วิกฤตการณ์ลิเบีย (พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานการณ์ทางทหารปัจจุบันของสงครามกลางเมืองลิเบีย
  ครอบครองโดย Tobruk-led Government และ Libyan National Army
  ครอบครองโดย Government of National Accord และ Allies
  ครอบครองโดย National Salvation Government
  ครอบครองโดย the Mujahedeen Councils of Derna, Benghazi and Adjabiya
  ครอบครองโดย local forces
  ครอบครองโดย Tuareg forces

วิกฤตการณ์ลิเบีย[1][2] หมายถึงความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ในลิเบีย เริ่มขึ้นด้วยการประท้วงและการเดินขบวนครั้งใหญ่ทั่วประเทศจากกระแสอาหรับสปริงเพื่อต่อต้านรัฐบาลของมูอัมมาร์ กัดดาฟี แล้วลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ฝ่ายกบฏสามารถควบคุมหัวเมืองและนครชายฝั่งได้หลายแห่ง[3][4][5] โดยที่ฝ่ายที่สนับสนุนกัดดาฟียังคงควบคุมเมืองชายฝั่งบ้านเกิดของกัดดาฟี เซิร์ทและเมืองบานีวาลิคทางตอนใต้ของกรุงตริโปลี[6] วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554 กองกำลังฝ่ายกบฏเข้ายึดครองกรุงตริโปลีได้อย่างเบ็ดเสร็จ และสามารถขับไล่กัดดาฟีกับผู้สนับสนุนจนต้องถอยร่นออกไปยังที่มั่นแห่งสุดท้ายคือเมืองเซิร์ท สงครามกลางเมืองระหว่างสองฝ่ายดำเนินมาถึงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่เมืองเซิร์ท ขบวนรถของกัดดาฟีและผู้ติดตามถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธของนาโต้ระหว่างการหลบหนี ผู้ติดตามถูกสังหารระหว่างการสู้รบ ขณะที่กัดดาฟีในสภาพบาดเจ็บสาหัสถูกควบคุมตัวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนมูตัสซิมบุตรชายของกัดดาฟีและอาบู บาค์ร ยูนิส อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ก็ถูกสังหารเสียชีวิตในวันเดียวกัน

แม้รัฐบาลกัดดาฟีจะถูกโค่นล้ม แต่ลิเบียยังคงประสบปัญหาความขัดแย้ง หลังการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ลิเบียแตกออกเป็นสองฝ่าย[7] ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ (Government of National Accord) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สหประชาชาติให้การรับรอง[8] มีศูนย์กลางอยู่ที่ตริโปลี และฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรลิเบีย (House of Representatives) มีฐานอยู่ที่โตบรูค ทั้งสองฝ่ายรวมถึงฝ่ายรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์[9] ต่างสู้รบในสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง[10][11] เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 กองกำลังฝ่ายรัฐบาลปรองดองแห่งชาติยึดเมืองเซิร์ตจากฝ่ายรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ได้สำเร็จ ส่งผลให้รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์เสียที่มั่นสำคัญทั้งหมดในลิเบีย[12] ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ฝ่ายรัฐบาลปรองดองแห่งชาติบรรลุข้อตกลงหยุดยิงถาวรกับกองทัพแห่งชาติลิเบียที่ภักดีต่อฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร[13] และจัดตั้งรัฐบาลร่วมเฉพาะกาลขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 เพื่อบริหารรัฐการก่อนมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Libya – Crisis response", European Union.
  2. Fadel, L. "Libya's Crisis: A Shattered Airport, Two Parliaments, Many Factions".
  3. "Gaddafi defiant as state teeters - Africa". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  4. "BBC News - Middle East and North Africa unrest". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  5. "Libyan minister quits, diplomat claims genocide". Sify.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  6. "Long Bread Lines and Open Revolt in Libya's Capital". NYtimes.com. 2011-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-02-26.
  7. Why elections won’t save Libya -- Al Jazeera America
  8. World Report 2018: Libya | Human Rights Watch
  9. ISIS in Libya: Civil war provides 'space' for radical jihadists
  10. Civil war surges in Libya after legislative elections
  11. Is civil war likely? -- The Economist
  12. Amara, Hani (August 5, 2021). "Libyan forces clear last Islamic State holdout in Sirte". Reuters.
  13. "UN says Libya sides reach 'permanent ceasefire' deal". Al Jazeera English. 2020-10-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2020-10-23.
  14. "Libyan lawmakers approve gov't of PM-designate Dbeibah". Al Jazeera. 10 March 2021. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.