วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (เหตุการณ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวิกิพีเดีย ความโดดเด่นของบทความ เป็นเกณฑ์ตามเงื่อนไขจากความเหมาะสมในการเป็นสารานุกรมของหัวข้อของบทความ หัวเรื่องบทความควรมีความโดดเด่นหรือ "ควรค่าแก่การรู้จัก" (worthy of notice) และ "โดดเด่น" น่าสนใจพอ สมควรที่จะจดจำหรือจดบันทึก[1]

หน้านี้เป็นแนวทางสำหรับบทความประเภทเหตุการณ์ ที่สะท้อนการเห็นพ้องของคนส่วนใหญ่ ที่ผ่านการอภิปรายและมีการปฏิบัติตาม และได้รวบรวมข้อมูลการตัดสินใจจากบทความในอดีต รวมถึงปัจจุบัน การเขียนข่าวด่วนอาจต้องนำไปรวม หรือ ลบ หรือ พัฒนาต่อไป

ภูมิหลัง[แก้]

การอภิปรายการลบบทความ เป็นข้อถกเถียงหลายครั้งเกี่ยวกับบทความเหตุการณ์ โดยมากเกี่ยวกับข่าวด่วน ที่ครอบคลุมในสื่ออย่างเข้มข้น แนวทางนี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เขียนเข้าใจนโยบายและแนวทางที่ใช้สำหรับบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ และเกี่ยวข้องกับ วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย (เช่น วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งรวบรวมข้อมูลข่าว) โดยจะพยายามอธิบายความสัมพันธ์ของกฎกับบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ แนวทางนี้เกิดจากการเห็นพ้องของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับบทความในลักษณะนี้

เกณฑ์[แก้]

วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่ม นั่นหมายถึง ไม่มีขีดจำกัดในทางปฏิบัติถึงจำนวนหัวเรื่องที่สามารถมีได้ในวิกิพีเดีย หรือปริมาณเนื้อหาทั้งหมด อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียก็ไม่ใช่ แหล่งรวบรวมข้อมูลที่ขาดการพิจารณา จากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งข่าว วิกิข่าวเป็นสถานที่ที่ให้นักเขียนสามารถให้ข้อมูลข่าวปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ทุกข่าวที่จะโดดเด่นหรือเขียนเป็นบทความในวิกิพีเดียได้

ผู้เขียนควรมีความอดทนต่อความเป็นปัจจุบัน แนวโน้มของข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันดูเหมือนเป็นสิ่งสำคัญ มากกว่าที่เป็นหากผ่านไปหลายปี มีหลายเหตุการณ์ได้มีการเขียนรายงานข่าวและต่อมาก็ไม่ได้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ องค์กรข่าวมีเกณฑ์ในการนำเสนอข่าว เช่น คุณค่าของข่าว ที่แตกต่างจากเกณฑ์ของวิกิพีเดียและสารานุกรมโดยทั่วไป ข่าวอาชญากรรม การเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่อาจสำคัญพอที่ผู้รายงานข่าวและนักเขียนข่าวจะรายงาน แต่ก็ไม่เสมอไปที่จะโดดเด่นเพียงพอสำหรับการเป็นบทความในวิกิพีเดีย

  • เหตุการณ์อาจมีความโดดเด่นหากบทความนั้นมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป หรือบทความนั้นมีผลกระทบอย่างยั่งยืน
  • เหตุการณ์นั้นอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีความโดดเด่น เมื่อส่งผลกระทบอย่างแพร่หลาย (ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ) และครอบคลุมในสื่อหลากหลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำมาวิเคราะห์เหตุการณ์
  • เหตุการณ์นั้นมีการพูดถึงเพียงเล็กน้อย หรือ พูดถึงในแง่มุมที่จำกัด หรือ ไม่มีความโดดเด่น คำอธิบายด้านล่างเป็นการประเมินเหตุการณ์
  • ประเภทของข่าวที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เช่น อาชญากรรม อุบัติเหตุ การเสียชีวิต ผู้มีชื่อเสียง หรือ ข่าวการเมือง ข่าวที่สร้างความตกตะลึง เรื่องราวที่ขาดความยั่งยืน หรือเหตุการณ์ที่มีการรายงานเฉพาะในช่วงเวลานั้น โดยทั่วไปแล้วจะไม่โดดเด่นพอ จนกว่าจะให้ข้อมูลที่ให้ความโดดเด่นเพียงพอ

