วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560
วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560 | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์การเงินสเปน พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน และขบวนการเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน | |||
![]() ที่ตั้งแคว้นกาตาลุญญาในประเทศสเปน | |||
วัน |
6 กันยายน 2560 – ปัจจุบัน (1 ปี 5 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน) | ||
ที่ | สเปน โดยเฉพาะในแคว้นกาตาลุญญา | ||
สาเหตุ |
| ||
วิธีการ | การเดินขบวน, การดื้อแพ่ง, การต่อต้านโดยพลเรือน, การบุกยึดสถานที่, การนัดหยุดงานทั่วไป | ||
สถานะ |
กำลังดำเนินอยู่
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
| |||
จำนวน | |||
| |||
ความสูญเสีย | |||
|
วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560[8] (สเปน: crisis constitucional de España de 2017; กาตาลา: crisi constitucional espanyola de 2017) เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างรัฐบาลสเปนกับทบวงการปกครองกาตาลุญญาในประเด็นการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560 ความขัดแย้งเริ่มขึ้นหลังจากที่กฎหมายการลงประชามติเอกราชถูกประณามจากรัฐบาลสเปนซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฆอย และต่อมาถูกศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งยับยั้งจนกว่าจะมีการตัดสินในประเด็นดังกล่าว[9][10] ฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญาซึ่งนำโดยประธานแคว้นการ์ลัส ปุดจ์ดาโมน ประกาศว่า ไม่ว่ารัฐบาลสเปนหรือศาลก็ไม่สามารถหยุดยั้งแผนการของพวกเขาได้ และยังคงมุ่งมั่นที่จะจัดการลงประชามติต่อไป ซึ่งจุดประกายให้เกิดการตอบโต้ตามกฎหมายซึ่งแผ่ขยายอย่างรวดเร็วจากทั้งรัฐบาลสเปนและจากทบวงการปกครองกาตาลุญญาไปยังเทศบาลต่าง ๆ ในแคว้นกาตาลุญญา (โดยทบวงการปกครองกาตาลุญญาได้ร้องขอให้บรรดานายกเทศมนตรีสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงและความช่วยเหลือเพื่อให้กระบวนการลงคะแนนเป็นไปได้ด้วยดี) รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมสูงสุดกาตาลุญญา และพนักงานอัยการของรัฐสเปน[9][11][12]
เมื่อถึงวันที่ 15 กันยายน ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนเอกราชกาตาลุญญาเริ่มรณรงค์การลงประชามติ รัฐบาลสเปนได้ดำเนินการรุกทางกฎหมายอย่างเต็มที่เพื่อขัดขวางการลงคะแนนเสียงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการขู่จะเข้าควบคุมงบประมาณส่วนใหญ่ของกาตาลุญญา การส่งกำลังตำรวจเข้ายึดป้ายประกาศ จุลสาร และใบปลิวสนับสนุนการลงประชามติซึ่งถูกพิจารณาว่าผิดกฎหมาย และการสอบสวนทางอาญาต่อนายกเทศมนตรีในกาตาลุญญากว่า 700 คน ซึ่งตกลงว่าจะช่วยจัดการลงประชามติอย่างเปิดเผย[13][14] ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่ายถึงจุดวิกฤตหลังจากที่ตำรวจสเปนเริ่มปฏิบัติการอะนูบิสโดยจู่โจมที่ทำการต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญาในเมืองบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 20 กันยายน และจับกุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของกาตาลุญญา 13 คน สื่อต่างประเทศบางสื่อบรรยายเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "หนึ่งในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สเปนสมัยใหม่"[15] นักการเมืองสเปนหลายคนเรียกการลงประชามติครั้งนี้ว่าเป็น "รัฐประหารขวางประชาธิปไตยสเปน" และ "ขวางยุโรป"[16][17]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ [1]
- ↑ Agencia EFE (2 October 2017). "El despliegue de la Policía Nacional y la Guardia Civil se mantendrá en Cataluña". 20 minutos (in Spanish). สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
- ↑ "Thousands of Spanish police and Civil Guards deploy across Catalonia". El Nacional. Barcelona. 1 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
- ↑ Sellart, Jaume (12 September 2017). "Guardia Civil y Policía Nacional movilizan mil antidisturbios más en Catalunya". El Periódico de Catalunya (in Spanish). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
- ↑ Europa Press (October 2017). "Interior asegura que 431 policías y guardias civiles resultaron heridos en el dispositivo del 1-O". La Vanguardia (in Spanish). Madrid. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
- ↑ B. García, Luis (October 2017). "El balance total de las cargas en el 1-O: 893 heridos, cuatro de ellos hospitalizados". La Vanguardia (in Spanish). สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
- ↑ 7.0 7.1 Agencia EFE (2 October 2017). "Un detenido y tres heridos en la marcha por el derecho a decidir en Madrid". 20 minutos (in Spanish). สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
- ↑ Gilbert, Mark (7 September 2017). "Catalonia Cries "Freedom!" Market Says "Not So Fast..."". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ 9.0 9.1 "Spain Catalonia: Court blocks independence referendum". BBC News. 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ Strange, Hannah (7 September 2017). "Spain's constitutional court suspends Catalan referendum law". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ Noguer, Miquel; Tena, Berta (8 September 2017). "Prosecutors take action against Catalan officials after referendum law passed". El País. Barcelona, Madrid. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ "Catalonia pushes Spain toward crisis". The Leader. 9 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ Hedgecoe, Guy (15 September 2017). "Spain's crisis sharpens as Catalonia referendum campaign begins". The Irish Times. Madrid. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
- ↑ "Spanish police confiscate Catalan referendum material". Al Jazeera. 18 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
- ↑ Stothard, Michael (20 September 2017). "Spanish national police raid Catalan government headquarters". Financial Times. Madrid. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
- ↑ http://metro.co.uk/2017/10/02/catalonia-referendum-was-coup-against-europe-says-eu-parliament-vice-president-6970344/?ito=cbshare
- ↑ http://www.express.co.uk/news/world/862776/spain-catalonia-news-independence-map-bbc-referendum-eu-catalan-barcelona-strasbourg