วิกิพีเดีย:บทความแนะนำ
บทความแนะนำในหน้าหลักของวิกิพีเดีย บทความแนะนำ คือบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพที่ได้รับคัดเลือกจากชาววิกิพีเดีย สำหรับนำไปแสดงไว้ในหน้าหลักของวิกิพีเดียในแต่ละเดือน การคัดเลือกบทความแนะนำ จะพิจารณาจากบทความที่แสดงให้เห็นว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ดี น่าเชื่อถือ มีรายละเอียดที่ครอบคลุม และมีผู้ลงชื่อสนับสนุนมากที่สุด
|
|
บทความแนะนำ
แม่แบบ {{บทความแนะนำ}} จะแสดงบทความแนะนำล่าสุดเช่นเดียวกับที่แสดงในหน้าหลักดังนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐ ได้รับการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขตของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยชื่อ "ราชมงคล" นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" และ "พระราชลัญจกร" ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอน 5 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยระยะแรก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นประจำทุกปี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์
รายชื่อบทความแนะนำรายเดือน
บทความแนะนำ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2568 รวมเรียกว่าบทความแนะนำ ใช้ได้ทั้งบทความคุณภาพและบทความคัดสรร บทความคุณภาพแสดงด้วยตัวอักษรปกติ (บทความคัดสรรแสดงด้วยตัวหนาเนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่า)
เดือน | 2568 | 2569 | 2570 | 2571 | 2572 |
---|---|---|---|---|---|
มกราคม | · 253 มาทิลเด · มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา |
||||
กุมภาพันธ์ | |||||
มีนาคม | |||||
เมษายน | |||||
พฤษภาคม | |||||
มิถุนายน | |||||
กรกฎาคม | |||||
สิงหาคม | |||||
กันยายน | |||||
ตุลาคม | |||||
พฤศจิกายน | |||||
ธันวาคม |
บทความคัดสรรประจำเดือน
พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2567 เรียกโครงการว่า "บทความคัดสรรประจำเดือน" ใช้บทความคัดสรรเป็นหลัก แสดงด้วยตัวอักษรปกติ (หากใช้บทความคุณภาพจะถือเป็นข้อยกเว้น แสดงชื่อบทความด้วยตัวเอียง)
† = อดีตบทความคัดสรร
เสนอบทความแนะนำเพื่อแสดงผลในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทย
- พื้นที่นี้ใช้สำหรับเสนอบทความที่คุณคิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นบทความแนะนำประจำเดือน
- ขณะนี้วันที่ 20 มกราคม 2568 เวลา 09:29 น. (UTC+7 กรุงเทพฯ)
บทความแนะนำประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 จะได้รับการพิจารณาจากข้อเสนอด้านล่างในวันที่ 31 มกราคม 2568 (วันสิ้นเดือน) ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป
- แม่แบบสำหรับแสดงผลในหน้าหลักควรมีขนาดสม่ำเสมอกันในทุกเดือนประมาณ
4,000 ไบต์ (+/-5% คือ 3,800 ถึง 4,200 ไบต์)1,000 อักขระ (+/-5% คือ 950 ถึง 1,050 อักขระ) ทั้งนี้นับรวมช่องว่างไว้แล้วด้วยโปรแกรมอัตโนมัติในวิกิพีเดียเอง ไม่ต้องใช้เครื่องมือภายนอกอื่นใดอีก
- ทดสอบเสนอชื่อสำหรับ 2568 (หกเดือนแรกเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านและปรับปรุง มกราคม-มิถุนายน)
- สนับสนุนให้ใช้เดือนคู่แสดงบทความคุณภาพ เดือนคี่แสดงบทความคัดสรร
- สิ่งที่ได้เสนอไปแล้วจะพยามคงไว้ดังเดิม แต่ถ้าเป็นไปได้จะไม่เสนอบทความคุณภาพเข้าไปในเดือนคี่อีก