ในการประเมินเหตุการณ์ ผู้เขียนควรประเมินหลายมุมมองของเหตุการณ์นั้นและสื่อครอบคลุม ที่ส่งผลกระทบ ความลึก ระยะเวลาของข่าว ความครอบคลุมด้านภูมิศาสตร์ ความหลากหลายและความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว เช่นเดียวกับพิจารณาเรื่องข่าวประเภทที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

เหตุการณ์[แก้]

ส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน[แก้]

เหตุการณ์ที่เป็นแบบอย่างหรือก่อให้เกิดสิ่งสำคัญอื่นอย่างยั่งยืน ก็เป็นไปได้ว่าจะมีความโดดเด่น

เหตุการณ์ที่มักถือได้ว่ามีความโดดเด่น ถ้าเหตุการณ์ที่เป็นแบบอย่างหรือก่อให้เกิดสิ่งอื่น อาจหมายถึงส่งผลกระทบต่อมุมมองและพฤติกรรมของสังคมและกฎหมาย ตัวอย่างเช่น บทความ การฆาตกรรมอดัม วอล์ช นำมาสู่ กฎหมายปกป้องและความปลอดภัยเด็ก

เหตุการณ์ที่ถือได้ว่ามีผลกระทบอย่างถาวรกับประวัติศาสตร์อย่างสำคัญ มักถือได้ว่ามีความโดดเด่น ตัวอย่างเช่น หายนะทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบทางกายภาพที่ถูกทำลายอย่างกว้างขวาง นำมาสู่การสร้างใหม่ การเคลื่อนย้ายของคน และอาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ที่ถือได้ว่ามีความโดดเด่น สำหรับการแผ่นดินไหวเล็กน้อยหรือพายุที่มีผลกระทบน้อยหรือไม่มีผลกระทบต่อมนุษย์ อาจถือว่าไม่มีความโดดเด่น

อาจจะต้องพิจารณาร่วมหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ว่าเหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบอย่างยั่งยืนหรือไม่ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ที่ไม่มีข้อมูลการส่งผลกระทบอย่างยั่นยืนจะถือได้ว่าไม่มีความโดดเด่น

ความครอบคลุมด้านภูมิศาสตร์[แก้]

เหตุการณ์ที่โดดเด่นมักส่งผลกระทบสำคัญไปทั่วภูมิภาคหรือกลุ่มสังคมที่กว้างขวาง

เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในท้องถิ่นและมีรายงานในสื่อเพียงในท้องถิ่นนั้น อาจถือได้ว่าไม่มีความโดดเด่น สื่อครอบคลุมของเหตุการณ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติมีความเป็นไปได้ที่สร้างความโดดเด่น แต่การรายงานข่าวในระดับชาติหรือนานาชาตินี้ จะต้องไม่ใช่เหตุผลหลัก เหตุผลเดียวในการที่จะสร้างบทความ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ส่งผลกระทบระยะยาว ในระดับภูมิภาค หรือส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง (พิจารณาจากเกณฑ์ข้ออื่น) ก็อาจถือได้ว่ามีความโดดเด่นพอที่จะเป็นบทความ

การรายงานข่าว[แก้]

ความลึกของข่าว[แก้]

เหตุการณ์นั้นต้องมีความสำคัญหรือมีการรายงานข่าวเชิงลึกถึงมีความโดดเด่น

เกณฑ์การพิจารณาโดยทั่วไป คือ ข้อมูลต้องมีความสำคัญและไม่ใช่ข้อมูลทั่วไป ความลึกของข่าว รวมถึงการวิเคราะห์ที่เสริมเข้าไปในเนื้อหา อย่างเช่น มักพบได้ในหนังสือ บทความยาว ๆ ในหนังสือพิมพ์ข่าวที่สำคัญ และได้รายงานข่าวพิเศษ การรายงานข่าวที่มีใจความสำคัญเพียงเล็กน้อยหรือการให้ข้อมูลไม่มาก มักถือได้ว่าเป็นรายงานข่าวทั่วไป[2] ผู้เขียนบทความบางคนอาจเล่าเหตุการณ์ข่าวที่ดูเหมือนข้อมูลปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ

การรายงานข่าวของสื่อหลาย ๆ สถาบันเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในบางครั้งข่าวมีเนื้อหาเหมือน ๆ กัน ผู้เขียนไม่ควรอาศัยสื่อหลาย ๆ สื่อเพื่อยกประเด็นความโดดเด่นของเหตุการณ์นั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของการเขียนเป็นบทความต้องเป็นเหตุการณ์สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เก่าหรือเหตุการณ์ทั่วไป

