ข้ามไปเนื้อหา

วัลต์เตริ โบตตัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัลต์เตริ โบตตัส
เกิดวัลต์เตริ วิกโตร์ โบตตัส
(1989-08-28) 28 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี)
นัสโตลา ฟินแลนด์
คู่สมรสเอมิเลีย ปิกกาไรเนน (สมรส 2016; หย่า 2019)
คู่รักทิฟฟานี ครอมเวลล์ (2020–ปัจจุบัน)
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
สัญชาติประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์
ช่วงปี20132024
ทีม
หมายเลขรถ77
แข่ง247 (ออกตัว 246)
แชมป์โลก0
ชนะ10
โพเดียม67
คะแนน1797
ตำแหน่งโพล20
ทำรอบได้เร็วที่สุด19
แข่งครั้งแรกออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ 2013
ชนะครั้งแรกรัสเซียนกรังด์ปรีซ์ 2017
ชนะครั้งล่าสุดเตอร์กิชกรังด์ปรีซ์ 2021
แข่งครั้งล่าสุดอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024
อันดับในปี 202422 (0 คะแนน)
รายการที่แล้ว
ตำแหน่งแชมป์
เว็บไซต์valtteribottas.com

วัลต์เตริ วิกโตร์ โบตตัส (ฟินแลนด์: Valtteri Viktor Bottas, ออกเสียง: [ˈʋɑltːeɾi ˈbotːɑs]; เกิด 28 สิงหาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักแข่งรถชาวฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นนักขับสำรองในการแข่งขันฟอร์มูลาวันให้แก่เมอร์เซเดส โบตตัสเข้าร่วมการแข่งขันฟอร์มูลาวันตั้งแต่ฤดูกาล 2013 ถึง 2024 โดยทำผลงานได้ดีที่สุดด้วยอันดับรองชนะเลิศการชิงแชมป์โลกประเภทนักขับถึงสองสมัยในฤดูกาล 2019 และ 2020 กับเมอร์เซเดส เขาชนะการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ด้วยกันทั้งสิ้น 10 รายการ ตลอดการแข่งขัน 12 ฤดูกาล

โบตตัสเกิดและเติบโตที่เมืองนัสโตลา เขาเริ่มแข่งรถคาร์ตเมื่ออายุหกขวบ ก่อนจะศึกษาวิศวกรรมยานยนต์ในระดับอาชีวศึกษา และเข้ารับราชการทหารจนครบกำหนด[1][2][3] โบตตัสเลื่อนขั้นสู่รายการฟอร์มูลาระดับรองใน ค.ศ. 2007 เขาชนะการแข่งขันรายการแรกที่ฟอร์มูลาเรอโน เอ็นอีซี ฤดูกาล 2008 และชนะรายการฟอร์มูลาเรอโนยูโรคัพด้วยคะแนนสามแต้มนำหน้าผู้ได้อันดับรองชนะเลิศ แดเนียล ริกคาร์โด ซึ่งทั้งสองรายการเขาลงแข่งให้แก่โมโตพาร์ก[4][5] เขายังชนะการแข่งขันมาสเตอส์ออฟฟอร์มูลาทรีติดต่อกันในฤดูกาล 2009 และ 2010 กับอาแอร์เต ก่อนที่เขาจะชนะรายการจีพีทรีซีรีส์ ฤดูกาล 2011[6][7] โบตตัสเซ็นสัญญาเข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันกับวิลเลียมส์ในฤดูกาล 2013 โดยจับคู่กับ ปัสตอร์ มัลโดนาโด หลังจากที่เขาเป็นนักขับทดสอบให้แก่ทีมมาสองฤดูกาล เขาเข้าแข่งขันรายการแรกที่ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์[8][9] เขาจบการแข่งขันฤดูกาล 2014 ด้วยอันดับที่สี่ในการชิงแชมป์โลก และได้อันดับบนโพเดียมแรกในอาชีพที่ออสเตรียนกรังด์ปรีซ์[10] โบตตัสขึ้นโพเดียมด้วยกันทั้งสิ้นเก้าครั้งตลอดการแข่งขันสี่ฤดูกาลกับวิลเลียมส์

