วาโลแรนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วาลอแรนต์)
วาโลแรนต์
ผู้พัฒนาไรออตเกมส์
ผู้จัดจำหน่ายไรออตเกมส์
กำกับ
  • David Nottingham
  • Joe Ziegler
อำนวยการผลิต
  • Anna Donlon
  • John Goscicki
ออกแบบ
  • Trevor Romleski
  • Salvatore Garozzo
โปรแกรมเมอร์
  • Paul Chamberlain
  • Dave Heironymus
  • เดวิด สเตรลี
  • Michael Gonzalez
ศิลปินMoby Francke
แต่งเพลงJesse Harlin[1]
เอนจินอันเรียลเอนจิน 4
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
วางจำหน่าย2 มิถุนายน 2020
แนววิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง
รูปแบบหลายผู้เล่น

วาโลแรนต์ (อังกฤษ: Valorant ; หรือในรูปแบบ VALORANT) เป็นวิดีโอเกมผู้เล่นหลายคนที่เล่นฟรี แนววิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยไรออตเกมส์ สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เกมประกาศเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ด้วยรหัสว่า โปรเจกต์เอ (Project A) ในช่วงเริ่มแรกโคลสเบต้า ถึงในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563 และเปิดตัวเกมอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563 หลังมีการพัฒนาเกมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 วาโลแรนต์ได้รับแรงบันดาลใจจากซีรีย์เกมเคาน์เตอร์-สไตรก์ที่เป็นเกมยิงเชิงกลยุทธ์ (Tactical shooter) ได้นำเอากลไกหลายอย่างมาใช้ เช่น เมนูการซื้อ รูปแบบสเปรย์ และความคลาดเคลื่อนขณะเคลื่อนที่

รูปแบบการเล่น[แก้]

วาโลแรนต์ เป็นวิดีโอเกมออนไลน์หลายผู้เล่น แนวยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง แนวฮีโร่ชูตเตอร์ที่ใช้ทีมเป็นฐาน[2][3][4] ผู้เล่นแต่ละคนจะเลือกตัวละครที่เรียกว่า "เอเจนท์ (Agents)" เอเจนท์ได้มีการออกแบบจากผู้คนในหลากหลายประเทศและวัฒนธรรมทั่วโลก[5] ในเกมโหมดหลัก ผู้เล่นจะได้รับมอบหมายให้เป็นทีมโจมตีหรือป้องกันโดยในแต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน เอเจนท์มีความสามารถเฉพาะตัว แต่ละเอเจนท์ต้องการการชาร์จแต้มความสามารถอัลทิเมทเฉพาะตัว ใช้การชาร์จแต้มผ่านการฆ่า การตาย การเก็บลูกแก้ว หรือการติดตั้งหรือการกู้สไปก์ เริ่มต้นผู้เล่นทุกคนเริ่มรอบด้วยปืนพก "คลาสสิก" และ "สกิล" หนึ่งรายการขึ้นไป และในรอบต่อ ๆ ไป สามารถซื้ออาวุธและสกิลอื่น ๆ ได้ โดยใช้ระบบเศรษฐกิจในเกมที่ให้เงินตามผลของการเล่นรอบที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าผู้เล่น การติดตั้งหรือการกู้สไปก์ ในเกมมีอาวุธหลากหลายประเภท ปืนรอง เช่น ปืนพก และปืนหลัก เช่น ปืนกลมือ ปืนลูกซอง ปืนกล ปืนไรเฟิลจู่โจม และปืนไรเฟิลซุ่มยิง[6] มีอาวุธปืนอัตโนมัติ และปืนกึ่งอัตโนมัติ ที่แต่ละแบบมีรูปแบบการยิงเฉพาะที่ผู้เล่นต้องควบคุมจึงจะยิงได้อย่างแม่นยำ[7] ความแตกต่างทำให้ผู้เล่นค้นหาวิธีการต่าง ๆ ในการติดตั้งสไปก์ และจัดรูปแบบให้กับศัตรูด้วยนักต่อสู้ (scrappers) นักยุทธศาสตร์ (strategists) และนักล่า (hunters) ในทุกรายละเอียด ปัจจุบันมีเอเจนท์ทั้งหมด 22 เอเจนท์ให้เลือกใช้ ได้แก่ Brimstone, Viper, Omen, Cypher, Sova, Sage, Phoenix, Jett, Raze, Breach, Reyna, Killjoy, Skye, Yoru, Astra, KAY/O, Chamber, Neon Fade, Harbor ,Gekko, Deadlock, Iso[8][9]

วาโลแรนต์ มีโหมดรูปแบบการเล่นต่าง ๆ ให้เลือกเล่น ได้แก่

  • โหมดไม่จัดอันดับ (Unrated)[10]
  • โหมดสไปก์รัช (Spike Rush)[11]
  • โหมดจัดอันดับ (Competitive)[12]
  • โหมดเดธแมตช์ (Deathmatch)[13]
  • โหมดเอสคาเลชัน (Escalation)[14]
  • โหมดเรพลิเคชัน (Replication)[15]
  • โหมดสงครามปาหิมะ (Snowball Fight)[16]
  • โหมดทีมเดธเเมตช์ (Team Deathmatch)[17]

เอเจนท์[แก้]

เอเจนท์ แบ่งออกเป็น 4 บทบาท ได้แก่ ดูเอ็ลลิสต์ เซนติเนิล อินิชิเอเทอร์ และคอนโทรลเลอร์ เอเจนท์แต่ละเอเจนท์มีบทบาทที่แตกต่างกัน

ดูเอ็ลลิสต์[แก้]

ดูเอ็ลลิสต์ (Duelist) มีบทบาทเป็นแนวรุกที่มีความสามารถในการโจมตีและการเข้าปะทะกันของทีม ได้แก่ Jett, Phoenix, Raze, Reyna, Yoru, Neon,Omen และ Iso[8]

เซนติเนิล[แก้]

เซนติเนิล (Sentinel) มีบทบาทเป็นแนวป้องกันที่มีความสามารถในการล็อกไซต์และปกป้องเพื่อนร่วมทีมจากศัตรู ได้แก่ Cypher, Killjoy, Sage, Chamber[8]และ Deadlock

อินิชิเอเทอร์[แก้]

อินิชิเอเทอร์ (Initiator) มีบทบาทในการวางแผนการผลักดันเชิงรุก มีความสามารถในการบุกทะลวงตำแหน่งป้องกันของศัตรู ได้แก่ Breach, KAY/O, Skye, Sova, Fade และ Gekko[8]

คอนโทรลเลอร์[แก้]

คอนโทรลเลอร์ (Controller) มีความสามารถในการจัดทีมเพื่อความสำเร็จ พวกเขาใช้ยูทิลิตีหนักเพื่อควบคุมการมองเห็นบนแผนที่ ได้แก่ Astra, Brimstone, Omen, Viper และ Harbor[8]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "End of Year: Audio Discipline" (ภาษาอังกฤษ). Riot Games. สืบค้นเมื่อ January 15, 2021.
  2. Goslin, Austen (March 2, 2020). "Valorant: How Riot finally made something new". Polygon (ภาษาอังกฤษ). Vox Media. สืบค้นเมื่อ April 14, 2020.
  3. Goslin, Austen (March 2, 2020). "Valorant: Everything we know about Riot Games' new shooter". Polygon (ภาษาอังกฤษ). Vox Media. สืบค้นเมื่อ April 14, 2020.
  4. Goslin, Austen (March 2, 2020). "Riot's Valorant mashes up Rainbow Six with CS:GO for a speedy new tactical shooter". Polygon (ภาษาอังกฤษ). Vox Media. สืบค้นเมื่อ April 14, 2020.
  5. Kim, Matt (March 2, 2020). "New Riot Shooter, Valorant Announced: Screenshots, Release Window, PC Specs". IGN (ภาษาอังกฤษ). Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ April 14, 2020.
  6. Geddes, George; Heath, Jerome (April 9, 2020). "All weapons in Valorant". Dot Esports (ภาษาอังกฤษ). Gamurs. สืบค้นเมื่อ April 15, 2020.
  7. Toms, Ollie (April 7, 2020). "Valorant weapons guide: all stats and recoil patterns". Rock, Paper, Shotgun (ภาษาอังกฤษ). Gamer Network. สืบค้นเมื่อ April 15, 2020.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "เอเจนท์ VALORANT: เอเจนท์ทั้งหมด และสกิลของแต่ละคน". playvalorant.com. สืบค้นเมื่อ May 9, 2022.
  9. "All Valorant characters and abilities guide". PCGamesN (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ January 6, 2021.
  10. "How to surrender in Valorant". Shacknews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ November 5, 2020.
  11. Klimentov, Mikhail. "New 'Valorant' mode, Spike Rush, is just okay. Reyna is the real change". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ July 21, 2020.
  12. "How Valorant Ranking System Works – Rankings Explained". Alphr (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
  13. "VALORANT Patch Notes 1.05". playvalorant.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ August 7, 2020.
  14. "โหมดใหม่ของ VALORANT: ESCALATION". playvalorant.com.
  15. "โหมดใหม่ของ VALORANT: REPLICATION". playvalorant.com. สืบค้นเมื่อ November 2, 2021.
  16. "VALORANT Patch Notes 1.14". playvalorant.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ November 2, 2021.
  17. "VALORANT Team Deathmatch 101". playvalorant.com. สืบค้นเมื่อ July 26, 2023.