่อหรือไม่ จะล้มเลิกไม่มีแล้ว หรือสนับสนุนให้ดำเนินโครงการต่อ หรือจะให้จัดตั้งเป็นโครงการในอนาคต
  2. หากจะให้จัดตั้งจะให้เปลี่ยนภาพเป็นรายวัน รายปักษ์ หรือรายเดือน
  3. หากจะให้จัดตั้งควรเป็นภาพจากวิกิพีเดียไทยเท่านั้น หรือเป็นภาพจากคอมมอนส์ได้ด้วย
  4. หากโครงการล้มเลิกจะเป็นไปได้ไหมว่าในอนาคตจะมีแนวความคิดนี้อีก
  5. หากจะมีการจัดตั้งในอนาคตเมื่อเหมาะสม จะใช้เกณฑ์อะไร

เพราะเห็นโครงการร้างมานานมากแล้วครับ ขอบคุณครับ --Piazza del Duomo 11:17, 3 กันยายน 2551 (ICT)

ตอนเริ่มโครงการตอนนั้นกะว่า อยากให้คนไทยช่วยกันโหลดภาพสวย ๆ มากันเยอะ ๆ นะครับ แต่ปัจจุบันก็มีบ้างเล็กน้อยครับ หรือถ้าจะไม่เป็นการเสนอและคัดเลือก ก็อาจร่วมพ่วงไปกับโครงการภาพคัดสรรจากคอมมอนส์ และให้มาแสดงในหน้าแรกของวิกิพีเดียก็ได้ครับ --Manop | พูดคุย 16:13, 3 กันยายน 2551 (ICT)
เดี๋ยวก็มีหน้าสถานีย่อยคัดสรรอีก --Horus 18:57, 3 กันยายน 2551 (ICT)
ช่วงหลังภาพของผมกับผู้ใช้อีกหลาย ๆ คนหันมาโหลดลงคอมมอนส์หมดครับ เห็นด้วยกับการใช้ภาพคัดสรรของคอมมอนส์มาใส่ครับ สะดวกดี --Lerdsuwa 20:33, 13 กันยายน 2551 (ICT)
ส่วนตัวคิดว่าหน้าหลักไม่มีที่จะให้วางรูปแล้วครับ เนื้อหาแน่นออกขนาดนั้น --Octra Dagostino 13:57, 5 กันยายน 2551 (ICT)
เนื้อหาแน่น ก็สามารถแทรกรูปไปตรงกลางได้ครับ แล้วดันเนื้อหาลงล่างลงไปอีก จะได้ไม่แน่ ^^ --Manop | พูดคุย 21:43, 8 กันยายน 2551 (ICT)
เอ้อ ไม่ทราบว่าภาพจากวิกิคอมมอนส์สามารถเสนอให้เป็นภาพคัดสรรได้ไหมครับ --Horus 19:47, 9 กันยายน 2551 (ICT)
อย่างในคอมมอนส์เขามีโครงการภาพประจำวันนะครับ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทุกวันและมีการคัดเลือกอยู่แล้ว โดยถ้าจะนำมาใช้ในวิกิพีเดียไทย อาจจะใช้โครงการเดียวร่วมกับเขา เพียงแต่แปลคำอธิบายภาพเป็นภาษาไทยอย่างเดียวครับ โดยลองแวะที่ หน้าแรกคอมมอนส์ จะเห็นภาพเปลี่ยนทุกวันครับ --Manop | พูดคุย 07:23, 11 กันยายน 2551 (ICT)
แล้วภาพที่ผ่านการคัดสรรแล้วเนี่ย ควรจะติดดาวไหมครับ --Horus 20:03, 11 กันยายน 2551 (ICT)
ตัวอย่างภาพคัดสรรที่คอมมอนส์
ที่คอมมอนส์จะไม่ติดดาวนะครับ (ถ้าจำไม่ผิด) จะติดเป็นป้ายไว้เลยว่า ภาพนี้เป็นภาพคัดสรรครับ ลองดูตัวอย่างที่ภาพด้านขวาครับ อันนี้เป็นภาพคัดสรรประจำวันนี้ --Manop | พูดคุย 23:18, 12 กันยายน 2551 (ICT)
แต่ว่าบางภาพเขาก็ติดดาวนะครับ --Horus 14:57, 13 กันยายน 2551 (ICT)
  • ตัวอย่างบางวิกิพีเดีย เช่น วิกิพีเดียรัสเซีย จะก๊อปของคอมมอนส์มาลงครับ เนื้อหาแน่นก็ตัดเนื้อหาสิครับ อังกฤษเยอรมันยังไม่ใส่เยอะขนาดนั้นเลย หรือดีไม่ดีทำ แสดง ซ่อน หน้าหลัก แบบฝรั่งเศสซะเลย tongue out --Piazza Navona 20:22, 17 กันยายน 2551 (ICT)

