วิกฤตการณ์วิดีโอเกม ค.ศ. 1983

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลับเกม อี.ที., Centipede และเกมอื่น ๆ ของอาตาริ ถูกค้นพบในระหว่างการขุดที่ แอละโมกอร์โด, รัฐนิวเม็กซิโก ใน ค.ศ. 2014

วิกฤตการณ์วิดีโอเกม ค.ศ. 1983 (อังกฤษ: Video game crash of 1983) หรือรู้จักกันในชื่อ อาตาริช็อค (Atari shock) ในญี่ปุ่น เป็นภาวะถดถอยครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมวิดีโอเกมที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1983-1985 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก วิกฤตการณ์นี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงความอิ่มตัวของตลาดในจำนวนเกมคอนโซลและเกมที่มีอยู่ และความสนใจในเกมคอนโซลที่ลดลงเนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รายรับสูงสุดอยู่ที่ราว 3.2 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 1983 จากนั้นก็ลดลงสู่ระดับ 100 ล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 1985 (ลดลงเกือบ 97%) วิกฤตการณ์ถือเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่ทำให้วงการวิดีโอเกมของอเมริกาเหนือในยุคที่สองของเครื่องเกมคอนโซลล่มสลายลง

เมื่อประมาณสองปีที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตและนำไปสู่การล้มละลายของหลายบริษัทที่ผลิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครื่องเล่นวิดีโอเกมในภูมิภาค นักวิเคราะห์แสดงความสงสัยเกี่ยวกับความมีชีวิตในระยะยาวของเครื่องเล่นวิดีโอเกมและซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมในอเมริกาเหนือได้ฟื้นตัวในอีกไม่กี่ปีต่อมาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความสำเร็จของเครื่องเล่นวิดีโอเกมนินเทนโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม (NES) ใน ค.ศ. 1985 นินเทนโดออกแบบเครื่องเอ็นอีเอสให้เป็นแบรนด์ตะวันตกสำหรับเครื่องคอนโซลแฟมิคอมที่เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1983 เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ที่เกิดจากการแข่งขันใน ค.ศ. 1983 และหลีกเลี่ยงความอัปยศที่วิดีโอเกมมีในเวลานั้น

บรรณานุกรม[แก้]

  • DeMaria, Rusel & Wilson, Johnny L. (2003). High Score!: The Illustrated History of Electronic Games (2nd ed.). New York: McGraw-Hill/Osborne. ISBN 0-07-222428-2.
  • Gallagher, Scott & Park, Seung Ho (2002). "Innovation and Competition in Standard-Based Industries: A Historical Analysis of the U.S. Home Video Game Market". IEEE Transactions on Engineering Management, vol. 49, no. 1, February 2002, pp. 67–82. doi: 10.1109/17.985749

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]