ระยะเวลาการนำเสนอข่าว[แก้]

เหตุการณ์ที่โดดเด่นมักมีการนำเสนอข่าวยาวนานกว่าวัฏจักรการนำเสนอข่าวทั่วไป

ระยะเวลาในการนำเสนอข่าว เป็นตัววัดความโดดเด่นของเหตุการณ์ได้อย่างมาก ว่าเป็นแค่เหตุการณ์ทั่วไปหรือเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน ถึงแม้ว่าความโดดเด่นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ที่มีความหมายว่า หัวเรื่องนั้นไม่จำเป็นจะต้องได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องอีก แต่การรายงานข่าวไม่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นโดยทันที เหตุการณ์ที่ครอบคลุมเฉพาะในช่วงที่เกิดเหตุการณ์หรือหลังเหตุการณ์โดยทันที ที่ปราศจากการวิเคราะห์หรือการอภิปราย ก็ไม่เหมาะกับการเป็นบทความในสารานุกรม อย่างไรก็ตาม เป็นการยากและเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินความโดดเด่นหลังเหตุการณ์โดยทันที ผู้เขียนไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุการณ์นี้จะนำไปสู่เหตุการณ์อื่นอย่างกว้างขวางหรือไม่ เหตุการณ์นั้นจะไม่โดดเด่นในช่วงเวลาที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นั้น ๆ

หากเหตุการณ์ ได้รับการอ้างถึงในการเป็นกรณีศึกษาในหลาย ๆ แหล่ง หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขั้นต้น ก็อาจถือได้ว่าส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน

ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล[แก้]

การรายงานข่าวในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ อาจคาดหวังว่าเป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่น การรายงานในขอบเขตที่กว้างขวางถือได้ว่าแสดงความโดดเด่น แต่แหล่งข้อมูลข่าวที่ดูเหมือน ๆ กัน หรือคล้าย ๆ กับแหล่งข่าวอื่น ๆ หรือ ข้อมูลที่จำกัด ไม่ถือว่าเป็นแหล่งข่าวที่มีความหลากหลาย

ในนโยบาย วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม ที่แนะนำให้ใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง เพื่อแสดงความโดดเด่นของหัวข้อบทความนั้น ไม่ใช่แหล่งอ้างอิงหลาย ๆ แหล่ง ที่มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน[3] การรายงานข่าวอย่างต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์หรือช่องข่าวเดียวกัน ไม่ถือว่าสร้างความโดดเด่นให้บทความอย่างเพียงพอ

สื่อช่องต่าง ๆ ภายใต้การทำงานเครือเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นหนึ่งแหล่ง เช่นเดียวกัน รายงานข่าวหรือการแถลงข่าว ที่มีการพิมพ์ซ้ำ (มักมีข้อความเขียนที่เหมือนกัน) จากสำนักพิมพ์ หรือเมื่อผู้รายงานข่าวให้ข้อมูล ในข่าวที่ทำซ้ำจากที่อื่น (ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวเอพี รายงานว่า ...) ถือได้ว่าเป็นแหล่งข่าวเพียงแหล่งเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. Encarta dictionary definition Retrieved 13 March 2008
  2. Cho, Jaeho; Michael P. Boyle; Heejo Keum; และคณะ (September 2003). "Media, Terrorism, and Emotionality: Emotional Differences in Media Content and Public Reactions to the September 11th Terrorist Attacks". Journal of Broadcasting & Electronic Media. 47. eISSN 1550-6878. ISSN 0883-8151.
  3. จาก WP:GNG: "ขาดแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง แนะนำว่าหัวข้อนั้นอาจสรุปได้ว่าเหมาะกับการเป็นบทความ การตีพิมพ์จากแหล่งเดียวหรือข่าวจากในเครือเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นงานจากหลาย ๆ แหล่ง บางสำนักพิมพ์ตีพิมพ์บทความซ้ำ ๆ ในภูมิภาคนั้น หลาย ๆ ครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นแหล่งข่าวหลายแหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้เขียนใช้แหล่งข้อมูลในการเขียนเป็นข้อมูลเดียวกันและดูเหมือนเป็นการให้ข้อมูลซ้ำ"