โบตตัสเซ็นสัญญากับเมอร์เซเดสในฤดูกาล 2017 เพื่อมาแทนที่ นีโค ร็อสแบร์ค ซึ่งอําลาวงการไป โดยได้จับคู่กับ ลูวิส แฮมิลตัน[11] เขาได้ตำแหน่งโพลแรกที่บาห์เรนและชนะการแข่งขันรายการแรกที่รัสเซีย ตามมาด้วยชัยชนะที่ออสเตรียและอาบูดาบี ส่งผลให้เขาได้อันดับที่สามในการชิงแชมป์โลก[12][13][14][15] เขาไม่ชนะการแข่งขันใดเลยในฤดูกาล 2018 ก่อนที่เขาจะได้อันดับรองชนะเลิศตามหลังแฮมิลตันในการชิงแชมป์โลกทั้งฤดูกาล 2019 และ 2020[16][17][18] เขาชนะการแข่งขันสุดท้ายกับเมอร์เซเดสที่เตอร์กิชกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 2021 และออกจากทีมหลังสิ้นสุดฤดูกาล โดยเขามีส่วนร่วมให้ทีมได้ตำแหน่งแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตติดต่อกันห้าฤดูกาล[19][20] เขาเข้าร่วมอัลฟาโรเมโอในฤดูกาล 2022 และรักษาที่นั่งต่อได้ในฤดูกาล 2023[21][22] เขาไม่ได้คะแนนชิงแชมป์โลกเลยในฤดูกาล 2024 กับทีมที่ปรับภาพลักษณ์ใหม่เป็นเซาเบอร์[23] โบตตัสกลับมายังเมอร์เซเดสอีกครั้งในฐานะนักขับสำรอง[24]

โบตตัสมีผลงานชนะเลิศในการแข่งขัน 10 ครั้ง ได้ตำแหน่งโพล 20 ครั้ง ทำรอบได้เร็วที่สุด 19 ครั้ง และมีอันดับบนโพเดียม 67 ครั้งในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน เขาครองสถิตินักขับที่มีคะแนนมากที่สุดโดยไม่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ (1,797 คะแนน)[25]

สถิติการแข่งรถคาร์ต

[แก้]

สรุปอาชีพนักแข่งรถคาร์ต

[แก้]
ฤดูกาล รายการ ทีม อันดับ
2001 ฟินนิชคัพ — รุ่นร็อกเก็ต 11
2002 ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอจูเนียร์ 5
2003 ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอจูเนียร์ 4
2004 ยูโรเปียนแชมเปียนชิป รอบคัดเลือกภูมิภาคเหนือ — รุ่นไอซีเอจูเนียร์ โกห์ตาลาสปอตส์ 1
ไวกิงโทรฟี — รุ่นไอซีเอจูเนียร์ 2
ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอจูเนียร์ 1
2005 ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอ โกห์ตาลาสปอตส์ 3
ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นฟอร์มูลาเอ 5
นอร์ดิกแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอ 9
ไวกิงโทรฟี — รุ่นไอซีเอ 1
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์แชมเปียนชิป — รุ่นฟอร์มูลาเอ พีดีบีเรซซิงทีม 8
2006 ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอ 1
ฟินนิชแชมเปียนชิป — รุ่นฟอร์มูลาเอ โกห์ตาลาสปอตส์ 1
เอ็นอีแซดแชมเปียนชิป — รุ่นไอซีเอ 2
ซีไอเค-เอฟไอเอยูโรเปียนแชมเปียนชิป — รุ่นฟอร์มูลาเอ พีดีบีเรซซิงทีม 29
ดับเบิลยูเอสเคอินเตอร์เนชันแนลซีรีส์ — รุ่นฟอร์มูลาเอ 1
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์แชมเปียนชิป — รุ่นฟอร์มูลาเอ DNF
แหล่งที่มา:[26][27]

สถิติการแข่งรถ

[แก้]

