ข้ามไปเนื้อหา

วัลเทอร์ มิชเชิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัลเทอร์ มิชเชิล (เยอรมัน: Walter Mischel; ค.ศ. 1930 — ) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายออสเตรีย-ยิว เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านทฤษฎีบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม เขาเป็นศาสตราจาารย์โรเบิร์ต จอห์นสตัน นีเวน ด้านอักษรศาสตร์ ในภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคยเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

วัยเด็ก

[แก้]

มิชเชิลเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 ในเวียนนา ประเทศออสเตรีย[1] เขาและครอบครัวได้อพยพมายังสหรัฐอเมริกาหลังจากนาซียึดครองประเทศในปี ค.ศ. 1938[2] เขาเติบโตในบรุกลิน รัฐนิวยอร์ก และได้เรียนเป็นลูกศิษย์ของจอร์จ เคลลี และจูเลียน รอตเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ที่ซึ่งเขาได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านจิตวิทยาคลินิกในปี ค.ศ. 1956

ประกอบอาชีพ

[แก้]

มิชเชิลได้ทำการสอนที่มหาวิทยาลัยโคโลราโดตั้งแต่ ค.ศ. 1956 จนถึง ค.ศ. 1958 ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตั้งแต่ ค.ศ. 1958 จนถึง ค.ศ. 1962 และที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดตั้งแต่ ค.ศ. 1962 และ ค.ศ. 1983 โดยหลังจากนั้น มิชเชิลได้ทำงานที่ภาควิชาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

มิชเชิลได้รับเลือกเข้าสู่สมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2004 และเข้าสู่สถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกันในปี ค.ศ. 1991 ในปี ค.ศ. 2007 มิชเชิลได้รับเลือกให้เป็นประธานสมาคมวิทยาศาสตร์ทางจิต เกียรติยศอื่น ๆ ของมิชเชิลรวมไปถึงรางวัลผลงานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่นจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นจากสมาคมวิทยาการทดลองสังคม รางวัลผลงานด้านบุคลิกภาพดีเด่นของสมาคมนักจิตวิทยาสังคมและบุคลิกภาพ และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นจากภาควิชาจิตวิทยาคลินิกของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน เขายังเคยเป็นอดีตบรรณาธิการของไซโคโลจิคอลรีวิว และอดีตประธานภาควิชาจิตวิทยาสังคมและบุคลิกภาพของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน และอดีตประธานสมาคมการวิจัยบุคลิกภาพ

ผลงานด้านทฤษฎีบุคลิกภาพ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1968 มิชเชิลได้ตีพิมพ์บทความเฉพาะด้านที่ปัจจุบันกลายเป็นผลงานคลาสสิก เกี่ยวกับบุคลิกภาพและการประเมิน ซึ่งสร้างวิกฤตกระบวนทัศน์ในจิตวิทยาบุคลิกภาพซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาจิตวิทยาบุคลิกภาพเป็นเวลาอีกหลายทศวรรษต่อมา มิชเชิลได้แสดงว่าการศึกษาหลายครั้งไม่สามารถสนับสนุนการสันนิษฐานสำคัญดังเดิมของทฤษฎีบุคลิกภาพได้ ที่ว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคลสำหรับคุณสมบัติ (เช่น ความเอาใจใส่หรือการเข้าสังคม) มีความสอดคล้องกันอย่างมากในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่การวิเคราะห์ของมิชเชิลได้เปิดเผยว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เมื่อได้วิเคราะห์อย่างใกล้ชิดแล้ว พบว่าพฤติกรรมจะมีความแตกต่างกันมากในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน มากกว่าแสดงออกมาอย่างสอดคล้องกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lindzey, Gardner (Ed); Runyan (Ed), William M. (2007). A History of Psychology in Autobiography, Vol. IX. Washington, DC: American Psychological Association. pp. 229–267. doi:10.1037/11571-007.
  2. Lehrer, Jonah (May 18, 2009). "Don't!: The secret of self-control". The New Yorker.{{cite news}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]