- หากไม่มีบทความคัดสรรได้รับการพิจารณาใหม่ในวันสิ้นเดือนเมษายน 2568 หน้าหลักตลอดเดือนพฤษภาคมจะเป็นเดือนแรกที่แสดงข้อความประชาสัมพันธ์การเขียนบทความแนะนำตลอดเดือน รวมถึงประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุน (ถ้ามี) ในขณะนั้น
- ใช้เลขคิวเรียงลำดับไปถึง 24 แล้วเวียนซ้ำกลับมาที่ 1 ใหม่ / หากมีการเปลี่ยนเดือนที่นำเสนอหรือแทรกคิวที่เสนอแก้ไขจากลำดับที่แสดงผลด้านล่างได้ทันทีโดยเรียงจากที่ใกล้ปัจจุบันที่สุดขึ้นมาก่อน
- กรณีแสดงผลสองบทความต่อเดือน บทความที่สองเริ่มแสดงผลวันที่ 15 ของเดือนเสมอไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกี่วันก็ตาม
- วิธีการทางเทคนิค (แม่แบบที่เกี่ยวข้องในการตั้งการแสดงผลล่วงหน้าและทำประวัติบทความเก่า) ลอกตามวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า มาทั้งหมด ซึ่งผ่านการทดสอบและปรับปรุงมาถึง 6 เดือนแล้ว น่าจะให้ผลที่ดีและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สุด
ธงชาติญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง มีชื่อตามกฎหมายว่า นิชโชกิ แต่ในญี่ปุ่นนิยมเรียกธงนี้ว่า ฮิโนมารุ ซึ่งมีความหมายว่า วงกลมดวงอาทิตย์ จึงมีการเรียกประเทศนี้อย่างลำลองว่า ดินแดนแห่งพระอาทิตย์อุทัย ตามชื่อธง ธงรูปดวงอาทิตย์เป็นธงชาติของญี่ปุ่นโดยพฤตินัยก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติใน ค.ศ. 1999 ก่อนหน้านั้นไม่มีบัญญัติใดที่กำหนดลักษณะของธงชาติขึ้นเฉพาะ ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1870 ไดโจกังได้ออกพระบรมราชโองการกำหนดลักษณะของธงชาติสองฉบับ โดยธงรูปดวงอาทิตย์ได้รับการประกาศใช้เป็นธงเรือราษฎร์ตามพระบรมราชโองการที่ 57 แห่งรัชศกเมจิที่ 3 และธงชาติที่ใช้ในเรือหลวงตามพระบรมราชโองการที่ 651 แห่งรัชศกเมจิที่ 3 ความรู้สึกของสาธารณชนต่อธงชาติญี่ปุ่นมีความหลากหลาย แหล่งข้อมูลทั้งทางตะวันตกและญี่ปุ่นเองกล่าวว่าในอดีตธงชาติญี่ปุ่นนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังและยั่งยืนของชาวญี่ปุ่น นับแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง การใช้ธงชาติและเพลงชาติคิมิงาโยะในโรงเรียนรัฐญี่ปุ่นเป็นประเด็นถกเถียงที่นำไปสู่การประท้วงและการฟ้องร้อง มีการนำฮิโนมารุเป็นต้นแบบของธงอื่นในญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน
เหตุผล: ครบรอบ 157 ปีการประกาศใช้ธงชาติญี่ปุ่นในฐานะธงเรือราษฎร์ --Wutkh (คุย) 04:51, 31 ธันวาคม 2567 (+07)
|
A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษา เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา /a/, /aː/ รูปพหูพจน์ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้ในวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ยังมีการเติมเครื่องหมายกำกับและได้รับการดัดแปลงไปหลายรูปแบบ อักษร A มีจุดเริ่มต้นมาจากอักษรภาพรูปหัวของวัวในไฮโรกลิฟหรืออักษรในยุคสำริด อักษร A ของอักษรฟินิเชียได้พัฒนาเป็นรูปแบบเชิงเส้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของรูปแบบการเขียน A ในเวลาต่อมา ชื่อของอักษรนี้มีชื่อเหมือนกับ "อะลิฟ" ในอักษรอาหรับ หรือ "อะเลฟ" ในอักษรฮีบรู ชาวกรีกก็ได้รับเอาอักษรฟินิเชียมาดัดแปลง และเนื่องจากชาวกรีกไม่ใช้เสียงหยุด เส้นเสียง อ /ʔ/ ดังนั้นชาวกรีกจึงใช้อักษรนี้แทนเสียงสระ อา /a/ และเรียกชื่อใหม่เป็นแอลฟา