สรุปอาชีพนักแข่งรถ

[แก้]
ฤดูกาล รายการ ทีม แข่งขัน ชนะ โพล รอบเร็ว โพเดียม คะแนน อันดับ
2007 ฟอร์มูลาเรอโน 2.0 เอ็นอีซี ก็อยราเน็นบราเทอส์มอเตอร์สปอร์ต 16 2 2 3 6 279 3
ฟอร์มูลาเรอโนยูเควินเทอร์ซีรีส์ เอเคเอคอบร้า 4 3 0 1 4 0 NC
2008 ยูโรคัพฟอร์มูลาเรอโน 2.0 โมโตพาร์กอะแคเดมี 14 5 7 4 10 139 1
ฟอร์มูลาเรอโน 2.0 เอ็นอีซี 14 12 13 12 12 365 1
2009 ฟอร์มูลาทรียูโรซีรีส์ อาแอร์เตกรังด์ปรีซ์ 20 0 2 1 6 62 3
บริติชฟอร์มูลาทรีแชมเปียนชิป 4 0 0 0 1 NC
มาสเตอส์ออฟฟอร์มูลาทรี 1 1 1 1 1 1
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ 1 0 0 0 0 5
2010 ฟอร์มูลาทรียูโรซีรีส์ อาแอร์เตกรังด์ปรีซ์ 18 2 1 4 8 74 3
มาสเตอส์ออฟฟอร์มูลาทรี 1 1 0 0 1 1
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ พรีมาพาวเวอร์ทีม 1 0 0 0 1 3
ฟอร์มูลาวัน เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ นักขับทดสอบ
2011 จีพีทรีซีรีส์ โลตัสอาแอร์เต 16 4 1 3 7 62 1
บริติชฟอร์มูลาทรีแชมเปียนชิป ดับเบิลอาร์ 3 1 0 1 1 17 17
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ 1 0 0 0 0 NC
ฟอร์มูลาวัน เอทีแอนด์ทีวิลเลียมส์ นักขับทดสอบ
2012 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์เอฟวันทีม นักขับสำรอง
2013 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์เอฟวันทีม 19 0 0 0 0 4 17
2014 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง 19 0 0 1 6 186 4
2015 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง 19 0 0 0 2 136 5
2016 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง 21 0 0 0 1 85 8
2017 ฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสมอเตอร์สปอร์ต 20 3 4 2 13 305 3
2018 ฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสมอเตอร์สปอร์ต 21 0 2 7 8 247 5
2019 ฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสมอเตอร์สปอร์ต 21 4 5 3 15 326 2
2020 ฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสเอฟวันทีม 17 2 5 2 11 223 2
2021 ฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสเอฟวันทีม 22 1 4 4 11 226 3
2022 ฟอร์มูลาวัน อัลฟาโรเมโอเอฟวันทีมออร์เลน 22 0 0 0 0 49 10
2023 ฟอร์มูลาวัน อัลฟาโรเมโอเอฟวันทีมสเตก 22 0 0 0 0 10 15
2024 ฟอร์มูลาวัน สเตกเอฟวันทีมคิกเซาเบอร์ 24 0 0 0 0 0 22
2025 ฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสเอฟวันทีม นักขับสำรอง
แหล่งที่มา:[26]
หมายเหตุ
  • † เนื่องจากโบตตัสเป็นนักแข่งรับเชิญ จึงไม่มีสิทธิ์สะสมคะแนนชิงแชมป์

