วิกฤตการณ์ชายแดนเบลารุส–สหภาพยุโรป พ.ศ. 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตการณ์ชายแดนเบลารุส–สหภาพยุโรป
พ.ศ. 2564
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563–2564 และวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป
แผนที่แสดงเส้นทางหลักของผู้ย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมายไปยังชายแดนระหว่างเบลารุสกับสหภาพยุโรป
วันที่7 กรกฎาคม 2564 – ปัจจุบัน
(2 ปี 9 เดือน 17 วัน)
สถานที่เบลารุส, โปแลนด์, ลัตเวีย และลิทัวเนีย
สาเหตุ
คู่ขัดแย้ง

เบลารุส


ผู้สนับสนุน:
 รัสเซีย[1] (รัสเซียปฏิเสธ)[2]

 ตุรกี (โปแลนด์อ้าง, ตุรกีปฏิเสธ)[3]

ลัตเวีย

ลัตเวีย

โปแลนด์
(ตั้งแต่ 6 สิงหาคม)

สหภาพยุโรป


ผู้สนับสนุน:
 เอสโตเนีย (ส่งลวดหนามและโดรน)[5]
 ยูเครน (ส่งลวดหนาม)[6]
 สหราชอาณาจักร (ส่งทหารช่างหลวง)[7]

 ฮังการี (เสนอความช่วยเหลือ)[8]
จำนวน
ไม่ทราบ

โปแลนด์:

  • 15,000 นาย[9]

ลิทัวเนีย:

  • ไม่ทราบ

ลัตเวีย:

  • ไม่ทราบ

ฟรงแต็กซ์:

  • เจ้าหน้าที่ 100 นาย, รถลาดตระเวน 30 คัน และเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำในลิทัวเนีย[4]

สหราชอาณาจักร:

  • ทหาร 10 นายในโปแลนด์[10]
ประมาณ 10,000 คน
ความสูญเสีย
ไม่มี

กองทัพโปแลนด์: เสียชีวิต 2 นาย (นอกการปฏิบัติหน้าที่)[11]

บาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่มากกว่า 5 นาย[12][13][14]
เสียชีวิต 11 คน[15]
ถูกควบคุมตัว 1,500 คน

วิกฤตการณ์ชายแดนเบลารุส–สหภาพยุโรป พ.ศ. 2564 เกิดขึ้นเมื่อผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนนับหมื่นคน (ส่วนใหญ่มาจากประเทศอิรักและทวีปแอฟริกา) หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศลัตเวีย ประเทศลิทัวเนีย และประเทศโปแลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านทางชายแดนของประเทศเหล่านี้กับประเทศเบลารุส วิกฤตการณ์นี้ถูกกระตุ้นจากความสัมพันธ์ที่เสื่อมถอยลงอย่างรุนแรงระหว่างเบลารุสกับสหภาพยุโรปหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเบลารุสใน พ.ศ. 2563 การประท้วงในเบลารุสใน พ.ศ. 2563–2564 เหตุการณ์ไรอันแอร์ เที่ยวบินที่ 4978 และความพยายามนำตัวกรึสต์ซีนา ซีมานอว์สกายา กลับประเทศ

วิกฤตการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นในช่วงต้นฤดูร้อนของ พ.ศ. 2564 เมื่อประธานาธิบดีอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา แห่งเบลารุส ขู่ว่าจะส่งผู้ค้ามนุษย์ ผู้ลักลอบขนยาเสพติด และผู้อพยพติดอาวุธเข้าสู่สหภาพยุโรป[16][17] ต่อมา ทางการเบลารุสและวิสาหกิจการท่องเที่ยวที่รัฐควบคุมได้ร่วมกับสายการบินบางแห่งที่ดำเนินการในตะวันออกกลางเริ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวไปยังเบลารุสโดยเพิ่มการเชื่อมต่อจากตะวันออกกลาง และตรวจลงตราให้แก่ผู้จองเที่ยวบินซึ่งดูเหมือนว่ามีจุดประสงค์เพื่อไปล่าสัตว์ กลุ่มบางกลุ่มในสื่อสังคมยังให้คำแนะนำผิด ๆ เกี่ยวกับกฎการข้ามชายแดนแก่ผู้ต้องการย้ายถิ่นซึ่งส่วนใหญ่พยายามจะเดินทางเข้าสู่เยอรมนี ผู้ที่มาถึงเบลารุสจะได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการและสถานที่ในการบุกรุกชายแดนสหภาพยุโรปและสิ่งที่ควรบอกแก่เจ้าหน้าที่ชายแดนของอีกฝั่ง[18] และมักจะได้รับการนำทางจากเจ้าหน้าที่ไปจนถึงชายแดน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่สามารถข้ามชายแดนไปได้มักถูกบังคับให้อยู่ที่ชายแดน ทางการเบลารุสไม่ยอมรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่โปแลนด์ส่งไปและถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกายผู้อพยพบางคนที่ข้ามชายแดนไม่สำเร็จ[19]

โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวียได้บรรยายวิกฤตการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการสงครามผสมผสานจากการค้าผู้อพยพที่เบลารุสก่อขึ้นเพื่อต่อต้านสหภาพยุโรป และเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเข้าแทรกแซง[20][21] รัฐบาลของประเทศทั้งสามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ลิทัวเนียสามารถยับยั้งการหลั่งไหลของผู้อพยพไว้ได้ ในขณะที่อีกสองรัฐไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากวิกฤตการณ์นี้ รัฐที่ได้รับผลกระทบทั้งสามจึงตัดสินใจสร้างกำแพงป้องกันชายแดนที่ติดกับเบลารุส โดยทั่วไปนั้น ประชากรของรัฐที่ได้รับผลกระทบสนับสนุนมาตรการพิเศษต่าง ๆ แต่องค์การสิทธิมนุษยชนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้นโยบายปิดกั้นและผลักดันผู้ขอลี้ภัยของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ชายแดนลิทัวเนียและโปแลนด์ การปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะยื่นขอลี้ภัย รวมทั้งอาหาร น้ำ และที่พักพิงที่ไม่เพียงพอสำหรับผู้อพยพ ซึ่งกรณีหลังนี้อยู่ภายใต้คำสั่งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (อีซีเอชอาร์)[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Border tensions are of 'utmost concern to all sober-thinking people,' Russia says". New York Times. 11 November 2021.
  2. "Russia slams EU over Poland-Belarus border crisis". Politico. 10 November 2021.
  3. "Turkey Dismisses Polish Accusation of Aiding Migrant Crisis". Balkan Insight. 11 November 2021.
  4. 4.0 4.1 "EU solidarity in Lithuania". Frontex. 2021-07-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Estonia to send Lithuania 100 kilometers of barbed wire". ERR. 24 July 2021.
  6. "Ukraine sends barbed wire to Lithuania for Belarus border". France 24. 12 August 2021.
  7. "Британські війська зміцнять польський кордон із Білоруссю". Ukrinform. 13 November 2021.
  8. "Hungary offers to help Poland with border surveillance". Associated Press. 9 September 2021.
  9. "Belarus migrants: Poland faces fresh border breaches". BBC News. 10 November 2021. สืบค้นเมื่อ 10 November 2021.
  10. "Team of 10 UK soldiers sent to Poland to assist on Belarus border". The Guardian. 12 November 2021.
  11. "Polski żołnierz zmarł przy granicy. "Doszło do nieszczęśliwego zdarzenia"". Rzeczpospolia (ภาษาโปแลนด์). 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
  12. Kujawa, Emilia (2021-10-25). "Powstało 139 km płotu na granicy polsko-białoruskiej". Radio Szczecin (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Minko, Ryszard; Szubzda, Wojciech (2021-11-03). "Na terytorium Polski weszły trzy umundurowane osoby z bronią". Polskie Radio Białystok (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. Kujawa, Emilia (2021-11-08). "Żołnierze 12DZ ranni w starciach na polsko-białoruskiej granicy". Radio Szczecin (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. Simmons, Ann M. (2021-11-13). "Migrant Dies as Belarus-Poland Border Standoff Deepens". สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
  16. Thebault, Reis; Dixon, Robyn (1 August 2021). "Why are so many migrants coming to one of Europe's smallest countries? Blame Belarus, officials say". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2 August 2021.
  17. "Кто стоит за потоком мигрантов из Беларуси в Литву. Расследование Reform.by". Reform.by. 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Нелегальных мигрантов заранее учат, что говорить на допросах — минобороны Литвы". Euroradio (ภาษารัสเซีย). 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. ""We Are Begging Belarusians: Let Us Return To Iraq"". Charter '97. 2021-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. Whitmore, Brian (30 June 2021). "Belarus dictator weaponizes illegal migrants against EU". Atlantic Council.
  21. "Latvia and Lithuania act to counter migrants crossing Belarus border". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
  22. "Court tells Poland, Latvia to aid migrants on Belarus border". Deutsche Welle. 26 August 2021.