วาเลนตีนา เตเรชโควา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วาเลนตีนา เตเรชโควา
เตเรชโควา ในปี 1969
เกิด (1937-03-06) 6 มีนาคม ค.ศ. 1937 (87 ปี)
โซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
สัญชาติโซเวียต สหภาพโซเวียต
รัสเซีย รัสเซีย
อาชีพนักบิน
รางวัลวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
อาชีพในอวกาศ
นักบินอวกาศโซเวียต
สตรีคนแรกในอวกาศ
พลเรือนคนแรกในอวกาศ
ยศพลตรีแห่งกองทัพอากาศโซเวียต
อยู่บนอวกาศ
2 วัน 23 ชั่วโมง กับ 12 นาที
ภารกิจวอสสต็อค 6

วาเลนตีนา วลาดีมีรอฟนา เตเรชโควา (อังกฤษ: Валенти́на Влади́мировна Терешко́ва; 6 มีนาคม 2479 - ) นักบินอวกาศรัสเซียเกษียณอายุ นักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจรกับยานอวกาศชื่อ "ยานวอสตอค 6" เมื่อปี พ.ศ. 2506

วาเลนตีนา เตเรชโควา เกิดที่บอลโชเยมัสเลนนีโคโว หมู่บ้านขนาดเล็กในแคว้นยาโรสลัฟล์ หลังจากจบการศึกษามัธยมปลายได้เข้าทำงานในโรงงานทำยางรถอยู่ระยะหนึ่งแลัวจึงเข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรม ต่อมาได้เข้าเป็นนักกระโดดร่มที่สโมสรการบินท้องถิ่นและกระโดดร่มเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 22 ปี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2502 สองปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2504 เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์และได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

บทบาทในโปรแกรมอวกาศโซเวียต[แก้]

หลังจากการโคจรของยูริ กาการิน ความคิดที่จะให้มีนักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกได้เกิดขึ้นเพื่อสงครามโฆษณาชวนเชื่อระหว่างสองค่ายลัทธิ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 วาเลนตีนาก็ได้รับการคัดเลือกเป็นสตรีหนึ่งในห้าคนจากผู้สมัครสตรีมากกว่า 400 คน ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการกระโดดร่ม รวมทั้งการมีอายุต่ำกว่า 30 ปีและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 70 กิโลกรัมและที่สำคัญคือการมีพื้นเพจากชนชั้นกรรมาชีพและมีบิดาเป็นวีรชนเสียชีวิตในการต่อสู้กับพวกนาซี

การฝึกเป็นนักบินอวกาศเป็นงานที่หนักมากสำหรับสตรี นอกจากการฝึกทั่วไปแล้วยังต้องฝึกหัดเป็นนักบินไอพ่นและต้องกระโดดร่มมากกว่า 120 ครั้ง (นักบินอวกาศรัสเซียเรียกว่า "คอสโมนอต" เนื่องจากต้องออกจากวงโคจรลงสู่ผิวดินบนบก ต่างจากนักบินอวกาศอเมริกัน "แอสโตรนอต" ที่ลงบนผิวมหาสมุทร)fall down on ocean

การขึ้นสู่วงโคจรของวาเลนตีนานับเป็นผลสำเร็จเป็นอย่างสูง เธอโคจรรอบโลก 48 รอบในเวลาเกือบ 3 วัน มากกว่าเวลาในอวกาศของนักบินอวกาศอเมริกันทุกคนรวมกันในช่วงนั้น นอกจากการเป็นสตรีคนแรกแล้ว วาเลนตีนายังเป็นนักบินพลเรือนคนแรกของโลกอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีโครงการนักบินอวกาศสตรีต่อเนื่องมาอีกระยะหนึ่ง แต่กว่าจะมีนักบินสตรีคนที่ 2 ได้บินก็กินเวลาต่อมาอีกถึง 19 ปี เมื่อสหภาพโซเวียตส่ง "สเวตลานา ซาวิตสกายา" ขึ้นบินเนื่องจากแรงกดดันในความก้าวหน้าทางอวกาศของอเมริกาในโครงการกระสวยอวกาศ

ชีวิตภายหลัง[แก้]

หลังการขึ้นบินครั้งนั้นแล้ว วาเลนตีนาได้กลับไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมอวกาศจากโรงเรียนนายเรืออากาศจูคอฟสกีถึงระดับปริญญาเอก รับรัฐการในกองทัพอากาศได้ยศถึงพลอากาศโท ได้เข้าสู่งานการเมือง ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญถึงระดับกรรมการกลางของพรรคฯ เธอถูกนีคีตา ฮรุชชอฟเลขาธิการพรรคและนายกรัฐมนตรีจับคลุมถุงชนให้แต่งงานกับนักบินอวกาศด้วยกันและมีการจัดงานแต่งงานใหญ่โตที่พระราชวังเครมลิน ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติทั้งฝ่ายการเมืองและวงการอวกาศ หลังจากมีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน (ต่อมาเป็นแพทย์หญิง) ทั้งสองก็หย่าขาดกัน วาเลนตีนาได้แต่งงานอีกครั้งหนึ่งกับนักวิทยาศาสตร์

วาเลนตีนา เตเรชโควา ได้ทำงานอยู่ในแวดวงรัฐบาล ได้รับตำแหน่งที่สูงหลายตำแหน่ง ได้รับเกียรติและการยกย่องมากมาย โดยเฉพาะการเป็นวีรสตรีแห่งสหภาพโซเวียต ได้เป็นผู้แทนประเทศในบทบาทของสตรีทั้งในระดับนานาชาติและที่สหประชาชาติ มีการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์โดยใช้ชื่อของเธอ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แม้ชื่อเสียงและกิจกรรมจะจางลง แต่ผู้คนก็ยังระลึกถึงเธออยู่เสมอ ในวงการอวกาศและการบิน จะเป็นรองก็เพียงจากยูริ กาการินและอะเล็กเซย์ เลโอนอฟเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2543 สมาคมสตรีแห่งปีนานาชาติได้ยกย่องเธอให้เป็น "สตรีแห่งศตวรรษ"

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]