วิกฤตการณ์การทูตกาตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  ประเทศที่ตัดสัมพันธ์กับกาตาร์
  ประเทศที่ลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์
  ลิเบียตัดสัมพันธ์กับกาตาร์ แต่สถานภาพรัฐบาลลิเบียยังไม่ได้รับการยอมรับ

วิกฤตการณ์การทูตกาตาร์ เกิดขึ้นระหว่าง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง 5 มกราคม พ.ศ. 2564[1] เมื่อประเทศซาอุดีอาระเบียประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกาตาร์ โดยกล่าวหาว่ากาตาร์เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายและบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค[2] หลังการประกาศดังกล่าว ประเทศอื่น ๆ อย่างบาห์เรน, อียิปต์, เยเมน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ลิเบีย, มัลดีฟส์, มอริเตเนีย ก็ประกาศตัดสัมพันธ์กับกาตาร์เช่นกัน

การตัดสัมพันธ์ครั้งนี้ทำให้ประเทศกาตาร์ถูกตัดการติดต่อระหว่างพรมแดนทางบก ทางทะเล และทางอากาศ จากกลุ่มประเทศดังกล่าว[3] นักการทูตกาตาร์ถูกสั่งให้ออกจากซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์ ภายใน 48 ชั่วโมง[4] พลเมืองกาตาร์ถูกสั่งเดินทางออกจากซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรนภายใน 14 วัน และห้ามมิให้พลเมืองของ 3 ชาติในคาบสมุทรอาหรับเดินทางไปยังกาตาร์ด้วย[5]

การคว่ำบาตรครั้งนี้ทำให้อุตสาหกรรมการบินของกาตาร์เกิดความปั่นป่วนและเกิดการกักตุนสินค้าอุปโภคและบริโภคไปทั้งประเทศ[6] กาตาร์ต้องนำเข้าสินค้าจากท่าเรือในประเทศโอมานเนื่องจากไม่สามารถใช้ท่าเรือของกลุ่มประเทศที่ตัดความสัมพันธ์ได้[7] สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์สปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกาตาร์ลง 1 ขั้นสู่ระดับ AA-[8] กาตาร์ได้ประกาศมาตรการผ่อนผันการตรวจลงตรา (visa) ให้แก่พลเมืองของ 80 ประเทศในวันที่ 9 สิงหาคม 2017 เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวของกาตาร์[9]

ประเทศที่ตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์[แก้]

ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รัฐบาลของแปดประเทศได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ ได้แก่[10][11]

ประเทศที่ลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์[แก้]

ณ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560 หกประเทศได้ลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gulf states agree to end three year Qatar blockade". Independent. 5 January 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  2. "6 ชาติตะวันออกกลาง ประกาศตัดความสัมพันธ์กาตาร์". บีบีซี. 5 มิถุนายน 2017.
  3. ไซมอน แอทคินซัน (5 มิถุนายน 2017). "ตัดสัมพันธ์กาตาร์: ระส่ำตั้งแต่อาหาร การบิน ยันฟุตบอลโลก". บีบีซี.
  4. "อาหรับร้าวหนัก!มัลดีฟส์เอาด้วยตัดสัมพันธ์กาตาร์ ซาอุฯห้ามเครื่องบินผ่าน". ไทยรัฐออนไลน์. 6 มิ.ย. 2560.
  5. ""เอทิฮัด" ประกาศงดเที่ยวบินไปกาตาร์ หลัง 3 รัฐอ่าวอาหรับสะบั้นสัมพันธ์โดฮา". MGR Online. 5 มิถุนายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-13. สืบค้นเมื่อ 2017-06-06.
  6. ""กาตาร์" ป่วนรอบด้าน 4 ชาติยกเลิกเที่ยวบิน-ห้ามผ่านน่านฟ้า ประชาชนกักตุนอาหาร". ประชาชาติธุรกิจ. 06 มิ.ย. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "กาตาร์เริ่มขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือในโอมาน อ้อมชาติอาหรับที่ตัดสัมพันธ์". ผู้จัดการออนไลน์. 12 มิถุนายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-16. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
  8. S&P หั่นเครดิตกาตาร์ลง 1 ขั้น เหตุวิตกชาติอาหรับตัดสัมพันธ์กระทบสถานะการเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 8 มิถุนายน 2560.
  9. ""กาตาร์" ยกเว้นวีซ่า80ประเทศ รวมไทย กระตุ้นท่องเที่ยว หลังโดนชาติอาหรับคว่ำบาตร". ประชาชาติธุรกิจ. 10 สิงหาคม 2560.
  10. "Arab states sever ties with Qatar, announce blockade". ch-aviation. 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
  11. "Qatar row: Saudi and Egypt among countries to cut Doha links". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
  12. "Comoros severs diplomatic relations with Qatar The official Saudi Press Agency". www.spa.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 8 June 2017.
  13. "Chad recalls ambassador from Qatar amid Gulf Arab row". Reuters.com. Reuters. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  14. Djibdiplomatie1. "URGENT/COMMUNIQUE DE PRESSE". www.djibdiplomatie.dj. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-21. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
  15. "Eritrea sides with Gulf nations against Qatar". Arab News. Associated Press. 12 June 2017. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.
  16. Katie Hunt; Elizabeth Roberts; Victoria Brown (6 June 2017). "Qatar: We're 'willing to talk' to resolve diplomatic crisis". CNN. สืบค้นเมื่อ 6 June 2017.
  17. "Niger recalls ambassador to Qatar in solidarity with Arab states". Reuters.com. Reuters. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  18. "Senegal recalls Qatar ambassador, backs Saudi in Gulf row". Reuters. 7 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.