วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการวิกิที่เกียวข้อง: วิดีโอเกม

หน้านี้เป็นหน้าแนวทางที่อธิบายที่มาแนวคิดของความโดดเด่นบทความที่อาจประยุกต์เข้ากับบทความวิดีโอเกมและเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รวมถึงไอเทมอย่าง วิชวลโนเวล ในที่นี้ไม่รวมซีเรียสเกมที่ใช้ในการสอนด้านธุรกิจและองค์การ เกณฑ์ในหน้านี้ไม่ใช่เกณฑ์สูงสุด ผู้เขียนอาจประยุกต์แนวทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน้า เกณฑ์ความโดดเด่นเนื้อหาเว็บไซต์

เกณฑ์ความโดดเด่นสำหรับบทความวิดีโอเกม[แก้]

บทความวิดีโอเกมที่เหมาะสมกับการเป็นบทความในวิกิพีเดีย หากมีการกล่าวถึงอย่างมีนัยยะสำคัญหรือมีการวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลอิสระ

  • แหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ สารคดี เว็บไซต์ และรายงานจากผู้บริโภค
  • แหล่งข้อมูลอิสระ จะต้องไม่ใช่แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ข่าวประชาสัมพันธ์ (หรือการพิมพ์ซ้ำ) การโฆษณา คู่มือ หนังสือแนะนำอย่างเป็นทางการ หรือข้อมูลจากคู่ค้าทางธุรกิจ
  • คำวิจารณ์ที่โดดเด่น ควรเป็นรายงานที่รายงานมากกว่าข้อมูลพื้นฐานของเกม เช่น ชื่อ แพลตฟอร์ม ผู้จัดจำหน่าย รายชื่อทีมงาน ฯลฯ การวิจารณ์ควรเป็นการวิเคราะห์และให้รายละเอียด
  • การตีพิมพ์แบบเก่าหรือสื่อภาษาอื่น ควรจะครอบคลุมในแหล่งข้อมูลที่ไม่มีเผยแพร่ออนไลน์ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่อ้างถึง อิทธิพล แนวเกม หรือรูปแบบเกม ที่ให้ข้อมูลหลักฐานอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น อาจตีพิมพ์จากแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

เกมดัดแปลง (เช่น เกมรีเมก เกมรวม และภาคเสริม) อาจมีในบทความในวิกิพีเดียได้ แต่อาจไม่ถึงกับแยกเป็นบทความ

รางวัล[แก้]

การได้รับรางวัล และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ไม่ได้แสดงว่าเกมมีความโดดเด่น อย่างไรก็ตาม การได้รับคำวิจารณ์สำคัญจากการได้รับรางวัลหรือได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อาจผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น ในบางกรณีองค์การผู้ให้รางวัลก็อาจถือเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แนวทางความน่าเชื่อถืออย่างองค์การที่มอบรางวัล มีการกล่าวถึงจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากแหล่งอื่น และอาจจะเหมาะสมกว่าหากจะใช้แหล่งอ้างอิงอื่นที่ไม่ใช่จากผู้มอบรางวัล ในจุดประสงค์เพื่อตัดสินความโดดเด่น

สำหรับรางวัลที่อาจถือว่ามีความโดดเด่น อย่างเช่น Annual Interactive Achievement Awards (AIAS), British Academy Video Games Awards (BAFTA), Japanese Game Awards, Game Critics Awards จาก E3, Spotlight Awards, the Game Developers Choice Awards (GDCA), Entertainment/Interactive Art Awards, และ Independent Games Festival (IGF)

ส่วนอันดับที่จัดทางออนไลน์อย่างรายชื่อ "top 10" หรือรางวัลอื่น (อย่างเว็บ ไอจีเอ็น หรือ เกมสปอต) อาจไม่ถือว่ามีความโดดเด่น เพราะมักไม่ให้คำวิจารณ์สำคัญที่น่าเชื่อถือเพียงพอ อย่างไรก็ตามรางวัลเหล่านี้อาจมีพูดถึงในบทความ แม้จะไม่ได้อยู่ในเกณฑ์พิจารณาความโดดเด่น

ความโดดเด่นของวิดีโอเกมดัดแปลง[แก้]

เกมใหม่ที่ออกไม่ว่าจะเป็นภาคเสริมหรือการออกซ้ำของเกมเดิม ไม่มีการยืนยันเสมอไปว่าจะเขียนแยกเป็นบทความ การออกเกมดัดแปลงควรจะมีกล่าวถึงในบทความดั้งเดิม หากเกมมีเนื้อหาโดดเด่น (และมีคำวิจารณ์จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความแตกต่างนี้) ก็อาจแยกเขียนเป็นบทความใหม่ หลีกเลี่ยงการสร้างบทความใหม่ที่มีเนื้อหาสั้นหรือให้ข้อมูลที่ซ้ำกัน

รูปแบบประเภท ภาคต่อ ภาคเสริม รีเมก หรือ พอร์ต เกมฉบับตอน Fan disc ฉบับรวม แพตช์ ฉบับแปลภาษา
มีปก? เสมอ เสมอ ตามปกติ เสมอ เสมอ ตามปกติ ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยมี
ให้รายละเอียด? ตามปกติ ตามปกติ บางครั้ง ไม่ค่อยมี บางครั้ง ไม่ค่อยมี มีรายละเอียดน้อยมาก มีรายละเอียดน้อยมาก
ควรแยกบทความ? ตามปกติ มีบ้าง ไม่ค่อยเขียนแยก น้อยมากที่เขียนแยก น้อยมากที่เขียนแยก น้อยมากที่เขียนแยก น้อยมากที่เขียนแยก น้อยมากที่เขียนแยก
บทความตัวอย่าง
จากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
Halo 2 StarCraft: Brood War Chrono Trigger Tales of Monkey Island Metroid Prime: Trilogy BioShock Final Fantasy VI

ตารางด้านบนเป็นแนวทางที่แยกประเภทของเกม การตั้งชื่อของผู้ผลิตหรือทางการตลาดนั้นไม่สำคัญในการพิจารณา หากจะแยกบทความจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่น่าชื่อถือเกี่ยวกับเกมนั้น ตัวอย่างเช่น เกมอาจตั้งชื่อทางการตลาดว่าเป็น "เกมตอนใหม่" แต่แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถืออาจกล่าวว่าเป็นภาคต่อ การออกวางขายครั้งใหญ่มีเนื้อหาที่โดดเด่น จึงมีผลต่อการสร้างบทความใหม่มากกว่า การอัปเดตเพียงเล็กน้อยที่ไม่ค่อยมีข้อมูล

ดูเพิ่ม[แก้]

ความโดดเด่น (วิดีโอเกม) เป็นหน้านโยบาย วิธีใช้ หรือหน้าโครงการของวิกิพีเดียที่ยังเป็นโครง
หน้าวิธีใช้ และหน้าโครงการของวิกิพีเดียภาษาไทย อาจต่างกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานนโยบายเดียวกัน