วาซีลี ไซเซฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วาซิลี่ ไซเซฟ)
วาซีลี ไซเซฟ
ไซเซฟ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942
ชื่อพื้นเมือง
Василий Зайцев
ชื่อเล่นVasya
เกิด23 มีนาคม ค.ศ. 1915(1915-03-23)
Yeleninskoye Orenburg Governorate จักรวรรดิรัสเซีย
(now Chelyabinsk Oblast สหพันธรัฐรัสเซีย)
เสียชีวิต15 ธันวาคม ค.ศ. 1991(1991-12-15) (76 ปี)
เคียฟ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน สหภาพโซเวียต
สุสาน
รับใช้ สหภาพโซเวียต
ประจำการค.ศ. 1937–1945
ชั้นยศร้อยเอก
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จ
วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต

วาซีลี กริกอร์เยวิช ไซเซฟ (รัสเซีย: Васи́лий Григо́рьевич За́йцев; 23 มีนาคม ค.ศ. 1915 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1991) เป็นพลซุ่มยิงชาวโซเวียตและวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต

ในตอนที่เขายังเป็นเด็กเขาได้ประสบการณ์จากการเรียนรู้จากคุณปู่ในการล่าสัตว์ป่า ป้องกันสัตว์ป่าที่จะมาทำร้ายฝูงสัตว์

เขาได้เป็นทหารในกองทัพเรือโซเวียตที่วลาดิวอสต็อก จากนั้นในช่วงมหาสงครามของผู้รักชาติ ไซเซฟขณะที่ดำรงยศสิบเอกก็ถูกเรียกตัวไปสตาลินกราตในวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1942 ด้วยสังกัดที่หน่วยไรเฟลที่ 1047 ของกองพลปืนไรเฟล "โอมาก" ที่ 284 ของกองทัพที่ 62

ในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายนถึง 17 ธันวาคม ค.ศ. 1942 ในระหว่างยุทธการที่สตาลินกราด เขาได้สังหารทหารฝ่ายตรงข้ามไป 225 นาย ซึ่งมีทั้งทหารของนาซีเยอรมัน ทหารฝ่ายอักษะอื่น ๆ และรวมถึงพลซุ่มยิงอีก 11 นาย[1]

ตั้งแต่ก่อนวันที่ 10 พฤศจิกายน ไซเซฟได้สังหารทหารอักษะไปแล้ว 32 นาย ด้วยอาวุธประจำกายนั่นคือปืนไรเฟิลเล็กยาวโมซิน-นากองท์ ซึ่งมีระยะหวังผลที่ 900 เมตร[1] และตั้งแต่เดือนตุลาคม 1942 ถึงมกราคม 1943 เขาได้สังหารทหารฝ่ายตรงข้ามไปกว่า 400 นาย และหลายครั้งที่ยิงจากระยะไกลกว่าหนึ่งกิโลเมตร

ไซเซฟต่อสู้ในสตาลินกราดจนถึงเดือนมกราคม 1943 เขาถูกกระสุนปืนครกโจมตีที่ตา เขาได้รับการรักษาโดยวลาดีมีร์ ฟิลาตอฟ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะที่เขารักษาจนไซเซฟกลับมามองเห็นได้ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1943 ไซเซฟได้รับเกียรติวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต เขากลับไปที่แนวหน้าจนสงครามสิ้นสุดโดยเขารบจนถึงยุทธการที่ราบสูงซีโลว์ ในเยอรมนี โดยดำรงยศร้อยเอก เขาได้เป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1943

หลังจากสงครามจบลง ไซเซฟ ตั้งรกรากอยู่ใน เคียฟ โดยเขาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสิ่งทอก่อนได้รับการจ้างงานเป็นวิศวกร เขาได้มาเป็นผู้อำนวยการของโรงงานสิ่งทอ ในเคียฟและยังคงอยู่ในเมืองนั้นจนกระทั่งเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ตอนอายุ 76 ปี เพียงสิบวันสุดท้ายก่อน การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เบื้องต้นร่างเขาถูกฝังที่ เคียฟ ภายหลังจึงย้ายไปฝังที่วอลโกกราดตามคำขอสุดท้ายของเขา

เรื่องราวของเขาได้นำมาสร้างภาพยนตร์เรื่อง กระสุนสังหารพลิกโลก (2001) โดยจู๊ด ลอว์ รับบทเป็น ไซเซฟ ด้วยได้แรงบัลดาลใจจากหนังสือของ วิลเลียม เครกเรื่อง ศัตรูที่ประตู : ยุทธการที่สตาลินกราด (ค.ศ. 1973) และรวมถึง "การดวลปืน" ระหว่าง ไซเซฟ และ ผู้อำนวยการโรงเรียนพลซุ่มยิงเวร์มัคท์ , พันตรี แอร์วีน เคอนิช

เครื่องอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ[แก้]

วีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต
เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง 2 ครั้ง
เครื่องอิสริยาภรณ์สงครามปิตุภูมิชั้นที่ 1
เหรียญ "กล้าหาญ"
เหรียญที่ระลึก "ในพิธีฉลองครบรอบ 100 ปีวันเกิดของ วลาดีมีร์ อิลลิช เลนิน"
เหรียญ "สำหรับการป้องกันที่สตาลินกราด"
เหรียญ "สำหรับชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"
เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีในชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"

เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีในชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"
เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 40 ปีในชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"
เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ"

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Biography (in Russian) at the website on Heroes of the Soviet Union and Russia

หนังสือเพิ่มเติม[แก้]

  • Zaytsev, Vasily (2003). Thoughts of a Sniper. Trans. David Givens, Peter Kornakov, Konstantin Kornakov. Ed. Neil Okrent. Los Angeles: 2826 Press Inc. ISBN 0-615-12148-9.
  • Beevor, Antony (1998). Stalingrad. London: Penguin Books Ltd. ISBN 0-14-100131-3.
  • Robbins, David L. (2000). War of the Rats. New York: Bantam Books. ISBN 0-553-58135-X.
  • The Reader's Digest Illustrated History of World War II (1989). London: Reader's Digest Association Limited. ISBN 0-89577-333-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]