เหตุผล: เสนอเรียงไปตามลำดับในรายชื่อเพื่อง่ายแก่การตรวจสอบว่าบทความใดใช้ไปแล้วหรือยัง (ได้ติดต่อผู้เขียนหลัก คุณ Octahedron80 แล้ว) --Taweethaも (คุย) 07:41, 26 ธันวาคม 2567 (+07)
|
Clostridium tetani เป็นแบคทีเรียในดินที่พบได้ทั่วไปและเป็นตัวก่อบาดทะยัก ขณะที่ยังเติบโตในดิน C. tetani จะมีรูปร่างเป็นแท่งความยาวถึง 2.5 μm อย่างไรก็ตามหากมีการสร้างเอนโดสปอร์ C. tetani จะพองออกที่ปลายข้างหนึ่งคล้ายกับไม้เทนนิสหรือไม้กลอง สปอร์ของ C. tetani นั้นมีความทนทานสูงและสามารถพบได้ในดินทั่วโลกหรือในทางเดินอาหารของสัตว์ หาก C. tetani เข้าไปในแผลจะเติบโตและผลิตสารพิษที่มีความรุนแรงชื่อว่าเททาโนสปาสมิน ซึ่งจะรบกวนเซลล์ประสาทสั่งการ ส่งผลให้เกิดบาดทะยัก การออกฤทธิ์ของสารพิษนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนท็อกซอยด์บาดทะยักซึ่งมีการฉีดให้กับเด็กทั่วโลก C. tetani เป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปท่อน มีความกว้างประมาณ 0.5 μm และยาว 2.5 μm สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแฟลเจลลัมจำนวนมากที่รายล้อมรอบตัว C. tetani ไม่สามารถโตได้ในสภาวะที่มีออกซิเจน (obligate anaerobe) และเติบโตได้ดีสุดที่อุณหภูมิ 33 ถึง 37 °ซ. ในบางสภาวะ C. tetani สามารถสลัดแฟลเจลลัมทิ้งและสร้างเอนโดสปอร์ขึ้นทดแทน เซลล์หนึ่งเซลล์จะสามารถสร้างได้หนึ่งสปอร์ โดยปกติที่จะสร้างที่ส่วนปลายด้านหนึ่งของเซลล์ ทำให้เซลล์มีรูปร่างเหมือนไม้กลองอันเป็นเอกลักษณ์
เหตุผล: เสนอเรียงไปตามลำดับในรายชื่อเพื่อง่ายแก่การตรวจสอบว่าบทความใดใช้ไปแล้วหรือยัง (ได้ติดต่อผู้เขียนหลัก คุณ Chainwit. แล้ว) --Taweethaも (คุย) 07:43, 26 ธันวาคม 2567 (+07)
|
ISO 3166-2:SJ เป็นรายการรหัสสำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอนในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่นและกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 "สฟาลบาร์และยานไมเอน" ไม่ได้อยู่ในฐานะเขตการปกครองแต่เป็นดินแดนของนอร์เวย์ที่มีขอบเขตอำนาจศาลและกฎหมายแยกจากกัน กล่าวคือ "สฟาลบาร์" และ "ยานไมเอน" เขตการปกครองระดับรองลงไปของสฟาลบาร์และยานไมเอนจะอยู่ภายใต้รายการรหัสมาตรฐานของนอร์เวย์ (ISO 3166-2:NO) คือรหัส NO-21 สำหรับสฟาลบาร์ และรหัส NO-22 สำหรับยานไมเอน ทำให้ปัจจุบันไม่มีรหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 สำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอน สฟาลบาร์และยานไมเอนเป็นดินแดนอันห่างไกลของประเทศนอร์เวย์ สฟาลบาร์เป็นกลุ่มเกาะในภูมิภาคอาร์กติก ตั้งอยู่กลางทางระหว่างนอร์เวย์แผ่นดินใหญ่กับขั้วโลกเหนือ เกาะต่าง ๆ ในกลุ่มเกาะนี้กระจายตัวอยู่ระหว่างละติจูด 74 องศา ถึง 81 องศาเหนือ และลองจิจูด 10 องศา ถึง 35 องศาตะวันออก ส่วนยานไมเอนเป็นเกาะภูเขาไฟในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างทะเลนอร์วีเจียนกับทะเลกรีนแลนด์
เหตุผล: เสนอเรียงไปตามลำดับในรายชื่อเพื่อง่ายแก่การตรวจสอบว่าบทความใดใช้ไปแล้วหรือยัง (ได้ติดต่อผู้เขียนหลัก คุณ EZBELLA แล้ว) --Taweethaも (คุย) 07:52, 26 ธันวาคม 2567 (+07)
|