ผลการแข่งขันฟอร์มูลาวัน

[แก้]
(คำสำคัญ) (การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวหนา หมายถึงนักขับได้ตำแหน่งโพล; การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวเอียง หมายถึงนักขับทำรอบได้เร็วที่สุด)
ปี ผู้เข้าแข่งขัน แชสซี เครื่องยนต์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 อันดับ คะแนน
2012 วิลเลียมส์เอฟวันทีม วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู34 เรอโน อาร์เอส27-2012 2.4 วี8 AUS MAL
TD
CHN
TD
BHR
TD
ESP
TD
MON CAN EUR
TD
GBR
TD
GER
TD
HUN
TD
BEL
TD
ITA
TD
SIN JPN
TD
KOR
TD
IND
TD
ABU
TD
USA BRA
TD
 –  –
2013 วิลเลียมส์เอฟวันทีม วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู35 เรอโน อาร์เอส27-2013 2.4 วี8 AUS
14
MAL
11
CHN
13
BHR
14
ESP
16
MON
12
CAN
14
GBR
12
GER
16
HUN
Ret
BEL
15
ITA
15
SIN
13
KOR
12
JPN
17
IND
16
ABU
15
USA
8
BRA
Ret
17 4
2014 วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู36 เมอร์เซเดส-เบนซ์ พียู106เอ ไฮบริด 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
5
MAL
8
BHR
8
CHN
7
ESP
5
MON
Ret
CAN
7
AUT
3
GBR
2
GER
2
HUN
8
BEL
3
ITA
4
SIN
11
JPN
6
RUS
3
USA
5
BRA
10
ABU
3
4 186
2015 วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู37 เมอร์เซเดส-เบนซ์ พียู106บี ไฮบริด 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
DNS
MAL
5
CHN
6
BHR
4
ESP
4
MON
14
CAN
3
AUT
5
GBR
5
HUN
13
BEL
9
ITA
4
SIN
5
JPN
5
RUS
12†
USA
Ret
MEX
3
BRA
5
ABU
13
5 136
2016 วิลเลียมส์มาร์ตินีเรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู38 เมอร์เซเดส-เบนซ์ พียู106ซี ไฮบริด 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
8
BHR
9
CHN
10
RUS
4
ESP
5
MON
12
CAN
3
EUR
6
AUT
9
GBR
14
HUN
9
GER
9
BEL
8
ITA
6
SIN
Ret
MAL
5
JPN
10
USA
16
MEX
8
BRA
11
ABU
Ret
8 85
2017 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสมอเตอร์สปอร์ต เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 ดับเบิลยู08 เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 เอ็ม08 อีคิว พาวเวอร์+ 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
3
CHN
6
BHR
3
RUS
1
ESP
Ret
MON
4
CAN
2
AZE
2
AUT
1
GBR
2
HUN
3
BEL
5
ITA
2
SIN
3
MAL
5
JPN
4
USA
5
MEX
2
BRA
2
ABU
1
3 305
2018 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสมอเตอร์สปอร์ต เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 ดับเบิลยู09 เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 เอ็ม09 อีคิว พาวเวอร์+ 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
8
BHR
2
CHN
2
AZE
14†
ESP
2
MON
5
CAN
2
FRA
7
AUT
Ret
GBR
4
GER
2
HUN
5
BEL
4
ITA
3
SIN
4
RUS
2
JPN
2
USA
5
MEX
5
BRA
5
ABU
5
5 247
2019 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสมอเตอร์สปอร์ต เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 ดับเบิลยู10 เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 เอ็ม10 อีคิว พาวเวอร์+ 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
1
BHR
2
CHN
2
AZE
1
ESP
2
MON
3
CAN
4
FRA
2
AUT
3
GBR
2
GER
Ret
HUN
8
BEL
3
ITA
2
SIN
5
RUS
2
JPN
1
MEX
3
USA
1
BRA
Ret
ABU
4
2 326
2020 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสเอฟวันทีม เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 ดับเบิลยู11 เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 เอ็ม11 อีคิว เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ AUT
1
STY
2
HUN
3
GBR
11
70A
3
ESP
3
BEL
2
ITA
5
TUS
2
RUS
1
EIF
Ret
POR
2
EMI
2
TUR
14
BHR
8
SKH
8
ABU
2
2 223
2021 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เปโตรนาสเอฟวันทีม เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 ดับเบิลยู12 เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอฟ1 เอ็ม12 อี เพอร์ฟอร์แมนซ์ 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
3
EMI
Ret
POR
3
ESP
3
MON
Ret
AZE
12
FRA
4
STY
3
AUT
2
GBR
33
HUN
Ret
BEL
12
NED
3
ITA
31
RUS
5
TUR
1
USA
6
MXC
15
SAP
31
QAT
Ret
SAU
3
ABU
6
3 226
2022 อัลฟาโรเมโอเอฟวันทีมออร์เลน อัลฟาโรเมโอ ซี42 แฟร์รารี 066/7 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
6
SAU
Ret
AUS
8
EMI
57
MIA
7
ESP
6
MON
9
AZE
11
CAN
7
GBR
Ret
AUT
11
FRA
14
HUN
20†
BEL
Ret
NED
Ret
ITA
13
SIN
11
JPN
15
USA
Ret
MXC
10
SAP
9
ABU
15
10 49
2023 อัลฟาโรเมโอเอฟวันทีมสเตก อัลฟาโรเมโอ ซี43 แฟร์รารี 066/10 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
8
SAU
18
AUS
11
AZE
18
MIA
13
MON
11
ESP
19
CAN
10
AUT
15
GBR
12
HUN
12
BEL
12
NED
14
ITA
10
SIN
Ret
JPN
Ret
QAT
8
USA
12
MXC
15
SAP
Ret
LVG
17
ABU
19
15 10
2024 สเตกเอฟวันทีมคิกเซาเบอร์ คิกเซาเบอร์ ซี44 แฟร์รารี 066/12 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
19
SAU
17
AUS
14
JPN
14
CHN
Ret
MIA
16
EMI
18
MON
13
CAN
13
ESP
16
AUT
16
GBR
15
HUN
16
BEL
15
NED
19
ITA
16
AZE
16
SIN
16
USA
17
MXC
14
SAP
13
LVG
18
QAT
11
ABU
Ret
22 0
แหล่งที่มา:[28][29]
หมายเหตุ
  • † ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clarkson, Tom (2 October 2019). "Valtteri Bottas on mental resilience, motivation and the power of porridge". Beyond The Grid (Podcast). Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2021. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
  2. Vainio, Olli (28 January 2021) [9 December 2018]. "Mitä tiedät F1-kuski Valtteri Bottaksesta? Tee supervaikea testi ja selvitä paikkasi varikolla!". Seura (ภาษาฟินแลนด์). Otavamedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2024. สืบค้นเมื่อ 25 March 2024.
