ยุทธการที่มาราวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกฤตการณ์มาราวี)
ยุทธการที่มาราวี
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งที่โมโร และการก่อการร้ายของกลุ่มที่สวามิภักดิ์ต่อรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

อาคารที่ถูกทิ้งระเบิด
วันที่23 พฤษภาคม – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560
(5 เดือน)
สถานที่8°00′38″N 124°17′52″E / 8.0106°N 124.2977°E / 8.0106; 124.2977
ผล

ฟิลิปปินส์ชนะอย่างเด็ดขาด[10]

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เมืองมาราวีถูกยึดครองโดยกองทัพฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560
คู่สงคราม

 ฟิลิปปินส์


สนับสนุนโดย:
ผู้สนับสนุนที่เป็นองค์กร:

ประเทศที่สนับสนุน:

 ไอซิล

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฟิลิปปินส์ โรดรีโก ดูแตร์เต
(ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์)
ฟิลิปปินส์ เดลฟิน ลอเรนซานา
(รัฐมนตรีกลาโหม)
ฟิลิปปินส์ เอดูอาร์โด อาโญ
(เสนาธิการแห่งกองทัพฟิลิปปินส์)
ฟิลิปปินส์ การ์ลีโต กัลเบซ จูเนียร์
ฟิลิปปินส์ โรนัลด์ เดลา โรซา
อิสนิลอน ฮาปิลอน (KIA)
(ผู้บัญชาการอะบูซัยยาฟและเอมีร์)
อับดุลเลาะห์ เมาเต (เชื่อว่าเสียชีวิต)[13][14]
โอมาร์ เมาเต (KIA)
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ Mahmud Ahmad (รองผู้บัญชาการ) (เชื่อว่าเสียชีวิต)[15][16]
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ Amin Bacu (ผู้บัญชาการอาวุโส) (เชื่อว่าเสียชีวิต)[17][18]
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพฟิลิปปินส์

กรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์

หน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์


สหรัฐ กองรบพิเศษที่ 1 รวมทั้งเนวีซีลสหรัฐ และเนวีสยูอิคสหรัฐ (ความช่วยเหลือด้านเทคนิค)[19]
กลุ่มมาอูเต
อะบูซัยยาฟ
Bangsamoro Islamic Freedom Fighters
Ansar Khalifa Philippines[20]
กำลัง
ทหาร 3,000 คน (ในเดือนมิถุนายน)[21]
ทหาร 6,500 คน (ในเดือนกันยายน)[22]
ผู้ก่อการร้ายมากกว่า 1,000 คน[23][24]
ความสูญเสีย
165 คนถูกฆ่า[25]
มากกว่า 1,400 คนบาดเจ็บ,[26]
1 คนสูญหาย[27]
920–962 คนถูกฆ่า[25][27]
11 คนถูกจับกุม[28][29]
ชาวบ้านเสียชีวิต 87 คน (40 คนตายจากการเจ็บป่วย),[25][30]
มีผู้อพยพ 180,000 คน[31] และเกือบ 1.1 ล้านคนไร้ที่อยู่หรือพลัดถิ่น[32]
ยุทธการที่มาราวีตั้งอยู่ในฟิลิปปินส์
ยุทธการที่มาราวี
The location of Marawi within the Philippines

เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายโจมตีในเมืองมาราวี เกาะมินดาเนาในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 การโจมตีเกิดขึ้นหลังจากกองทัพได้ใช้กำลังจู่โจมเพื่อจับแกนนำกลุ่มติดอาวุธอะบูซัยยาฟ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ขณะที่มีรายงานว่ากลุ่มติดอาวุธหลายคนได้ออกมาบนท้องถนนและชูธงของกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์หรือไอเอส กลุ่มติดอาวุธบุกยึดศาลาว่าการเมือง โรงพยาบาล และมหาวิทยาลัยของรัฐ รวมทั้งเผาทำลายโบสถ์คาทอลิก โรงเรียน 2 แห่ง และเรือนจำของเมือง ประธานาธิบดีประกาศกฎอัยการศึกและเกิดสงครามขึ้นในเมืองดังกล่าว

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ในขณะที่สงครามยังคงดำเนินต่อไป คาดว่าผู้โจมตีคือผู้ก่อความไม่สงบที่มีความเชื่อมโยงถึงกลุ่มก่อการร้ายไอเอส ต่อมาในช่วงเย็นของวันเดียวกันมีทหารถูกระเบิดเสียชีวิต 10 ราย

ในวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีรายงานว่าทหารเสียชีวิตอีก 13 ราย เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเสียชีวิตทั้งหมด 58 ราย พลเมืองชาวมาราวีเสียชีวิตประมาณ 21–38 ราย นับจาก วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ร่วมรบในสงครามดังกล่าว ในตอนแรกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์นั้นได้กล่าวปฏิเสธ ส่วนกองทัพแจ้งว่าเป็นการช่วยเหลือทางเทคนิค แต่ต่อมาในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทหารจากสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมในการรบโดบยกพลขึ้นบกที่เกาะมินดาเนา จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560 อยู่ที่อย่างต่ำ 310 ราย

ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนปัจจุบันได้ประกาศปลดปล่อยเมืองมาราวีจากกลุ่มติดอาวุธได้แล้ว[33] หลังจากได้ทำการสังหารนายอิสนิลอน ฮาปิลอน ผู้นำกลุ่มอะบูซัยยาฟและนายโอมาร์ เมาเต ผู้นำกลุ่มกบฏเมาเต ซึ่งสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[34]

จนในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560 หน่วยงานความมั่นคงฟิลิปปินส์ควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ทั้งหมดเอาไว้ได้ ทำให้สงครามในเมืองมาราวีจบลงหลังต่อสู้กันมานานกว่า 5 เดือน[35]

ปฏิกิริยา[แก้]

ระหว่างประเทศ[แก้]

ความการช่วยเหลือ[แก้]

ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม[แก้]

ไทย : ทบ.พร้อมส่งทหารไปยังเมืองมาราวีเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหากฟิลิปปินส์ขอความช่วยเหลือจากประเทศไทย

พล.ท.ฉัตรชัย ภัทรนาวิก หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านผู้ก่อการร้ายของทบ. กล่าวว่า หากได้รับการร้องขอ กองทัพไทยอาจถูกส่งไปยัง เมืองมาราวี เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งกับกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่ที่อ้างว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มรัฐอิสลาม

การบรรเทาทุกข์จะได้รับภายใต้โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย เขาเน้นว่าพวกเขาจะไม่มีส่วนร่วมในการต่อสู้ใด ๆ

ปัจจุบัน มีเพียงที่ปรึกษาทางการทหารจากออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ถูกส่งเข้าประจำการในและรอบๆ เมืองมาราวี [36]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pia Gutierrez (31 May 2017). "Duterte, MILF create 'peace corridor' in Marawi". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
  2. "Philippine army and armed groups join forces in Marawi". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  3. Viray, Patricia Lourdes (24 October 2017). "Fact check: Duterte's claims on US aid to military". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
  4. "U.S. provides 'technical assistance' to troops in Marawi - AFP". Rappler. 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
  5. "US Special Forces Helping Philippines Fight Militants in Marawi". Reuters.com. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  6. "Australia to send spy planes to help Philippines fight militants". Reuters. 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  7. "Duterte thanks China for firearms, ammo vs Mautes". Cnnphilippines.ocm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  8. "Duterte thanks Netanyahu for help in ending Marawi siege". Aljazeera English. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
  9. Banaloi, Rommel C. (15 June 2017). "The Maute Group and rise of family terrorism". Rappler.
  10. Mangosing, Divina Suson and Allan Nawal, Frances G. "BREAKING: Lorenzana says Marawi City siege is over". Newsinfo.inquirer.net. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  11. News, ABS-CBN. "READ: Proclamation of martial law in Mindanao". ABS-CBN News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 15 July 2017. {{cite news}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  12. "Congress extends martial law to December 31". Rappler.com. สืบค้นเมื่อ 2017-07-22.
  13. "'Terrorists will crumble': Military kills Isnilon Hapilon, Omar Maute". Cnnphilippines.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-17. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  14. "Philippine troops kill two militant leaders allied to IS group - France 24". France24.com. 16 October 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  15. hermesauto (19 October 2017). "Philippine military says 'big possibility' top Malaysian militant Mahmud Ahmad killed in Marawi". Straitstimes.com. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  16. Amy Chew (17 October 2017). "Dead or alive? Hunt is on in Marawi for Malaysia's most wanted terrorist". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-17. สืบค้นเมื่อ 17 October 2017.
  17. Amita Legaspi (23 October 2017). "Malaysian bandit leader Amin Bacu believed killed in final clashes in Marawi". GMA News Online. สืบค้นเมื่อ 23 October 2017.
  18. "Malaysian now leading Maute-ISIS bandits still in Marawi, source says". GMA News. 21 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  19. "Philippine military confirms US forces providing support against militants allied to Islamic State". CNBC. Reuters. 10 June 2017. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  20. Caleb Weiss (5 June 2017). "Islamic State video shows destruction of church in Marawi". Long War Journal. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
  21. Jim Gomez (1 June 2017). "Philippine airstrike accidentally kills 11 soldiers in besieged city Marawi". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2 June 2017 – โดยทาง Toronto Star.
  22. Cayabyab, Marc Jayson. "Marawi siege will be over in 3 days, Lorenzana tells House panel". Newsinfo.inquirer.net. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  23. "IN PHOTOS: Marawi's Liberation". ABS-CBN News. 18 October 2017. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  24. "Marawi: City destroyed in Philippines' longest urban war". Inquirer News. 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 October 2017.
  25. 25.0 25.1 25.2 "Islamic freedom fighters, Abu Sayyaf next after Maute 'wipeout' — defense chief". The Manila Times. 24 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-24. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  26. "Government throws out last-minute negotiations with Maute". Rappler.com. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  27. 27.0 27.1 "165 gov't forces killed in Marawi all accounted for, 1 Marine still missing". GMA News. 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
  28. "Philippines says Islamist fighters on back foot in besieged city". Reuters.com. 8 June 2017. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  29. Unson, John. "2 Maute terrorists arrested after fleeing Marawi". Philstar.com. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  30. "Troops kill five militants in besieged Marawi city". Gulf-times.com. 13 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  31. Tarrazona, Noel (29 May 2017). "Mindanao crisis: Filipino senator asks Duterte's ministers not to disregard Constitution". International Business Times Singapore.
  32. "The Philippine army recaptures a city seized by Muslim insurgents". The Economist. 21 October 2017.
  33. "Duterte: Marawi 'liberated' from ISIL-linked fighters". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  34. ผู้นำฟิลิปปินส์ประกาศปลดปล่อยเมืองมาราวีจากกลุ่มติดอาวุธ BBC ไทย
  35. ฟิลิปปินส์ยึดคืนเมืองมาราวีได้แล้ว
  36. Wassana Nanuam (26 July 2017). "Thai military ready to aid Philippines". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 1 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]