เบลเยียม เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับเนเธอร์แลนด์ทางทิศเหนือ ติดเยอรมนีทางทิศตะวันออก ติดลักเซมเบิร์กทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดฝรั่งเศสทางทิศใต้ และติดทะเลเหนือทางทิศตะวันตก ด้วยขนาดพื้นที่ 30,689 ตารางกิโลเมตร และประชากรราว 11.7 ล้านคน จึงเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดอันดับที่ 22 ของโลก และอันดับที่ 6 ของทวีป เมืองหลวงและเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดคือนครบรัสเซลส์ เมืองสำคัญอื่นได้แก่ แอนต์เวิร์ป, เกนต์, ชาร์เลอรัว, ลีแยฌ, บรูช, นามูร์ และเลอเฟิน เบลเยียมมีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา แบ่งออกเป็นสามแคว้น ได้แก่ แคว้นเฟลมิชทางตอนเหนือซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ แคว้นวอลลูนทางตอนใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส และแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ซึ่งเป็นแคว้นที่เล็กที่สุด มีประชากรหนาแน่นที่สุด และมั่งคั่งที่สุดในแง่อัตราจีดีพีเฉลี่ย เบลเยียมเป็นที่ตั้งของประชาคมภาษาหลักสองประชาคม ได้แก่ ประชาคมเฟลมิชซึ่งมีประชากรร้อยละ 60 และประชาคมฝรั่งเศสซึ่งมีประชากรร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังมีประชาคมภาษาเยอรมันอยู่ในภาคตะวันออก ส่วนแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาดัตช์
เหตุผล: เนื่องจากปักษ์หลังของเมษายนตรงกับวันที่เอกราชได้รับการรับรอง (ได้ติดต่อผู้เขียนหลัก คุณ Kinkku Ananas แล้ว) --Taweethaも (คุย) 07:58, 26 ธันวาคม 2567 (+07)
|
- พฤษภาคม
- เป็นที่ของบทความคัดสรรจะไม่เสนอบทความคุณภาพไปเพิ่มอีก หากไม่มีบทความคัดสรรจะแสดงข้อความประชาสัมพันธ์ให้เขียนบทความคุณภาพและบทความคัดสรรเพื่อให้กลายเป็นบทความแนะนำต่อไป
ทิก กว๋าง ดึ๊ก (เวียดนาม: Thích Quảng Đức, ออกเสียง: [tʰǐk̟ kʷâːŋ ɗɨ̌k] ; เกิด ค.ศ. 1897 — 11 มิถุนายน ค.ศ. 1963) เป็นพระภิกษุมหายานชาวเวียดนามที่จุดไฟเผาตนเองจนมรณภาพกลางทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงไซ่ง่อน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1963 เพื่อประท้วงรัฐบาลโรมันคาทอลิกภายใต้การนำของประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยม ที่มีนโยบายข่มเหงชาวพุทธซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในประเทศเวียดนามใต้ในเวลานั้น ภาพถ่ายการเผาตัวเองดังกล่าวได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางจนทำให้นโยบายของรัฐบาลเสี่ยมถูกเพ่งเล็งจากประชาคมโลก เคนเนดีกล่าวว่า "ไม่มีภาพข่าวใดในประวัติศาสตร์ที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกไปทั่วโลกได้เหมือนภาพใบนี้" การกระทำของพระกว๋าง ดึ๊ก สร้างแรงกดดันนานาชาติแก่รัฐบาลเสี่ยมจนทำให้เขายินยอมประกาศการปฏิรูปและแสดงเจตจำนงผ่อนผันตามความต้องการของชาวพุทธ อย่างไรก็ตามการปฏิรูปที่รัฐบาลเสี่ยมสัญญาไว้ก็ไม่ได้ทำ จึงทำให้ประเด็นพิพาทนี้เลวร้ายลงกว่าเดิม การประท้วงก็ยังดำเนินเรื่อยไป ในขณะเดียวกันกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษสาธารณรัฐเวียดนามซึ่งภักดีต่อโง ดิ่ญ ญู น้องชายของเสี่ยม ก็ได้บุกรุกวัดพุทธทั่วเวียดนามใต้ และพยายามยึดเอาหัวใจที่ไม่ไหม้ของพระกว๋าง ดึ๊ก มาไว้ในการครอบครอง
เหตุผล: เนื่องจากเดือนมิถุนายนตรงกับเหตุการณ์สำคัญในบทความ (ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนหลัก คุณ Chainwit. ให้เสนอแทน) --Taweethaも (คุย) 09:41, 28 ธันวาคม 2567 (+07)
|