  3. "Valtteri Bottas piipahti koulussa kertomassa F3- kuninkuushaaveista" [Valtteri Bottas visits school to talk on dreams of F3 kingship]. Etelä-Suomen Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). 8 January 2020. ISSN 0359-5056. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2024. สืบค้นเมื่อ 25 March 2024.
  4. "Valtteri Bottas – Biography". Motor Sport Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2024. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.
  5. Allen, Peter (12 September 2014). "Eurocup: The series that gave us Ricciardo, Bottas and future F1 stars". Formula Scout. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.
  6. "Bottas makes history at Zandvoort Masters". Motorsport.com. 6 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 6 June 2010.
  7. "Champion win for Bottas in Monza". GP3 Series official website. 10 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2011.
  8. Elizalde, Pablo (28 November 2012). "Williams confirms Valtteri Bottas and Pastor Maldonado for 2013". Autosport.com. Haymarket Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 November 2012.
  9. de Groote, Steven (24 March 2013). "Bottas misses first F1 point by 1.5 seconds". F1Technical.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2024. สืบค้นเมื่อ 10 April 2024.
  10. Smith, Luke (22 June 2014). "Valtteri Bottas claims first ever podium finish in Austria". MotorSportsTalk. NBC Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 October 2024.
  11. Barretto, Lawrence (16 January 2017). "Valtteri Bottas joins Mercedes for F1 2017, Felipe Massa to Williams". Autosport.com. Motorsport Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  12. Richards, Giles (15 July 2017). "Valtteri Bottas surprises Lewis Hamilton by taking Bahrain F1 pole". The Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2023. สืบค้นเมื่อ 19 May 2023 – โดยทาง The Guardian.
  13. Richards, Giles (30 April 2017). "Valtteri Bottas stuns Vettel and Hamilton to win F1's Russian GP". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2017.
  14. Richards, Giles (9 July 2017). "Valtteri Bottas wins Austrian Grand Prix to jolt Lewis Hamilton's title hopes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2023. สืบค้นเมื่อ 19 May 2023.
  15. Brady, James (26 November 2017). "F1 results 2017: Valtteri Bottas wins Abu Dhabi Grand Prix, plus full finishing order". SB Nation. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2023.
  16. "Hamilton signs off title-winning campaign with dominant Abu Dhabi victory". Formula One. 25 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018. [...] while Bottas takes the unwanted mantle of being the first Mercedes driver to finish a season without a win since Michael Schumacher in 2012.
  17. Edmondson, Laurence (7 November 2019). "Where did 2019 go wrong for Valtteri Bottas?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2019. สืบค้นเมื่อ 13 April 2024.
  18. Smith, Luke (16 December 2020). "Bottas: Second in F1 standings "can't be that satisfying"". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2024. สืบค้นเมื่อ 30 May 2024.
  19. Morlidge, Matt (10 October 2021). "Turkish GP: Valtteri Bottas takes superb win, Max Verstappen retakes title lead as Lewis Hamilton rues late pit-stop". Sky Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  20. Noble, Jonathan (6 September 2021). "Wolff says Bottas would have deserved 2022 Mercedes F1 drive". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2024. สืบค้นเมื่อ 30 May 2024.
  21. "Alfa Romeo announce Valtteri Bottas to join the team in 2022 on multi-year deal". Formula One. 6 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2021. สืบค้นเมื่อ 6 September 2021.
  22. "Zhou Guanyu: Chinese driver signs new contract at Alfa Romeo to keep him on Formula 1 grid for 2023". Sky Sport. 27 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  23. Hooper, Alasdair (15 December 2024). "End of Year Report: Kick Sauber – A 'draining' season with the team in 'survival mode'". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2024. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.
  24. Kalinauckas, Alex (19 December 2024). "Bottas rejoins Mercedes as 2025 F1 reserve driver". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
  25. Hardy, Ed (26 February 2024). "Unwanted F1 records that could be broken or extended in 2024". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 February 2024. สืบค้นเมื่อ 29 February 2024.
  26. 26.0 26.1 "Valtteri Bottas – Racing career profile". Driver Database. The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2022. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.
  27. "Bottas, Valtteri – Results". Kartcom (ภาษาฝรั่งเศส). KSP Reportages. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2023. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.
  28. "Valtteri Bottas – Results". Motorsport Stats. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2023. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.
  29. "Valtteri Bottas – Involvement". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2024. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]