Edittools

เนื่องด้วยว่าผมกำลังเสนอ Edittools ตัวใหม่ (ขอขอบคุณ คุณ Zelda ด้วย) ลักษณะดังนี้:

ซึ่งตัวใหม่ที่นำเสนอนี้ ได้เพิ่มสัญลักษณ์องศาเซลเซียส ฟาเรนไฮต์ หรือจะเป็นดาว โน้ตดนตรี พินอิน สัญลักษณ์เพิ่มเติมที่คิดว่าเป็นประโยชน์ครับ เพราะเห็นหลาย ๆ ท่านใช้สัญลักษณ์บางอันที่ไม่มีใน Edittools ปัจจุบัน จึงน่าจะสะดวกขึ้นหาก Edittools ตัวนี้ผ่านครับ ครั้งก่อนโน้นผมเสนอไปครั้งหนึ่ง แต่ด้วยตัวเลือกที่มากเกินไป จึงได้ลดมาเหลือเท่านี้ครับ ทุกคนคิดว่าอย่างไรบ้างครับ ☺ --Piazza del Duomo 11:32, 7 กันยายน 2551 (ICT)

  1. รู้สึกว่าแม่แบบรายการอ้างอิงเปลี่ยนแล้วไม่ใช่เหรอครับ เป็น reflist ครับ
  2. น่าจะมี {{บทความหลัก}} {{ดูเพิ่มที่}} ... อย่างนี้ด้วยนะครับ --Horus 14:27, 7 กันยายน 2551 (ICT)

ตอบครับ

  1. แม่แบบ:Reflistเปลี่ยนทางไปที่แม่แบบ:รายการอ้างอิงอยู่ครับ
  2. เป็นเช่นนั้นได้ก็คงดี หากแต่ท่านอื่นอาจไม่เห็นด้วย

--Piazza Navona 16:56, 7 กันยายน 2551 (ICT)

พวกสัญลักษณ์ไม่ค่อยได้ใช้หรอกครับ นานมาก ๆ ถึงจะได้ใช้หนึ่งตัว แถมจะใช้ทีก็ก๊อปเอา ไม่ต้องนั่งหา :P --Octra Dagostino 01:26, 16 กันยายน 2551 (ICT)

เห็นด้วย แต่ผมก็ให้ผ่านกับแม่แบบนี้ และเห็นด้วยกับ ดูบทความหลักที่ ดูเพิ่มที่ แต่ขอติว่า ตัวที่แสดงขอให้ใส่โค้ดให้แสดงตัวใหญ่และห่างกันหน่อย มิงั้นจะพาจิ้มผิดได้ --Sirius (TeeTaweepo)

แม่แบบ: ใคร

แม่แบบ {{ใคร}} แม่แบบใหม่แยกออกมาจาก {{ขาดความสำคัญ}} นะครับ เอาไว้สำหรับติดบทความที่เป็นตัวบุคคล ที่ไม่ได้อธิบายว่ามีผลงานอย่างไร --Manop | พูดคุย 18:59, 8 กันยายน 2551 (ICT)